เจลีก

การแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพของประเทศญี่ปุ่น

ฟุตบอลลีกอาชีพญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本プロサッカーリーグโรมาจิNihon Puro Sakkā Rīgu)[1] โดยทั่วไปเรียกสั้น ๆ ว่า เจลีก (ญี่ปุ่น: JリーグโรมาจิJē Rīgu) และเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ เมจิ ยาซูดะ เจลีก (ญี่ปุ่น: 明治安田Jリーグ) เนื่องจากสนับสนุนโดย เมจิ ยาซูดะ ไลฟ์ เป็นลีกฟุตบอลชายในประเทศญี่ปุ่น มีหน้าที่จัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพรายการหลักของประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ เจ1, เจ2 และเจ3ลีก

เจลีก
ก่อตั้ง1 พฤศจิกายน 1991; 33 ปีก่อน (1991-11-01)
ฤดูกาลแรก1993
ประเทศญี่ปุ่น
สมาพันธ์เอเอฟซี
ดิวิชันเจ1ลีก
เจ2ลีก
เจ3ลีก
จำนวนทีม60
ระดับในพีระมิด1–3
ถ้วยระดับประเทศถ้วยพระจักรพรรดิ
ฟูจิฟิล์มซูเปอร์คัพ
ถ้วยระดับลีกเจลีกวายบีซีเลเวนคัพ
ถ้วยระดับนานาชาติเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู
ทีมชนะเลิศปัจจุบันเจ1: วิสเซล โคเบะ (สมัยที่ 2)
เจ2: ชิมิซุ เอส-พัลส์ (สมัยที่ 1)
เจ3: โอมิยะ อาร์ดิจา (สมัยที่ 1)
(ฤดูกาล 2024)
ชนะเลิศมากที่สุดเจ1: คาชิมะ แอนต์เลอส์ (8 สมัย)
เจ2: ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ (3 สมัย)
เจ3: เบลาบลิตซ์ อากิตะ (2 สมัย)
หุ้นส่วนโทรทัศน์ดะโซน
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
ปัจจุบัน:
เจ1ลีก 2025;
14 กุมภาพันธ์ – 6 ธันวาคม

เจ2ลีก 2025;
15 กุมภาพันธ์ – 29 พฤศจิกายน

เจ3ลีก 2025;
15 กุมภาพันธ์ – 6 ธันวาคม

ก่อตั้งใน ค.ศ. 1993 โดยเป็นลีกฟุตบอลอาชีพแห่งแรกของเอเชีย และเป็นหนึ่งในลีกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชีย แต่เดิมก่อตั้งขึ้นเป็นดิวิชันเดียว ต่อมาจึงก่อตั้งดิวิชันสอง เจ2ลีก ใน ค.ศ. 1999 และตามมาด้วยดิวิชันสาม เจ3ลีก ใน ค.ศ. 2013

ประวัติ

แก้

ก่อนเข้าสู่ลีกอาชีพ (ก่อน ค.ศ. 1992)

แก้

ก่อนการก่อตั้งเจลีก การแข่งขันระดับสูงสุดของสโมสรฟุตบอลคือ เจแปนซอกเกอร์ลีก (เจเอสแอล) ซึ่งประกอบด้วยสโมสรสมัครเล่น[2][3] แม้ว่าจะมีผู้คนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 (เมื่อทีมชาติญี่ปุ่นได้รับเหรียญทองแดงโอลิมปิกที่เม็กซิโกเมื่อ ค.ศ. 1968 แต่เจเอสแอลก็เริ่มซบเซาอีกครั้งในช่วงทศวรรษ 1980 เช่นเดียวกับฟุตบอลลีกทั่วโลก แฟนบอลลดน้อยลง สนามคุณภาพไม่ดี และทีมชาติญี่ปุ่นก็ไม่ได้ทีมชั้นนำของเอเชียแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (เจเอฟเอ) จึงได้ตัดสินใจก่อตั้งลีกอาชีพขึ้นมาเพื่อยกระดับของทีมชาติเพิ่มความนิยมให้กับลีกในประเทศ และให้มีแฟนบอลมากขึ้น ในยุคนี้ นักลงทุนฟุตบอลญี่ปุ่นต่างมุ่งหน้าสู่ยุโรปโดยเฉพาะเพื่อค้นหารูปแบบที่เป็นไปได้ ในที่สุด ญี่ปุ่นก็ยอมรับโมเดลของบุนเดสลีกาของเยอรมนีเพื่อพัฒนาลีกอาชีพของตัวเอง[4]

