เขตมีนบุรี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
มีนบุรี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองและลำรางไหลผ่านหลายสาย ในอดีตเป็นเรือกสวนไร่นา บ่อปลา นาบัว และไร่หญ้า แต่ปัจจุบันเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งถูกเปลี่ยนสภาพเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่น หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ สถานที่ประกอบการทั้งเล็กและขนาดใหญ่
เขตมีนบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Min Buri |
คำขวัญ: เมืองปลา หญ้าดัง จังหวัดเก่า | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตมีนบุรี | |
พิกัด: 13°48′50″N 100°44′53″E / 13.81389°N 100.74806°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 63.645 ตร.กม. (24.573 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 141,018 คน |
• ความหนาแน่น | 2,215.70 คน/ตร.กม. (5,738.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10510 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1010 |
ต้นไม้ ประจำเขต | พิกุล |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 333 ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตมีนบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตคลองสามวา มีคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) ลำรางคูคต ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ถนนหทัยราษฎร์ ลำรางโต๊ะสุข คลองเจ๊ก ลำรางสามวา คลองสามวา ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) คลองลำบึงไผ่ และคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีลำรางข้างซอยราษฎร์อุทิศ 70 คลองแยกคลองลำหินฝั่งใต้ คลองลำหินฝั่งใต้ คลองลำต้นไทร และคลองลำนกแขวกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง มีคลองบึงใหญ่ ลำรางตาทรัพย์ แนวคันนาผ่านถนนคุ้มเกล้า ลำรางตาเสือ ลำรางศาลเจ้าพ่อต่วน แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตมีนบุรีกับเขตลาดกระบัง ถนนร่มเกล้า ลำรางคอวัง คลองสองต้นนุ่น และคลองลำนายโสเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตสะพานสูงและเขตคันนายาว มีคลองลาดบัวขาว คลองแสนแสบ และคลองบางชันเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
แก้คำว่า มีนบุรี แปลว่า "เมืองปลา" เป็นนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2445[3] โดยรวมอำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก) เข้าไว้ในเขตการปกครองของเมือง เหตุที่ใช้ชื่อว่าเมืองปลาเนื่องจากตำบลแสนแสบเป็นบริเวณที่มีบ่อปลามาก และเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเมืองธัญญบุรีที่แปลว่า "เมืองข้าว"[3]
ประวัติ
แก้เขตมีนบุรีในอดีตเป็นท้องที่หนึ่งของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งทางทิศตะวันออกของมณฑลกรุงเทพ ต่อมาใน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รวมท้องที่อำเภอคลองสามวากับอำเภอข้างเคียงอีก 3 อำเภอตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่และพระราชทานนามว่า "เมืองมีนบุรี"[4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) แห่งนี้
ต่อมาใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ[5] เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ตั้งสุขาภิบาลมีนบุรีขึ้นใน พ.ศ. 2498[6] ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้ แยกจากตำบลทรายกองดินใน พ.ศ. 2505[7] และขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[8] ในปีถัดมา
อำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี หลังจากการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง และในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา[9] ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตมีนบุรีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยใช้ถนนร่มเกล้าฟากตะวันออกและคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่ง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
มีนบุรี | Min Buri | 28.459 |
95,942 |
3,371.24 |
|
2. |
แสนแสบ | Saen Saep | 35.186 |
45,076 |
1,281.08
| |
ทั้งหมด | 63.645 |
