อาอิชะฮ์
อาอิชะฮ์ บินต์ อะบีบักร์ (อาหรับ: عائشة بنت أبي بكر, [ˈʕaːʔɪʃa]; ป. ค.ศ. 613/614 – ป. ค.ศ. 678)[a] เป็นภรรยาคนที่ 3 และภรรยาที่อายุน้อยที่สุดของศาสดามุฮัมมัด[2][3] ในงานเขียนอิสลามมักมีคำนำหน้าชื่อเธอว่า "มารดาแห่งศรัทธาชน" (อาหรับ: أمّ المؤمنين, อุมมุลมุอ์มินีน) เพื่อสื่อถึงคำอธิบายของภรรยาของมุฮัมมัดในอัลกุรอาน[4][5][6]
อาอิชะฮ์ มารดาแห่งศรัทธาชน | |
---|---|
عائشة بنت أبي بكر (อาหรับ) | |
![]() | |
เกิด | อาอิชะฮ์ บินต์ อะบีบักร์ ป. ค.ศ. 613/614 |
เสียชีวิต | ป. 13 กรกฎาคม ค.ศ. 678 / 17 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 58 (อายุราว 64 ปี) |
สุสาน | |
คู่สมรส | มุฮัมมัด (m. 620; เสียชีวิต ค.ศ. 632) |
บิดามารดา | อะบูบักร์ (พ่อ) อุมมุรูมาน (แม่) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
การยุทธ์ | ฟิตนะฮ์ครั้งแรก สงครามอูฐ |
อาอิชะฮ์มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์อิสลามช่วงต้น ทั้งในตอนที่มุฮัมมัดยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตแล้ว ในธรรมเนียมซุนนี อาอิชะฮ์ดูมีความเป็นนักวิชาการและอยากรู้อยากเห็น เธอมีส่วนร่วมในการเผยแผ่หลักคำสอนของมุฮัมมัดและบริการสังคมมุสลิมหลังท่านศาสดาเสียชีวิตเป็นเวลา 44 ปี[7] เธอยังเป็นผู้รายงานฮะดีษ 2,210 สายรายงาน[8] ไม่เพียงแต่ชีวิตส่วนตัวกับมุฮัมมัดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหัวข้อต่าง ๆ เช่น มรดก, ฮัจญ์ และอวสานวิทยา[9]
อะบูบักร์ พ่อของเธอกลายเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์แรกต่อจากมุฮัมมัด สองปีต่อมาอุมัรสืบทอดหน้าที่ต่อ ในช่วงรัชสมัยของอุษมาน เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 3 อาอิชะฮ์มีส่วนนำในกลุ่มต่อต้านที่ต่อต้านเขา ถึงแม้ว่าเธอไม่ยอมรับทั้งความเกี่ยวข้องในการลอบสังหารเขา หรือกับพรรคพวกของอะลีก็ตาม[10] ในรัชสมัยของอะลี เธอต้องการล้างแค้นต่อการเสียชีวิตของอุษมาน ซึ่งเธอพยายามทำในสงครามอูฐ เธอเข้าร่วมสงครามโดยการให้โอวาสและนำกองทัพบนหลังอูฐ โดยจบลงที่เธอแพ้สงคราม แต่การมีส่วนร่วมและความมุ่งมั่นของเธอทำให้เกิดความประทับใจไม่รู้ลืม[6] เนื่องด้วยเหตุนี้ ทำให้มุสลิมนิกายชีอะฮ์ทั่วไปมองอาอิชะฮ์ในแง่ลบ
หลังจากนั้น เธออาศัยอยู่ในมะดีนะฮ์แบบเงียบ ๆ เป็นเวลากว่า 20 ปี ไม่ยุ่งการเมือง คืนดีกับอะลี และไม่ต่อต้านเคาะลีฟะฮ์มุอาวิยะฮ์ที่ 1[10]
