รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน (อาหรับ: اَلْخِلَافَةُ ٱلرَّاشِدَةُ, อักษรโรมัน: al-Khilāfah ar-Rāšidah; อังกฤษ: Rashidun Caliphate) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐแรกที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมมัด ปกครองโดยเคาะลีฟะฮ์ 4 พระองค์แรกของมุฮัมมัดหลังเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 (ฮ.ศ. 11) ในช่วงที่มีตัวตน จักรวรรดินี้มีกำลังทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการทหารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในเอเชียตะวันตก

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน

الخلافة الراشدة
632–661
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนในช่วงสูงสุดในรัชสมัยเคาะลีฟะฮ์ อุษมาน เมื่อ ป. ค.ศ. 654
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนในช่วงสูงสุดในรัชสมัยเคาะลีฟะฮ์ อุษมาน เมื่อ ป. ค.ศ. 654
เมืองหลวงมะดีนะฮ์ (632–656)
กูฟะฮ์ (656–661)
ภาษาทั่วไปภาษาอาหรับคลาสสิก
ศาสนา
อิสลาม
การปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์
เคาะลีฟะฮ์ 
• 632–634
อะบูบักร์ (องค์แรก)
• 634–644
อุมัร
• 644–656
อุษมาน
• 656–661
อะลี (องค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
632
633
• อุมัรขึ้นครองราชย์
634
• การลอบสังหารอุมัรและอุษมานขึ้นครองราชย์
644
• การลอบสังหารอุษมานและอะลีขึ้นครองราชย์
656
661
• ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง (ความขัดแย้งภายใน) สิ้นสุดหลังฮะซันสละราชสมบัติ
661
พื้นที่
655[1]6,400,000 ตารางกิโลเมตร (2,500,000 ตารางไมล์)
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
มะดีนะฮ์ของอิสลาม
จักรวรรดิไบแซนไทน์
จักรวรรดิซาเซเนียน
อัลฆ็อสซาซินะฮ์
รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์จัดตั้งขึ้นหลังมุฮัมมัดเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 632 และการอภิปรายเรื่องการสืบทอดตำแหน่งผู้นำ อะบูบักร์ (ค. 632 – 634) เพื่อนในวัยเด็กและผู้ติดตามที่ใกล้ชิดของมุฮัมมัดจากตระกูลบะนูตัยม์ ได้รับเลือกเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์แรกที่มะดีนะฮ์และเริ่มต้นการพิชิตาบสมุทรอาหรับ รัชสมัยของพระองค์สิ้นสุดเมื่อพระองค์สวรรคตในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 634 และอุมัร (ค. 634 – 644) บุคคลที่อะบูบักร์เลือกจากบะนูอะดี ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อ ในรัชสมัยอุมัร รัฐเคาะลีฟะฮ์ได้ขยายตัวในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยปกครองเหนือพื้นที่จักรวรรดิไบแซนไทน์มากกว่าสองในสาม และจักรวรรดิซาเซเนียนเกือบทั้งหมด อุมัรถูกลอบสังหารในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 644 และคณะกรรมการหกคนของอุมัรได้เลือกอุษมาน (ค. 644 – 656) สมาชิกตระกูลบะนูอุมัยยะฮ์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งต่อ ในรัชสมัยอุษมาน รัฐเคาะลีฟะฮ์พิชิตเปอร์เซียทั้งหมดใน ค.ศ. 651 และขยายไปในดินแดนไบแซนไทน์ต่อ นโยบายที่เห็นแก่ญาติของอุษมานทำให้พระองค์ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากชนชั้นนำมุสลิม และในที่สุดก็ถูกกลุ่มกบฏลอบสังหารในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 656

