พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่
พระเจ้าจอร์จที่ 1[1] แห่งบริเตนใหญ่ (อังกฤษ: George I of Great Britain, เยอรมัน: George I von Großbritannien) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ระหว่างปี ค.ศ. 1714 ถึง 1727 พระองค์ไม่เป็นที่นิยมชมชอบในอังกฤษมากนัก เนื่องจากตรัสภาษาอังกฤษไม่ได้และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเยอรมนี
พระเจ้าจอร์จที่ 1 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ | |||||
ครองราชย์ | 1 สิงหาคม 1714 – 11 มิถุนายน 1727 | ||||
ราชาภิเษก | 20 ตุลาคม 1714 | ||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ | ||||
ถัดไป | พระเจ้าจอร์จที่ 2 | ||||
รัชทายาท | เจ้าชายจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์ | ||||
นายกรัฐมนตรี | ดูรายชื่อ | ||||
เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์ | |||||
ครองราชย์ | 23 มกราคม 1698 – 11 มิถุนายน 1727 | ||||
ถัดไป | เกออร์คที่ 2 | ||||
พระราชสมภพ | 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ฮันโนเฟอร์ เยอรมนี | ||||
สวรรคต | 11 มิถุนายน ค.ศ. 1727 ออสนาบรึค | (67 ปี)||||
คู่อภิเษก | โซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค | ||||
พระราชบุตร รายละเอียด | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ | ||||
พระราชบิดา | แอ็นสท์ เอากุสท์ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค | ||||
พระราชมารดา | โซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ | ||||
ลายพระอภิไธย |
ประวัติ
แก้พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ มีพระนามเยอรมันว่า เกออร์ค ลูทวิช แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค (เยอรมัน: Georg Ludwig von Braunschweig-Lüneburg) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ที่ออสนาบรึค (ประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) เป็นพระโอรสองค์โตของแอ็นสท์ เอากุสท์ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค กับเจ้าหญิงโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์
ทายาทแห่งฮันโนเฟอร์
แก้ยามที่พระองค์ประสูติในปี 1660 ขณะนั้นราชรัฐเบราน์ชไวค์ (หรือเรียกฮันโนเฟอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชรัฐ) ถูกปกครองโดยโยฮัน ฟรีดริช ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของพระองค์ อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม 1679 ดยุกโยฮัน ฟรีดริช สิ้นพระชนม์โดยที่ไม่มีพระบุตร ลุงคนรองก็สิ้นพระชนม์ก่อนแล้ว ส่งผลให้บัลลังก์ของเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คและคาเลินแบร์ค ตกเป็นของแอ็นสท์ เอากุสท์ พระบิดาของเกออร์ค ส่งผลให้เจ้าชายเกออร์คกลายเป็นรัชทายาทแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คและคาเลินแบร์ค
ในปี 1682 เจ้าชายเกออร์ค ลูทวิช สมรสกับโซฟี โดโรเทอา แห่งเซ็ลเลอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของตนเอง ต่อมาในปี 1863 เจ้าชายเกออร์คและอนุชา มีส่วนร่วมในยุทธการที่เวียนนาเพื่อต่อต้านการรุกรานโดยจักรวรรดิออตโตมัน และในปีเดียวกัน พระชายาก็ให้กำเนิดพระโอรสนามว่าเจ้าชายเกออร์ค เอากุสท์ (ต่อมาคือพระเจ้าจอร์จที่ 2) และต่อมาในปี 1687 ก็ให้กำเนิดพระธิดานามว่าเจ้าหญิงโซฟี โดโรเทอา
เจ้าผู้ครองฮันโนเฟอร์
แก้ในปี 1698 พระบิดาสิ้นพระชนม์ ส่งผลให้เจ้าชายเกออร์ค ลูทวิช ขึ้นสืบบัลลังก์เป็นดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค และว่าที่เจ้ามติกรแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่หลังครองบัลลังก์เพียงสองปีเศษ เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งกลอสเตอร์ รัชทายาทแห่งบริเตนใหญ่สิ้นพระชนม์ รัฐสภาบริเตนใหญ่กังวลว่าบัลลังก์บริเตนใหญ่จะตกเป็นของเจ้าสายอื่นที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก จึงตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701 กำหนดให้เจ้าหญิงโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ (หลานตาในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ) เป็นรัชทายาทลำดับหนึ่งแห่งบริเตนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค ในฐานะโอรสของโซฟี จึงกลายเป็นรัชทายาทลำดับสอง
