ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิธีโดนต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ระบบการลงคะแนน}} '''วิธีดงท์''' (D'Hondt method){{efn|{{IPAc-en|lang|d|ə|ˈ|h|ɒ|n|t}}; {{IPA-nl|ˈdɔnt|lang}}; {{IPA-fr...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:05, 17 มิถุนายน 2564

วิธีดงท์ (D'Hondt method)[a] หรือ วิธีเจฟเฟอร์สัน (Jefferson method) เป็นวิธีคำนวนหาค่าเฉลี่ยสูงสุดซึ่งใช้ในการแบ่งที่นั่งในระบบการลงคะแนนและใช้ในระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ในสหรัฐเรียกวิธีนี้ตามโธมัส เจฟเฟอร์สันซึ่งเป็นผู้ริเริ่มใช้วิธีแบ่งสรรปันส่วนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในปีค.ศ. 1792 ส่วนในยุโรปนั้นเรียกตามวิกตอร์ ดงท์ (Victor D'Hondt) นักคณิตศาสตร์ชาวเบลเยียมผู้อธิบายหลักวิธีนี้ในปีค.ศ. 1878

ในระบบสัดส่วนนั้นตั้งใจให้มีการจัดแบ่งที่นั่งในสภาตามคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ ตัวอย่างเช่น หากพรรคการเมืองชนะด้วยคะแนนเสียงหนึ่งในสามของคะแนนเสียงทั้งหมดดังนั้นพรรคการเมืองนั้นควรจะมีที่นั่งหนึ่งในสามของสภา โดยปกติแล้ว การจัดสัดส่วนให้พอดีนั้นเป็นไปได้ยากเนื่องจากการคำนวนออกมาจะที่นั่งที่เป็นเศษส่วน ดังนั้นจึงมีวิธีคิดหลายวิธี ซึ่งวิธีดงท์ ก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีหลักที่ใช้ในการจัดสรรที่นั่งให้แต่ละพรรคการเมืองโดยทำให้กลายเป็นเลขจำนวนเต็ม และยังคงความเป็นสัดส่วนให้ได้มากที่สุด[1] หลักการของวิธีต่างๆ นั้นใช้การประมาณการให้เข้ากับความเป็นสัดส่วนให้ได้มากที่สุดโดยพยายามลดความไม่เป็นสัดส่วนออก ในวิธีดงท์นั้นหลักการคือลดจำนวนคะแนนเสียงที่เหลือไว้เพื่อนำคะแนนเสียงส่วนที่เหลือนั้นจัดเป็นสัดส่วนได้ลงตัว ซึ่งมีเพียงแค่วิธีดงท์ (และวิธีอื่นๆ ที่เทียบเท่า) สามารถลดความไม่เป็นสัดส่วนลงได้[2] ในการวิจัยเชิงประจักษ์จากวิธีอื่นๆ นั้นกล่าวว่าจากแนวคิดสมัยใหม่แสดงให้เห็นว่าวิธีดงท์นั้นเป็นระบบที่เป็นสัดส่วนน้อยที่สุดในวิธีใกล้เคียงทั้งหมด เนื่องจากวิธีดงท์นั้นทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ (หรือกลุ่มพรรคการเมืองใหญ่) ได้เปรียบเหนือพรรคการเมืองขนาดเล็กจำนวนหลายๆ พรรค[3][4][5][6] โดยเมื่อเปรียบเทียบกันกับวิธีเวบสเตอร์/แซ็งต์ลากูว์ หรือวิธีใช้ตัวหาร ลดความได้เปรียบของพรรคใหญ่ลง และช่วยพรรคขนาดกลางมากกว่าพรรคขนาดใหญ่กับพรรคขนาดเล็ก[7]

คุณสมบัติของวิธีดงท์จากการศึกษาแล้วพิสูจน์ได้ว่าวิธีดงท์นั้นมีความสม่ำเสมอ คงเส้นคงวา เสถียร และเป็นวิธีที่สมดุลซึ่งกระตุ้นให้เกิดการรวมพรรคการเมือง[8][9] โดยวิธีใดจะถือว่าสม่ำเสมอหรือไม่อยู่ตรงที่ว่าจะจัดการกับพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงเท่ากันอย่างไร ในเรื่องความคงเส้นคงวานั้นคือพรรคการเมืองจะไม่ได้ที่นั่งลดลงในกรณีที่ขนาดของสภาขยายใหญ่ขึ้น ส่วนประเด็นเรื่องความเสถียรนั้นกล่าวคือเมื่อพรรคการเมืองสองพรรครวมกันเป็นพรรคเดียวแล้วจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนที่นั่งจากเดิม ส่วนในเรื่องของการรวมพรรคการเมืองคือเมื่อใดที่มีการร่วมพันธมิตรกันจะไม่ทำให้เสียที่นั่งไป

สภานิติบัญญัติที่ใช้วิธีดงท์ในการคำนวนได้แก่ อัลบาเนีย อังกอลา อาร์เจนตินา อาร์เมเนีย อารูบา ออสเตรีย เบลเยียม โบลิเวีย บราซิล บุรุนดี กัมพูชา ชิลี โคลอมเบีย โครเอเชีย เดนมาร์ก สาธารณรัฐโดมินิกัน ติมอร์ตะวันออก เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ เอสโตเนีย ฟิจิ ฟินแลนด์ กรีนแลนด์ กัวเตมาลา ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิสราเอล ญี่ปุ่น ลักเซมเบิร์ก มอลโดวา โมนาโค มอนเตเนโกร โมซัมบิก เนเธอร์แลนด์ นิคารากัว นอร์ธมาเซโดเนีย ปารากวัย เปรู โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย ซานมาริโน เซอร์เบีย สโลวีเนีย สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อุรุกวัย และเวเนซูเอลา

อ้างอิง

  1. Gallagher, Michael (1991). "Proportionality, disproportionality and electoral systems" (PDF). Electoral Studies. 10 (1): 33–51. doi:10.1016/0261-3794(91)90004-C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ November 16, 2013. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
  2. Juraj Medzihorsky (2019). "Rethinking the D'Hondt method". Political Research Exchange. 1 (1): 1625712. doi:10.1080/2474736X.2019.1625712.
  3. Pukelsheim, Friedrich (2007). "Seat bias formulas in proportional representation systems" (PDF). 4th ECPR General Conference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 February 2009.
  4. Schuster, Karsten; Pukelsheim, Friedrich; Drton, Mathias; Draper, Norman R. (2003). "Seat biases of apportionment methods for proportional representation" (PDF). Electoral Studies. 22 (4): 651–676. doi:10.1016/S0261-3794(02)00027-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-02-15. สืบค้นเมื่อ 2016-02-02.
  5. Benoit, Kenneth (2000). "Which Electoral Formula Is the Most Proportional? A New Look with New Evidence" (PDF). Political Analysis. 8 (4): 381–388. doi:10.1093/oxfordjournals.pan.a029822. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-28. สืบค้นเมื่อ 2016-02-11.
  6. Lijphart, Arend (1990). "The Political Consequences of Electoral Laws, 1945-85". The American Political Science Review. 84 (2): 481–496. doi:10.2307/1963530. JSTOR 1963530.
  7. "Election - Plurality and majority systems". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-30.
  8. Balinski, M. L.; Young, H. P. (1978). "The Jefferson method of Apportionment" (PDF). SIAM Rev. 20 (2): 278–284. doi:10.1137/1020040.
  9. Balinski, M. L.; Young, H. P. (1979). "Criteria for proportional representation" (PDF). Operations Research. 27: 80–95. doi:10.1287/opre.27.1.80.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน