กองพันทหารสารวัตรที่ 21
จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2559[1]
ซึ่งมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัย
โดยมีเจ้ากรมการสารวัตรทหารบกคนปัจจุบันคือ พลตรี รชต วงษ์อารีย์
ผบ.มทบ.21 พลตรี ชลิต บรรจงปรุ[2]

สถานที่ตั้ง


กองพันทหารสารวัตรที่ 21 ค่ายสุรนารี ต.หนองไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000

ประวัติ

ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

        
ปี พ.ศ.๒๔๔๐ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดชทรงสำเร็จวิชาการทหารแผนปัจจุบันจากประเทศในทวีปยุโรปและเสด็จกลับมารับราชการในกระทรวงกลาโหม พระองค์ทรงปรับปรุงกิจการทหาร โดยจัดให้มีการจัด เหล่าทหารต่างๆตามแบบอย่างในต่างประเทศ จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นกำลังกองทัพบก อีกทั้งยังได้จัดให้มีการฝึกและเปลี่ยน การใช้คำบอกคำสั่งต่างๆ จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย มีการกำหนดเครื่องแบบและเครื่องหมายสังกัดเป็นระเบียบโดย แน่ชัด รวมทั้งได้ทรงตรากฏ ระเบียบและวินัย ซึ่งทหารจะต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีสารวัตรทหาร เพื่อ ตรวจตรา กำกับ ดูแล ระเบียบวินัยของทหารภายนอกบริเวณโรงทหาร แต่ขณะนั้นยังไม่ได้มีการจัดตั้งเหล่าทหารสารวัตรขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คงดำเนินการโดยให้แต่ละหน่วยจัดหมู่ตรวจออกไปผลัดเปลี่ยนกันตรวจตราบริเวณตลาด ชุมนุมชน เพื่อดูแลให้เกิดความเรียบร้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกวดขันทหารให้อยู่ในระเบียบ วินัยอันดี และได้แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งสารวัตรใหญ่ทหารบกเป็นผู้ควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว
เมื่อ วันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๐ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้า

จิระประวัติวรเดช ซึ่งดำรงตำแหน่งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ได้ออกข้อบังคับกำหนดหน้าที่สารวัตรใหญ่ทหารบกขึ้นเป็นครั้งแรก

        
ดังนั้นกองทัพบกจึงอนุมัติให้ วันที่ ๒๗ มีนาคม ของทุกปี เป็นวันทหารสารวัตร
ทั้งนี้ เพื่อเป็น ขวัญและกำลังใจแก่ข้าราชการเหล่าทหารสารวัตร ในอันที่จะสร้างเสริมความสามัคคี และเป็นสิริมงคลต่อเหล่าทหารสารวัตรสืบต่อไป

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากิจการสารวัตรทหารได้รับการปรับปรุงมาโดยตลอดจนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ ได้กำหนดให้ทุกมณฑลทหารบกจัดให้มีสารวัตรทหารขึ้น โดยมีหน้าที่ตรวจตราภายในท้องที่ของแต่ละมณฑล ซึ่งสารวัตรทหารเหล่านั้นประดับ ปลอกแขนสีแดงที่แขนข้างขวา และมีจักรสีทองขนาดย่อมติดทับปลอกแขน จึงเป็นเหตุให้ได้รับสมญานามว่าพวกทหารแขนแดง ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นปลอกแขนสีแดงและมีอักษรคำว่า สห สีขาว ติดอยู่ดังเช่นทุกวัน

หน้าที่

สห. ย่อมาจาก สารวัตรทหาร
เป็นทหารเหล่าหนึ่งในกองทัพบก เรือ และอากาศ มีหน้าที่
1. ถวายอารักขาพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
2. สอดส่อง ตรวจตราให้ทหาร ข้าราชการกลาโหมพลเรือน และคนงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม อยู่ในระเบียบวินัย ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
3. ว่ากล่าวตักเตือน จับกุม ข้าราชการทหาร, ทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์), ลูกจ้าง, ข้าราชการกลาโหมพลเรือน และคนงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่กระทำความผิด
4. ควบคุมการจราจรในกิจการทหาร
5. รักษาความปลอดภัยทางวัตถุและอารักขาบุคคลสำคัญ เช่น รมต.กลาโหม,นายกรัฐมนตรี, ผู้บัญชาการทหารบก,เรือ,อากาศ
6. ปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรือนจำทหาร และเชลยศึก ทหารพลัดหน่วยพลเรือนผู้ถูกกักกันในยามสงคราม ตามที่กฎหมาย กฎ ข้อบังคับกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
7. สืบสวนสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหาร
8. กำหนดมาตรการป้องกันอาชญากรรมในวงการทหาร
9. หน้าที่อื่นตามที่กระทรวงกลาโหม หรือผู้มีอำนาจสั่งใช้สารวัตรทหารจะกำหนด
10. สารวัตรทหาร มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารได้ตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่งภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร [3][4]

 
เรื่องจากข่าว
 
เบือร์เซินในปี พ.ศ. 2559
 
วันนี้ในอดีต

1 พฤษภาคม: เมย์เดย์; วันแรงงานสากล; แบลเตย์นในไอร์แลนด์

ดูเพิ่ม: 30 เมษายน1 พฤษภาคม2 พฤษภาคม

|}

 
สารานุกรม

ป้ายบอกทาง

  • ศาลาประชาคม – กระดานข่าว โครงการ ทรัพยากรและกิจกรรมซึ่งครอบคลุมวิกิพีเดียอย่างกว้างขวาง
  • แผนกช่วยเหลือ – ถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานวิกิพีเดีย
  • ปุจฉา-วิสัชนา – ถามข้อสงสัยทั่วไปที่คุณอยากรู้
  • ข่าวไซต์ – ประกาศ อัพเดต บทความและข้อมูลข่าวเกี่ยวกับวิกิพีเดียและมูลนิธิวิกิมีเดีย
  • สภากาแฟ – สำหรับอภิปรายเกี่ยวกับวิกิพีเดีย รวมถึงรายงานปัญหาเทคนิคและเสนอนโยบาย
  • Local Embassy – For Wikipedia-related discussion in languages other than Thai.

โครงการพี่น้อง

วิกิพีเดียดำเนินการโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร ผู้ดำเนินการอีกหลายโครงการ ได้แก่