อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม
อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม อัลมุรอดี (อาหรับ: عبدالرحمن بن ملجم المرادي) เป็นชาวเคาะวาริจญ์ที่รู้จักจากการลอบสังหารอะลี, เคาะลีฟะฮ์คนที่ 4 ของอิสลาม
อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม อัลมุรอดี | |
---|---|
![]() ภาพที่ถูกตัดจากภาพการสังหารอะลีโดยอิบน์ มุลญัม | |
เสียชีวิต | 661 |
ข้อหา | ฆ่าคน |
บทลงโทษ | ประหารชีวิต |
รายละเอียด | |
ผู้เสียหาย | อะลี อิบน์ อบีฏอลิบ |
วันที่ | มกราคม ค.ศ. 661 |
ตาย | 1 |
อาวุธ | ดาบ |
วางแผนลอบสังหาร แก้
กลุ่มเคาะวาริจญ์นัดพบกันที่มักกะฮ์ และพูดคุยเกี่ยวกับยุทธการที่นะฮ์เราะวานในปีค.ศ. 659 ซึ่งผู้นำทหารหลายคนถูกฆ่าโดยทหารของอะลี หลังออกจากกองทัพของอะลีแล้ว พวกเขาวางแผนลอบสังหารผู้นำอิสลามทั้งสามคน โดยอิบน์ มุลญัมไปสังหารอะลี, อัลฮุจญาจ อัตตะมิมีไปสังหารมุอาวิยะฮ์ และอัมร์ อิบน์ บักร์ ไปสังหารอัมร์ อิบน์ อัลอาส โดยดำเนินการตอนละหมาดตอนเช้าที่เมืองกูฟะฮ์, ดามัสกัส และฟุสฏอฏ โดยจะโจมตีเป้าหมายด้วยดาบอาบยาพิษ[1]
การลอบสังหารอะลี แก้
ณ วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 661 ในขณะที่อะลีละหมาดที่มัสยิดใหญ่แห่งกูฟะฮ์ ท่านถูกโจมตีโดยอับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม ซึ่งฟันดาบอาบยาพิษจนบาดเจ็บในขณะที่กำลังละหมาดซุบฮี[2] อะษีร อิบน์ อัมร์ อัสซะกูนี หัวหน้าแพทย์ได้รักษาอะลี; อย่างไรก็ตาม, อะลีเสียชีวิตจากบาดแผลในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 661[3]
สามวันต่อมา ฮะซัน อิบน์ อะลี ลูกชายของอะลี ประหารชีวิตอิบน์ มุลญัมด้วยตนเอง[4][5]
อ้างอิง แก้
- ↑ Cook, David (January 15, 2007). Martyrdom in Islam. Cambridge University Press. pp. 54–55. ISBN 978-0521615518.
- ↑ Tabatabai 1977, p. 192
- ↑ As-Sallabi, Ali Muhammad. Biography of Ali Ibn Abi Talib. Darussalam Publishers.
- ↑ "The End Of Ibn Muljim And His Cohorts". Maaref-foundation.com. สืบค้นเมื่อ 2019-01-29.
- ↑ "Death of Ali". Ismaili.net. สืบค้นเมื่อ 2019-01-29.
แหล่งที่มาที่อ้างถึง แก้
- Hawting, G. R., บ.ก. (1996). The History of al-Ṭabarī, Volume XVII: The First Civil War: From the Battle of Siffīn to the Death of ʿAlī, A.D. 656–661/A.H. 36–40. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-2393-6.
- Tabatabai, Muhammad Husayn (1977). Shi'ite Islam. SUNY Press. ISBN 978-0-87395-390-0.
- Wensinck, A. J. (1960). "ʿAmr b. al-ʿĀṣ al-Sahmī". ใน Gibb, H. A. R.; Kramers, J. H.; Lévi-Provençal, E.; Schacht, J.; Lewis, B. & Pellat, Ch. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, New Edition, Volume I: A–B. Leiden: E. J. Brill. p. 451. OCLC 495469456.
อ่านเพิ่มเติม แก้
- Kelsay, John (1993). Islam and War: A Study in Comparative Ethics. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0-664-25302-8.
- Madelung, Wilferd (1998). The Succession to Muhammad: A Study of the Early Caliphate. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-64696-3.