อะลี (ค. 656 – 661) สมาชิกตระกูลบะนูฮาชิมของมุฮัมมัด ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่อ พระองค์ย้ายเมืองหลวงไปที่กูฟะฮ์ อะลีเป็นผู้นำในสงครามกลางเมืองที่มีชื่อว่า ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง เนื่องจากอำนาจอธิปไตยของพระองค์ไม่ได้รับการยอมรับจากมุอาวิยะฮ์ที่ 1 (ค. 661 – 680) ญาติของอุษมานและผู้ว่าการซีเรีย ผู้เชื่อว่าอุษมานถูกฆาตกรรมโดยมิชอบด้วยกฎหมายและคนที่ลงมือฆ่าควรได้รับโทษ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่สามที่รู้จักกันในชื่อ เคาะวาริจญ์ ที่เคยเป็นผู้สนับสนุนอะลี ก่อกบฏต่อทั้งฝ่ายอะลีกับมุอาวิยะฮ์หลังปฏิเสธที่จะยอมรับอนุญาโตตุลาการในยุทธการที่ศิฟฟีน สงครามนี้นำไปสู่การโค่นล้มรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนและจัดตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ของมุอาวิยะฮ์ใน ค.ศ. 661 สงครามกลางเมืองนี้นำไปสู่ความแตกแยกระหว่างมุสลิมนิกายซุนนีกับชีอะฮ์อย่างถาวร โดยชีอะฮ์เชื่อว่าอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรมคนแรก และเป็นอิหม่ามถัดจากมุฮัมมัด พวกเขาโปรดปรานความสัมพันธ์ทางสายเลือดของอะลีกับมุฮัมมัด[2]

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนมีช่วงระยะเวลาการขยายทางทหารอย่างรวดเร็ว 25 ปี ตามมาด้วยความขัดแย้งภายใน 5 ปี กองทัพรอชิดูนในช่วงสูงสุดมีทหารมากกว่า 100,000 นาย ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 650 นอกจากคาบสมุทรอาหรับแล้ว รัฐเคาะลีฟะฮ์ได้พิชิตลิแวนต์ถึงทรานส์คอเคซัสทางเหนือ แอฟริกาเหนือจากอียิปต์ถึงตูนิเซียในปัจจุบันทางตะวันตก และที่ราบสูงอิหร่านถึงพื้นที่บางส่วนของเอเชียกลางและเอเชียใต้ทางตะวันออก เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนทั้ง 4 พระองค์ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งขนาดเล็กประกอบด้วยสมาชิกที่โดดเด่นของสมาพันธ์ชนเผ่ากุร็อยช์ที่มีชื่อว่า ชูรอ (อาหรับ: شُـوْرَى, แปลว่า การปรึกษาหารือ)[3]

ที่มา แก้

 
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนในช่วงสูงสุด

หลังการเสียชีวิตของมุฮัมมัดใน ค.ศ. 632 ผู้ติดตามของท่านในมะดีนะฮ์ถกเถียงกันว่าใครควรสืบทอดกิจการของมุสลิม ในขณะที่ครอบครัวของมุฮัมมัดกำลังยุ่งอยู่กับพิธีฝังศพ อุมัรและอะบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรรอห์ถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่ออะบูบักร์ ภายหลังฝ่ายอันศอรกับกุร็อยช์จึงเริ่มปฏิบัติตาม อะบูบักร์จัดตั้งตำแหน่ง เคาะลีฟะฮ์ เราะซูลุลลอฮ์ (خَـلِـيْـفَـةُ رَسُـوْلِ اللهِ, "ผู้สืบทอดจากศาสนทูตของอัลลอฮ์") หรือสั้น ๆ ว่า เคาะลีฟะฮ์[4] อะบูบักร์เริ่มดำเนินการรบเพื่อเผยแผ่อิสลาม ตอนแรกพระองค์จะต้องปราบชนเผ่าอาหรับที่อ้างว่าแม้ว่าพวกตนจะให้คำมั่นว่าจะจงรักภักดีต่อมุฮัมมัดและเข้ารับอิสลาม แต่พวกเขาก็ไม่ได้มีความเกี่ยวดองอะไรกับอะบูบักร์ ในฐานะเคาะลีฟะฮ์ อะบูบักร์และผู้สืบทอดทั้งสามพระองค์ไม่ได้เป็นกษัตริย์และไม่ได้อ้างตำแหน่งนั้น แต่การเลือกตั้งและความเป็นผู้นำของพวกเขาขึ้นอยู่กับคุณธรรม[5][6][7][8]

