พระเจ้าเซโจ
พระเจ้าเซโจ (เกาหลี: 세조 世祖) (ค.ศ. 1417 ถึง ค.ศ. 1468) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1455 ถึง ค.ศ. 1468) ถือเป็นกษัตริย์ที่ถูกประณามมากที่สุดพระองค์หนึ่งเพราะแย่งราชบัลลังก์มาอย่างไม่เป็นธรรมจากพระเจ้าทันจง พระนัดดาที่ยังทรงพระเยาว์
พระเจ้าเซโจ | |
---|---|
กษัตริย์แห่งโชซ็อน | |
ครองราชย์ | 18 กันยายน พ.ศ. 1998 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2011 (12 ปี 303 วัน) |
ก่อนหน้า | พระเจ้าทันจง |
ถัดไป | พระเจ้าเยจงแห่งโชซ็อน |
พระราชสมภพ | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 1960 ลี ยู |
สวรรคต | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2011 (51 ปี 12 วัน) |
มเหสี | พระนางช็องฮี |
พระราชบุตร | เจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง พระเจ้าเยจงแห่งโชซ็อน |
ราชวงศ์ | โชซ็อน |
พระราชบิดา | พระเจ้าเซจงมหาราช |
พระราชมารดา | พระนางโซฮ็อน |
พระเจ้าเซโจ | |
ฮันกึล | 세조 |
---|---|
ฮันจา | 世祖 |
อาร์อาร์ | Sejo |
เอ็มอาร์ | Sejo |
ชื่อเกิด | |
ฮันกึล | 이유 |
ฮันจา | 李瑈 |
อาร์อาร์ | I Yu |
เอ็มอาร์ | I Yu |
หนทางสู่ราชบัลลังก์
พระเจ้าเซโจพระราชสมภพเมื่อ ค.ศ. 1417 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของ พระเจ้าเซจงมหาราช (세종대왕, 世宗大王) และ พระนางโซฮ็อน (소헌왕후, 昭憲王后) ได้รับพระนามว่า เจ้าชายซูยาง (수양대군, 首陽大君) เมื่อค.ศ. 1428 เจ้าชายซูยางมีพระเชษฐาเป็นรัชทายาท ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ามุนจง (문종, 文宗) ต่อจากพระเจ้าเซจงใน ค.ศ. 1450 แต่อยู่ในราชสมบัติได้เพียงสองปีก็สวรรคตเมื่อค.ศ. 1452 รัชทายาทพระโอรสของพระเจ้ามุนจงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา ก่อนที่พระเจ้ามุนจงจะสวรรคต ได้จัดตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนสำหรับกษัตริย์พระองค์ใหม่ที่ยังทรงพระเยาว์ ประกอบด้วย ฮวางโบอิน (황보인, 皇甫仁) อัครเสนาบดี และ คิมจงซอ (김종서, 金宗瑞) เป็นผู้นำคณะผู้สำเร็จราชการซึ่งประกอบไปด้วยขุนนางจากชี-พย็อนจ็อน (집현전, 集賢殿) สำนักปราชญ์ที่พระเจ้าเซจงมหาราชทรงตั้งขึ้น
