ณรัชต์ เศวตนันทน์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
พันตำรวจเอก ณรัชต์ เศวตนันทน์ (16 มิถุนายน 2503 -) รองเลขาธิการพระราชวัง[1] กรรมการและเลขานุการ ใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[2] อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์[3] อดีตกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[4][5] คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม[6] อดีตอธิบดีกรมคุมประพฤติ อดีตอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อดีตรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ณรัชต์ เศวตนันทน์ | |
---|---|
รองเลขาธิการพระราชวัง ระดับ11 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 29 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2503 |
คู่สมรส | นวลพรรณ ล่ำซำ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 36 |
ชื่อเล่น | เอ |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม |
---|---|
ประจำการ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2546 กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2563 |
ประวัติ
แก้พันตำรวจเอก ดร.ณรัชต์ เศวนนันท์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2503 มีชื่อเล่นว่า เอ เป็นบุตรชายคนเดียวของพลตำรวจตรี นิทัศน์ เศวตนันทน์ และ รองศาสตราจารย์ อมรรัตน์ เศวตนันทน์[7] ปัจจุบันสมรสกับ นวลพรรณ ล่ำซำ หรือ มาดามแป้ง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557
การศึกษา
แก้- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน รุ่นที่ 20
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 (ตท.20)รุ่นเดียวกับ พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และรองเลขาธิการพระราชวัง
- โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 36 (นรต.36)รุ่นเดียวกับ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ปริญญาโทสาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยเคนทักกี
- ปริญญาเอกสาขาอาชญาวิทยา มหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา[8]
หลักสูตรอื่น
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.54)
- (วตท.8) - สถาบันวิทยาการตลาดทุน
การทำงาน
แก้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ (พ.ศ. 2526 - 2546)
- ผู้กำกับการฝ่ายตำรวจสากล กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กระทรวงยุติธรรม (ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 - 2563)
- ผู้บัญชาการสำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
- ผู้บัญชาการสำนักคดีการเงินและการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ
- ผู้บัญชาการสำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ
- รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
- ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม[9]
- อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ[10]
- อธิบดีกรมคุมประพฤติ[11]
- อธิบดีกรมราชทัณฑ์
สำนักพระราชวัง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)
- รองเลขาธิการพระราชวัง
ตำแหน่งอื่นๆ
- โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ
- โฆษกกระทรวงยุติธรรม
ตำแหน่งและหน้าที่พิเศษ
แก้รางวัล
แก้- รางวัลเกียรติยศจักรดาวประจำปี 2557 สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[17]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[18]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[19]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2549 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[20]
- พ.ศ. 2563 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๔ (ว.ป.ร.๔)[21]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศแต่งตั้งรองเลขาธิการพระราชวัง
- ↑ คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน หน้า ๑๗ เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๒๐ ง ราชกิจจานุเบกษา ๖ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๑๗ ง หน้า ๓ ราชกิจจานุเบกษา ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๒
- ↑ คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ(ฉบับที่๒) เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๖๓ ง หน้า ๑๒ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๓
- ↑ "ประวัติ ณรัชต์ เศวตนันทน์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-05. สืบค้นเมื่อ 2019-06-05.
- ↑ คอลัมน์ ข่าวทะลุคน : ณรัชต์ เศวตนันทน์ นั่งอธิบดีราชทัณฑ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน หน้า ๑๙ เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๒๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน หน้า ๙ เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน หน้า ๔ เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๒๒๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๒ กันยายน ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอน ๒๓๙ ง พิเศษ หน้า ๓ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๘
- ↑ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม
- ↑ "รางวัลเกียรติยศจักรดาวประจำปี 2557 สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-05. สืบค้นเมื่อ 2019-06-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา หน้า ๒ เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓๐ ข, ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑๕ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข, ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า หน้า ๑ เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๔๓ ข, ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๔ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข, ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน หน้า ๒ เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๖๒, ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียจักรพรรดิมาลา หน้า ๗ เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข, ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๑ เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๑๙ ข, ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