ผู้ใช้:Stirz117/ทดลองเขียน7

ประเทศไทยใช้การประหารชีวิตด้วยการยิงเป้านี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2546 หลังจากการแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ว่าด้วยการประหารชึวิตจากการ "ให้เอาไปตัดศีรษะเสีย" เป็น "ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย" ในปีพ.ศ.2477 ปืนกลมือที่ใช้ประหารชีวิตครั้งแรกเป็นเอ็มเพ 18 หรือ เบิร์กมันน์ เอ็มเพ 18 โดยใช้ในการประหารชีวิตสิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด 12 กันยายน พ.ศ. 2478 ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการเปลี่ยนปืนกลมือจากเบิร์กมันน์เป็นเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ5 หรือ ปืนกลมือเอ็มพี5 เอสดี3 สำหรับปืนกลมือเบิร์กมันน์นี้ใช้ประหารชีวิตผู้ต้องขังมาแล้วจำนวน 213 คน โดยการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทยส่วนใหญ่จะประหารชีวิตที่เรือนจำกลางบางขวาง [1] หลังจากการประหารชีวิตคำพัน อรรถศรี และ สุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ประเทศไทยได้ไม่มีการประหารชีวิตเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ก่อนจะกลับมาประหารชีวิตใหม่อีกครั้งในปีพ.ศ. 2539 โดยเป็นการประหารชีวิตพรหมมาศ หรือจุน เลื่อมใส อายุ 38 ปี ชาวอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี โดยถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ 2539 ในความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายจากการปล้นฆ่าต่อเนื่องรวมถึงการฆาตกรรมพลเมืองดี เจ้าของร้านอาหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา[2] ในช่วงปีพ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2530[3][4] ต่อมาหลังจากการประหารชีวิต สุดใจ ชนะในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2545[5] ในปีพ.ศ. 2546 รัฐบาลได้มีการเสนอแก้พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่16)พ.ศ. 2546 โดยแก้ไขมาตรา 19 ว่า " ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย"ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายน 2546 โดยเป็นการเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงเป้าเป็นการฉีดสารพิษ[6][7][8]

รายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 แก้

ลำดับที่ ชื่อ อายุ เพศ วันที่ถูกประหารชีวิต ศาล ความผิดฐาน เพชรฆาต นายกรัฐมนตรี
1 พรหมมาศ เลื่อมใส[9][10][11] 38 ชาย 26 มกราคม พ.ศ 2539 ฉะเชิงเทรา ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์ บรรหาร ศิลปอาชา
2 บุญโชติ พงศ์พราหมณ์ 32 ชาย 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[12][13] ปากพนัง ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญโดยได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ,ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดของตน ชวลิต ยงใจยุทธ
3 พนม ทวีสุข 30 ชาย สุพรรณบุรี ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิด สนั่น บุญลอย
4 สุพจน์ เพ็งคล้าย[14][15][16] - ชาย 29 ตุลาคม พ.ศ. 2541 พัทลุง ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ และพยายามฆ่าผู้อื่น เชาวเรศน์ จารุบุณย์ ชวน หลีกภัย
5 ปรีดา คำมณี[17] 25 ชาย 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ร้อยเอ็ด ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
6 สมศักดิ์ พรนารายณ์ หรือ ศักดิ์สิทธิ์ คำใส[18] 37 ชาย 30 เมษายน พ.ศ. 2542 เลย ฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน
7 สำรวย โตสุข[19] 41 ชาย 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 สิงห์บุรี ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
8 พันธ์ สายทอง[20] 34 ชาย อาญาธนบุรี ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปี และฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายหรือทรมานเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน ประยุทธ สนั่น
9 เดชา สุวรรณสุก[21] 49 ชาย 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 มีนบุรี ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปีจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายหรือทรมาน เชาวเรศน์ จารุบุณย์
10 วาด ขุนจันทร์[22] 25 ชาย 19 กรกฎาคม พ.ศ.2542 สงขลา วางเพลิงโรงเรือนที่คนอยู่อาศัยเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
11 เก้า ปั้นหยัด[23] 29 ชาย นครปฐม ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปีจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย, พรากผู้เยาว์เพื่อกระทำอนาจาร และฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอื่น ประยุทธ สนั่น
12 อุทัย กัญชนะกาญจน์[24] 38 ชาย ระนอง ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เชาวเรศน์ จารุบุณย์
13 นพดล แขกเต้า[25] 30 ชาย 22 กรกฎาคม พ.ศ.2542 สุราษฎร์ธานี ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
14 สมคิด วรรณโชติ 52 ชาย 8 ตุลาคม พ.ศ.2542[26] ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
15 อนันต์ โคตรสมบัติ 47 ชาย มหาสารคาม ฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย และวางเพลิงโรงเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย
16 สุรศักดิ์ ยิตซัง 36 ชาย กาญจนบุรี ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้, ชิงทรัพย์จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ประยุทธ สนั่น
17 อำนาจ เอกพจน์[27][28] 26 ชาย อาญากรุงเทพ บุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยมีอาวุธในเวลากลางคืน, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยกระทำทารุณโหดร้ายและพยายามฆ่าผู้อื่น เชาวเรศน์ จารุบุณย์
18 สมพร เชยชื่นจิตร 33 ชาย ตรัง ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ประยุทธ สนั่น
19 สมัย ปานอินทร์[29][30] 59 หญิง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[31][32] อาญากรุงเทพ ผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย[33] เชาวเรศน์ จารุบุณย์
20 ประยุทธ์ ผลพันธ์ 38 ชาย พัทลุง ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
