ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ

(เปลี่ยนทางจาก คอนซาโดเล ซัปโปโระ)

สโมสรฟุตบอลฮกไกโดคอนซาโดเลซัปโปโระ (ญี่ปุ่น: 北海道コンサドーレ札幌โรมาจิHokkaidō Konsadōre Sapporo; อังกฤษ: Hokkaido Consadole Sapporo)[2] เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่น ปัจจุบันอยู่ในระดับเจลีก ดิวิชัน 1 โดยมีสนามเหย้าอยู่ที่เมืองซัปโปโระ จังหวัดฮกไกโด

ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ
北海道コンサドーレ札幌
logo
ชื่อเต็มฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ
ฉายาเค้าแมวเมืองเหนือ
ก่อตั้ง1935; 89 ปีที่แล้ว (1935) (ในชื่อ โตชิบา โฮริกาวะ โช เอสซี)
สนามซัปโปโระโดม ซัปโปโระ
Ground ความจุ41,484 ที่นั่ง
เจ้าของอิซาโอะ อิชิมิซุ (11.4%)
อิชิยะ (9.5%)[1]
ประธานยาชิคาซุ โนโนมูระ
ผู้จัดการมิไฮโล เปโตรวิช
ลีกเจลีก ดิวิชัน 1
2023เจลีก ดิวิชัน 1,อันดับที่ 12
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

ชื่อสโมสรคำว่า "คอนซาโดเล" นั้นมาจากคำว่า "คนซะโด" ที่แปลงมาจากการอ่านกลับหลังของคำในภาษาญี่ปุ่นว่า "โดซังโคะ" (道産子) ที่หมายถึง "ลูกหลานชาวฮกไกโด" ผสมกับคำว่า "โอเล" (Ole) ในภาษาสเปน

สนามเหย้า "ซัปโปโระโดม" ของสโมสรนั้นยังเป็นรังเหย้าของทีมเบสบอล ฮกไกโด นิปปอน-แฮม ไฟท์เตอร์ส อีกด้วย เกมเหย้าบางเกมจึงต้องย้ายไปใช้สนาม "ซัปโปโระ อัตสึเบ็ตสึ พาร์ก" แทน

ปัจจุบัน สโมสรมีผู้เล่นทีมชาติไทยมาค้าแข้งอยู่ด้วยคือ สุภโชค สารชาติ ในอดีตสโมสรมีผู้เล่นทีมชาติไทยมาค้าแข้งอยู่ด้วยคือ ชนาธิป สรงกระสินธ์[3][4] และ กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์

ประวัติ แก้

โตชิบา เอสซี (1935-1995) แก้

คอนซาโดเล ซัปโปโระ เริ่มต้นจากการเป็นทีมองค์กรของบริษัทโตชิบาในชื่อ โตชิบา โฮริกาวะ โช ซอคเกอร์ คลับ มีรังเหย้าอยู่ที่เมืองคาวาซากิ จังหวัดคานางาวะ ใกล้กับกรุงโตเกียว ก่อนจะเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นฟุตบอลลีกอาชีพที่เทียบเท่ากับเจลีก ดิวิชัน 2 ในปัจจุบันในปี 1978[5] และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โตชิบา ซอคเกอร์ คลับ ในปี 1980 และเลื่อนชั้นขึ้นสู่ JSL ดิวิชัน 1 ได้สำเร็จในปี 1989 แต่เมื่อมีการก่อตั้งเจลีกในปี 1992 สโมสรมีคุณสมบัติไม่ผ่านที่จะเล่นในลีกสูงสุด จึงได้เล่นในลีกรองที่ชื่อ Japan Football League จนถึงปี 1995

