สุดใจ ชนะ

บุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย

สุดใจ หรือน้อย ชนะ (เสียชีวิต 11 ธันวาคม พ.ศ. 2545)เป็นผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนที่ 319 ของประเทศไทยด้วยการยิงเป้า ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยเป็นนักโทษประหารคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย ก่อนจะมีการแก้ประมวลกฎหมายอาญาให้เปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงด้วยปืนเป็นการฉีดยาให้ตายในปี พ.ศ. 2546[1][2]

สุดใจ ชนะ
เกิดจังหวัดชุมพร
เสียชีวิต11 ธันวาคม พ.ศ 2545
เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการยิง
สัญชาติไทย
อาชีพรับจ้าง
มีชื่อเสียงจากบุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย
สถานะทางคดีถูกประหารชีวิต
เหตุจูงใจไม่พอใจที่กันยาซึ่งตกเป็นภรรยาลับๆของตน ไปแต่งงานกับอธิป
พิพากษาลงโทษฐาน-ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
-มีอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
-มีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
-พกอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต
บทลงโทษประหารชีวิต
รายละเอียด
ผู้เสียหายอธิป อินแก้ว
วันที่18 สิงหาคม พ.ศ. 2541
4.00 น.
ประเทศประเทศไทย
รัฐจังหวัดชุมพร
ตำแหน่งตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก
อาวุธปืน
วันที่ถูกจับ
28 สิงหาคม พ.ศ. 2541
จำคุกที่เรือนจำกลางบางขวาง

ประวัติ แก้

สุดใจอยู่อาศัยในบ้านเดียวกันกับกันยา ซึ่งเป็นลูกเลี้ยง และแม่ของกันยาเป็นเวลา 15 ปี วันหนึ่งหลังจากที่เขาอยู่กับกันยาเป็นเวลา 10 ปี สุดใจได้กลับบ้านขณะที่เขาเมา ส่วนภรรยาของเขาเดินทางไปยังกรุงเทพเพื่อซื้อของ สุดใจได้ข่มขืนกันยา และยังได้ข่มขืนเธออีกหลายครั้งจนกระทั่งกันยาตั้งครรภ์ แม่ของกันยาจึงให้กันยาทำแท้ง หลังจากที่กันยาทำแท้ง เขายังได้ข่มขืนเธออีกหลายครั้งจนกระทั่งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 กันยาได้หลบออกจากบ้านเพื่อไปแต่งงานกับอธิป อินแก้ว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเขา[3][4]

เหตุฆาตกรรมอธิป อินแก้ว แก้

วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ระหว่างที่อธิปกับกันยาทำลังกรีดยางพาราในสวนยางพาราของนิยม และเพ็ญ คงตะโกในตำบลตะโก ในเวลา 4.00 น. สุดใจได้เดินออกจากสวนเงาะมาหาอธิป เมื่อห่างจากอธิป 3 เมตรสุดใจได้ชักปืนพกมายิงใส่อธิปที่ลำตัวจำนวน 1 นัด กันยาสามารถเห็นหน้าของสุดใจจากไฟที่ติดบนหมวกของเธอ สุดใจได้ขู่กันยาว่า"'ถ้าคุณบอกตำรวจฉันจะกลับมาและฆ่าคุณ" ก่อนจะหลบหนีไปทางเดิม เธอจึงวิ่งไปขอความช่วยเหลือจาก อบต.ตะโก ให้ช่วยตามบิดามารดาของอธิป และแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเธอยังไม่ได้ระบุตัวตนคนร้ายในทันที ก่อนที่เธอจะยืนยันว่าสุดใจ พ่อเลี้ยงของเธอเป็นคนที่ฆาตกรรมอธิปหลังจากถูกเจ้าหน้าที่สอบสวนในวันเดียวเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกหมายจับเขาและสามารถจับกุมเขาได้ในวันที่ 28 สิงหาคม ที่ฟาร์มในอำเภอพะโต๊ะ สุดใจได้ให้การปฎิเสธในชั้นสอบสวนและชั้นจับกุมโดยอ้างว่าในช่วงเวลาเกิดเหตุเขาไปรับจ้างทำสวนปาล์มอยู่ที่ตำบลพระรักษ์ อำภอพะโต๊ะ ระหว่างการตรวจค้นบ้านของเขา และยังได้ปฎิเสธว่าเขาไม่ได่ข่มขืนกันยา ภรรยาของเขาได้บอกเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเขานำปืนลูกซองที่ไม่ปรากฏใบอนุญาตและกระสุนปืนที่ไม่มีใบอนุญาตไปยิงอธิปที่อำเภอตะโก เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงตั้งข้อหาเขาในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้วจึงได้ส่งมอบสำนวนและพยานหลักฐานต่างๆให้อัยการ เพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีสุดใจต่อศาลจังหวัดหลังสวน[5]

การพิจารณาคดีและการประหารชีวิต แก้

ศาลจังหวัดหลังสวนได้มีคำพิพากษาว่าสุดใจมีความผิดในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและพิพากษาประหารชีวิตสุดใจ เขาจึงยื่นอุทธรณ์ ศาลอุธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ยกฟ้องสุดใจและริบกระสุนปืนของกลาง เนื่องจากศาลได้วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควร ให้ยกประโยชน์แห่งความให้พิพากษายกฟ้องสุดใจ โจทก์จึงยื่นฎีกา ศาลฎีกาได้พิพากษากลับประหารชีวิตสุดใจโดยเห็นว่าข้อต่อสู้อ้างฐานที่อยู่ของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น[6][7]

สุดใจจึงทำหนังสือทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษแต่ฎีกาได้ถูกยกและถูกนำตัวเข้าสู่ห้องสถานที่หมดทุกข์หลังเวลา 17.00 น. ก่อนจะนำตัวมัดกับหลักประหารเมื่อเวลา 17.15 น. และถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เวลา 17.21 น. โดยเพชณฆาตเชาวเรศน์ จารุบุณย์ ใช้กระสุนจำนวน 8 นัด[8] และเป็นนักโทษประหารคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย ก่อนจะมีการแก้ประมวลกฎหมายอาญาให้เปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงด้วยปืนเป็นการฉีดยาให้ตายในปี พ.ศ. 2546[9][10]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

ลิงก์จากภายนอก แก้

บรรณานุกรม แก้

  • 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2553). บันทึก.....แดนประหาร คุกบางขวาง. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789746907576.
  • 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2549). เพชฌฆาตคนสุดท้ายเล่มที่ 1. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789749244463.
ก่อนหน้า
ส้มเกลี้ยง สร้อยพลาย
3 กันยายน 2545
บุคคลที่ถูกประหารชีวิตในประเทศไทย
สุดใจ ชนะ
ถัดไป
บุญลือ นาคประสิทธิ์ ,พันพงษ์ สินธุสังข์ , วิบูลย์ ปานะสุทธะและพนม ทองช่างเหล็ก
12 ธันวาคม 2546