รัฐบัญญัติปัญญาประดิษฐ์

ข้อกำหนดว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ของสหภาพยุโรป

รัฐบัญญัติปัญญาประดิษฐ์ (อังกฤษ: Artificial Intelligence Act)[a] หรือ รัฐบัญญัติเอไอ (AI Act) เป็นข้อบังคับของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์

ข้อกำหนด
ข้อกำหนดสหภาพยุโรป
ชื่อรัฐบัญญัติปัญญาประดิษฐ์[a]
จัดทำโดยรัฐสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
ประวัติ
คะแนนเสียงในรัฐสภายุโรป13 มีนาคม 2024
คะแนนเสียงในคณะมนตรียุโรป21 พฤษภาคม 2024
เนื้อความเบื้องต้น
เสนอโดยคณะกรรมาธิการ2021/206

รัฐบัญญัตินี้วางกรอบในการจัดระเบียบและกรอบทางกฎหมายร่วมกันสำหรับปัญญาประดิษฐ์ในสหภาพยุโรป[1] รัฐบัญญัตินี้คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอในวันที่ 21 เมษายน 2021[2] ผ่านรัฐสภายุโรปในวันที่ 13 เมษายน 2024[3] และได้รับอนุมัติเป็นเอกฉันท์จากคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปในวันที่ 21 พฤษภาคม 2024[4] รัฐบัญญัตินี้จัดตั้งคณะกรรมการปัญญาประดิษฐ์แห่งยุโรป (European Artificial Intelligence Board) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระดับชาติและสร้างความมั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติตามข้อบังคับ[5] เช่นเดียวกับข้อบังคับการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป รัฐบัญญัติเอไอนี้มีผลนอกอาณาเขตของสหภาพยุโรป ตราบที่มีผู้ใช้งานอยู่ภายในสหภาพยุโรป[6]

รัฐบัญญัตินี้ครอบคลุมปัญญาประดิษฐ์ในสาขาต่าง ๆ ยกเว้นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เฉพาะการทหาร ความมั่นคงของชาติ การวิจัย และการใช้งานที่ไม่ใช่ในเชิงวิชาชีพ[7] ในฐานะที่เป็นข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์ รัฐบัญญัตินี้มิได้ให้สิทธิต่าง ๆ แก่ปัจเจกบุคล แต่มีไว้จัดระเบียบผู้ให้บริการระบบปัญญาประดิษฐ์และหน่วยงานที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในเชิงวิชาชีพ[6] ร่างรัฐบัญญัติได้รับการตรวจแก้เพื่อให้รองรับความนิยมที่พุ่งสูงขึ้นของระบบปัญญาประดิษฐ์ช่วยสร้าง เช่น ChatGPT ซึ่งมีขีดความสามารถที่ไม่สอดรับกับกรอบการทำงานหลักของร่างเดิม[8] นอกจากนี้ยังมีการวางแผนว่าจะมีข้อกำหนดสำหรับระบบเอไอเชิงสังเคราะห์ที่มีขีดจำกัดสูงที่มีผลกระทบเชิงระบบ[9]

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 ชื่อทางการคือ ข้อบังคับของรัฐสภายุโรปและของคณะมนตรีเพื่อวางระเบียบที่สอดคล้องกันในเรื่องปัญญาประดิษฐ์และแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ (อีซี) ที่ 300/2008, (อียู) ที่ 167/2013, (อียู) ที่ 168/2013, (อียู) 2018/858, (อียู) 2018/1139 และ (อียู) 2019/2144 และคำสั่ง 2014/90/อียู, (อียู) 2016/797 และ (อียู) 2020/1828 (อังกฤษ: Regulation of the European Parliament and of the Council laying down harmonised rules on artificial intelligence and amending Regulations (EC) No 300/2008, (EU) No 167/2013, (EU) No 168/2013, (EU) 2018/858, (EU) 2018/1139 and (EU) 2019/2144 and Directives 2014/90/EU, (EU) 2016/797 and (EU) 2020/1828)

อ้างอิง

แก้
  1. "Proposal for a Regulation laying down harmonised rules on artificial intelligence: Shaping Europe's digital future". digital-strategy.ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). 21 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-01-09.
  2. "EUR-Lex – 52021PC0206 – EN – EUR-Lex". eur-lex.europa.eu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
  3. "World's first major act to regulate AI passed by European lawmakers". CNBC. 14 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2024. สืบค้นเมื่อ 13 March 2024.
  4. Browne, Ryan (2024-05-21). "World's first major law for artificial intelligence gets final EU green light". CNBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.
  5. MacCarthy, Mark; Propp, Kenneth (2021-05-04). "Machines learn that Brussels writes the rules: The EU's new AI regulation". Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2021-09-07.
  6. 6.0 6.1 Mueller, Benjamin (2021-05-04). "The Artificial Intelligence Act: A Quick Explainer". Center for Data Innovation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.
  7. "Artificial intelligence act: Council and Parliament strike a deal on the first rules for AI in the world". Council of the EU. 9 December 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2024. สืบค้นเมื่อ January 6, 2024.
  8. Coulter, Martin (December 7, 2023). "What is the EU AI Act and when will regulation come into effect?". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2023. สืบค้นเมื่อ 11 January 2024.
  9. Espinoza, Javier (December 9, 2023). "EU agrees landmark rules on artificial intelligence". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2023. สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.