ฮะดีษบางส่วนรายงานว่า อาอิชะฮ์หมั้นกับมุฮัมมัดตอนอายุ 6 หรือ 7 ขวบ[11] บางส่วนรายงานว่า มีการจัดพิธีแต่งงานเล็กตอนเธออายุ 9 ขวบ[12] และบางส่วนจัดให้เธออยู่ในวัยรุ่น แต่ทั้งวันที่และอายุตอนที่เธอแต่งงานและหลังสมรสกับมุฮัมมัดที่มะดีนะฮ์เป็นจุดที่มีข้อโต้แย้งและอภิปรายในเหล่านักวิชาการ
ชีวิตช่วงต้น
อาอิชะฮ์เกิดใน ค.ศ. 613 หรือต้น ค.ศ. 614[13][14] เป็นลูกสาวของอุมมุรูมานกับอะบูบักร์ เศาะฮาบะฮ์ 2 คนที่มุฮัมมัดเชื่อมั่นที่สุด[2] ไม่มีข้อมูลใดกล่าวถึงชีวิตวัยเด็กของเธออีกเลย[15][16]
แต่งงานกับมุฮัมมัด
แนวคิดการจับคู่อาอิชะฮ์กับมุฮัมมัดได้รับการแนะนำจากเคาละฮ์ บินต์ ฮะกีม หลังเคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด ภรรยาคนแรกของมุฮัมมัดเสียชีวิต[17][18] หลังจากนี้ ข้อตกลงก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการแต่งงานกับอาอิชะฮ์โดยญุบัยร์ อิบน์ มุฏอิมถูกกันไว้ด้วยความยินยอมร่วมกัน ในตอนแรก อะบูบักร์ไม่แน่ใจ "เพราะมันเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือถูกต้องตามกฎหมายในการแต่งงานระหว่างลูกสาวของเขากับ 'พี่ชาย' " อย่างไรก็ตาม มุฮัมมัดตอบว่า พวกเขาเป็นพี่น้องกันในทางศาสนาเท่านั้น[18] วิลเลียม มอนต์โกเมอรี วัตต์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวแนะว่า มุฮัมมัดหวังว่าจะเชื่อมความสัมพันธ์กับอะบูบักร์[10] การเชื่อมความสัมพันธ์นั้น โดยทั่วไปเป็นพื้นฐานในการแต่งงานตามวัฒนธรรมอาหรับ[19]
อายุตอนแต่งงาน
เนื่องจากไม่มีการจดทะเบียนการเกิดอย่างเป็นทางการตอนที่อาอิชะฮ์เกิด ทำให้ไม่สามารถระบุอายุของเธอในเวลาแต่งงานได้อย่างแน่นอน[20] และเนื่องจากในอัลกุรอานไม่ได้ระบุอายุของเธอ ทำให้การอภิปรายและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอายุของเธอในเวลาแต่งงานขึ้นอยู่กับชุดสะสมฮะดีษหลายเล่มเป็นอย่างแรก แต่ใช่ว่ามุสลิมทุกคนเชื่อว่าฮะดีษทั้งหมดมาจากพระดำรัสจากพระเจ้า และแต่ละนิกายก็มีชุดสะสมฮะดีษที่ได้รับเกียรติแตกต่างกัน[21] โดยซุนนี, ชีอะฮ์หลายสำนัก (เช่นอิสมาอีลียะฮ์และชีอะฮ์สิบสองอิมาม), อิบาฎียะฮ์ และอะห์มะดียะฮ์ยอมรับชุดฮะดีษตามหลักฐานของตนเองว่าเป็นสายรายงานระดับ "แข็ง" หรือ "อ่อน" โดยขึ้นอยู่กับที่มาของฮะดีษ[22][23]
