มุอาวิยะฮ์ที่ 1 หรือชื่อจริงคือ มุอาวิยะฮ์ อิบน์ อะบีซุฟยาน (อาหรับ: معاوية بن أبي سفيان, อักษรโรมัน: Muʿāwiya ibn Abī Sufyān; ป. ค.ศ. 597, 603 หรือ 605 – เมษายน ค.ศ. 680) เป็นผู้ก่อตั้งและเคาะลีฟะฮ์องค์แรกของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ครองราชย์ใน ค.ศ. 661 จนกระทั่งสวรรคต

มุอาวิยะฮ์ที่ 1
معاوية
เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 1 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
ครองราชย์มกราคม ค.ศ. 661 – เมษายน ค.ศ. 680
ก่อนหน้า
ผู้สืบทอดยะซีดที่ 1
ผู้ว่าการแห่งซีเรีย
ดำรงตำแหน่ง639–661
ก่อนหน้ายะซีด อิบน์ อะบีซุฟยาน
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
ประสูติป. ค.ศ. 597–605
มักกะฮ์ ฮิญาซ คาบสมุทรอาหรับ
สวรรคตเมษายน ค.ศ. 680 (ประมาณ 75–83 พรรษา)
ดามัสกัส รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
ฝังพระศพบาบุศเศาะฆีร ดามัสกัส
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
มุอาวิยะฮ์ อิบน์ อะบีซุฟยาน
(معاوية ابن أبي سفيان)
ราชวงศ์ซุฟยาน
ราชวงศ์อุมัยยะฮ์
พระราชบิดาอะบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์
พระราชมารดาฮินด์ บินต์ อุตบะฮ์
ศาสนาอิสลาม

ต้นกำเนิดและชีวิตช่วงต้น

แก้
 
แผนที่การเติบโตของรัฐเคาะลีฟะฮ์ในช่วงต่าง ๆ ในช่วงที่ศาสดามุฮัมมัดเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 ศาสนาอิสลามได้กระจายไปทั่วคาบสมุทรอาหรับ (สีเขียว)

ปีเกิดของมุอาวิยะฮ์ยังไม่เป็นที่กระจ่าย โดยข้อมูลอิสลามยุคแรกให้ปีเกิดที่ ค.ศ. 597, 603 หรือ 605[1] อะบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ พ่อของเขา เป็นพ่อค้าชาวมักกะฮ์คนสำคัญที่นำกองคาราวานไปที่ซีเรีย ซึ่งในเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์[2] ในช่วงแรกของความขัดแย้งต่อศาสดามุฮัมมัด เขากลายเป็นผู้นำตระกูลบะนูอับด์ชัมส์ของเผ่ากุร็อยช์ ชนเผ่าที่โดดเด่นของมักกะฮ์[1] โดยมุฮัมมัดก็มาจากเผ่ากุร็อยช์และเป็นญาติห่าง ๆ กับอุมัยยะฮ์ผ่านอับด์มะนาฟ อิบน์ กุศ็อยย์ บรรพบุรุษฝ่ายพ่อของทั้งสอง[3] ฮินด์ บินต์ อุตบะฮ์ แม่ของมุอาวิยะฮ์ ก็เป็นสมาชิกตระกูลอับด์ชะมส์[1]

ใน ค.ศ. 624 มุฮัมมัดกับผู้ติดตามพยายามของท่านพยายามขัดขวางกองคาราวานมักกะฮ์ที่นำโดยพ่อของมุอาวิยะฮ์ ขณะเดินทางกลับจากซีเรีย ทำให้อะบูซุฟยานต้องเรียกกำลังเสริม[4] ภายหลังมีการส่งกองกำลังบรรเทาทุกข์ของกุร็อยช์ไปในยุทธการที่บะดัร โดย Hanzala พี่ชายของมุอาวิยะฮ์กับอุตบะฮ์ อิบน์ เราะบีอะฮ์ ตาของทั้งสอง ถูกฆ่าที่นั่น[2] อะบูซุฟยานจึงเข้ามาแทนที่อะบูญะฮัลที่ถูกฆ่าเมื่อสงครามก่อนหน้า และนำฝ่ายมักกะฮ์รบชนะต่อพวกมุสลิมในยุทธการที่อุฮุดใน ค.ศ. 625 หลังการปิดล้อมที่ไม่สำเร็จในยุทธการสนามเพลาะที่มะดีนะฮ์เมื่อ ค.ศ. 627 เขาจึงสูญเสียตำแหน่งผู้นำของเผ่ากุร็อยช์[1]