สโมสรต้องการจะยกระดับไปเป็นทีมฟุตบอลอาชีพ แต่ในขณะนั้น เจ้าของบริษัทโตชิบามองว่าการจะให้เมืองคาวาซากิเป็นถิ่นฐานของทีมอาจจะไม่เหมาะนัก เพราะเมืองมีสโมสรเวอร์ดี คาวาซากิอยู่แล้วซึ่งกำลังอยู่ในยุครุ่งเรืองเช่นกันและการจะมีสองทีมใหญ่อยู่ในย่านเดียวกันถือเป็นเรื่องยาก จึงได้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานของสโมสรไปที่เมืองซัปโปโระ โดยทางการของเมืองซัปโปโระให้การต้อนรับอย่างเต็มที่เพราะกำลังสร้างสนามซัปโปโระโดมที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2001 ด้วยเหตุนี้ สโมสรจึงได้เปลี่ยนมือเจ้าของจากบริษัทโตชิบาไปสู่บริษัทสโมสรฟุตบอลฮกไกโดจำกัด (มหาชน) และเริ่มร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกอีกครั้งในฤดูกาล 1996 และแม้ปัจจุบัน โตชิบาจะไม่ได้มีผลประโยชน์ทางการเงินใด ๆ กับสโมสรแล้ว แต่สโมสรยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของการใช้สีแดง-ดำซึ่งเป็นสีของบริษัทโตชิบาเอาไว้ ทำให้สีประจำสโมสรไม่เปลี่ยนแปลงไป[6]

คอนซาโดเล ซัปโปโระ (1996-) แก้

คอนซาโดเล ซัปโปโระ เริ่มเล่นฟุตบอลลีกในระดับ JFL โดยใช้สิทธิ์ต่อจากโตชิบา เอสซีในฤดูกาล 1996 แต่ก็จบที่อันดับ 5 ไม่สามารถเลื่อนชั้นได้ แต่ในปีต่อมา สามารถคว้าแชมป์ JFL เลื่อนชั้นไปเล่นเจลีก ดิวิชัน 1สำเร็จ

ฤดูกาล 1998 คอนซาโดเล ซัปโปโระ ได้สัมผัสเกมเจลีกระดับสูงสุดเป็นฤดูกาลแรก แต่ก็จบที่อันดับ 14 จากทั้งหมด 18 ทีม ต้องไปเล่นเพลย์ออฟเพื่อหาทีมที่ต้องตกชั้นและได้เลื่อนชั้น และสโมสรก็พ่ายแพ้ให้กับวิสเซล โคเบะและอวิสปาฟูกูโอะกะในทั้ง 4 เกม จนกลายมาเป็นสโมสรแรกที่ต้องตกชั้นในประวัติศาสตร์ของเจลีก เพราะปีต่อมาเจลีกแบ่งออกเป็น 2 ดิวิชันพอดี คือ เจลีก ดิวิชัน 1 และ เจลีก ดิวิชัน 2 ทีตั้งขึ้นมาแทน JFL[7]

ในปี 1999 สโมสรแต่งตั้งทาเกชิ โอกาดะ อดีตโค้ชฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นเป็นโค้ชประจำสโมสรโดยมีเป้าหมายเพื่อเลื่อนชั้นไปสู่ลีกสูงุดให้สำเร็จ แต่ก็จบที่อันดับ 5 และไม่สามารถเลื่อนชั้นได้ นับเป็นผลเสียหายอย่างมาก เพราะสโมสรได้ทุ่มเม็ดเงินไปมากมาย ส่งผลให้เป็นหนี้มากกว่า 3 พันล้านเยน (ประมาณ 1 พันล้านบาท) เสี่ยงต่อการล้มละลาย

ในปี 2000 สโมสรจึงดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดอย่างเข้มงวด เน้นใช้ผู้เล่นที่มาจากการยืมตัวเป็นหลัก และแผนการนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะสโมสรสามารถคว้าแชมป์เจลีก ดิวิชัน 2 และเลื่อนขึ้นสู่ลีกสูงสุดได้สำเร็จ แถมยังสามารถทำกำไรจากการดำเนินสโมสรได้เป็นครั้งแรก

ในปี 2001 สโมสรจบที่อันดับ 11 ในลีกสูงสุด แต่โค้ชทาเกชิ โอกาดะตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับทีมเมื่อจบฤดูกาล แถมยังต้องเสียผู้เล่นสำคัญไปอีกหลายคน จนในปี 2002 สโมสรจบที่อันดับท้ายสุดของตาราง และตกมาอยู่เจลีก ดิวิชัน 2 อีกครั้งหนึ่ง