วรรณกรรมอิสลามมักกล่าวถึงอายุในเวลาแต่งงานของอาอิชะฮ์[11] จอห์น เอสโปซิโต รายงานว่าอาอิชะฮ์แต่งงานกับมุฮัมมัดที่มักกะฮ์ใน ค.ศ. 624 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการฮิจเราะห์ไปที่มะดีนะฮ์และยุทธการที่บะดัร[24] นักวิชาการบางส่วนตีความสิ่งนี้ว่าเธอเข้าสู่วัยเริ่มเจริญพันธุ์ในวัยนี้[10][11][25][26] ถึงแม้ว่าในเวลานั้นเรื่องอายุของเธอยังเป็นหัวข้อโต้แย้ง อัฏเฏาะบะรีกล่าวว่า ตอนที่การแต่งงานสำเร็จบริบูรณ์ เธออายุ 9 ขวบ[27] ฮะดีษจากเศาะฮีฮ์ อัลบุคอรีระบุว่า "ท่านศาสดาแต่งงานกับเธอตอนเธออายุ 6 ขวบ และท่านทำให้การแต่งงานสำเร็จบริบูรณ์ตอนเธออายุ 9 ขวบ"[28] ในขณะที่ข้อมูลหนึ่งระบุวัยที่แต่งงานต่างกัน แต่ยอมรับว่าการแต่งงานยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ในเวลาทำสัญญาแต่งงาน[29] มีการบันทึกข้อมูลชีวประวัติมุฮัมมัดและผู้ติดตามทั้งหมดหลังจากท่านเสียชีวิตมากกว่าศตวรรษ[30] แต่ฮะดีษและซีเราะฮ์ (ชีวประวัติอิสลามดั้งเดิมของศาสดามุฮัมมัด) มีบันทึกศาสนาอิสลามสมัยแรกผ่านสายรายงานที่ไม่แตกหัก ฮะดีษ หลายอันที่ระบุว่า "ตอนที่การแต่งงานสำเร็จบริบูรณ์ อาอิชะฮ์มีอายุ 9 หรือ 10 ขวบ" นั้น มาจากชุดสะสมที่มีสถานะ เศาะฮีฮ์ นั่นหมายความว่าฮะดีษนี้เป็นฮะดีษที่มุสลิมนิกายซุนนีส่วนใหญ่ยอมรับ[28][31] ในขณะเดียวกัน ซีเราะฮ์ ของอิบน์ อิสฮากที่แก้ไขโดยอิบน์ ฮิชามระบุว่า ตอนที่การแต่งงานสำเร็จบริบูรณ์ เธออายุ 9 หรือ 10 ขวบ[32] และอัฏเฏาะบะรี นักประวัติศาสตร์ ก็ระบุว่าในเวลานั้นเธออายุ 9 ขวบ[33] ในเวลานั้น การแต่งงานในวัยหนุ่มสาวถือเป็นเรื่องทั่วไป และการแต่งงานระหว่างอาอิชะฮ์กับมุฮัมมัดอาจมีความหมายแฝงทางการเมือง เพราะอะบูบักร์ พ่อของเธอ เป็นผู้มีอิทธิพลในสังคม[34] โดยเขาอาจต้องการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลของมุฮัมมัดกับตัวเขาเองให้แน่นกว่าเดิมผ่านการแต่งงานของอาอิชะฮ์ ลัยลา อะห์มัดกล่าวว่า การหมั้นหมายและการแต่งงานกับมุฮัมมัดของอาอิชะฮ์นั้น ถือเป็นเรื่องปกติในวรรณกรรมอิสลาม และอาจบ่งบอกว่าในสมัยนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กจะแต่งงานกับคนชรา[35]
อายุตอนแต่งงานของอาอิชะฮ์ยังคงเป็นที่มาของความขัดแย้งและการอภิปราย และนักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ และนักเขียนบางส่วนได้ใช้เส้นเวลาที่เคยได้รับการยอมรับอีกครั้ง[36] นักเขียนบางส่วนคำนวณอายุของอาอิชะฮ์จากข้อมูลที่พบในชีวประวัติบางส่วน โดยละทิ้งฮะดีษที่ได้รับการยอมรับตามธรรมเนียม มีฮะดีษหนึ่งได้รับการบันทึกในผลงานของนักวิชาการสมัยกลาง เช่นอัษษะฮะบี[37] ระบุว่า อัสมา พี่สาวของอาอิชะฮ์ มีอายุแก่กว่าเธอ 10 ปี หลังจากนำข้อมูลอายุของอัสมาในเวลาที่เธอเสียชีวิตไปรวมกันและใช้หลักฐานนี้กล่าวแนะว่า ในเวลาที่อาอิชะฮ์แต่งงาน เธอมีอายุมากกว่า 13 ปี[38] ญิบรีล ฮัดดาด วิจารณ์ถึงสิ่งนี้ว่าพึ่งหลักฐานจากสายรายงานเดียว และกล่าวว่าฮะดีษจากผู้รายงานคนเดียวกันให้ระยะเวลาระหว่างเธอกับพี่สาวกว้างกว่าเดิม[39] เมื่อใช้ปีเกิดของฟาฏิมะฮ์เป็นจุดอ้างอิง ทำให้มุฮัมมัด อะลี นักวิชาการ ได้ประมาณการว่า ตอนแต่งงานอาอิชะฮ์มีอายุมากกว่า 10 ขวบ และตอนที่การแต่งงานสำเร็จบริบูรณ์ เธอมีอายุมากกว่า 15 ปี[40]
