จังหวัดชุงช็องเหนือ

จังหวัดชุงช็องเหนือ เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคกลางของประเทศเกาหลีใต้ ได้สถานะเป็นจังหวัดเมื่อปี พ.ศ. 2439 ที่ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดชุงช็องเดิม ซึ่งมีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของจังหวัดชุงช็องเดิม โดยมีเมืองเอกอยู่ที่ชองจู

จังหวัดชุงช็องเหนือ

충청북도
การถอดเสียงภาษาเกาหลี
 • ฮันกึล
 • ฮันจา
 • แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์Ch’ungch’ŏngbukto
 • อักษรโรมันปรับปรุงChungcheongbuk‑do
ธงของจังหวัดชุงช็องเหนือ
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของจังหวัดชุงช็องเหนือ
ตรา
ที่ตั้งของจังหวัดชุงช็องเหนือ
พิกัด: 36°45′N 127°45′E / 36.750°N 127.750°E / 36.750; 127.750
ประเทศเกาหลีใต้
ภูมิภาคโฮซอ
เมืองหลวงช็องจู
เขตการปกครองย่อย3 นคร, 8 อำเภอ
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการลี ชี-จง (พรรคประชาธิปไตย)
พื้นที่
 • ทั้งหมด7,433 ตร.กม. (2,870 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 8
ประชากร
 (ตุลาคม ค.ศ. 2014)[1]
 • ทั้งหมด1,578,934 คน
 • อันดับอันดับที่ 7
 • ความหนาแน่น213 คน/ตร.กม. (550 คน/ตร.ไมล์)
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ดอกไม้แมกโนเลียขาว
 • ต้นไม้elkova
 • นกนกแม็กพาย
รหัส ISO 3166KR-43
เว็บไซต์eng.cb21.net

ภูมิศาสตร์

แก้

จังหวัดชุงช็องเหนือเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคโฮซอ โดยมีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดชุงช็องใต้ทางทิศตะวันตก ทางเหนือติดกับจังหวัดคยองกีและจังหวัดคังวอน ทางใต้ติดกับจังหวัดจอลลาเหนือ และทางทิศตะวันตกติดกับจังหวัดคยองซังเหนือ จังหวัดชุงช็องเหนือเป็นเพียงจังหวัดเดียวในเกาหลีใต้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล โดยทั่วไปจังหวัดนี้ประกอบไปด้วยภูเขา โดยมีภูเขานอรยอง ซึ่งเป็นภูเขาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ ส่วนทางตะวันออกของจังหวัดก็มีภูเขาโซแบก

ทรัพยากร

แก้

ผลิตผลทางการเกษตรของจังหวัดก็มี ข้าว,ข้าวบาร์เลย์,ถั่วและมันฝรั่ง แต่จังหวัดนี้ก็มีชื่อเสียงในเรื่องโสมและยาสูบ โดยยาสูบได้นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2455 โดยได้รับต้นพันธ์มาจากรัฐเวอร์จิเนีย

และจังหวัดนี้ยังมีแร่ธาตุมากมาย เช่น ทอง,เหล็ก,ถ่ายหิน,หินสบู่,ฟลูออไรต์และโมลิบดีนัม ตลอดจนหินอ่อนและหินปูน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด และการทอผ้าไหมก็ได้เป็นสิ่งที่สำคัญของจังหวัดเช่นกัน

อ้างอิง

แก้
  1. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2015-10-01.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้