เจลีกก่อตั้งใน ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นลีกฟุตบอลอาชีพ โดยมีแปดสโมสรดึงมาจากเจเอสแอล ดิวิชัน 1 หนึ่งสโมสรจากดิวิชัน 2 และชิมิซุ เอส-พัลส์ สโมสรที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ ในเวลาเดียวกัน เจเอสแอลเปลี่ยนชื่อเป็น เจแปนฟุตบอลลีก และกลายเป็นลีกกึ่งอาชีพ ถึงแม้ว่าเจลีกจะยังไม่ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการจนกระทั่งใน ค.ศ. 1993 แต่การแข่งขันยามาซากิ นาบิสโก คัพก็ได้จัดขึ้นระหว่างสิบสโมสรใน ค.ศ. 1992 เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับฤดูกาลเปิดตัว

ฤดูกาลเปิดตัวและความเฟื่องฟูของเจลีก (1993–1995)

แก้

เจลีกเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในฤดูกาลแรกโดยมีสิบสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน นัดแรกของฤดูกาลคือเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 ในนัดการแข่งขัน ระหว่างเวร์ดี คาวาซากิ กับโยโกฮามะ มารินอส ที่สนามกีฬาแห่งชาติโตเกียว

หลังยุครุ่งเรือง (1996–1999)

แก้

สามปีแรกของเจลีกประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในต้นปี 1996 แฟนบอลลดลงอย่างรวดเร้ว และในปี 1997 มีแฟนบอลเข้าชมเฉลี่ยต่อเกมเหลือเพียงแค่ 10,131 คนเท่านั้น เทียบกับในปี 1994 มีแฟนบอลเกมละ 19,000 คน

เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานและรูปแบบเกม (1999–2004)

แก้

ฝ่ายจัดการแข่งขันมองว่าแนวทางในขณะนั้นน่าจะเป็แนวทางที่ผิด จึงได้เริ่มแก้ปัญหา โดยมีทางแก้ไขอยู่สองวิธีด้วยกัน

วิธีแรก คือการออก วิสัยทัศน์ เจลีก 100 ปี โดยตั้งเป้าว่าจะต้องมีสโมสรอาชีพ 100 สโมสรในประเทศญี่ปุ่นภายในปี 2092 ซึ่งจะเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีของลีกพอดี นอกจากนี้ ฝ่ายจัดการแข่งขันลีกยังสนับสนุนให้สโมสรต่างๆช่วยกันสนับสนุนกีฬาฟุตบอลและกีฬาอื่นๆในท้องถิ่นเพื่อให้ได้รับความนิยมจากคนพื้นที่มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มรากหญ้า และสนับสนุนให้หาผู้สนับสนุนเป็นธุรกิจใหญ่ในท้องที่นั้นๆ ทางลีกเชื่อว่าความสัมพันธ์กับเมืองและชาวเมืองนั้นจะทำให้สโมสรดีขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน มากกว่าการมุ่งหาผู้สนับสนุนที่เป็นนักธุรกิจเจ้าใหญ่ๆระดับประเทศอย่างเดียวเท่านั้น

วิธีที่สองคือ การปรับโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ของลีกในปี 1999 โดยมี 9 สโมสรจากลีกกึ่งอาชีพ JFL และอีก 1 สโมสรจากเจลีก ร่วมสร้าง เจลีก ดิวิชัน 2 เริ่มทำการแข่งขันตั้งแต่ปี 1999 และดันให้ลีกอันดับสองอย่าง JFL กลายเป็นลีกอันดับ 3 ไป

และในยุคนี้จนถึงปี 2004 (ยกเว้นปี 1996) เจลีกถูกแบ่งเป็น 2 เลก และนำแชมป์เลกแรกกับเลกที่สองมาเพลย์ออฟหาแชมป์และรองแชมป์ของลีกไป แต่ถ้าแชมป์เลกแรกกับเลกสองเป็นทีมเดียวกันก็ถือว่าเป็นแชมป์ไปโดยปริยาย แต่ระบบนี้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2005

ใช้ระบบลีกยุโรปและเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก (2005–2008)

แก้

นับตั้งแต่ฤดูกาล 2005 เจลีก ดิวิชัน 1 มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 18 ทีม (จากที่เคยมี 16 ทีมในปี 2004) และระบบฤดูกาลแข่งขันเริ่มเปลี่ยนมาใช้แบบสโมสรในยุโรป ทีมที่ต้องตกชั้นเพื่มจาก 2 เป็น 2.5 ทีม นั่นคือ ทีมอันดับสามจากท้ายตารางจะต้องไปเล่นเพลย์ออฟกับทีมอันดับ 3 ในเจลีกดิวิชัน 2 เพื่อหาผู้ที่ต้องตกไปอยู่ดิวิชัน 2