เมื่อสังเกตการอ้างอิงถึงอายุอาอิชะฮ์ตอนแต่งงานสำเร็จบริบูรณ์อยู่ที่อายุ 9 หรือ 10 ขวบ เดนิส สเปลเบิร์ก นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน กล่าวว่า "อ้างอิงจำเพาะเกี่ยวกับอายุของเจ้าสาวเหล่านี้ สนับสนุนสถานะก่อนมีประจำเดือนของอาอิชะฮ์ และความเป็นพรหมจารีของเธออย่างแน่นอน"[11] เธอกล่าวว่า อาอิชะฮ์เองดูเหมือนจะสนับสนุนความจริงที่ว่าเธอเคยเป็นหญิงพรหมจารีก่อนที่จะแต่งงานกับมุฮัมมัด เพื่อแยกตัวเธอเองจากภรรยาคนอื่นที่ไม่บริสุทธิ์ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อผู้ที่สนับสนุนอาอิชะฮ์ในข้อโต้แย้งผู้สืบทอดของมุฮัมมัด โดยผู้สนับสนุนเหล่านี้ถือว่าเธอเป็นภรรยาพรหมจารีคนเดียวของมุฮัมมัด ดังนั้นจึงเป็นที่ผู้ที่สมควรได้รับตำแหน่งนี้ โดยไม่สนถึงข้อโต้แย้ง[41]
เสียชีวิต
อาอิชะฮ์เสียชีวิตในบ้านของเธอที่มะดีนะฮ์ในวันที่ 17 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 58 (16 กรกฎาคม ค.ศ. 678)[b] ด้วยอายุ 67 ปี[1] อะบูฮุร็อยเราะฮ์ เศาะฮาบะฮ์ที่มีชื่อเสียงของท่านศาสดา เป็นผู้นำละหมาดศพหลังละหมาดตะฮัจญุด (กลางคืน) และถูกฝังที่ญันนะตุลบะกีอ์[43]
มุมมอง
ซุนนี
ซุนนีเชื่อว่าเธอเป็นภรรยาคนโปรดของมุฮัมมัดหลังจากเคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด พวกเขาถือว่าเธอ (กับภรรยาคนอื่น) เป็น อุมมุลมุอ์มินีน และเป็นสมาชิกอะฮ์ลุลบัยต์ หรือครอบครัวมุฮัมมัด รายงานจากฮะดีษซุนนี ศาสดามุฮัมมัดฝันเห็นอาอิชะฮ์ 2 ครั้ง[44][45] ซึ่งฉายภาพว่าท่านจะแต่งงานกับเธอ[46][47]
ชีอะฮ์
ส่วนชีอะฮ์มองอาอิชะฮ์ต่างจากซุนนี พวกเขาวิจารณ์เธอจากการเกลียดชังอะลี และเมื่อเธอสู้กับผู้ชายจากกองทัพอะลีที่บัศเราะฮ์ ก็ท้าทายเขาในรัชสมัยของเขาในช่วงสงครามอูฐ [48]
หมายเหตุ
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Al-Nasa'i 1997, p. 108
ตอนที่ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เสียชีวิต เธอมีอายุ 18 ปี และยังคงเป็นหม้ายเป็นเวลา 48 ปี จนเธอเสียชีวิตตอนอายุ 67 ปี ในช่วงชีวิตเธอพบเห็นเคาะลีฟะฮ์ปกครองทั้งหมด 4 องค์ เธอเสียชีวิตในเดือนเราะมะฎอน ฮ.ศ. 58 ในรัชสมัยของมุอาวิยะฮ์...
