พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550)
พายุไต้ฝุ่นวิภา (อักษรโรมัน: Wipha)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นโกริง (ตากาล็อก: Goring)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2550 และเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดที่เข้าชายฝั่งประเทศจีนนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นซาวมายในปี พ.ศ. 2549 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้พัฒนาเป็นพายุโซนร้อน และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันรุ่งขึ้นมีลักษณะเป็นตาพายุ หลังจากช่วงเวลาของการทำให้เข้มข้นขึ้นอย่างรวดเร็ว พายุไต้ฝุ่นวิภามีกำลังแรงสูงสุดในวันที่ 18 กันยายน ด้วยความเร็วลม 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท) ต่อมาในวันนั้น พายุไต้ฝุ่นวิภาเริ่มอ่อนกำลังลงเมื่อกระทบกับภูมิประเทศที่เป็นภูเขาของประเทศไต้หวันก่อนจะพัดทางด้านเหนือของเกาะ พายุไต้ฝุ่นวิภาได้ขึ้นฝั่งชายแดนของมณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลเจ้อเจียงโดยมีความเร็วลมประมาณ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) หลังจากนั้นไม่นาน พายุไต้ฝุ่นวิภาก็อ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่แผ่นดิน และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนภายใน 18 ชั่วโมง หลังจากเคลื่อนตัวผ่านแผ่นดิน จากนั้นก็สลายไปนอกชายฝั่งประเทศเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกผูกกับพายุไต้ฝุ่นเซอปัต และพายุไซโคลนจอร์จในปี พ.ศ. 2550 อีกด้วย
![]() พายุไต้ฝุ่นวิภาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550 | |
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา | |
---|---|
ก่อตัว | 15 กันยายน พ.ศ. 2550 |
นอกเขตร้อน | 20 กันยายน พ.ศ. 2550 |
สลายตัว | 22 กันยายน พ.ศ. 2550 |
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.58 นิ้วปรอท |
พายุไต้ฝุ่น | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.58 นิ้วปรอท |
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 | |
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.43 นิ้วปรอท |
ผลกระทบ | |
ผู้เสียชีวิต | 20 ราย |
ความเสียหาย | $1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2550 USD) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เกาหลีเหนือ |
IBTrACS | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2550 |
พายุไต้ฝุ่นวิภาส่งผลกระทบให้มีการอพยพประชาชนประมาณเกือบ 2 ล้านคน ตามแนวชายฝั่งของประเทศจีนก่อนที่พายุกำลังจะเคลื่อนตัวมาถึง ทหารจีนประมาณ 20,000 นาย ได้ถูกส่งไปยังพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยในการเสริมกำลังแนวป้องกันน้ำท่วม และเร่งการอพยพประชาชน พายุไต้ฝุ่นวิภาทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงโดยมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประมาณ 353 มิลลิเมตร (13.9 นิ้ว) บ้านเรือนประมาณ 13,000 หลัง ได้รับความเสียหาย และบ้านเรือนอีกประมาณ 57,000 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 100,000 เฮกตาร์ ถูกน้ำท่วมทั่วประเทศจีน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14 ราย และมีมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 7.45 พันล้านหยวนจีน (1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
แม้ว่าพายุไต้ฝุ่นวิภาจะไม่เคลื่อนตัวผ่านใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ แต่มีหางจากพายุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงในจังหวัดเนโกรสโอกซีเดนตัล มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และอีก 3 ราย ถูกระบุว่าเป็นผู้สูญหาย ความเสียหายในประเทศฟิลิปปินส์อยู่ที่ประมาณ 15.3 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (314,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ที่ประเทศไต้หวันมีพายุฝนฟ้าคะนองที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บ 1 ราย ปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 495 มิลลิเมตร (19.5 นิ้ว) ที่ทำให้เกิดดินถล่ม น้ำท่วมทั่วทั้งเกาะ และเกิดความเสียหายทางการเกษตรในประเทศไต้หวันอยู่ที่ประมาณ 