ฝ่ายซุนนีเชื่อว่า เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนทั้ง 4 พระองค์มีความเชื่อมโยงกับศาสดามุฮัมมัดผ่านการแต่งงาน เป็นคนกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลาม[9] เป็นสิบคนที่ได้รับสัญญาว่าจะได้เข้าสวรรค์ เป็นผู้ติดตามที่ใกล้ชิดของท่านผ่านความสัมพันธ์และการสนับสนุน และมักได้รับการยกย่องอย่างสูงจากมุฮัมมัดและได้รับมอบหมายให้มีบทบาทเป็นผู้นำในชุมชนมุสลิมช่วงแรก เคาะลีฟะฮ์เหล่านี้เป็นที่รู้จักในมุสลิมนิกายซุนนีว่า รอชิดูน หรือเคาะลีฟะฮ์ที่ได้รับ"แนวทางที่ถูกต้อง" (اَلْخُلَفَاءُ ٱلرَّاشِدُونَ, al-Khulafāʾ ar-Rāšidūn) มุสลิมนิกายซุนนีรายงานว่า ชื่อรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนมาจากฮะดีษที่มีชื่อเสียง[10]ของมุฮัมมัดที่กล่าวไว้ล่วงหน้าว่า จะมีรัฐเคาะลีฟะฮ์หลังจากท่าน 30 ปี[11] (ระยะเวลาของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน) และจะตามมาด้วยการปกครองโดยกษัตริย์ (รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์)[12][13] นอกจากนี้ ฮะดีษอื่น ๆ ในซุนัน อะบูดาวูดกับมุสนัด อะห์มัด อิบน์ ฮันบัลระบุว่า พระเจ้าจะฟื้นฟูเคาะลีฟะฮ์ที่ได้รับแนวทางที่ถูกต้องอีกครั้งจนกระทั่งวาระสุดท้าย[14] อย่างไรก็ตาม มุสลิมนิกายชีอะฮ์ไม่ใช้ศัพท์นี้ เนื่องจากพวกเขาไม่ถือว่าเคาะลีฟะฮ์สามพระองค์แรกปกครองโดยชอบธรรม[15] ถึงกระนั้น มุสลิมนิกายชีอะฮ์ซัยดียะฮ์เชื่อว่าเคาะลีฟะฮ์สามองค์แรกเป็นผู้นำที่มีความชอบธรรม[16]

สิ่งสืบทอด แก้

นักวิชาการฆราวาสบางส่วนตั้งคำถามต่อมุมมองรอชิดูนของซุนนี รอเบิร์ต จี. ฮอยแลนด์กล่าวว่า "นักเขียนที่มีชีวิตในช่วงเวลาเดียวกันกับเคาะลีฟะฮ์ 4 องค์แรก ... ไม่ได้บันทึกเกี่ยวกับพวกเขาน้อยมาก และชื่อของพวกเขาไม่ได้ปรากฏบนเหรียญ จารึก หรือเอกสาร จนกระทั่งเคาะลีฟฮ์งอค์ที่ 5" มุอาวิยะฮ์ที่ 1 (661–680) "ที่มีหลักฐานเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลอาหรับthat เนื่องจากปรากฏชื่อพระองค์บนสื่อทางการของรัฐทั้งหมด"[17] อย่างไรก็ตาม ก็มีจารึกที่เขียนขึ้นในสมัยนั้น หนึ่งในนั้นระบุชื่อและวันเสียชีวิตของอุมัร และมีเหรียญที่ปรากฏในรัชสมัยนั้นด้วย (ถึงแม้ว่าวัตถุเหล่านั้นจะไม่ปรากฏชื่อ แต่ปรากฏเพียง "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์" ตามที่ฮอยแลนด์กล่าวไว้)[18]

