ชินจิ โอโนะ

(เปลี่ยนทางจาก ชินจิ โอะโนะ)

ชินจิ โอโนะ (ญี่ปุ่น: 小野 伸二โรมาจิOno Shinji) เป็นนักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน 1979[2] เล่นในตำแหน่งกองกลาง เขาค้าแข้งอยู่กับสโมสรฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ ในเจลีก 1 ของญี่ปุ่นเป็นสโมสรสุดท้าย

ชินจิ โอโนะ
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ชินจิ โอโนะ
วันเกิด (1979-09-27) 27 กันยายน ค.ศ. 1979 (44 ปี)
สถานที่เกิด นูมาซุ จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนสูง 1.75 m (5 ft 9 in)
ตำแหน่ง กองกลาง
สโมสรเยาวชน
Imazawa Boys Soccer Club
1992–1995 โรงเรียนมัธยมต้นอิมาซาวะ
1995–1998 โรงเรียนพาณิชยการชิมิซุ
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1998–2001 อูราวะ เรดไดมอนส์ 86 (20)
2001–2005 ไฟเยอโนร์ด 112 (19)
2006–2007 อูราวะ เรดไดมอนส์ 53 (8)
2007–2010 เฟาเอ็ฟเอ็ล โบคุม 29 (0)
2010–2012 ชิมิซุ เอส-พัลส์ 64 (8)
2012–2014 เวสเทิร์นซิดนีย์ วอนเดอเรอส์ 51 (10)
2014–2019 ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ 62 (2)
2019–2020 เอ็ฟซี รีวกีว 23 (0)
2021–2023 ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ 5 (0)
ทีมชาติ
1995 ญี่ปุ่น U17 3 (0)
1999 ญี่ปุ่น U20 6 (2)
2004 ญี่ปุ่น U23 3 (2)
1998–2008[1] ญี่ปุ่น 56 (6)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2023 (UTC)

โอโนะได้รับฉายาว่า "อัจฉริยะ" (ญี่ปุ่น: 天才โรมาจิtensai) เป็นหนึ่งในนักฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากคนหนึ่งของวงการฟุตบอลเอเชีย มีทัศนวิสัยที่ดี เทคนิคเยี่ยม การจ่ายบอลที่แม่นยำ[3] แม้ตำแหน่งจะเป็นกองกลางตัวรุก แต่สามารถเล่นได้สารพัดตำแหน่งตั้งแต่กองกลาง กองกลางตัวรับ หรือแม้กระทั่งปีก

เส้นทางอาชีพ แก้

อูราวะ เรดไดมอนส์ แก้

โอโนะเกิดและโตที่จังหวัดชิซูโอกะ และเริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพกับอูราวะ เรดไดมอนส์ในเจลีกเมื่อปี 1998 และในปีเดียวกันนั้น ก็มีชื่อติดทีมชาติญี่ปุ่นชุดใหญ่ไปลุยศึกฟุตบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศสในวัยเพียงแค่ 18 ปีนับว่ามีอายุน้อยที่สุดในทีม[4] หลังจากนั้นเริ่มเข้าตาสโมสรต่างชาติมากขึ้นเมื่อได้ลงเล่นในรายการฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์โลก 1999 ที่ประเทศไนจีเรีย โดยรับหน้าที่เป็นกัปตันทีมฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี โดยนำทีมเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ แต่ในปีต่อมา โอโนะมีปัญหาอาการบาดเจ็บที่หัวเข่ารุนแรงในรอบคัดเลือกรายการโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 กับทีมรุ่นอายุไม่เกิน 2 ปี ทำให้พลาดโอกาสเล่นในช่วงที่เหลือของฤดูกาลและกีฬาโอลิมปิกรอบคัดเลือก

ไฟเยอโนร์ด แก้

หลังจากทำผลงานได้ดีในรายการฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพปี 2001 สโมสรไฟเยอโนร์ดจึงได้ดึงตัวไปร่วมทีมเพื่อลุยศึกเอเรอดีวีซี ลีกสูงสุดของประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี 2001 และในฤดูกาลแรกก็สามารถพาไฟเยอโนร์ดคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพได้ในปี 2002 สร้างประวัติศาสตร์เป็นนักเตะชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้ชูถ้วยแชมป์ยุโรป แต่หลังจากนั้น โอโนะมีปัญหาอาการบาดเจ็บที่เอ็นทำให้ไม่ได้ลงเล่นเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในฤดูกาล 2004-05 ที่พลาดการลงสนามเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้สโมสรตัดสินใจขายออกไป[5] อย่างไรก็ตาม โอโนะถือว่าเป็นนักเตะที่ประสบความสำเร็จในเมืองรอตเทอร์ดามไม่น้อย แม้กระทั่งเวสลีย์ สไนเดอร์ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์ยังเคยยอมรับว่าชินจิ โอโนะ เป็นนักฟุตบอลที่ต่อกรด้วยยากที่สุด[6]

