พูดคุย:ความตาย
|
ข้อความและ/หรือเนื้อหาที่ถูกสร้างสรรค์จาก รุ่นนี้ของ ความตาย ถูกคัดลอกหรือย้ายไปที่ incubator:Wp/nod/ฅวามตาย ด้วยการแก้ไขนี้ ประวัติหน้าถูกคงไว้สำหรับให้การแสดงแหล่งที่มาในเนื้อหาที่ถูกคัดลอกหรือย้ายไปและต้องไม่ถูกลบตราบเท่าที่ยังมีหน้าปลายทางของเนื้อหาอยู่ |
คำว่าตายสำหรับบุคคลต่างๆ
แก้
- อนิจกรรม น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือ ทุติยจุลจอมเกล้า หรือ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.
- อสัญกรรม น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาหรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม.
- พิราลัย ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าประเทศราช และสมเด็จเจ้าพระยา). (ส. วีร +อาลยว่า ที่อยู่ของนักรบ, สวรรค์).
- ชีพิตักษัย (ราชา) น. การสิ้นชีวิต. ก. ตาย, ใช้แก่หม่อมเจ้าว่า ถึงชีพิตักษัย. (ส. ชีวิตกฺษย; ป. ชีวิตกฺขย).
- สิ้นพระชนม์ (ราชา) ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช).
- ทิวงคต (ราชา) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ).
- สวรรคต [สะหฺวันคด] ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้ในราชาศัพท์สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น). (ส. สฺวรฺค + คต ว่า ไปสู่สวรรค์).
— พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
- หมายเหตุ ตามระบบเดิม อนิจกรรมใช้สำหรับข้าราชการชั้นพระยาพานทอง ส่วนอสัญกรรมใช้กับชั้นเจ้าพระยา[1] ต่อมาจึงได้เทียบเคียงกับตำแหน่งต่างๆ ในปัจจุบัน
จากกรณีของ พูดคุย:สมัคร สุนทรเวช ได้ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับความแตกต่างการใช้คำในข้อ 1-2 ไปแล้ว แต่ในการอภิปรายดังกล่าวกลับสร้างข้อสงสัยต่อมาในการใช้คำ 5, 6 และ 7 สำหรับหลายบทความที่เกี่ยวข้อง เช่น
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ปัจจุบันในบทความใช้ สิ้นพระชนม์ ควรใช้ ทิวงคต/สวรรคต แทนหรือไม่ (ดูจากพูดคุย:สมัคร สุนทรเวช มีการกล่าวว่าทรงได้รับพระราชทานฉัตร 7 ชั้น)
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันในบทความใช้สวรรคต ในเอกสารเดิมเขียนว่า ทิวงคต[2]
หากได้ข้อสรุปตรงนี้ นอกจากแก้ไขการใช้คำในบทความที่เกี่ยวข้องแล้ว คิดว่าเป็นประโยชน์ที่จะเขียนสรุปไว้ในบทความนี้ประกอบด้วยเลย --taweethaも 16:02, 5 ธันวาคม 2552 (ICT)
จาก คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (๒๕๔๕). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 9749545508. หน้า ๑๕๑-๑๕๒.
คำสามัญ | ราชาศัพท์ | ใช้แก่ |
---|---|---|
ตาย | สวรรคต, เสด็จสวรรคต |
๑. พระมหากษัตริย์ ๒. สมเด็จพระบรมราชินีนาถ |
ตาย | ทิวงคต | ๑. พระมหากษัตริย์ต่างประเทศ ๒. กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เฉพาะที่ไม่ได้สถาปนาเฉลิมพระยศขึ้นเป็น "สมเด็จพระบวรราชเจ้า") |
ตาย | สิ้นพระชนม์ | ๑. พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าลงมาถึงพระองค์เจ้า ๒. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า |
ตาย | ถึงชีพิตักษัย, สิ้นชีพิตักษัย |
๑. หม่อมเจ้า |
ตาย | ถึงแก่พิราลัย | ๑. เจ้าประเทศราช ๒. สมเด็จเจ้าพระยา |
ตาย | มรณภาพ | ๑. ภิกษุ ๒. สามเณร |
ตาย | ถึงแก่อสัญกรรม | ๑. ประธานองคมนตรี ๒. องคมนตรี |
ตาย | ถึงแก่อนิจกรรม | ๑. ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย หรือทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ |
ตาย | ถึงแก่กรรม, ตาย |
สุภาพชนทั่วไป |
- ละเอียดเลยทีเดียว เยี่ยมเลยครับ ฝากข้อความต่ออีกหน่อยครับ ในกรณีที่ตอนเกิด กับตอนตายอยู่กันคนละสถานะ นี่ควรจะยึดตามตอนเกิดหรือตอนตายครับ ก่อนหน้านี้เคยเห็นคุยกันนิดนึงใน พูดคุย:ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ --Manop | พูดคุย - (irc) 12:47, 16 ธันวาคม 2552 (ICT)
ขอบคุณมากครับไหนๆ ได้หลักการมาแล้ว รบกวนลองวินิจฉัยกรณีของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์หน่อยครับ ว่าควรใช้คำใด ระหว่าง สิ้นพระชนม์ (ใช้อยู่ในบทความ) ทิวงคต และ สวรรคต (ในบทความจะพูดถึงเรื่องการพระราชทานฉัตรแต่ละประเภทอยู่)--taweethaも 07:44, 19 ธันวาคม 2552 (ICT)
พอดีเห็นบทความ การสิ้นพระชนม์ของพระแม่มารี (คาราวัจจิโอ) ทำให้นึกได้อีกประเด็น แล้วสำหรับบุคคลสำคัญทางศาสนาล่ะ เคยได้ฟังว่าพระพุทธเจ้าใช้ราชาศัพท์ระดับเดียวกับพระมหากษัตริย์ แต่บุคคลสำคัญทางศาสนาของศาสนาอื่นล่ะ
- เรื่องพระพุทธเจ้านั้น ความจริงใช้ราชาศัพท์ก่อนบวชด้วยเหตุที่ว่าท่านอยู่ในวรรณะกษัตริย์ ส่วนหลังจากนั้นผมก็ไม่แน่ใจเหมือน ส่วนในคริสต์ศาสนา ผมคิดว่าสาเหตุมาจากการให้ความสำคัญกับฝ่ายศาสนจักรเท่ากับฝ่ายอาณาจักร เมื่อแปลเป็นไทยถ้าไม่มีศัพท์สำหรับศาสนจักรโดยเฉพาะก็ยืมคำมาจากฝ่ายอาณาจักร ก็คือราชาศัพท์นั่นเอง --taweethaも 05:44, 20 ธันวาคม 2552 (ICT)