การลอบสังหารอะลี

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 4 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน และอิมามชีอะฮ์คนแรก ถูกลอบสังหารโดย เคาะวาริจญ์ ที่มีชื่อว่าอับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 661 ที่มัสยิดใหญ่แห่งกูฟะฮ์ ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก ทำให้อะลีเสียชีวิตตอนอายุ 62 หรือ 63 ปี ภายในสองวันที่อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม แทงที่หัวด้วยดาบอาบยาพิษ[1]: 308  ในวันที่ 21 (หรือ 19) เราะมะฎอน ฮ.ศ. 40 (28 มกราคม ค.ศ. 661)[2] และเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์ที่สามที่ถูกลอบสังหาร หลังจากอุมัรและอุษมาน

การลอบสังหารอะลี
ภาพวาด การพลีชีพของอิหม่ามอะลี โดยโยว์เซฟ แอบดีเนฌอด
พิกัด32°01′43″N 44°24′03″E / 32.02861°N 44.40083°E / 32.02861; 44.40083
วันที่26 มกราคม ค.ศ. 661 (661-01-26)
เป้าหมายอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ
ประเภทการลอบสังหาร
อาวุธดาบอาบพิษ
ตาย1
ผู้เสียหายอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ
อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม

อะลีกลายเป็นเคาะลีฟะฮ์ หลังการลอบสังหารอุษมานใน ค.ศ. 656 อย่างไรก็ตาม เขาพบปัญหาบางส่วน ซึ่งรวมไปถึงผู้ว่าการลิแวนต์ มุอาวิยะฮ์ที่ 1 กับสงครามกลางเมืองที่มีชื่อว่าฟิตนะฮ์ครั้งแรก ทำให้เกิดการโค่นล้มเคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน และก่อตั้งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ขึ้น โดยเกิดขึ้นในช่วงที่เคาะลีฟะฮ์อุษมาน อิบน์ อัฟฟานถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 656 แล้วดำเนินต่อในช่วงการครองราชย์ของอะลีอีก 4 ปี[3] หลังจากอะลียอมรับอนุญาโตตุลาการกับมุอาวิยะฮ์ที่ 1 ในยุทธการที่ศิฟฟีน (ค.ศ. 657) ทหารบางคนของอะลีได้ก่อกบฎ ทำให้มีการเรียกพวกนี้ว่า เคาะวาริจญ์ ("ผู้ที่ออกไป")[4]: 390  พวกเขาฆ่าผู้สนับสนุนอะลีบางส่วน แต่ถูกกองทัพอะลีทำลายในยุทธการที่นะฮ์เราะวานในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 658[1]: 260–261 

อิบน์ มุลญัม พบกับเคาะวาริจญ์อีกสองคนในมักกะฮ์ที่มีชื่อว่า อัลบุร็อก อิบน์ อับดุลลอฮ์ กับ อัมร์ อิบน์ บักร์ อัตตะมีมี และได้ข้อสรุปว่า สถานะการณ์ที่มุสลิมพบเจอในตอนนี้เป็นความผิดพลาดของอะลี, มุอาวิยะฮ์ และอัมร์ อิบน์ อัลอาส ผู้ว่าการอียิปต์ พวกเขาตัดสินใจว่าจะฆ่าทั้งสามคนเพื่อแก้ "สถานการณ์ที่น่าเวทนา" ในเวลานั้น และแก้แค้นจากการสู้รบที่นะฮ์เราะวาน โดยอิบน์ มุลญัม ไปฆ่าอะลีที่กูฟะฮ์ ซึ่งเขาตกหลุมรักกับหญิงที่พี่/น้องชายและพ่อของเธอเสียชีวิตที่นะฮ์เราะวาน เธอจะยอมแต่งงานถ้าเขาฆ่าอะลีได้ ด้วยเหตุนี้ ทำให้อิบน์ มุลญัม แทงอะลีที่มัสยิดใหญ่แห่งกูฟะฮ์ หลังจากอะลีเสียชีวิต ฮะซัน อิบน์ อะลี ได้สั่งประหารชีวิตอิบน์ มุลญัม เป็นการตอบแทน[5]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Madelung, Wilferd (1997). The Succession to Muhammad: A Study of the Early Caliphate. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-64696-3.
  2. Veccia Vaglieri, Laura. "ʿAlī b. Abī Ṭālib.". Encyclopædia of Islam, Second Edition. Brill Online. doi:10.1163/1573-3912_islam_COM_0046.
  3. Martin Hinds. "Muʿāwiya I". Encyclopaedia of Islam (2nd ed.). Brill. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 21 September 2014.
  4. Higgins, Annie C. (2004). "Kharijites, Khawarij". ใน Martin, Richard C. (บ.ก.). Encyclopedia of Islam and the Muslim World v.1. Macmillan.
  5. Veccia Vaglieri, Laura. "Ibn Muld̲j̲am.". Encyclopædia of Islam, Second Edition. Brill Online. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.{{cite encyclopedia}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)