7.8 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (236,300 ดอลลาร์สหรัฐ) ในจังหวัดโอกินาวะมีพายุฝนฟ้าคะนอง และมีปริมาณน้ำฝนสูงถึงประมาณ 335 มิลลิเมตร (13.2 นิ้ว) สร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ จึงส่งผลกระทบให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บ้านเรือนประมาณ 7 หลัง ในเกาะได้รับความเสียหายอย่างหนัก และมีมูลค่าความเสียหายในจังหวัดโอกินาวะรวมประมาณ 28.3 พันล้านเยน (285 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ความเสียหายโดยรวมประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 4]
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
แก้พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นวิภา
- วันที่ 13 กันยายน การพาความร้อนได้เกิดขึ้นรอบ ๆ บริเวณที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำ ซึ่งก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของนาฮะ จังหวัดโอกินาวะ ทำให้พายุสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ และพายุตั้งอยู่ประมาณ 1,435 กิโลเมตร (892 ไมล์) ทางทิศตะวันออกของเกาะกวม
- วันที่ 14 กันยายน ลักษณะแถบพาความร้อนได้ก่อตัวขึ้นรอบศูนย์กลางของการไหลเวียน ทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 5] ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน หลายชั่วโมงต่อมาสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 6] ได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนในเวลาเดียวกัน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมประกาศว่าหย่อมความกดอากาศต่ำได้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 13W หลังจากนั้นไม่นาน สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ก็เริ่มออกคำแนะนำเกี่ยวกับพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่กำลังพัฒนา โดยกำหนดให้ใช้ชื่อ โกริง ในร่องน้ำโทรโพสเฟียร์ตอนบนของเขตร้อนอยู่ทางเหนือของหย่อมความกดอากาศต่ำกดการพัฒนาการพาความร้อน และการไหลออก
- วันที่ 15 กันยายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน หลังจากนั้นสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้กำหนดให้ชื่อ วิภา เป็นพายุ
พายุไต้ฝุ่นวิภากำลังเคลื่อนเข้าหมู่เกาะยาเอยามะ ประเทศไต้หวันเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550 - วันที่ 16 กันยายน พายุโซนร้อนวิภาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ในระดับมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ภายใน 12 ชั่วโมง พายุที่ทวีกำลังแรงขึ้นยังคงเคลื่อนตัวไปตามเส้นทางทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อตอบสนองต่อพายุหมุนกึ่งเขตร้อนเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ
- วันที่ 17 กันยายน พายุไต้ฝุ่นวิภามีความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง) การทำให้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วรอบที่สองเกิดขึ้นเกือบตลอดทั้งวัน ซึ่งนำไปสู่พายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (115 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วของปรอท) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประเมินว่าพายุไต้ฝุ่นวิภามีความรุนแรงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ความเร็วลมคงที่ 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในเวลาเดียวกัน พายุไต้ฝุ่นวิภาเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2550 ไม่นานหลังจากที่ถึงจุดสูงสุด พายุไต้ฝุ่นวิภาก็เริ่มอ่อนกำลังแรงลงเมื่อเคลื่อนเข้าประเทศไต้หวัน
- วันที่ 18 กันยายน สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ออกคำแนะนำสุดท้ายเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นวิภาที่กำลังเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และในเวลาต่อมาศูนย์กลางของพายุไต้ฝุ่นวิภาได้เคลื่อนตัวไปทางเหนือของไทเป ประเทศไต้หวัน ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (80 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุได้อ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องเมื่อพายุเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศจีนเมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ตาพายุของพายุไต้ฝุ่นวิภาได้เคลื่อนตัวข้ามชายฝั่งประเทศจีนใกล้กับเวินโจวด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประเมินว่าพายุไต้ฝุ่นวิภาได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (115 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่อพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่ง