- ↑ 2.0 2.1 Esposito 2004
- ↑ Spellberg 1994, p. 3
- ↑ อัลกุรอาน 33:6
- ↑ Brockelmann 1947
- ↑ 6.0 6.1 Abbott 1942
- ↑ Aleem, Shamim (2007). Prophet Muhammad(s) and His Family: A Sociological Perspective. AuthorHouse. p. 130. ISBN 9781434323576.
- ↑ Islamyat: a core text for students
- ↑ Sayeed, Asma (6 August 2013). Women and the Transmission of Religious Knowledge in Islam. Cambridge University Press. pp. 27–9. ISBN 9781107031586.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Watt 1960
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Spellberg 1994, pp. 39–40
- ↑ Armstrong 1992, p. 157
- ↑ Abbott 1942, p. 1
- ↑ Ibn Sa'd 1995, p. 55
นั่นคือ ค.ศ. 613–614อาอิชะฮ์เกิดเมื่อต้นปีที่สี่ของการเป็นศาสดา
- ↑ Watt 1961, p. 102
- ↑ Abbott 1942, p. 7
- ↑ Ahmed 1992
- ↑ 18.0 18.1 Abbott 1942, p. 3
- ↑ Sonbol 2003, pp. 3–9
- ↑ Francois-Cerrah, Myriam (17 September 2012). "The truth about Muhammad and Aisha". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2019. สืบค้นเมื่อ 14 February 2019.
- ↑ Aisha Y. Musa, The Qur’anists, Florida International University, accessed 22 May 2013.
- ↑ The Future of Muslim Civilisation by Ziauddin Sardar, 1979, page 26.
- ↑ Neal Robinson (2013), Islam: A Concise Introduction, Routledge, ISBN 978-0878402243, Chapter 7, pp. 85–89
- ↑ Esposito, John. "A'ishah: 614–678: Third wife of Muhammad". www.oxfordislamicstudies.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2018. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019. Extracted from Esposito, John (2004). The Islamic World: Past and Present. ISBN 978-0397512164.
- ↑ Barlas 2002, pp. 125–126
- ↑ A.C. Brown, Jonathan (2014). Misquoting Muhammad: The Challenge and Choices of Interpreting the Prophet's Legacy. Oneworld Publications. pp. 143–4. ISBN 978-1780744209.
- ↑ al-Tabari 1987, p. 7, al-Tabari 1990, p. 131, al-Tabari 1998, p. 171
- ↑ 28.0 28.1 Sahih al-Bukhari, 7:62:64
- ↑ A.C. Brown, Jonathan (2014). Misquoting Muhammad: The Challenge and Choices of Interpreting the Prophet's Legacy. Oneworld Publications. p. 316. n° 50. ISBN 978-1780744209.