ในปี 1708 มหาสภาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มีมติรับรองให้ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค เป็นเจ้ามติกรแห่งฮันโนเฟอร์ หลังจากที่รอมาตั้งแต่ปี 1692
กษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
แก้มิถุนายน 1714 เจ้าหญิงโซฟีสิ้นพระชนม์ในนครฮันโนเฟอร์ ส่งผลให้เจ้าชายเกออร์ค ลูทวิช ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค กลายเป็นรัชทายาทลำดับหนึ่งแห่งบริเตนใหญ่ หลังจากนั้นเพียงสามสัปดาห์ พระนางเจ้าแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ก็เสด็จสวรรคต ราชสมบัติบริเตนใหญ่จึงตกแก่ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค
กันยายน 1714 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คเสด็จจากฮันโนเฟอร์ไปยังกรุงลอนดอนพร้อมด้วยพระราชโอรส และประกอบพิธีราชาภิเษกเป็น พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระองค์ตรัสภาษาอังกฤษไม่ได้ และไม่มีความเข้าพระทัยในการปกครองของอังกฤษภายใต้ระบบรัฐสภา (ซึ่งแตกต่างจากฮันโนเฟอร์ที่เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์) จึงทรงโปรดเกล้าให้มีคณะรัฐมนตรีเหมือนอย่างในบรรดาราชรัฐเยอรมัน ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ในการนี้แต่งตั้งเซอร์รอเบิร์ต วอลโพล ผู้สามารถพูดภาษาอังกฤษและเยอรมัน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงสามารถใช้เวลาประทับในเยอรมนีที่ซึ่งทรงคุ้นเคย มากกว่าใช้เวลาประทับในอังกฤษ
ในป 1719 บริเตนใหญ่เผชิญวิกฤตฟองสบู่แตก แต่ก็คลี่คลายด้วยฝีมือของวอลโพล ในปี 1721 ก็ทรงแต่งตั้งวอลโพลเป็นนายกรัฐมนตรีบริเตนใหญ่คนแรก
ราชตระกูล
แก้พระเจ้าเจมส์ที่ 1 1566–1625 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระเจ้าชาลส์ที่ 1 1600–1649 | เจ้าหญิงเอลิซาเบธ 1596–1662 | ดยุกเกออร์ก 1582–1641 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าหญิงแมรี 1631–1660 | พระเจ้าชาลส์ที่ 2 1630–1685 | พระเจ้าเจมส์ที่ 2 1633–1701 | เจ้าหญิงโซฟี 1630–1714 | แอ็นสท์ เอากุสท์ 1629–1698 | ดยุกเกออร์ก วิลเฮล์ม 1624–1705 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 1650–1702 | พระนางเจ้าแมรีที่ 2 1662–1694 | พระนางเจ้าแอนน์ 1665–1714 | เจ้าชายเจมส์ 1688–1766 | พระเจ้าจอร์จที่ 1 1660–1727 | โซฟี โดโรเทอา 1666–1726 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าชายวิลเลียม 1689–1700 | พระเจ้าจอร์จที่ 2 1683–1760 | โซฟี โดโรเทอา 1687–1757 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระบรมราชอิสริยยศ
แก้(ค.ศ. 1714–1727) |
- 23 มกราคม 1698 – 28 สิงหาคม 1705: ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค เจ้าผู้ครองคาเลินแบร์ค ว่าที่เจ้ามติกรแห่งฮันโนเฟอร์
- 28 สิงหาคม 1705 – 7 กันยายน 1708 : ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค ว่าที่เจ้ามติกรแห่งฮันโนเฟอร์
- 7 กันยายน 1708 – 11 มิถุนายน 1727: เจ้ามติกรแห่งฮันโนเฟอร์
- 1 สิงหาคม 1714 – 11 มิถุนายน 1727: กษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 475
ดูเพิ่ม
แก้ก่อนหน้า | พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
แอ็นสท์ เอากุสท์ | ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค ว่าที่เจ้ามติกรแห่งฮันโนเฟอร์ (1698 - 1708) |
ตนเอง (ในตำแหน่งเจ้ามติกรแห่งฮันโนเฟอร์) | ||
ไม่มี (สถาปนาใหม่) |
เจ้ามติกรแห่งฮันโนเฟอร์ (1708 – 1727) |
พระเจ้าจอร์จที่ 2 | ||
พระนางเจ้าแอนน์ | กษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์) (1714 – 1727) |
พระเจ้าจอร์จที่ 2 |