อย่างไรก็ตาม ในสมัยก่อน สโมสรเจลีกไม่ค่อยจะจริงจังกับการแข่งชันเอเชียนแชมเปียนส์ลีกเท่าไหร่นักเนื่องจากต้องเดินทางไกลและคุณภาพของทีมที่ต้องแข่งด้วยนั้นยังไม่น่าสนใจเท่าไรนัก แต่ในปี 2008 มีทีมญี่ปุ่นผ่านเข้าไปสู่รอบก่อนรองชนะเลิศถึง 3 ทีมด้วยกัน[5]

แต่เมื่อได้มีการผนวกเอลีกเข้าสู่ฟุตบอลเอเชียตะวันออก และเริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ชาวเอเชียเริ่มหันมาสนใจฟุตบอลรายการนี้กันมากขึ้น ทำให้ลีกญี่ปุ่นและสโมสรต่างๆของญี่ปุ่นเริ่มหันมาให้ความสนใจฟุตบอลรายการเอเชียมากขึ้น เช่นคาวาซากิ ฟรอนตาเลที่เริ่มสร้างฐานแฟนบอลในฮ่องกงได้หลังจากที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้ในฤดูกาล 2007[6] และจากการที่อูราวะ เรดไดมอนส์และกัมบะ โอซากะคว้าแชมป์เอเชียได้ในปี 2007 และ 2008 ความนิยมและความสนใจในฟุตบอลเวทีเอเชียก็เริ่มมีกขึ้น ด้วยเหตุนี้ ประกอบกับการจัดการลีกที่ดี สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียจึงได้ยกย่องให้เจลีกเป็นลีกที่อยู่ในอันดับสงสุด และมีโอกาสเล่นฟุตบอลเอเชียถ้วยใหญ่ถึง 4 ทีมนับตั้งแต่ปี 2009 และลีกยังได้โอกาสในการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดให้กับต่างประเทศ โดยเฉพาะในชาติเอเชียด้วยกัน

นับตั้งแต่ปี 2008 แชมป์รายการถ้วยพระจักรพรรดิสามารถเข้าร่วมการแข่งขันแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาลต่อไปได้เลย แทนที่จะต้องรอไปเล่นในปีถัดไป (เช่น โตเกียว เวอร์ดีที่เคยได้แชมป์รายการนี้ในปี 2005 แต่ต้องไปแข่งระดับเอเชียในฤดูกาล 2007 แทนที่จะเป็นฤดูกาล 2006) ด้วยเหตุนี้ จึงมีหนึ่งทีมที่ต้องเสียสละ นั่นคือ คาชิมะแอนต์เลอส์ที่ได้แชมป์ในปี 2007 ก็ถูกระงับสิทธิ์ในการไปเล่นแทน แต่อย่างไรก็ตาม คาชิมะแอนต์เลอส์ก็ยังสามารถไปเล่นฟุตบอลเอเชียในปี 2009 ได้เนื่องจากสามารถคว้าแชมป์เจลีก ดิวิชัน 1 ในปี 2008 ได้นั่นเอง

ยุคใหม่ (2009–2014)

แก้

ในปี 2009 เกิดการเปลี่ยนแปลงในลีกครั้งใหญ่อีกครั้ง เริ่มจากการมี 4 สโมสรเข้าร่วมรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ต่อด้วยการมีทีมตกชั้นเพิ่มเป็น 3 ทีม นอกจากนี้ ด้วยกฎใหม่ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เจลีกจึงต้องตั้งกฎให้มีผู้เล่นต่างชาติได้เพียง 4 คน แต่ต้องมี 1 คนที่มาจากชาติสมาชิกของสมาพันธ์ (ที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น) นอกจากนั้น ยังมีการบังคับใช้ระบบไลเซนส์ของสโมสรเจลีกเพื่อตั้งมาตรฐานการอยู่ในลีกอาชีพสูงสุด

ระบบสามขั้น (2015–ปัจจุบัน)