21 ตะปอยโฮ หรือ ตองยุ้น 52 ชาย สีคิ้ว ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ ประยุทธ สนั่น
22 ลาวิน[34] 50 ชาย 4 มกราคม พ.ศ. 2543 อาญากรุงเทพ ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป เพื่อนำออกจากราชอาณาจักร เชาวเรศน์ จารุบุณย์
23 สมคิด นามแก้ว[35] 35 ชาย 11 เมษายน พ.ศ. 2544 ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป ทักษิณ ชินวัตร
23 ลี ยวน กวง 48 ชาย 18 เมษายน พ.ศ. 2544[36][37] ร่วมกันครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป
24 ชู ชิน กวย 34 ชาย
25 บุญเกิด จิตปราณี 41 ชาย พิทักษ์ เนื่องสิทธะ
26 วิเชียร แสนมหายักษ์ 42 ชาย เชียงราย นำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย และครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป เชาวเรศน์ จารุบุณย์
27 รอมาลี ตาเย๊ะ 47 ชาย นราธิวาส จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พิทักษ์ เนื่องสิทธะ
28 สุชาติ ท้าวคำหลง[38] 48 ชาย 26 มิถุนายน พ.ศ. 2544 อาญากรุงเทพ ร่วมกันครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป, พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เชาวเรศน์ จารุบุณย์
29 โปร่ง เกตุศิริ[39] 64 ชาย 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป
30 อำไพ ใสโพธิ์[40] 26 ชาย 23 สิงหาคม พ.ศ. 2544 บุรีรัมย์ กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย, พรากผู้เยาวน์เพื่อการอนาจาร และฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน
31 เฉลิม คงนก 35 ชาย 20 กันยายน พ.ศ. 2544 สงขลา ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน,ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส และชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
32 ชีพ รอดแก้ว 37 ชาย 30 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ปทุมธานี ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, พาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร
33 ถวิล หมั่นสาร[41] 36 ชาย 24 เมษายน พ.ศ.2545[42] บุรีรัมย์ ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
34 สุรกิจ ลิ้มเจริญวงศ์[43] 56 ชาย สีคิ้ว ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน, ทำลายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย, กักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และร่วมกันปล้นทรัพย์โดยผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย
35 จาย ส่างออ 38 ชาย อาญาธนบุรี ร่วมกันครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป พิทักษ์ เนื่องสิทธะ
36 กุลชนก อินเทศราช 24 ชาย เชาวเรศน์ จารุบุณย์
37 เนตรน้อย ส่างคิด 36 ชาย พิทักษ์ เนื่องสิทธะ
38 สุชาติ นาคชาตรี 50 ชาย 28 มิถุนายน พ.ศ 2545 ทุ่งสง ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, พาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร เชาวเรศน์ จารุบุณย์
39 คง สุเพือน 40 ชาย สุรินทร์ กักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายเพื่อให้ได้ค่าไถ่จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
40 วินัย นาคพันธ์ 32 ชาย สุราษฎร์ธานี ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
41 ยูโซ๊ป เมืองเล่ง 51 ชาย 3 กรกฎาคม พ.ศ 2545 สงขลา ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
42 ส้มเกลี้ยง สร้อยพลาย 45 ชาย 3 กรกฎาคม พ.ศ 2545 กำแพงเพชร ข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดานจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน
43 สุดใจ ชนะ[44][45] - ชาย 11 ธันวาคม พ.ศ 2545 หลังสวน ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, มีอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานพกอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต

ข้อมูลประชากร แก้

อายุ
ไม่ทราบ 2
20–29 6
30–39 18
40–49 10
50–59 7
60–69 1
เพศ
ชาย 42
หญิง 1
ความผิดฐาน
ฆาตกรรม 32
ยาเสพติด 11
ปีที่ประหารชีวิต
2539 1
2540 2
2541 2
2542 16
2543 1
2544 11
2545 11
นายกรัฐมนตรี
บรรหาร ศิลปอาชา 1
ชวลิต ยงใจยุทธ 2
ชวน หลีกภัย 19
ทักษิณ ชินวัตร 22

บรรณานุกรม แก้

  • อรรถยุทธ พวงสุวรรณ (2565). คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร. กรุงเทพ: เพชรประกาย. ISBN 9786165786645.
  • 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2553). บันทึก.....แดนประหาร คุกบางขวาง. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789746907576.
  • Amnistía Internacional (2540). Informe Sobre El Deute Extern a L'estat Espan (ภาษาคาตาลัน). แคว้นกาตาลุญญา: Icaria. ISBN 9788474263299.

ลิงก์จากภายนอก แก้

อ้างอิง แก้

  1. การประหารชีวิต
  2. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  3. Thailand: Executions / fear of further executions
  4. Thailand: Fear of imminent execution: one unnamed prisoner
  5. การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหารและความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทยหน้าที่ 108 - 110
  6. รายงานพิเศษ : เปิดประวัติศาสตร์การลงทัณฑ์ประหาร
  7. โทษประหารจากมีดบั่นคอ ปืนยิง สู่ฉีดยาให้ตาย นักโทษคนที่ 7
  8. Prisoners executed in Thailand since 1935.
  9. Thailand: further information on: fear of imminent execution: Prommas Leamsai
  10. Informe Sobre El Deute Extern a L'estat Espan หน้าที่319-321
  11. Thailand: Fear of imminent execution: one unnamed prisoner
  12. Thailand: Executions / fear of further executions
  13. Thailand: A human rights review based on the International Covenant on Civil and Political Rights
  14. Thailand: Execution / Fear of further executions: Supoj Pengklai
  15. THAILAND A human rights review based on the International Covenant on Civil and Political Right
  16. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539
  17. ย้อนรอยคดี-ฆ่าเผาปิดบัญย้อนรอยคดี ฆ่าเผาปิดบัญชีแค้น การกระทำที่เหี้ยมโหด และอุกอาจ
  18. สมศักดิ์ พรนารายณ์ นักข่มขืนจากลุ่มน้ำโขง
  19. สำรวย โตสุข “เขาขอให้ผมช่วยราชการ
  20. "พันธุ์-สายทอง-ผู้มีนางเอกในดวงใจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-25. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25.
  21. รอยฟันกัดที่แก้มขวา...ไขคดี!'พ่อ'ข่มขืน'ลูกวัย4ขวบ'
  22. วาด ขุนจันทร์ "แค้นต้องเผา"
  23. พลิกแฟ้ม5นักโทษประหารคดีฆ่าข่มขืน
  24. LETHAL INJECTION
  25. IL 20 LUGLIO, NOPPADOL KHAEKTAO, DI 30 ANNI, È STATO...
  26. PUBLIC AI Index: ASA 39/03/99 EXTRA 144/99 Fear of imKINGDOM OF THAILANDA
  27. ย้อน 3 ตำนาน 'บ้านผีเฮี้ยน' หลอนจนเป็นข่าวดังบนหน้าหนังสือพิมพ์
  28. “ผมไม่ได้เอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่จะเน้นเนื้องานเป็นหลัก”
  29. Newsmakers:Making News Why Just Jimmy Lai?
  30. ลมหายใจ "เพชฌฆาต"...เชาวเรศน์ จารุบุณย์
  31. Execution of woman is first in 20 years
  32. NEWS - Thailand executes first woman
  33. รายนามเพชฌฆาตที่ทำหน้าที่ยิงเป้า ของเรือนจำกลางบางขวาง
  34. Thailand executes Myanmar man for smuggling heroin=20
  35. Thailand: Further information – Fear of imminent execution
  36. Eyewitness: Thailand's public executions
  37. Rights groups condemn Thai executions
  38. UN CONDANNATO PER TRAFFICO DI DROGA È STATO GIUSTIZIATO...
  39. PONG KETSIRI, 64 ANNI, È STATO GIUSTIZIATO DA UN PLOTONE...
  40. พลิกแฟ้ม...5นักโทษประหารคดีฆ่าข่มขืน
  41. มือปราบผู้เข้าถึงหัวใจปชช.และลูกน้อง : พ.ต.ท.คำนวณ บ่ายกระโทก
  42. Thailand: Fear of imminent execution
  43. นักโทษชั้นดี
  44. การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหารและความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทยหน้าที่ 108 - 110
  45. โทษประหารจากมีดบั่นคอ ปืนยิง สู่ฉีดยาให้ตาย นักโทษคนที่ 7

บุญลือ แก้

บุญลือ นาคประสิทธิ์ (พ.ศ.2493 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546) เป็นผู้ผลิตและค้าสารเสพติดชาวไทยที่ถูกประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษโดยประเทศไทย ซึ่งนับเป็นการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษครั้งแรกของประเทศไทย หลังจากในปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้มีการเสนอแก้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546 โดยแก้ไขมาตรา 19 ว่า " ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย"ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายน 2546 โดยเป็นการเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงเป้าเป็นการฉีดสารพิษ[1][2][3]

ประวัติ แก้

บุญลือเคยถูกจับกุมในความผิดฐานค้ายาเสพติด โดยเขาพ้นโทษในเวลาต่อมา โดยเขาได้ร่วมกับ พันพงษ์ สินธุสังข์ และวิบูลย์ ปานะสุทธะ ใช้บ้านของโรงงานไทย-เยอรมันกลูโคสซึ่งเป็นโรงงานผลิตกลูโคสและฟอกผ้ายีนส์ซึ่งปิดกิจการแล้ว ในตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อผลิตยาบ้า โดยเสน่ห์ นุชนารถผู้ดูแลสถานที่ได้ให้บุญลือ, พันพงษ์และวิบูลย์ใช้โรงงานหลังจากปิดกิจการเพื่อผลิตยาบ้า ซึ่งการผลิตยาบ้า1ครั้งจะใช้เวลา3-5วัน

ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2541 เมื่อเวลา 03.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจู่โจมตรวจค้นโรงงานไทย-เยอรมันกลูโคสและจับกุมบุญลือ, พันพงษ์ และเสน่ห์ โดยพบยาบ้าและอุปกรณ์ในการผลิตภายในโรงงาน เนื่องจากตำรวจพบว่าบุญลือและพรรคพวกใช้โรงงานในการผลิตยาเสพติด สองชั่วโมงต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจวิบูลย์ ปานะสุทธะซึ่งเป็นผู้ร่วมลงทุนกับบุญลือที่หมู่บ้านเคหะธานี 2 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร โดยพบยาบ้าจำนวน 18,000 เม็ด และของกลางอีกหลายรายการ โดยของกลางที่ยึดได้ประกอบด้วย ยาบ้าชนิดเม็ดจำนวน 115,800 เม็ด, ยาบ้าชนิดผง 40.8 กิโลกรัม, หัวเชื้อยาบ้าประมาณ 10 กิโลกรัม, ฝิ่น 1,300 กรัม และสารเคมีกับอุปกรณ์การผลิตเป็นจำนวนมาก โดยบุญลือ, พันพงษ์, วิบูลย์ และเสน่ห์ ถูกตั้งข้อหาผลิตและครอบครองเพื่อจำหน่ายยาบ้า และข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่ายฝิ่น

ศาลจังหวัดสมุทรปราการได้พิพากษาประหารชีวิตบุญลือ, พันพงษ์ และวิบูลย์ ส่วนเสน่ห์ถูกตัดสินจำคุกเนื่องจากเป็นผู้ให้ใช้สถานที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการผลิตสารเสพติด ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาคที่ 1 ได้พิพากษายืนประหารชีวิตบุญลือ, พันพงษ์ และวิบูลย์ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ศาลฎีกาได้พิพากษาประหารชีวิตบุญลือ, พันพงษ์ และวิบูลย์ ส่งผลให้ทั้งสามทำหนังสือถวายฎ๊กาทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาก็ถูกยกเนื่องจากการกระทำของทั้งสามคนเป็นการบ่อนทำลายชาติอย่างร้ายแรง ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น

การประหารชีวิต แก้

ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่ของเรือนจำกลางบางขวางได้เบิกตัวทั้งบุญลือ, พันพงษ์ ,วิบูลย์ ในความผิดฐานค้ายาเสพติด และพนม ทองช่างเหล็ก ในความฐานฆาตกรรมแสงชัย ทองเชื้อ ขณะรับประทานอาหารพร้อมกับพวกที่อำเภอสวี เมื่อปี พ.ศ. 2542 ออกจากแดนที่ 1 ของเรือนจำกลางบางขวาง เพื่อเเจ้งผลฎีกาทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ โดยให้ทำพินัยกรรมและโทรศัพท์สั่งเสียญาติ ซึ่งพนมเป็นคนเดียวที่โทรศัพท์เพื่อสั่งเสียญาติ ส่วนอีกสามคนไม่ได้โทรศัพท์สั่งเสีย แต่เขียนพินัยกรรม หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เรือนจำได้ยกอาหารมื้อสุดท้ายมาประกอบด้วยต้มข่าไก่, แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย, แกงหน่อไม้, บัวลอยแก้ว, บัวลอยเผือก, ฟักทองต้ม และส้มเขียวหวาน แต่ไม่มีใครรับประทาน โดยได้ขอสูบบุหรี่แทน ถัดจากนั้นผู้อำนวยการส่วนควบคุมส่วนที่2 ได้อ่านคำสั่งยกฎีกา และนำตัวไปฟังเทศน์ ก่อนจะนำตัวบุญลือกับพันพงษ์ ขึ้นรถกอล์ฟไปยังศาลาเย็นใจแล้วปิดตาพร้อมกับให้ดอกไม้ธูปเทียน แล้วนำตัวเข้าไปในอาคารประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าซึ่งถูกปรับปรุงให้รองรับการฉีดสารพิษเนื่องจากอาคารฉีดสารพิษยังสร้างไม่เสร็จ

อ้างอิง แก้