ในปี 2003 สโมสรพยายามกลับสู่ลีกสูงสุดอีกครั้งหนึ่งด้วยการลงทุนมหาศาล แต่ผลงานกลับไม่ดีอย่างที่ตั้งเป้าไว้ จบที่อันดับที่ 9 และกลายเป็นหนี้สูงถึง 3 พันล้านเยนอีกครั้ง จึงต้องมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ รวมถึงการปล่อยผู้เล่นที่ค่าจ้างสูงอย่างยัตสึยูกิ คนโนะออกจากสโมสร ผลพวงจากการรัดเข็มขัดครั้งใหญ่ทำให้ทีมจบที่ท้ายตารางของเจลีก ดิวิชัน 2 ในปี 2004 แต่สถานการณ์ทางการเงินดีขึ้นเพราะเหลือหนี้ต่ำกว่า 100 ล้านเยน

ในปี 2005 และ 2006 สโมสรจบที่อันดับ 6 และปี 2007 สามารถคว้าแชมป์ลีกรองได้ และเลื่อนขึ้นขึ้นสู่เจลีก ดิวิชัน 1 ได้สำเร็จ แต่ก็ต้องกลับสู่เจลีก ดิวิชัน 2 อีกครั้งเมื่อไม่ประสบความสำเร็จในฤดูกาล 2008 กลายเป็นทีมที่ตกชั้นเป็นจำนวนครั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของลีก

ในปี 2011 ทีมจบที่อันดับ 3 ของลีกรอง และเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุด แต่ก็ต้องตกชั้นอีกครั้งในปีต่อมา ด้วยผลงานที่ไม่น่าประทับใจนัก คือ การเสียประตูต่อเกมมากที่สุด ได้แต้มต่อหนึ่งเกมน้อยที่สุด และอัตราการแพ้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเจลีกหลังจากผ่านไปแค่ 27 นัด[8] นับว่าเป็นฤดูกาลที่น่าผิดหวังที่สุดในลีกสูงสุดของสโมสร

แต่ในปี 2016 ทีมสามารถคว้าแชมป์ลีกรอง และเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นเจลีก ดิวิชัน 1 ได้สำเร็จในฤดูกาล 2017 และได้ทำสัญญายืมตัวกับผู้เล่นไทยอย่างชนาธิป สรงกระสินธ์ มาจากสโมสรเมืองทอง ยูไนเต็ด และในปี 2022 ได้ทำสัญญายืมตัวกับผู้เล่นไทยอย่างสุภโชค สารชาติ มาจากสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

เกียรติยศ แก้

โตชิบา เอสซี แก้

  • แชมป์ All Japan Senior Football Championship: 1977
  • แชมป์ Japan Soccer League Division 2: 1979,1988-89
  • แชมป์ Japan Soccer League Cup: 1981 (แชมป์ร่วมกับ มิตซูบิชิ มอเตอร์)

คอนซาโดเล ซัปโปโระ แก้

ผู้เล่นปัจจุบัน แก้

ณ วันที่ 14 มกราคม 2024

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   ทาคาโนริ ซูเคโนะ
2 DF   ริว ทาคาโอะ
4 DF   ไดกิ ซุกะ
6 DF   โทยะ นาคามูระ
7 MF   มูซาชิ ซูซูกิ
8 MF   คะซุกิ ฟุคะอิ
10 MF   ฮิโระกิ มิยะซะวะ (กัปตัน)
11 MF   เรียวตะ อาโอกิ
13 FW   คิม กึน-ฮี
14 MF   โยชิอะกิ โคมะอิ
15 DF   เร ริอิซึมิ
16 MF   ทัตซึยะ ฮาเซกาวะ
17 MF   ริคุ ดานซากิ
18 MF   ยูยะ อาซาโนะ
19 MF   สุภโชค สารชาติ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
21 GK   ชุนตะ อะวะคะ
23 FW   ชินโก โอโมริ
27 MF   ทะคุมะ อะระโนะ (รองกัปตัน)
30 MF   ฮิโรมุ ทานากะ
33 FW   ดักลาส โอลิเวียรา
34 GK   โคจิโระ นากาโนะ
37 MF   คัตสุยูกิ ทานากะ
45 FW   ไทกะ นาคาชิมะ
48 GK   โกกิ โอตานิ
50 DF   ไดฮาชิ โอกามูระ
51 GK   ชุน ทาคากิ
88 DF   เซยะ บาบะ
99 MF   ยูกิ โคบายาชิ