กลับอูราวะ เรดไดมอนส์ แก้

หลังจากนั้นในปี 2006 โอโนะเดินทางกลับมาค้าแข้งที่เจลีกอีกครั้งกับต้นสังกัดเดิม โดยเซ็นสัญญา 3 ปี

โบคุม แก้

ในช่วงตลาดหน้าหนาวปี 2008 สโมสรโบคุมในประเทศเยอรมนีในระดับบุนเดิสลีกาได้ซื้อตัวโอโนะไปร่วมทีม และโอโนะได้ประเดิมสนามเป็นครั้งแรกในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ปี 2008 ในเกมที่พบกับแวร์เดอร์ เบรเมนและทำสองแอสซิสต์ช่วยให้โบคุมบุกเอาชนะเบรเมนได้เป็นครั้งแรก แต่ในช่วงสองปีต่อมา โอโนะได้รับบาดเจ็บรุนแรงจนทำให้ได้ลงสนามให้กับโบคุมไปเพียงแค่ 34 นัด แม้จะทำไป 4 แอสซิสต์แต่สโมสรยังไม่ประทับใจในผลงาน และเมื่อช่วงพักเบรกหน้าหนาวของฤดูกาล 2009-10 โอโนะตัดสินใจขอย้ายกลับญี่ปุ่นด้วยเหตุผลส่วนตัว และสโมสรก็ยินยอมปล่อยตัวภายใต้เงื่อนไขที่ว่าสโมสรต้องหาตัวแทนให้ได้ก่อน ชื่อของโอโนะในวัย 30 ปีนั้นทำให้สโมสรในญี่ปุ่นหลายแห่งสนใจ

ชิมิซุ เอส-พัลส์ แก้

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2010 โอโนะได้มาค้าแข้งที่จังหวัดชิซูโอกะบ้านเกิดอีกครั้งด้วยการเซ็นสัญญากับชิมิซุ เอส-พัลส์ ด้วยค่าตัวเพียง 300,000 ยูโร เพราะสัญญากับโบคุมกำลังจะหมดในช่วงฤดูร้อนปี 2010 โอโนะให้เหตุผลในการกลับมาครั้งนี้ว่าอยากจะกลับมาใช้ชีวิตอยู่กับภรรยาและลูกๆที่อยู่ที่ญี่ปุ่น[7]

เวสเทิร์นซิดนีย์ วอนเดอเรอส์ แก้

ในวันที่ 28 กันยายน 2012 โอโนะได้ย้ายไปร่วมกับเวสเทิร์นซิดนีย์ วอนเดอเรอส์ในเอลีกของประเทศออสเตรเลียด้วยสัญญาสองปี และได้ลงประเดิมสนามในวันที่ 6 ตุลาคม ในเกมที่เสมอแบบไร้สกอร์กับเซนทรัลโคสต์ มาริเนอร์ส ซึ่งเป็นเกมแรกของฤดูกาล หลังจากนั้นช่วยยิงประตูให้กับทีมหลายครั้ง แต่ตัดสินใจกลับญี่ปุ่นอีกครั้ง โดยในวันที่ 16 มกราคม 2014 สโมสรได้ประกาศว่าโอโนะจะกลับญี่ปุ่นหลีงจากจบฤดูกาลในช่วงฤดูร้อน ซึ่งในตอนนั้น โอโนะตกเป็นข่าวกับทีมในเจลีก ดิวิชัน 2อย่างคอนซาโดเล ซัปโปโระที่สนใจจะดึงตัวไปร่วมทีมในช่วงครึ่งฤดูกาลหลัง หวังจะขึ้นลีกสูงสุด[8] และในวันที่ 4 พฤษภาคม 2014 โอโนะเล่นเกมเอลีกเป็นนักสุดท้ายในเกมที่พบกับบริสเบน โรร์

คอนซาโดเล ซัปโปโระ แก้

หลังจากหมดสัญญากับทีมเอลีก โอโนะกลับญี่ปุ่นอีกครั้งด้วยการเซ็นสัญญากับคอนซาโดเล ซัปโปโระในเดือนพฤษภาคม 2014