141,018 |
2,215.70
|
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตมีนบุรี[10] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 108,833 | ไม่ทราบ |
2536 | 116,250 | +7,417 |
2537 | 124,273 | +8,023 |
2538 | 132,957 | +8,684 |
2539 | 148,600 | +15,643 |
2540 | 89,184 | แบ่งเขต |
2541 | 92,480 | +3,296 |
2542 | 98,303 | +5,823 |
2543 | 102,375 | +4,072 |
2544 | 105,877 | +3,502 |
2545 | 109,241 | +3,364 |
2546 | 112,734 | +3,493 |
2547 | 115,210 | +2,476 |
2548 | 118,019 | +2,809 |
2549 | 122,825 | +4,806 |
2550 | 127,727 | +4,902 |
2551 | 134,035 | +6,308 |
2552 | 133,149 | -886 |
2553 | 135,032 | +1,883 |
2554 | 136,236 | +1,204 |
2555 | 137,295 | +1,059 |
2556 | 138,661 | +1,366 |
2557 | 139,771 | +1,110 |
2558 | 140,702 | +931 |
2559 | 141,214 | +512 |
2560 | 141,750 | +536 |
2561 | 142,311 | +561 |
2562 | 142,586 | +275 |
2563 | 142,197 | -389 |
2564 | 141,374 | -823 |
2565 | 141,030 | -344 |
2566 | 141,018 | -12 |
ตราสัญลักษณ์ประจำเขต
แก้ตราสัญลักษณ์ประจำเขตมีนบุรีมีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีปลาตะเพียนสีทองอยู่ตรงกลาง พื้นหลังด้านล่างเป็นพื้นน้ำสีฟ้า มีรวงข้าวสีเขียว สองข้างล้อมรอบด้วยวลี "สำนักงานเขตมีนบุรี" เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยสื่อความหมายถึงความเป็น "เมืองปลา" ตามความหมายของชื่อเมืองมีนบุรีในอดีต และปลาที่ขึ้นชื่อคือปลาตะเพียน[11]
การคมนาคม
แก้ทางสายหลักในพื้นที่เขต ได้แก่
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (สถานีบางชัน, สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ, สถานีตลาดมีนบุรี และ สถานีมีนบุรี)
- ถนนรามอินทรา เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตบางเขน โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและทางพิเศษฉลองรัชได้
- ถนนสีหบุรานุกิจ เชื่อมถนนรามอินทราเข้ากับถนนร่มเกล้า
- ถนนเสรีไทย เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตบางกะปิ โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและถนนลาดพร้าวได้ (โดยถนนลาดพร้าวเชื่อมในสายทางเดียวกัน)
- ถนนรามคำแหง เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตสะพานสูง เขตบางกะปิ และเขตสวนหลวง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้
- ถนนร่มเกล้า เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนมอเตอร์เวย์ สถานีลาดกระบัง และท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิได้
- ถนนสุวินทวงศ์ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตหนองจอก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ถนนนิมิตใหม่ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนลำลูกกาได้
- ถนนหทัยราษฎร์ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยมีถนนสายไหมต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตสายไหม บริเวณรอยต่อเขตสายไหมกับอำเภอลำลูกกา
- ถนนประชาร่วมใจ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และเขตหนองจอก โดยมีถนนมิตรไมตรีต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตหนองจอก
- ถนนราษฎร์อุทิศ เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตหนองจอก โดยมีถนนเลียบวารีต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตหนองจอก
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
- ถนนมีนพัฒนา เชื่อมถนนเสรีไทยเข้ากับถนนรามคำแหง
- ถนนหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ (บึงกระเทียม) เชื่อมถนนรามอินทราเข้ากับถนนเสรีไทย
- ถนนพระยาสุเรนทร์ (รามอินทรา 109) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
- ถนนสามวา เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
- ถนนราษฎร์ร่วมใจ เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
- ถนนคุ้มเกล้า (วัดทองสัมฤทธิ์) เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนเจ้าคุณทหารและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้
- ถนนบึงขวาง เชื่อมถนนร่มเกล้าเข้ากับถนนสุวินทวงศ์