ฮอยแลนด์ยังตั้งคำถามถึงข้อกล่าวหาว่ารอชิดูนมีศีลธรรมเหนือกว่าอุมัยยะฮ์ โดยระบุว่าอะลีมีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองครั้งแรก (ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง) และอุษมานได้ "ใช้รูปแบบการปกครองแบบเห็นแก่ญาติแล้ว"[19] ซึงเคาะลีฟะฮ์องค์หลังถูกประณาม และสงสัยว่าแนวคิด “ยุคทอง” ของอิสลามในยุคแรกเริ่มมาจากความต้องการของนักวิชาการศาสนาสมัยอุมัยยะฮ์ตอนปลายถึงอับบาซียะฮ์ เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเคาะลีฟะฮ์กลุ่มแรก (ซึ่งมีอำนาจในการออกกฎหมายมากกว่า) และเคาะลีฟะฮ์ร่วมสมัยที่พวกเขาต้องการติดตามในเรื่องศาสนาของพวกเขา (อุละมาอ์) ทำให้ในภายหลัง กลุ่มผู้ติดตาม "ได้รับการปรับปรุง" เป็น "แบบอย่างของความกตัญญูกตเวทิตาธรรม"[20]

ข้อความเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับมุมมองผู้ติดตาม (รวมเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน) ของชีอะฮ์ ชีอะฮ์หลายคนไม่มีมุมมองเดียวกันกับซุนนีที่เชื่อว่าผู้ติดตามล้วนเป็นแบบอย่างของความกตัญญู แต่กล่าาวหาหลายคนว่าสมรู้ร่วมคิดหลังจากท่านศาสดาเสียชีวิต เพื่อลิดรอนอะลีกับลูกหลานของเขาจากการเป็นผู้นำ ในมุมมองของชีอะฮ์ ผู้ติดตามหลายคนและผู้สืบทอดเป็นผู้แย่งชิง แม้แต่คนหน้าซื่อใจคด ที่ไม่เคยหยุดที่จะล้มล้างศาสนาเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง[21]

การทหาร แก้

กองทัพรอชิดูนเป็นหน่วยรบหลักของกองกำลังติดอาวุธอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยร่วมรบกับกองทัพเรือรอชิดูน กองทัพรักษาระเบียบวินัย ความกล้าหาญเชิงกลยุทธ์ และองค์กรในระดับสูงมาก พร้อมกับแรงจูงใจและความคิดริเริ่มของกองกำลังทหาร ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ กองทัพนี้เป็นหนึ่งในกองกำลังทางทหารที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพที่สุดทั่วทั้งภูมิภาค โดยในช่วงสูงสุดของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน ขนาดสูงสุดของกองทัพคือประมาณ 100,000 นาย[22]

กองทัพรอชิดูน แก้

 
ทหารรอชิดูนที่สวมหมวกเหล็ก-สัมฤทธิ์ เสื้อเกราะหนังยาวถึงเข่าและเป็นแผ่น เขาแขวนดาบที่สายสะพายบ่าและถือโล่หนัง

กองทัพรอชิดูนแบ่งออกเป็นทหารราบและทหารม้าเบา การสร้างยุทโธปกรณ์ทางทหารของกองทัพมุสลิมยุคแรกขึ้นมาใหม่นั้นเป็นปัญหา เมื่อเทียบกับกองทัพโรมันกับกองทัพมุสลิมสมัยกลางยุคหลัง ขอบเขตภาพลักษณ์มีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่ไม่ชัดเจน หลักฐานทางกายภาพมีเหลืออยู่น้อยมาก และหลักฐานส่วนใหญ่ก็ยากที่จะระบุวันที่ได้[23] ทหารสวมหมวกเหล็กและสัมฤทธิ์แบบเอเชียกลางจากอิรัก[24]

กองทัพเรือรอชิดูน แก้

รายพระนาม แก้

ช่วงเวลา เคาะลีฟะฮ์ อักษรวิจิตร ความสัมพันธ์กับมุฮัมมัด พระราชบิดามารดา ตระกูล หมายเหตุ
8 มิถุนายน 632 – 22 สิงหาคม 634 อะบูบักร์
(أبو بكر)
  บะนูตัยม์
  • ในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 634 อะบูบักร์ล้มป่วยและมีไข้สูง
23 สิงหาคม 634 – 3 พฤศจิกายน 644 อุมัร
(عمر)
  บะนูอะดี
11 พฤศจิกายน 644 – 20 มิถุนายน 656 อุษมาน
(عثمان)
  บะนูอุมัยยะฮ์
20 มิถุนายน 656 – 29 มกราคม 661 อะลี
(علي)
  บะนูฮาชิม