แก้

นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ระบบลีกของเจลีกถูกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน โดยในหนึ่งปีจะถูกแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ช่วง ส่วนช่วงที่สามจะเป็นช่วงสำหรับการเพลย์ออฟเพื่อตัดสินแชมป์ โดยมีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน 5 ทีม ได้แก่ ทีมที่ทำคะแนนรวมสูงสุด 1 ทีม ทีมที่เก็บคะแนนได้มากที่สุดสองทีมในช่วงที่ 1 และทีมที่เก็บคะแนนได้มากที่สุดสองทีมในช่วงที่ 2 แต่ระบบนี้ได้มีการยกเลิกและเปลี่ยนไปเป็นระบบตารางคะแนนเดียวเช่นเดิมตั้งแต่ปี 2017 หลังจากได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์และได้รับเสียงตอบรับที่ไม่ดีจากแฟนบอล

ผู้ชนะเลิศ

แก้
ปี ผู้ชนะเลิศเจ1 ผู้ชนะเลิศเจ2 ผู้ชนะเลิศเจ3
เวร์ดี คาวาซากิ (เจเอฟแอลเก่า) (เจเอฟแอล ดิวิชัน 2 เก่า)
เวร์ดี คาวาซากิ ไม่มีดิวิชันสามระดับชาติ
โยโกฮามะ มารินอส
คาชิมะ แอนต์เลอส์
จูบิโล อิวาตะ
คาชิมะ แอนต์เลอส์
จูบิโล อิวาตะ คาวาซากิ ฟรอนตาเล (เจเอฟแอลใหม่)
คาชิมะ แอนต์เลอส์ คอนซาโดเล ซัปโปโระ
คาชิมะ แอนต์เลอส์ เกียวโต เพอร์เพิล ซังงะ
จูบิโล อิวาตะ โออิตะทรินิตา
โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ
โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส คาวาซากิ ฟรอนตาเล
กัมบะ โอซากะ เกียวโต เพอร์เพิล ซังงะ
อูราวะ เรดไดมอนส์ โยโกฮามะ
คาชิมะ แอนต์เลอส์ คอนซาโดเล ซัปโปโระ
คาชิมะ แอนต์เลอส์ ซานเฟรชเช ฮิโรชิมะ
คาชิมะ แอนต์เลอส์ เวกัลตะ เซ็นได
นาโงยะ แกรมปัส คาชิวะ เรย์โซล
คาชิวะ เรย์โซล โตเกียว
ซานเฟรชเช ฮิโรชิมะ เวนท์ฟอเรท โคฟุ
ซานเฟรชเช ฮิโรชิมะ กัมบะ โอซากะ
กัมบะ โอซากะ โชนัน เบลมาเร ซไวเกิน คานาซาวะ
ซานเฟรชเช ฮิโรชิมะ โอมิยะ อาร์ดิจา รีโนฟา ยามางูจิ
คาชิมะ แอนต์เลอส์ คอนซาโดเล ซัปโปโระ โออิตะทรินิตา
คาวาซากิ ฟรอนตาเล โชนัน เบลมาเร เบลาบลิตซ์ อากิตะ
คาวาซากิ ฟรอนตาเล มัตสึโมโตะ ยามางะ ริวกิว
โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส คาชิวะ เรย์โซล กิราวานซ์ คิตะคิวชู
คาวาซากิ ฟรอนตาเล โทกูชิมะ วอร์ติส เบลาบลิตซ์ อากิตะ
คาวาซากิ ฟรอนตาเล จูบิโล อิวาตะ โรอัสโซ คูมาโมโตะ
โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ อิวากิ
วิสเซล โคเบะ มาจิดะ เซลเวีย เอฮิเมะ
วิสเซล โคเบะ ชิมิซุ เอส-พัลส์ โอมิยะ อาร์ดิจา

ดูเพิ่ม

แก้
ลีก
ถ้วย

อ้างอิง

แก้
  1. サッカー用語集 [Football glossary]. JFA (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Football Association. January 25, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2019. สืบค้นเมื่อ February 24, 2019. 「日本プロサッカーリーグ」の読みは、「にほんプロサッカーリーグ」。
  2. "Football finds a home in Japan". FIFA.com. December 12, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2013. สืบค้นเมื่อ December 22, 2013.
  3. "When Saturday Comes - How Japan created a successful league". Wsc.co.uk. July 18, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2016. สืบค้นเมื่อ December 22, 2013.
  4. "German Bundesliga, Japanese Football Share Mutually Beneficial Relationship". Bleacher Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
  5. John Duerden (11 August 2008). "Asian Debate: Is Japan Becoming Asia's Leader?". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 19 August 2012.
  6. 川崎Fが香港でブレーク中、生中継で火 (ภาษาญี่ปุ่น). NikkanSports. March 8, 2008. สืบค้นเมื่อ March 8, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้