ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
ศาสตราจารย์พิเศษ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ประธานกรรมการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กรรมการ[1]มูลนิธิสุรเกียรติ์ - ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย[2] อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549
ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | สุรนันทน์ เวชชาชีวะ |
ถัดไป | ชูศักดิ์ ศิรินิล จักรภพ เพ็ญแข |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2486 |
คู่สมรส | สุกัญญา โฆวิไลกูล |
ประวัติ
แก้ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2486[3] สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโททางกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับรองศาสตราจารย์ สุกัญญา โฆวิไลกูล (สกุลเดิม ศิริตันติกร) อดีตอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ผศ.ดร.สิริกัญญา โฆวิไลกูล และนายสิรวิชญ์ โฆวิไลกูล
การทำงาน
แก้ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เริ่มต้นทำงานเป็นทนายความในสำนักงานทนายความประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ จากนั้นจึงได้ย้ายมาทำงานที่บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด และบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด ต่อมาได้เข้ามารับราชการเป็นอาจารย์สอนกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา อีกทั้งยังเป็นอาจารย์พิเศษ โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน หลังจากเกษียณอายุราชการ ได้มารับหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2544 - 2549) [4]
ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 นำโดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีคณะแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5]ในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนั้น ก่อนที่จะลาออกเนื่องจากปัญหาสุขภาพ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่ทำงานได้เพียง 6 เดือน[6]
นอกจากนั้น ยังได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2541 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประธานกรรมการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- ↑ มูลนิธิสุรเกียรติ์
- ↑ "คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
- ↑ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล นายสมหมาย ภาษี)
- ↑ ประสิทธิ์ ไขก๊อก โบกมืออำลาขิงแก่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๗๓๕, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