เมื่อกษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์แล้ว ปรากฏว่าทรงเป็นเพียงแค่กษัตริย์หุ่นเชิด อำนาจทั้งหมดตกอยู่แก่ฮวางโบอินและคิมจงซอ ทำให้เจ้าชายที่อาวุโสที่สุดสองพระองค์คือเจ้าชายซูยาง และเจ้าชายอันพย็อง (안평대군, 安平大君) ต้องหาทางฟืนฟูอำนาจให้แก่พระราชวงศ์ กล่าวกันว่าเจ้าชายทั้งสองมีความถนัดกันคนละด้าน คือเจ้าชายอันพยองทรงพระปรีชาด้านการเขียนพู่กัน จึงเป็นที่นิยมชมชอบของปราชญ์ขงจื้อทั่วไป ขณะที่เจ้าชายซูยางทรงสนพระทัยด้านการทหาร[1] โดยทรงวางแผนการยึดอำนาจอย่างมียุทธวิธี ด้วยการสนับสนุนและความช่วยเหลือของควอนนัม (권람, 權擥) และฮันมยองฮี (한명회, 韓明澮)
ฮวางโบอินและคิมจงซอหันเข้าหาเจ้าชายอันพยองเพื่อคานอำนาจกับองค์ชายซูยาง ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1453 เจ้าชายซูยางทรงนำทัพเข้าบุกยึดพระราชวังคยองบก สังหารฮวางโบอินและคิมจงซอ เรียกว่า รัฐประหารปีคเยยู (계유정난, 癸酉靖難) เนรเทศเจ้าชายอันพยองไปเกาะเจจูและประทานยาพิษ เจ้าชายซูยางทรงตั้งพระองค์เองเป็นอัครเสนาบดี กุมการบริหารประเทศไว้ทุกอย่าง ทรงให้มีการปูนบำเหน็จแก่ผู้มีความดีความชอบ (공신, 功臣) ช่วยเหลือพระองค์ในการทำรัฐประหาร
ในที่สุด เมื่อค.ศ. 1455 เจ้าชายซูยางก็ได้บังคับให้พระนัดดาทรงสละราชบัลลังก์ เป็นแทซังวัง ส่วนเจ้าชายเองก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเซโจ
รัชสมัย
พระเจ้าเซโจทรงเห็นกษัตริย์พระองค์ก่อนเป็นตัวอย่างของการที่กษัตริย์ตกอยู๋ใต้อำนาจของขุนนาง พระเจ้าเซโจเชื่อว่ากษัตริย์ได้รับอาณัติจากสวรรค์ให้มาปกครองประชาชน[2] จึงทรงพยายามขยายอำนาจของกษัตริย์มิให้ถูกจำกัดโดยพวกขุนนาง ทันทีหลังจากขึ้นครองราชสมบัติ ทรงยุบสภาอีจอง หรือสภาองคมนตรี (의정부, 議政府) อันเป็นสภาสูงสุดรองจากกษัตริย์ และทรงนำเอาหกกระทรวง (육조, 六曹) เข้ามาควบคุมโดยตรง
พระเจ้าเซโจทรงกักขังแทซังวังเอาไว้ในพระราชวังเพื่อจับตาดูอย่างใกล้ชิด ขณะที่ขุนนางทั้งหลายในจีพยอนจอนต่างพากันเห็นพ้องต้องกันว่าการยึดอำนาจของพระเจ้าเซโจนั้นเป็นไปโดยขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง และวางแผนก่อการกบฏเพื่อยึดอำนาจคืนให้กับแทซังวัง คณะผู้ก่อการประกอบด้วยขุนนางหกคน ในค.ศ. 1456 ราชทูตราชวงศ์หมิงมาเยือนขุนนางทั้งหกจึงพยายามจะใช้โอกาสนี้ในการยึดอำนาจ[3]แต่ไม่สำเร็จถูกพระเจ้าเซโจทรงจับได้ พระเจ้าเซโจทรงให้ประหารขุนนางทั้งหก ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องเป็น ขุนนางผู้พลีชีพทั้งหก (사육신, 死六臣) รวมทั้งครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องเป็นการสังหารหมู่ที่โหดร้าย และทำให้พระเจ้าเซโจทรงตัดสินพระทัยยุบจีพยอนจอน อันเป็นที่ซ่องสุมของขุนนางที่ต่อต้านพระองค์ไปเสีย และต่อมาในค.