- วันที่ 19 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ออกคำแนะนำครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นวิภาได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน
- วันที่ 20 กันยายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ยังคงติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อน พายุได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลเหลือง และไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังคาบสมุทรเกาหลี พายุได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนก่อนที่จะสลายไปนอกชายฝั่งประเทศเกาหลีเหนือในบ่ายของวันนั้น
การเตรียมการ
แก้ประเทศไต้หวัน
แก้สนามบินซงซานในไทเปได้ปิดทำการ เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นวิภากำลังเคลื่อนตัวเข้าประเทศไต้หวัน ธุรกิจทั้งหมดรวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ได้ถูกปิดทำการในวันที่ 18 กันยายน มีการออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนในพื้นที่ทางตอนเหนือของเกาะ และประชาชนได้รับคำเตือนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดดินถล่มในพื้นที่ภูเขาด้วยเหตุนี้ ผู้คนประมาณ 169 คน ออกจากพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดดินถล่ม และมีผู้อพยพอีกประมาณ 237 คน ออกจากพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศไต้หวัน เนื่องจากพายุ มีการออกการแจ้งเตือนระดับสีแดงสำหรับพื้นที่ใกล้กับศูนย์กลางของพายุไต้ฝุ่นวิภามากที่สุด ชาวประมงจีนประมาณเกือบ 4,300 คน ลี้ภัยในประเทศไต้หวัน หลังจากถูกเรียกกลับท่าเรือ[3]
ประเทศจีน
แก้เมื่อพายุไต้ฝุ่นวิภาเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศจีน จึงทำให้ในเซี่ยงไฮ้ได้มีการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศจีนก็เกิดขึ้น สื่อท้องถิ่นเตือนว่าพายุไต้ฝุ่นวิภา "อาจเป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทำลายล้างมากที่สุดในรอบทศวรรษ" ผู้คนมากกว่าประมาณ 2 ล้านคน ได้อพยพออกจากพื้นที่ชายฝั่งทะเล และผู้คนอีกประมาณ 1.79 ล้านคน ที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นฐานที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมณฑล ตามประกาศของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้มีการรายงานว่าพายุไต้ฝุ่นวิภาได้พัดถล่มเมืองหลวงทางการเงินของประเทศจีนอย่างเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันอังคาร จึงทำให้เกิดการอพยพจำนวนมาก จังหวัดใกล้เคียงที่มีประชากรหนาแน่นอย่างมณฑลเจ้อเจียง และมณฑลฝูเจี้ยน อยู่ในภาวะตื่นตัวสูง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้เตือนประชาชนให้เตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เจ้าหน้าที่เซี่ยงไฮ้ได้มีการอพยพผู้คนประมาณ 291,000 คน ออกจากบ้าน อาคาร คนงานที่อาศัยอยู่ในสถานที่ก่อสร้างชั่วคราว และคนงานที่อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่ง
การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงถูกเลื่อนออกไป และโปรแกรมการแข่งขันระหว่างประเทศนอร์เวย์กับประเทศกานาที่กำหนดไว้สำหรับวันพุธจะถูกย้ายจากเซี่ยงไฮ้ไปยังหางโจวที่อยู่ใกล้เคียงโดยใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ผู้จัดงานกล่าวว่าพวกเขาจะผลักดันการแข่งขันในคืนวันอังคารระหว่างสหรัฐกับประเทศไนจีเรีย สนามบินสองแห่งของเซี่ยงไฮ้ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว และท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง เปิดให้บริการตามปกติ และในขณะเดียวกันทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน รัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยนได้อพยพประชาชนไปแล้วประมาณกว่า 160,000 คน อาหาร และน้ำถูกเก็บไว้ ขณะที่บริการเรือข้ามฟากได้ถูกระงับ และเรือประมงได้รับคำสั่งให้กลับไปที่ท่าเรือ ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัวของทางการจีน ทางการไต้หวันระงับการเดินทางทางอากาศ และปิดตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่สำนักงาน และโรงเรียนในพื้นที่ทางตอนเหนือหลายแห่งของเกาะรวมถึงไทเปได้ถูกปิด เนื่องจากผู้คนที่อยู่ตามชายฝั่งจำนวนมากถูกย้ายไปยังที่สูง[4]