ระดับนานาชาติ แก้

เมื่อไหร่ก็ตามที่โอโนะมีสภาพร่างกายที่ฟิตสมบูรณ์ มักจะถูกเรียกตัวติดทีมชาติเสมอ โดยได้ลงประเดิมสนามในนามทีมชาติชุดใหญ่ในวันที่ 1 เมษายน 1998 ในเกมอุ่นเครื่องกับทีมชาติเกาหลีใต้ หลังจากมีชื่อติดทีมชาติชุดลุยศึกฟุตบอลโลก 1998 ก็กลายเป็นกำลังหลักในการลุยฟุตบอลโลก 2002 ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่นร่วมกันเป็นเจ้าภาพ โอโนะมาทุกระดับตั้งแต่รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี และยังเป็นหนึ่งในสามผู้เล่นที่อายุเกินโควตาสำหรับการลงเล่นฟุตบอลโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่กรุงเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม อาการบาดเจ็บทำให้โอโนะพลาดการลงช่วยทีมในรอบคัดเลือกรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2006 และพลาดรายการคอนเฟเดอเรชันส์คัพปี 2003 และ 2005 แต่ก็กลับมาฟิตทันติดทีมชาติลุยศึกฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเป็นครั้งที่ 3 ในชีวิตที่เยอรมนี

สถิติระดับสโมสร แก้

ข้อมูลล่าสุด 23 กุมภาพันธ์ 2016.[9]

สโมสร ฤดูกาล ลีก ถ้วย ลีกคัพ ระดับทวีป อื่นๆ รวม
ลงสนาม ประตู ลงสนาม ประตู ลงสนาม ประตู ลงสนาม ประตู ลงสนาม ประตู ลงสนาม ประตู
อูราวะ เรดไดมอนส์ 1998 27 9 2 0 0 0 29 9
1999 14 2 2 0 0 0 16 2
2000 24 7 2 1 26 8
2001 14 2 4 3 18 5
ไฟเยอโนร์ด 2001–02 30 3 2 1 12 2 44 6
2002–03 29 7 2 0 5 0 3 2 39 9
2003–04 24 2 1 0 4 0 29 2
2004–05 25 7 2 0 7 1 34 8
2005–06 4 0 0 0 1 0 5 0
อูราวะ เรดไดมอนส์ 2006 28 5 4 3 1 1 1 0 34 9
2007 25 3 0 0 2 1 8 2 2 0 37 6
โบคุม 2007–08 12 0 12 0
2008–09 8 0 2 0 10 0
2009–10 9 0 1 0 10 0
ชิมิซุ เอส-พัลส์ 2010 30 2 5 1 6 1 41 4
2011 26 6 2 1 2 1 30 8
2012 14 0 0 0 0 0 14 0
เวสเทิร์น ซิดนีย์ วอนเดอเรอส์ 2012-13 24 7 2 1 26 8
2013-14 23 2 6 1 2 0 31 3
คอนซาโดเล ซัปโปโระ 2014 7 0 0 0 7 0
2015 17 2 2 0 19 2
รวม 424 66 29 7 15 7 43 6 10 3 521 89

1รวมทั้งรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก ยูฟ่าซูเปอร์คัพ เจแปนนีสซูเปอร์คัพ ฟีฟ่าคลับเวิร์ลด์คัพ และเอลีกไฟนอลซีรีส์

เกียรติยศ แก้

ระดับชาติ แก้

ระดับสโมสร แก้

ระดับบุคคล แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ONO Shinji". Japan National Football Team Database. สืบค้นเมื่อ 7 October 2012.
  2. "Shinji Ono". worldfootball.net. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  3. Hassett, Sebastian (22 September 2012). "Japan's genius ponders taking wander out west". smh.com.au. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  4. "About Shinji Captain". Ono Shinji Official Web Site. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-25. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  5. "Feyenoord midfielder Ono on his way home to join Urawa Reds". thestar.com.my. 15 January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-21. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  6. "Wes Sneijder: analysis of world class player". International Football News - World Cup Blog. 31 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-14. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  7. "Shinji Ono im exklusiven Abschiedsinterview: Wegen der Familie zurück nach Japan" (ภาษาเยอรมัน). goal.com. 9 January 2010. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  8. "Shinji Ono to return to Japan at season's end". Football Federation Australia. 16 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-04. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
  9. Nippon Sports Kikaku Publishing inc./日本スポーツ企画出版社, "2016J1&J2&J3選手名鑑", 10 February 2016, Japan, ISBN 978-4905411338 (p. 196 out of 289)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้