อ้างอิง แก้

  1. Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 495. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793.
  2. Triana, María (2017). Managing Diversity in Organizations: A Global Perspective (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. p. 159. ISBN 9781317423683.
  3. Bosworth, C.E.; Marín, Manuela; Ayalon, A. (1960–2007). "Shūrā". ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C.E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W.P. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam, Second Edition. doi:10.1163/1573-3912_islam_COM_1063.
  4. McHugo 2017, p. 93.
  5. Azyumardi Azra (2006). Indonesia, Islam, and Democracy: Dynamics in a Global Context. Equinox Publishing (London). p. 9. ISBN 9789799988812.
  6. C. T. R. Hewer; Allan Anderson (2006). Understanding Islam: The First Ten Steps (illustrated ed.). Hymns Ancient and Modern Ltd. p. 37. ISBN 9780334040323.
  7. Anheier, Helmut K.; Juergensmeyer, Mark, บ.ก. (2012). Encyclopedia of Global Studies. Sage Publications. p. 151. ISBN 9781412994224.
  8. Claire Alkouatli (2007). Islam (illustrated, annotated ed.). Marshall Cavendish. p. 44. ISBN 9780761421207.
  9. Catharina Raudvere, Islam: An Introduction (I.B.Tauris, 2015), 51–54.
  10. Asma Afsaruddin (2008). The first Muslims: history and memory. Oneworld. p. 55.
  11. Safia Amir (2000). Muslim Nationhood in India: Perceptions of Seven Eminent Thinkers. Kanishka Publishers, Distributors. p. 173. ISBN 9788173913358.
  12. Heather N. Keaney (2013). Medieval Islamic Historiography: Remembering Rebellion. Sira: Companion- versus Caliph-Oriented History: Routledge. ISBN 9781134081066. He also foretold that there would be a caliphate for thirty years (the length of the Rashidun Caliphate) that would be followed by kingship.
  13. Hamilton Alexander Rosskeen Gibb; Johannes Hendrik Kramers; Bernard Lewis; Charles Pellat; Joseph Schacht (1970). "The Encyclopaedia of Islam". The Encyclopaedia of Islam. Brill. 3 (Parts 57–58): 1164.
  14. Aqidah.Com (December 1, 2009). "The Khilaafah Lasted for 30 Years Then There Was Kingship Which Allaah Gives To Whomever He Pleases". Aqidah.Com. Aqidah.Com. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
  15. Sowerwine, James E. (2010). Caliph and Caliphate: Oxford Bibliographies Online Research Guide (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 5. ISBN 9780199806003.
  16. Rane 2010, p. 83.
  17. Hoyland, In God's Path, 2015: p. 98
  18. Ghabban, A.I.I., Translation and concluding remarks by and Hoyland, R., 2008. The inscription of Zuhayr, the oldest Islamic inscription (24 AH/AD 644–645), the rise of the Arabic script and the nature of the early Islamic state 1. Arabian Archaeology and Epigraphy, 19(2), pp. 210–237.
  19. Hoyland, In God's Path, 2015: p. 134
  20. Hoyland, In God's Path, 2015: p. 227
  21. Zaman, M.Q., 1998. Sectarianism in Pakistan: The radicalization of Shi ‘i and Sunni identities. Modern Asian Studies, 32(3), p. 691.
  22. Fratini, Dan (2006-04-01). "The Battle Of Yarmuk, 636". Military History Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2014-11-29.
  23. Hugh Kennedy (2001). "Chapter Seven: Weapons and equipment in early Muslim armies". The Armies of the Caliphs: Military and Society in the Early Islamic State. London: Routledge. p. 168. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-01-28.
  24. Kennedy, Hugh (2001). "Chapter Eight: Fortification and siege warfare". The Armies of the Caliphs: Military and Society in the Early Islamic State. London: Routledge. p. 183. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-01-28.
  25. 25.0 25.1 25.2 شبارو, عصام محمد (1995). First Islamic Arab State (1–41 AH/ 623–661 CE). 3. Arab Renaissance House – Beirut, Lebanon. p. 370.
  26. 26.0 26.1 26.2 Madelung 1997.

ข้อมูล แก้