ทหารประมาณ 20,000 นาย ถูกส่งไปช่วยเหลือในการอพยพ และเสริมกำลังแนวป้องกันน้ำท่วม กองทหารดูแลการอพยพผู้คนประมาณเกือบ 100,000 คน[5] เซี่ยงไฮ้ได้มีการยกเลิกขบวนพาเหรด และการเดินทางทางน้ำทั้งหมดที่มุ่งสู่มณฑลเจ้อเจียง เนื่องจากเมืองนี้อยู่ในการเฝ้าระวังอย่างเต็มที่สำหรับพายุไต้ฝุ่นวิภาที่กำลังเคลื่อนตัวใกล้เข้ามา[6] คนงานประมาณ 365 คน ถูกอพยพออกจากแท่นขุดเจาะน้ำมันผิงหูที่ตั้งอยู่ในทะเลจีนตะวันออก สวนสัตว์สองแห่งในเมืองได้ขังสัตว์ในกรง และเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันไม่ให้มีการหลบหนี ประชาชนประมาณ 1.63 ล้านคน ในเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลฝูเจี้ยนที่อยู่ใกล้เคียงได้รับการอพยพ ในเซี่ยงไฮ้ และเมืองใกล้เคียงสั่งปิดโรงเรียนทั้งหมด[7] ผู้คนมากกว่าประมาณ 39,000 คน ถูกอพยพออกจากมณฑลเจียงซูส่วนใหญ่ตามแนวชายฝั่ง[8] หลายเมืองได้ปิดโรงเรียนหยุดการเรียนการสอน และมีการเรียกคืนเรือประมาณเกือบ 40,000 ลำ ไปยังท่าเรือทั่วประเทศจีน นอกจากนี้ ยังมีผู้อพยพราวประมาณ 250,000 คน จากมณฑลฝูเจี้ยนพร้อมส่งข้อความเพิ่มเติมประมาณ 1.41 ล้านข้อความ ไปยังผู้อยู่อาศัยในมณฑล โรงงานประมาณ 50,000 แห่ง ในมณฑลเจ้อเจียงถูกปิดตัวลงจนกว่าพายุไต้ฝุ่นวิภาจะเคลื่อนตัวพัดผ่านไป และการอพยพครั้งใหญ่ส่งผลให้ผู้เสียชีวิตจากพายุไต้ฝุ่นวิภาน้อยลง[9]
ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
แก้ผู้คนในจังหวัดโอกินาวะประมาณ 30,000 คน ถูกอพยพออกจากพื้นที่ลุ่มใกล้แม่น้ำ ซึ่งแม่น้ำจะล้นตลิ่ง เที่ยวบินขาเข้าและขาออกจากจังหวัดอย่างน้อยประมาณ 50 เที่ยวบิน ได้ถูกยกเลิก และประเทศเกาหลีใต้เริ่มมีการอพยพประชาชนในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นนารีจะเคลื่อนตัวพัดถล่มประเทศเพียงไม่กี่วันก่อนพายุไต้ฝุ่นวิภา ผู้คนประมาณ 940 คน ถูกอพยพไปยังศูนย์พักพิงทั่วประเทศ[10] มีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนจากพายุไต้ฝุ่นวิภาที่กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประเทศเกาหลีใต้เป็นเวลาหลายวันโดยมีปริมาณน้ำฝนสะสมเกินประมาณ 150 มิลลิเมตร (6 นิ้ว) ในโซล และบริเวณโดยรอบจังหวัดคย็องกีมีปริมาณน้ำฝนสะสมอยู่ที่ประมาณ 120 มิลลิเมตร (5 นิ้ว) ในจังหวัดชุงช็องใต้ จังหวัดชุงช็องเหนือ และจังหวัดคังว็อนทางตะวันตก บริเวณภูเขาของเกาะเชจู คาดว่ามีอีกประมาณ 60 มิลลิเมตร (2 นิ้ว) ในภาคตะวันออกของจังหวัดคังว็อนส่วนอื่น ๆ ของภาคใต้ และที่ราบลุ่มรอบเกาะเชจู[11]
ผลกระทบ
แก้ประเทศฟิลิปปินส์
แก้แม้ว่าพายุไต้ฝุ่นวิภาจะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศฟิลิปปินส์ แต่พายุชั้นนอกทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงในเนกรอสตะวันตก น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าประมาณ 10.3 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (211,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ถนนจากฟาร์มสู่ตลาดจำนวนมากได้รับความเสียหาย หรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก ด้วยมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (103,000 ดอลลาร์สหรัฐ)[12] น้ำท่วมยังทำให้บ้านเรือนประมาณ 13 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และบ้านเรือนอีกประมาณ 31 หลัง ได้รับความเสียหาย[13] ฝนตกหนักทำให้เกิดดินถล่ม จึงทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เมื่อวันที่ 16 กันยายน และชายอีก 1 ราย ได้จมน้ำเสียชีวิตในแม่น้ำที่มีน้ำท่วมขังเมื่อวันที่ 21 กันยายน บ้านเรือนอย่างน้อยประมาณ 23 หลัง ได้รับความเสียหาย หลังจากเกิดพายุทอร์นาโดที่เคลื่อนผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่งในบาโคโลด[14] ครอบครัวประมาณ 7,640 