ศ. 1457 ทรงให้ลดพระเกียรติยศของแทซังวังลงเป็นเจ้าชายโนซาน (노산군, 魯山君) และเนรเทศไปมณฑลคังวอน รวมทั้งปลดพระราชมารดาของเจ้าชายโนซานที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วคือพระนางฮย็อนดอก (현덕왕후, 顯德王后) ออกจาตำแหน่ง เพราะวิญญาณของนางตามหลอกหลอนองค์รัชทายาทพระโอรสของพระเจ้าเซโจ จนประชวรและสิ้นพระชนม์ ได้รับพระนามว่ารัชทายาทอีกยอง (의경세자, 懿敬世子)
เหตุการณ์การกบฏของหกขุนนางทำให้เกิดกลุ่มนักปราชญ์ขึ้นมาใหม่ คือ นักปราชญ์กลุ่มซาริม (사림파, 士林派) คือ กลุ่มขุนนางที่ถูกเนรเทศและกีดกันจากวงราชการด้วยภัยทางการเมือง หรือเลือกที่จะจงรักภักดีต่อกษัตริย์พระองค์เดียว อาศัยอยู่ตามป่าเขาอันห่างไกลตำหนิราชสำนักเรื่องการบริหารบ้านเมืองต่างๆ เช่น กลุ่มขุนนางผู้รอดชีวิตทั้งหก (생육신, 生六臣) ซึ่งยึดหลักไม่รับใช้สองเจ้า (불사이군, 不事二君) ขณะที่ในราชสำนักขุนนางที่สนับสนุนพระเจ้าเซโจในการขึ้นครองบัลลังก์เช่น ฮันมยองฮี และ ชินซุกจู (신숙주, 申淑舟) เรืองอำนาจ เรียกว่า กลุ่มขุนนางเก่า หรือฮุนกู (훈구파, 勳舊派) และในอนาคตขุนนางกลุ่มซาริมจะพยายามกลับคืนเข้าสู่ราชสำนักอีกครั้ง ทำให้ประวัติศาสตร์เกาหลีในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้าเป็นเรื่องของการพยายามกลับคืนสู่ราชการของขุนนางซาริมและการต่อต้านจากกลุ่มขุนนางเก่า
ในค.ศ. 1457 พระเจ้าเซโจโปรดให้พิมพ์หนังสือเรื่อง กระจกสะท้อนอาณาจักรตะวันออก (동국통감, 東國通鑑) เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เกาหลีตั้งแต่สมัยของทันกุนจนถึงราชวงศ์โครยอ พระอนุชาของพระเจ้าเซโจอีกองค์ คือ เจ้าชายคึมซอง (금성대군, 錦城大君) วางแผนก่อการกบฏยึดราชบัลลังก์คืนให้เจ้าชายโนซาน แต่ก็อีกครั้งที่พระเจ้าเซโจทรงจับได้ ทรงประทานยาพิษแก่เจ้าชายคึมซองและทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยกำจัดเสี้นหนามสุดท้าย คือ เจ้าชายโนซาน ดื่มยาพิษพระราชทานสิ้นพระชนม์ไปด้วยพระชนมายุเพียงสิบเจ็ดชันษา
หลังจากที่ถูกกดขี่มาตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าแทจง ศาสนาพุทธในเกาหลีก็ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในรัชสมัยของพระเจ้าเซโจ พระเจ้าเซโจทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงจัดตั้งสำนักจัดพิมพ์พระไตรปิฎก (간경도감, 刊經都監) ขึ้นในค.ศ. 1460 เพื่อรวบรวมและพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาเกาหลี (ไตรปิฏก โคเรียนะ) และยังทรงสร้างวัดวอนกัก (원각사, 圓覺寺) อันเป็นที่อยู่ของคิมชีซึบ (김시습, 金時習) นักปรัชญาพระพุทธศาสนาคนสำคัญในรัชสมัยของพระเจ้าเซโจและเป็นหนึ่งในกลุ่มขุนนางผู้รอดชีวิตทั้งหก
