ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์
ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2487) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลชวน หลีกภัย อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (ชุมพล ศิลปอาชา) ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์
ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 21 กันยายน พ.ศ. 2541 (0 ปี 311 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | กิจสังคม (2535–2539) ชาติไทย (2544–2551) ชาติไทยพัฒนา (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พัฒนา ศิริวันสาณฑ์ |
ประวัติ
แก้ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2487[1] สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม 8 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมรสกับนางพัฒนา ศิริวันสาณฑ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครสวรรค์ มีบุตร 4 คน[2] หนึ่งในนั้นคือ นายพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ. 2550) ซึ่งเป็นบุตรคนโต
การทำงาน
แก้ธีระวัฒน์ เป็นนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในชื่อ หจก.พรสวัสดิ์ก่อสร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลตาคลี จนถึงปี พ.ศ. 2535 ได้หันเหเข้าสู่งานการเมืองระดับประเทศ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 4 สมัย สังกัดพรรคกิจสังคม โดยได้รับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2535/2 พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 ต่อในปี พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครสวรรค์ ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549
ธีระวัฒน์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายมนตรี พงษ์พานิช) และที่ปรึกษานายสมศักดิ์ เทพสุทิน และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[3]
เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2540 ในช่วงที่มีนายรักเกียรติ สุขธนะ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ ต่อมานายรักเกียรติ ลาออกจากตำแหน่งจากกรณีทุจริตจัดซื้อยา และเขาก็ได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบในครั้งนั้นด้วย
ในปี พ.ศ. 2553 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (ชุมพล ศิลปอาชา) ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ธีระวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "นายธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๐/๒๕๓๙ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง,นายสมชาย เบญจรงคกุล ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี)
- ↑ พท.ปชป.-ชพผ รุมสกรัมเก้าอี้ปากน้ำโพ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