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นวิภาในประเทศฟิลิปปินส์[15] มีผู้สูญหายอีกประมาณ 3 ราย ถูกพายุพัดลงไปในแม่น้ำ หลังจากน้ำท่วมทำให้รัฐบาลท้องถิ่นในบายาโดลิด และซาน เอ็นริเก้ประกาศภาวะภัยพิบัติเพื่อให้เงินทุนเข้าถึงผู้ประสบอุทกภัยเมื่อวันที่ 26 กันยายน[16] สิ่งของบรรเทาทุกข์มูลค่าประมาณ 700,000 เปโซฟิลิปปินส์ (14,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ได้ถูกแจกจ่ายไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ กองทุนภัยพิบัติอย่างน้อยประมาณ 480,000 เปโซฟิลิปปินส์ (10,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ถูกส่งไปยังรัฐบาลท้องถิ่นในจังหวัดเนโกรสโอกซีเดนตัล[17]
ประเทศไต้หวัน
แก้การจราจรบนบก และทางอากาศได้หยุดชะงัก มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย และบาดเจ็บ 1 ราย ในสถานที่ก่อสร้างสะพานยกระดับในเขตหวู่กู่ใกล้ไทเป นั่งร้านสูงประมาณ 20 เมตร พังถล่มในเช้าวันอังคาร สนามบินภายในประเทศไทเปถูกปิดในขณะที่ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียนยังคงเปิดบริการอยู่ แม้ว่าเที่ยวบินระหว่างประเทศจะถูกยกเลิก พายุไต้ฝุ่นวิภาทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองไปทางตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไต้หวัน จึงทำให้เกิดหินถล่ม มีการอพยพผู้คนในหมู่บ้านประมาณ 3 แห่ง ในนครซินจู๋ทางตะวันตกของประเทศไต้หวัน หลายเมืองในทางตะวันออก และทางตอนเหนือของประเทศไต้หวัน รัฐบาลได้ประกาศวันอังคาร ซึ่งเป็นวันที่ 18 กันยายน ให้เป็นวันหยุดเพื่อให้ผู้คนอยู่บ้านได้ และตลาดหุ้นไทเปได้ปิดทำการในวันอังคารเช่นกัน[18][19] ฝนอย่างน้อยประมาณ 495 มิลลิเมตร (19 นิ้ว) ตกลงบนภูเขาของประเทศไต้หวัน จึงทำให้เกิดน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 24 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหาย และขาดทุนไปประมาณ 7.8 ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (236,300 ดอลลาร์สหรัฐ)[20] ที่อยู่อาศัยทั้งหมดประมาณ 8,795 แห่ง ถูกทิ้งไว้ ถนน และสะพานหลายสายถูกชะล้างจากน้ำท่วม สภาเกษตรได้ออกประกาศเตือนภัยระดับสีแดงสำหรับดินถล่ม และหินถล่ม 29 แห่ง[21] พายุไต้ฝุ่นวิภาได้ทำให้เกิดฝนตกหนักทางตอนเหนือของประเทศไต้หวัน และผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงถูกอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย เนืองจากอาจจะมีโอกาสเกิดพายุขึ้นอีก[22]
ประเทศจีน
แก้หางจากพายุไต้ฝุ่นวิภาเริ่มส่งผลกระทบบางส่วนของทางตะวันออกของประเทศจีนเมื่อวันที่ 17 กันยายน ฝนตกหนักลดลงถึงประมาณ 162 มิลลิเมตร (6.4 นิ้ว)[23] จึงทำให้แม่น้ำใกล้ระดับน้ำท่วมในบางเมือง และถนนประมาณ 80 เส้น ในเซี่ยงไฮ้ได้ถูกน้ำท่วม เนื่องจากฝนตกหนัก พร้อมรายงานข่าวน้ำขึ้นถึงหัวเข่าของผู้คน[24] ฝนตกเพิ่มขึ้นประมาณ 191 มิลลิเมตร (7.5 นิ้ว) จากพายุฝนฟ้าคะนอง จึงทำให้เกิดน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อบ้านเรือน เช่น บ้านเรือนอย่างน้อยประมาณ 13,000 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และบ้านเรือนอีกประมาณ 57,000 หลัง ได้รับความเสียหาย เป็นต้น[25] ผู้คนประมาณ 2.7 ล้านคน ในมณฑลเจ้อเจียง มณฑลฝูเจี้ยน เซี่ยงไฮ้ และมณฑลเจียงซู ได้ถูกอพยพไปอยู่ที่อื่น ๆ และยังมีผู้คนอีกที่ได้รับผลกระทบมากกว่าประมาณ 11 ล้านคน พายุไต้ฝุ่นวิภาได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยตรงอยู่ที่ประมาณ 7.45 พันล้านหยวนจีน (1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[26] รัฐบาลกลางของประเทศจีนได้จัดสรรเงินช่วยเหลือค่าครองชีพประมาณ 81 ล้านหยวนจีน (12.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นวิภาในมณฑลเจ้อเจียง และมณฑลฝูเจี้ยน[27]