พ่อของมุอาวิยะฮ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในการเจรจาสงบศึกที่ฮุดัยบียะฮ์ระหว่างเผ่ากุร็อยช์กับมุฮัมมัดใน ค.ศ. 628 ปีถัดมา มุฮัมมัดได้แต่งงานกับอุมม์ ฮะบีบะฮ์ พี่/น้องสาวหม้ายของมุอาวิยะฮ์ที่เข้ารับอิสลามเมื่อ 15 ปีที่แล้ว การแต่งงานนี้ลดความเป็นปรปักษ์ของอะบูซุฟยานต่อมุฮัมมัด และอะบูซุฟยานเดินทางมาเจรจากับท่านที่มะดีนะฮ์ใน ค.ศ. 630 หลังฝ่ายสมาพันธ์ของกุร็อยช์ละเมิดสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์[2] เมื่อมุฮัมมัดยึดครองมักกะฮ์ใน ค.ศ. 630 ทั้งมุอาวิยะฮ์ พ่อของเขา และยะซีด พี่ชายของเขา เข้ารับอิสลาม ตามรายงานที่อ้างโดยอัลบะลาษุรีและอิบน์ ฮะญัร นักประวัติศาสตร์มุสลิมยุคแรก ความว่า คอนที่มีการเจรจาฮุดัยบียะฮ์ มุอาวิยะฮ์แอบเข้ารับอิสลาม[1]ใน ค.ศ. 632 มีการขยายอำนาจมุสลิมไปทั่วคาบสมุทรอาหรับโดยมีมะดีนะฮ์เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลมุสลิม[5] มุอาวิยะฮ์ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในกาติบ (อาลักษณ์) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะคืนดีกับเผ่ากุร็อยช์ของมุฮัมมัด เนื่องจากมุอาวิยะฮ์เป็นหนึ่งในสมาชิกเผ่ากุร็อยช์ 17 คนที่อ่านหนังสือออกในเวลานั้น[1] อะบูซุฟยานย้ายไปที่มะดีนะฮ์เพื่อรักษาอิทธิพลใหม่ในชุมชนมุสลิมที่เพิ่งได้รับการจัดตั้ง[6]

สวรรคต

แก้

มุอาวิยะฮ์สวรรคตจากอาการพระประชวรที่ดามัสกัสในเดือนเราะญับ ฮ.ศ. 60 (เมษายนหรือพฤษภาคม ค.ศ. 680) โดยมีพระชนมพรรษาประมาณ 80 พรรษา[1][7] บันทึกในสมัยกลางระบุวันที่สวรรคตต่างกัน โดยฮิชาม อิบน์ อัลกัลบี (เสียชีวิต ค.ศ. 819) ระบุเป็นวันที่ 7 เมษายน อัลวากิดีระบุเป็นวันที่ 21 เมษายน และ al-Mada'ini ระบุเป็นวันที่ 29 เมษายน[8] อะบูมิคลัฟ (เสียชีวิต ค.ศ. 774) ระบุว่า ยะซีด (ตอนที่มุอาวิยะฮ์สวรรคต พระองค์ไม่ได้อยู่ที่ดามัสกัส)[9] จะสืบทอดอำนาจต่อจากพระองค์ในวันที่ 7 เมษายน ในขณะที่เอลียาห์แห่งนีซีบิส (เสียชีวิต ค.ศ. 1046) ผู้บันทึกเหตุการณ์จากกลุ่มเนสตอเรียน ระบุว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 21 เมษายน[10] ศพของพระองค์ถูกฝังถัดจากประตูเมืองบาบุศเศาะฆีร

สุสานของมุวิยะฮ์กลายเป็นพื้นที่เยี่ยมชมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 อัลมัสอูดีระบุว่า มีการสร้างสุสานเหนือหลุมฝังพระศพ และเปิดให้ผู้เข้าชมทุกวันจันทร์ถึงพฤหัสบดี อิบน์ ตัฆรีบิรดีระบุว่า อะห์มัด อิบน์ ฏูลูน ผู้ปกครองอิสระแห่งอียิปต์และซีเรียในคริสต์ศตวรรษที่ 9 สร้างโครงสร้างเหนือหลุมฝังพระศพใน ค.ศ. 883 หรือ 884 และว่าจ้างประชาชนให้อ่านอัลกุรอานเป็นประจำและจุดเทียนรอบหลุมฝังศพ[11]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Hinds 1993, p. 264.
  2. 2.0 2.1 2.2 Watt 1960a, p. 151.
  3. Hawting 2000, pp. 21–22.
  4. Watt 1960b, p. 868.
  5. Wellhausen 1927, pp. 22–23.
  6. Wellhausen 1927, pp. 20–21.
  7. Morony 1987, p. 210, 212–213.
  8. Morony 1987, p. 210.
  9. Morony 1987, pp. 209, 213–214.
  10. Wellhausen 1927, p. 139.
  11. Grabar 1966, p. 18.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้