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
5 DF   อะคิโตะ ฟุคุโมะริ (ไป โยโกฮามะ เอฟซี)
9 MF   ทาคุโร คาเนโกะ (ไป ดินามอซาเกร็บ)
22 MF   ไดโกะ นิชิ (ไป Iwate Grulla)
25 GK   กยู ซึง ยุน (ไป เกียวโต ซังงะ)
DF   ทาคาฮิโระ ยานางิ (ไป อวิสปา ฟูกูโอกะ)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF   ไทโยะ ฮะมะ (ไป Kataller Toyama)
FW   Yuto Iwasaki (ไป ซางัน โทซุ)

สถิติในเจลีก แก้

ฤดูกาล ดิวิชัน จำนวนทีม อันดับ ผู้ชมต่อเกม เจลีกคัพ ถ้วยจักรพรรดิ
1998 J 18 14 11,953 รอบแบ่งกลุ่ม รอบ 4
1999 J2 10 5 10,986 รอบแรก รอบ 3
2000 J2 11 1 12,910 รอบแรก รอบ 4
2001 J1 16 11 22,228 รอบแบ่งกลุ่ม รอบ 3
2002 J1 16 16 19,140 รอบแบ่งกลุ่ม รอบ 3
2003 J2 12 9 10,766 รอบ 3
2004 J2 12 12 9,466 รอบก่อนรองชนะเลิศ
2005 J2 12 6 11,133 รอบ 3
2006 J2 13 6 10,478 รอบรองชนะเลิศ
2007 J2 13 1 12,112 รอบ 3
2008 J1 18 18 14,547 รอบแบ่งกลุ่ม รอบ 4
2009 J2 18 6 10,207 รอบ 3
2010 J2 19 13 10,738 รอบ 3
2011 J2 20 3 10,482 รอบ 2
2012 J1 18 18 12,008 รอบแบ่งกลุ่ม รอบ 2
2013 J2 22 8 10,075 รอบก่อนรองชนะเลิศ
2014 J2 22 10 11,060 รอบ 3
2015 J2 22 10 11,960 รอบ 3
2016 J2 22 1 14,559 รอบ 2
2017 J1 18 11 18,418 Play-off stage รอบ 2
2018 J1 18 4 17,222 รอบแบ่งกลุ่ม รอบ 4
2019 J1 18 10 18,768 รองชนะเลิศ รอบ 2
2020 J1 18 12 4,303 ก่อนรองชนะเลิศ
2021 J1 20 10 ก่อนรองชนะเลิศ รอบ 3

แหล่งข้อมูล: J. League Data Site

ผู้จัดการทีม แก้

ทีมงาน แก้

อ้างอิง แก้

  1. "2013 業務報告書" [2013 Financial report] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). February 1, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-01. สืบค้นเมื่อ January 23, 2015.
  2. "Consadole announce name change". J. League. 20 November 2015. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
  3. คอนซาโดเล่ ซัปโปโร เฉือนหวิว โยโกฮาม่า เอฟซี การันตีอยู่รอด "สุภโชค" ไร้ชื่อ
  4. กำลังมั่นใจ! "สุภโชค" หวังพาซัปโปโรโกยแต้ม 6 นัดท้ายเพื่อจบเลขตัวเดียว
  5. "北海道コンサドーレ札幌 プロフィール" [Hokkaido Consadole Sapporo; Club profile] (ภาษาญี่ปุ่น). J. League. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
  6. "中村美彦の無頼放談" [A random talk with Yoshihiko Nakamura] (ภาษาญี่ปุ่น). Hokkaido Broadcasting. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
  7. "Consadole shoot for immediate success in top division". Japan Times. 6 March 2008. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
  8. "Consadole Sapporo: The worst team in J.League history".

แหล่งข้อมูลอื่น แก้