พายุฝนฟ้าคะนองได้ถล่มบ้านเรือนประมาณ 1,000 หลัง และทำให้เกิดไฟฟ้าดับ น้ำประปาได้หยุดทำงานในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่ง มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5 ราย ส่วนใหญ่เกิดจากดินถล่ม และสูญหายอีกประมาณ 3 ราย มีการอพยพประชาชนประมาณ 2.7 ล้านคน ในทางตะวันออกของประเทศจีนรวมถึงศูนย์กลางการเงินเซี่ยงไฮ้ก่อนดินถล่มในเช้าวันพุธ ฝนตกหนักทำให้มณฑลเจ้อเจียงน้ำท่วม และบางส่วนของจังหวัดใกล้เคียง เช่น มณฑลฝูเจี้ยน มณฑลอานฮุย และมณฑลเจียงซู เป็นต้น ที่ส่งผลให้พืชผล บ้าน และถนนจมอยู่ใต้น้ำ ไฟฟ้าได้ถูกตัดในหมู่บ้านประมาณเกือบ 1,900 หมู่บ้าน บ้านเรือนประมาณเกือบ 2,500 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 160,000 เฮกตาร์ และถนนประมาณ 239 เส้น ได้ขาดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนประมาณ 6 ล้านคน[28] พายุไต้ฝุ่นวิภาทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยประมาณ 6.6 พันล้านหยวนจีน (878.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[29] ในมณฑลเจ้อเจียง และมณฑลฝูเจี้ยน มีรายงานการรั่วไหลของเขื่อนกั้นน้ำประมาณ 1,000 แห่ง เนื่องจากแม่น้ำกับอ่างเก็บน้ำล้น[30] ลมกระโชกแรงพัดเสาไฟฟ้าจำนวนมากโค่นล้มลง มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14 ราย ในประเทศจีนที่เกี่ยวข้องกับพายุโดยตรง ชาย 1 ราย ได้ถูกไฟฟ้าช็อต และเสียชีวิตลงไปในน้ำท่วมโดยมีสายไฟอยู่จมอยู่ในน้ำ[31][32]
ประเทศญี่ปุ่น
แก้ขณะที่พายุโซนร้อนวิภากลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าจังหวัดโอกินาวะ และได้ปล่อยปริมาณน้ำฝนได้สูงถึงประมาณ 335 มิลลิเมตร (13.1 นิ้ว) ทั่วทั้งเกาะโดยมีจุดสูงสุดที่เกาะอิชิงากิ[33] บันทึกความเร็วลมสูงสุดที่โอฮาระ จังหวัดโอกินาวะ ที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (87 ไมล์ต่อชั่วโมง)[34] พายุโซนร้อนวิภาได้คร่าชีวิตผู้คนไป 2 ราย คนหนึ่งเสียชีวิตระหว่างการอพยพจากอาการป่วยที่ศูนย์อพยพในจังหวัดอากิตะ มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 6 ราย และมีผู้สูญหายอีก 1 ราย[35] บ้านเรือนได้รับความเสียหายทั้งหมดประมาณ 39 หลัง และบ้านเรือนอีกประมาณ 39 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 3,931 เฮกตาร์ ถนน 7 กิโลเมตร (4.3 ไมล์) และท่าเรือ 3 แห่ง พร้อมเรือประมาณ 10 ลำ ได้รับความเสียหายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ที่อยู่อาศัยประมาณ 10,800 แห่ง ไม่มีไฟฟ้าใช้ มูลค่าความเสียหายจากพายุโซนร้อนวิภาอยู่ที่ประมาณ 28.3 พันล้านเยน (285 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) บริการรถไฟถูกระงับในทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น และเที่ยวบินประมาณเกือบ 50 เที่ยว ได้ถูกยกเลิกในจังหวัดโอกินาวะทางตอนใต้[36]
ประเทศเกาหลีเหนือ
แก้ฝนตกหนักจากพายุหมุนนอกเขตร้อนของพายุโซนร้อนวิภาได้ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 109,000 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และบ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 14,000 หลัง นอกจากนี้ อาคารสาธารณะมากกว่าประมาณ 8,000 แห่ง เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง 9 จังหวัด ในประเทศเกาหลีเหนือรวมถึงเปียงยาง ซึ่งเป็นเมืองหลวง น้ำท่วมส่งผลกระทบต่อผู้คนประมาณ 1 ล้านคน และทำให้มีผู้พลัดถิ่นประมาณเกือบ 170,000 คน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยประมาณ 454 ราย และมีผู้สูญหายประมาณ 156 ราย รัฐบาลประเทศเกาหลีเหนือรายงานว่าบ้านเรือนประมาณ 40,000 หลัง ได้รับความเสียหาย และมีบ้านเรือนอีกประมาณ 200,000 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก หรือจมอยู่ใต้น้ำ โรงเรียน โรงพยาบาล และอาคารสาธารณะอื่น ๆ หลาย 1,000 แห่ง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก พื้นที่เกษตรกรรมอย่างน้อยร้อยละ 10 ถูกน้ำท่วม และประชาชนอีกประมาณ 1,649 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย[37] หนึ่งเดือนก่อนพายุโซนร้อนวิภา คือ น้ำท่วมอย่างหนักส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ จึงทำให้มีผู้เสียชีวิต หรือมีผู้สูญหายอย่างน้อยประมาณ 600 คน หลังจากผลกระทบของพายุต่อพื้นที่น้ำท่วมอย่างรุนแรงในประเทศเกาหลีเหนือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้ส่งมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้กับผู้คนประมาณ 2,000 คน ที่ต้องไร้ที่อยู่อาศัยจากพายุ คลินิกการแพทย์หลาย 100 แห่ง ที่ได้รับความเสียหาย หรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก และได้จัดตั้งคลินิกชั่วคราวขึ้น เนื่องจากประชากรที่ได้รับผลกระทบมากถึงร้อยละ 70 รายงานว่ามีอาการปวดท้อง หรือท้องร่วง อาสาสมัครประมาณกว่า 23,000 คน จากสภากาชาดระดมกำลังเพื่อให้การฟื้นฟูอย่างรวดเร็วในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบ[38]