- ซอยรามอินทรา 117 (เจริญพัฒนา) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา โดยมีถนนเจริญพัฒนาต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตคลองสามวา
- ซอยร่มเกล้า 24 (การเคหะร่มเกล้า) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยมีถนนเคหะร่มเกล้าต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนราษฏร์พัฒนาในพื้นที่เขตสะพานสูงได้
- ซอยสุวินทวงศ์ 7 (บ้านเกาะ) และ ซอยราษฎร์อุทิศ 42 เชื่อมถนนสุวินทวงศ์เข้ากับถนนราษฎร์อุทิศ
- ซอยสุวินทวงศ์ 13 (ชุมชนทองสงวน) เชื่อมถนนสุวินทวงศ์เข้ากับถนนราษฎร์อุทิศ
การคมนาคมอื่น ๆ
ทางแยกในพื้นที่
|
โครงการคมนาคมในอนาคต
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (สถานีมีนพัฒนา, สถานีเคหะรามคำแหง, สถานีมีนบุรี และ สถานีแยกร่มเกล้า) อยู่ระหว่างการเตรียมการเปิดให้บริการ
สถานที่สำคัญในเขตมีนบุรี
แก้พิพิธภัณฑ์
แก้- พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองมีนบุรี (เรือนไม้สัก ศาลากลางจังหวัดมีนบุรีเดิม)
- พิพิธภัณฑ์เรือจิ๋ว และอู่เรือจิ๋ว
ตลาดและศูนย์สินค้าชุมชน
แก้- ตลาดเก่ามีนบุรี
- ตลาดนัดจตุจักร 2 มีนบุรี (ตลาดสุขาภิบาลเดิม)
- ตลาดน้ำขวัญ-เรียม
สวนสาธารณะ
แก้- สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 มีนบุรี
สถานที่สำคัญทางศาสนา
แก้- พระพุทธรังสีสวัสดิรังสรรค์ พระพุทธรูปประจำเมืองมีนบุรี ประดิษฐานอยู่ในซุ้มพระสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9
- วัดบางเพ็งใต้
- วัดบำเพ็ญเหนือ
- วัดแสนสุข
- วัดทองสัมฤทธิ์
- วัดใหม่ลำนกแขวก
- วัดศรีกุเรชา
- ศาลเจ้าเจียวตี่เหล่าเอี๊ย
- มัสยิดอัลฮุดา (คลองสามประเวศ)
- มัสยิดอิดดฮาดร์อูลูมุดดีน (แสนแสบฝั่งใต้)
- มัสยิดเราะห์มาตุ้ลอิสลามียะ (บ้านเกาะไผ่เหลือง)
- มัสยิดซอลีฮุสสลาม (บางชัน)
- มัสยิดอัลเอียะห์ซาน (ศาลาคู้)
- มัสยิดอัตตั๊กวา (คลองสองต้นนุ่น)
- มัสยิดซีรอยุดดีน (บ้านเกาะบัวขาว)
- มัสยิดอัลบุ๊ชรอ (คลองสี่วังเล็ก)
- มัสยิดนูรุลฮีดายะห์ (ไผ่เหลือง)
- มัสยิดนูรุลอิสลาม (คูคต)
- มัสยิดนูรุ้ลฮูดา (คลองสองต้นนุ่น)
- มัสยิดกมาลุ้ลเอียะห์ซาน (แสงวิมาน)
- มัสยิดอันนูรอยน์ (บึงขวาง)
- มัสยิดอัลมาดานี (มัซกัร)
- มัสยิดอะห์ลิสซุนนะห์วั้ลยะมาอะห์
- มัสยิดนูรุ้ลญันนะฮ์
สถานศึกษา
แก้- มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า
- โรงเรียนเทพอักษร
- โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
- โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
- โรงเรียนเซนต์มารีอามีนบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร
- โรงเรียนมีนประสาทวิทยา
- โรงเรียนมีนบุรีศึกษา
- โรงเรียนบึงขวาง(มหาดไทยอุปถัมป์)
- ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ เขตมีนบุรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีมีบุรีโปลีเทคนิค
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเจริญพัมนาบริหารธุรกิจ
สนามกีฬา
แก้อุตสาหกรรม
แก้- นิคมอุตสาหกรรมบางชัน (ส่วนเขตมีนบุรี)
สถานที่ราชการ
แก้- ศาลแพ่งมีนบุรี
- ศาลอาญามีนบุรี
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 20 กันยายน 2552.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 สำนักงานเขตมีนบุรี. ความเป็นมาของเขตมีนบุรี. เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 20 กันยายน 2552.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงนครบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (23): 464. 7 กันยายน 2445.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-09-22.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลมีนบุรี อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง ฉบับพิเศษ): 1–2. 17 กันยายน 2498.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (46 ง): 1239–1241. 15 พฤษภาคม 2505.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลมีนบุรี จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (38 ง): 1199–1200. 23 เมษายน 2506.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี และตั้งเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 25–30. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-25. สืบค้นเมื่อ 2016-01-09.