พระกรณียกิจที่สำคัญที่สุดของพระเจ้าเซโจคือ การชำระกฎหมายใหม่ประจำอาณาจักร เรียกว่า คยองกุงแดจอน (경국대전, 經國大典) โดยเริ่มชำระเมื่อค.ศ. 1460 เสร็จสิ้นในรัชสมัยของพระเจ้าซองจง
เมื่อค.ศ. 1467 การรวมรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ขุนนาง เกิดกบฏของลีชีแอ (이시애, 李施愛) ขึ้นที่มณฑลฮัมกยองเพื่อยกเจ้าชายควีซอง (구성군, 龜城君 พระโอรสของเจ้าชายอิมยอง พระอนุชาอีกพระองค์ของพระเจ้าเซโจ) ขึ้นบัลลังก์แทน แต่พระเจ้าเซโจก็ทรงสามารถส่งทัพเข้าปราบได้ ปีต่อมาค.ศ. 1468 พระเจ้าเซโจประชวรสวรรคต เจ้าชายแฮยาง (해양대군, 海陽大君) ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าชายรัชทายาทแทนเจ้าชายอีคยอง ขึ้นครองราชสมบัติต่อเป็นพระเจ้าเยจง (예종, 睿宗) พระเจ้าเซโจมีพระสุสานชื่อว่า ควางนึง (광릉, 光陵) และได้รับพระนามว่า พระเจ้าชินจง (신종, 神宗) แต่ภายหลังในรัชสมัยของพระเจ้าเยจงได้รับพระนามใหม่เป็น พระเจ้าเซโจ
พระนามเต็ม
พระเจ้าเซโจ ฮเยจาง ซุงชอน เชโด ยอลมุน ยองมู จิด็อก ยองคง ซองซิน มยอนคเย ฮุมซุก อินฮโย แห่งเกาหลี
พระบรมวงศานุวงศ์
- พระราชบิดา: พระเจ้าเซจงมหาราช (세종 世宗) (September 18, 1418 – May 18, 1450)
- พระราชมารดา: พระนางโซฮ็อน สกุลซิม แห่งช็องซง (소헌왕후 심씨 ,昭憲王后 沈氏 September 28, 1395-March 24, 1446)
- พระมเหสี พระสนม พระราชโอรส พระธิดา
- พระนางช็องฮี สกุลยุน แห่งพาพยอง (정희왕후 윤씨 ,貞熹王后尹氏 November 11, 1418-March 30, 1483)
- อี จัง, เจ้าชายรัชทายาทอึยกย็อง
- อี ฮวัง, พระเจ้าเยจงแห่งโชซ็อน
- อี เซซอน, เจ้าหญิงอึยซุก (懿淑公主 ค.ศ. 1441- ค.ศ. 1477)
พระราชธิดาอีกสองพระองค์มีหลักฐานบันทึกไว้ในพงศาวดารน้อยมากและไม่เป็นที่แน่ใจว่าจะมีตัวตน
- อี เซฮุย,เจ้าหญิงอึยรยอง
- อี เซจอง,เจ้าหญิงอึยฮวา
- พระสนมเอกกึนบิน สกุลปาร์ค แห่งซอนซาน (근빈 박씨 ,謹嬪 朴氏)
- อี ซอ,เจ้าชายด็อกวอน
- อี ซอง,เจ้าชายชางวอน
- เจ้าชายไม่ทราบพระนาม
- พระสนมโซยอง สกุลปาร์ค (폐소용 박씨 ,昭容朴氏) ภายหลังถูกถอดจากตำแหน่งพระสนม
- เจ้าชายไม่ทราบพระนาม
- พระสนมซุกวอน สกุลชิน (숙원 신씨 ,淑媛 辛氏)
พงศาวลี
พงศาวลีของพระเจ้าเซโจ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ก่อนหน้า | พระเจ้าเซโจ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าทันจง | กษัตริย์แห่งโชซ็อน (11 มิถุนายน ค.ศ. 1455 – 23 กันยายน ค.ศ. 1468) |
พระเจ้าเยจง|}
อ้างอิง
|