ภายในกลางเดือนกันยายนเงินที่มีมูลค่าประมาณ 420,000 ยูโร (527,000 ดอลลาร์สหรัฐ) มอบให้กับโรงพยาบาลซ่อมแซม และมีแผนที่จะส่งเพิ่มอีกประมาณ 110,000 ยูโร (138,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ภายในสิ้นเดือนกันยายน มีการจัดชุดอุปกรณ์สุขภาพสำหรับประชาชนประมาณ 300,000 คน และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มเติมอีกประมาณ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 15 ถึง 18 ตุลาคม การตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการอย่างรวดเร็วของเด็กที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด[39] โรงพยาบาลประมาณ 11 แห่ง ได้รับการเติมเวชภัณฑ์ และมีการสร้างแหล่งน้ำถาวรที่โรงพยาบาลทั่วไปในว็อนซัน เงินช่วยเหลือประมาณ 180,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากประเทศนอร์เวย์ถูกส่งไปยังประเทศเกาหลีเหนือภายในวันที่ 22 ตุลาคม 80 เปอร์เซ็นต์ของเงินช่วยเหลือจำนวนประมาณ 14.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ได้รับการสนับสนุน และในเดือนตุลาคมจะมีการแจกจ่ายธัญพืชประมาณ 4,800 ตัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดส่งอาหารครั้งที่สอง ต่อจากครั้งแรกที่ส่งก่อนพายุโซนร้อนวิภากำลังเคลื่อนตัวมา เงินทุน และวัสดุมูลค่าประมาณ 166,000 ดอลลาร์สหรัฐ[40][41]
ดูเพิ่ม
แก้- ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2550
- รายชื่อของพายุวิภา
- พายุไต้ฝุ่นที่มีเส้นทางที่คล้ายกัน
หมายเหตุ
แก้- ↑ "วิภา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 2 ลำดับที่ 12 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
- ↑ พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "โกริง" (14 ถึง 19 กันยายน พ.ศ. 2550) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
- ↑ ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
- ↑ ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2550 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
- ↑ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[1]
- ↑ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ James Peng (2007-09-18). "Supertyphoon Wipha Approaches Taiwan; Markets Closed (Update4)" (ภาษาอังกฤษ). Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 4 March 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "AFP: Strengthening Typhoon Wipha churns towards Shanghai". web.archive.org (ภาษาอังกฤษ). 2012-10-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2012. สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "News: Typhoon Wipha - Sep 2007, China mobilizes more than 20,000 troops to fight typhoon Wipha". web.archive.org (ภาษาอังกฤษ). 2007-10-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Staff Writer (2007-09-18). "Parade, water trips canceled as Wipha nears" (ภาษาอังกฤษ). Shanghai Daily News. สืบค้นเมื่อ 4 March 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "News: Typhoon Wipha - Sep 2007, Powerful typhoon targets eastern China, Shanghai". web.archive.org (ภาษาอังกฤษ). 2007-10-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "People's Daily Online - Typhoon Wipha heads north after hitting east China". en.people.cn (ภาษาอังกฤษ). 2022-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2022. สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
- ↑ "Weakened typhoon Wipha drenches eastern China". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2007-09-19. สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Wayback Machine". web.archive.org. 2011-05-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-02-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "KBS Global". archive.ph. 2013-02-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 2022-05-07.
