ฉบับร่าง:สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นศาสตร์ที่บูรณาการทางการบริหารและพระพุทธศาสนาร่วมกัน ตามปณิธานล้นเกล้ารัชกาลที่ห้า

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการจัดการภาครัฐ และเข้าไปเป็นส่วนสนับสนุนการบริหาร พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการบริหารและการจัดการให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยสาขารัฐประศาสนศาสตร์ สังกัดอยู่ในภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งมีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ จำนวนมากนับแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบัน

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อดีตองค์อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในขณะที่ดำรงตำแหน่งได้ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาหลักสูตร รวมทั้งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ด้วย

ความเป็นมา แก้

 
พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี รูปปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ในราชทินนาม พระราชปริยัติกวี,รศ.ดร. เป็นผู้มีส่วนต่อการขับเคลื่อนให้เกิดสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพล สุยะพรหม เป็นผู้ริเริ่มนำหลักสูตรทางรัฐประศาสนศาสตร์[1] มาเปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในระดับปริญญาโท และเอกตั้งแต่ปี 2549 -ปัจจุบัน ซึ่งเปิดสอนในระดับปริญญาตรี โท เอก โดยในสมัยนั้น พระเดชพระคุณพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. ยังเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และ พระเดชพระคุณ พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส และกรรมการมหาเถรสมาคม) ยังดำรงตำแหน่งเป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยอยู่ได้นำเข้าเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยและ ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เป็นที่เรียบร้อยถือว่าเป็นจุดกำเนิดของหลักสูตรทางรัฐประศาสนศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านการจัดการศาสตร์สมัยใหม่อันได้แก่ศาสตร์ทางการบริหารรัฐกิจ, การบริหารองค์กร,นโยบายสารารณะ,การคลัง, การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กับการบูรณาการหลักการทางพระพุทรศาสนา เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความทันสมัยทางวิชาการของศาสตร์ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ สอดคล้องกับพระปณิรานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น เพื่อเป็นที่ศึกษาพระไตรปีฎก และวิชาชั้นสูง อีกทั้งสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองทั้งในปัจจุบันและอนาคต อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน[2]

ชื่อปริญญา แก้

พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (พธ.บ เอกบริหารรัฐกิจ)

รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ)

พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์ (พธ.ม.)

พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ (พธ.ด.)

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์ (ปร.ด.)

ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แก้

1.นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

2. นายปิยะ ปะตังทา ประธานศาลปกครองสูงสุด

3. นายอภิรัต ศิรินาวิน อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคมหาชน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

4.พล.อ.ดร. รุจ กสิวุฒิ วุฒิสมาชิก

วิทยากรผู้บรรรยายในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ แก้

นับแต่จัดการศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ได้เชิญวิทยากรและผู้บรรยายพิเศษมาเสริมความรู้และส่งเสริมความรู้ให้กับนิสิตผู้เรียนจำนวนมาก อันประกอบด้วยนักธุรกิจ การเมือง นักบริหาร เป็นต้น โดยในแต่ละช่วงปีได้มีเชิญผู้มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ อาทิ

1. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กรรมการมหาเถรสมาคม

2.พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

3.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี วิทยากรบรรยายพิเศษ

4.พล.ต.เอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตอธิบดีกรมตำรวจ วิทยากรบรรยายพิเศษ

5.กร ทัพพะรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรี วิทยากรบรรยายพิเศษ

6.ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง[3][4]

7.ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์[5]

8.ศ.ดร.กฤช เพิ่มทันจิตต์

9.ศ.ดร.พล.ต.ท.(หญิง) นัยนา เกิดวิชัย

10.รศ.ดร. สมาน งามสนิท [6] อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2518 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สนใจและเชี่ยวชาญงานทางด้านการสื่อสาร เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี สื่อการสื่อสารต่าง ๆ เป็นต้น มีประสบการณ์ในการแสดงละคร และภาพยนตร์หลายเรื่อง

11.ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี วิทยากรบรรยายพิเศษ

12.ศ. ร.ท. ดร. บรรจบ บรรณรุจิ ราชบัณฑิต

อ้างอิง แก้

  1. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา. (2559). 1 ทศวรรษรัฐประศาสนศาสตร์. ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  2. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา. (2559). 1 ทศวรรษรัฐประศาสนศาสตร์. ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  3. บุญทัน ดอกไธสง. (2559). รัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนโลก. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  4. บุญทัน ดอกไธสง. (2562). รัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนโลก 2. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  5. ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ สังคมวิทยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๕๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