- ↑ Carla Gomez (2007-09-20). "'Goring' causes P10.3-M crop losses in Negros Occidental". Inquirer.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Nestor P. Burgos Jr. (2007-09-25). "State of calamity for Iloilo sought". Inquirer.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Staff Writer (2007-09-18). "Tornado damages 23 houses in Bacolod" (ภาษาอังกฤษ). GMA News. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Carla Gomez (2007-09-20). "'Goring' causes P10.3-M crop losses in Negros Occidental". Inquirer.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Nestor P. Burgos Jr. (2007-09-25). "State of calamity for Iloilo sought". Inquirer.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Joel Guinto (2007-09-20). "2 kids, woman swept away by Antique river, missing". Inquirer.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Staff Writer (2007-09-18). "Two dead, two missing as Typhoon Wipha hits Japan, Taiwan (1st Lead)". Deutsche Presse-Agentur (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2013. สืบค้นเมื่อ 6 March 2009.
- ↑ Elaine Kurtenbach (2007-09-19). "Typhoon Wipha whips eastern China". USA Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 March 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ James Peng (2007-09-18). "Supertyphoon Wipha Approaches Taiwan; Markets Closed (Update4)" (ภาษาอังกฤษ). Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 4 March 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Staff Writer (2007-09-20). "Typhoon damage limited". Taipei Times (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2012. สืบค้นเมื่อ 3 March 2009.
- ↑ "News: Typhoon Wipha - Sep 2007, China evacuates 510,000 after typhoon kills two in Japan". web.archive.org (ภาษาอังกฤษ). 2007-10-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Wipha weakens but still pours misery on eastern China, Japan" (ภาษาอังกฤษ). Associated Press. 2007-09-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2012. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
- ↑ "Typhoon Wipha pummels China" (ภาษาอังกฤษ). CBC News. Associated Press. 2007-09-19. สืบค้นเมื่อ 6 March 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Elaine Kurtenbach (2007-09-19). "Typhoon Wipha whips eastern China". USA Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 March 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Typhoon Wipha heads north after hitting east China" (ภาษาอังกฤษ). China View. Xinhua. 2007-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2007. สืบค้นเมื่อ 3 March 2009.
- ↑ "Seven dead, four missing from typhoon Wipha" (ภาษาอังกฤษ). ReliefWeb. Xinhua. 2007-09-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2007. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
- ↑ Staff Writer (2007-09-19). "Weakened typhoon Wipha drenches eastern China". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 March 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "E China braces for typhoon Wipha, 2 million evacuated" (ภาษาอังกฤษ). China View. Xinhua. 2007-09-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2007. สืบค้นเมื่อ 3 March 2009.
- ↑ "Weakened typhoon Wipha drenches eastern China". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2007-09-19. สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ China Meteorological Administration (2008). "40th Session Country Report:China" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 3 March 2009.
- ↑ "Seven dead, four missing from typhoon Wipha" (ภาษาอังกฤษ). China View. Xinhua. 2007-09-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2012. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
- ↑ "Digital Typhoon: Precipitation Summary". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2007-09-16. สืบค้นเมื่อ 16 September 2007.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Digital Typhoon: Maximum Wind Summary". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2007-09-18. สืบค้นเมื่อ 18 September 2007.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Japan Meteorological Agency (2008). "41st Session Country Report: Japan" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 4 March 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Two dead, two missing as Typhoon Wipha hits Japan, Taiwan (1st Lead) …". archive.ph (ภาษาอังกฤษ). 2013-01-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2013. สืบค้นเมื่อ 7 May 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "DPR Korea: Floods OCHA Situation Report No. 16 - Democratic People's Republic of Korea". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). 2007-12-04. สืบค้นเมื่อ 4 December 2007.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ReliefWeb » Document » Red Cross healing battered DPRK health infrastructure". web.archive.org (ภาษาอังกฤษ). 2009-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2009. สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ International Federation of Red Cross And Red Crescent Societies (2007-09-28). "Red Cross healing battered DPRK health infrastructure" (ภาษาอังกฤษ). ReliefWeb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2009. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
- ↑ "ReliefWeb » Document » DPR Korea: Floods OCHA Situation Report No. 13". web.archive.org (ภาษาอังกฤษ). 2008-09-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2008. สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (2007-10-22). "DPR Korea: Floods OCHA Situation Report No. 13" (ภาษาอังกฤษ). ReliefWeb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2008. สืบค้นเมื่อ 5 March 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พายุหมุนเขตร้อนระบบดิจิทัล (Digital Typhoon) ข้อมูลของพายุไต้ฝุ่นวิภา (0712)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นวิภา (0712)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นวิภา (0712)
- ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ข้อมูลเส้นทางของพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นวิภา (13W)