Evidence that the Prophet waited for Aisha to reach physical maturity before consummation comes from al-Ṭabarī, who says she was too young for intercourse at the time of the marriage contract;
- ↑ Kadri, Sadakat (2012). Heaven on Earth. Farrar, Straus, Giroux. p. 30.
- ↑ Sahih Muslim 8:3309
- ↑ Ibn Ishaq. The Life of Muhammad. แปลโดย A. Ibn Ishaq. p. 792.
He married A'isha in Mecca when she was a child of seven and lived with her in Medina when she was nine or ten.
- ↑ al-Tabari, Abu Jafar. History of al-Tabari, Vol 6: Muhammad at Mecca. แปลโดย Ismail K Poonawala. p. 131.
- ↑ Afsaruddin 2014
- ↑ Ahmed 1992, pp. 51–54
- ↑ Ali, Kecia (2016). Sexual Ethics and Islam: Feminist Reflections on Qur'an, Hadith, and Jurisprudence. OneWorld. pp. 173–186. ISBN 978-1780743813.
- ↑ al-Dhahabi. "Siyar a'lam al-nubala'". IslamWeb. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
قال عبد الرحمن بن أبي الزناد : كانت أسماء أكبر من عائشة بعشر . (Abd al-Rahman ibn Abi al-Zunad said: Asma was older than Aisha by ten years
- ↑ Barlas, Asma (2012). "Believing Women" in Islam: Unreading Patriarchal Interpretations of the Qur'an. University of Texas Press. p. 126.
On the other hand, however, Muslims who calculate 'Ayesha's age based on details of her sister Asma's age, about whom more is known, as well as on details of the Hijra (the Prophet's migration from Mecca to Madina), maintain that she was over thirteen and perhaps between seventeen and nineteen when she got married. Such views cohere with those Ahadith that claim that at her marriage Ayesha had "good knowledge of Ancient Arabic poetry and genealogy" and "pronounced the fundamental rules of Arabic Islamic ethics.
- ↑ Gibril F Haddad. "Our Mother A'isha's Age at the Time Of Her Marriage to The Prophet". SunniPath. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2012. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
- ↑ Ali 1997, p. 150
- ↑ Spellberg 1994, pp. 34–40
- ↑ Haylamaz, Resit (1 March 2013). Aisha: The Wife, The Companion, The Scholar. Tughra Books. pp. 192–193. ISBN 9781597846554. สืบค้นเมื่อ 11 July 2018.
- ↑ Ibn Kathir, p. 97
- ↑ Richard Crandall (2008). Islam: The Enemy. Xulon Press. p. 129.
- ↑ Kelly Bulkeley; Kate Adams; Patricia M. Davis (2009). "6 (Dreaming in the Life of the Prophet Muhammad)". Dreaming in Christianity and Islam: Culture, Conflict, and Creativity. Rutgers University Press. p. 87. ISBN 9780813546100.
- ↑ M. Fethullah Gülen (2014). Questions and Answers About Islam Vol. 1. 4.4 (Why Was The Prophet Polygamous?): Işık Yayıncılık Ticaret. ISBN 9781597846189.
This is surely why the Prophet was told in a dream that he would marry Aisha.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - ↑ "The Book of Marriage". SahihalBukhari.Com. SalafiPublications.Comlocation=Hadeeth No. 4745 & 4787. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2015.
- ↑ "Objections to the Shia criticisms leveled at Ayesha". Shiapen.com. 17 October 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2013. สืบค้นเมื่อ 31 December 2013.
ผลงานที่อ้างอิง
- Abbott, Nabia (1942). Aishah The Beloved of Muhammad. University of Chicago Press. ISBN 978-0405053184.
- Afsaruddin, Asma (2014). "ʿĀʾisha bt. Abī Bakr". ใน Fleet, Kate; Krämer, Gudrun; Matringe, Denis; Nawas, John; Rowson, Everett (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (3 ed.). Brill Online. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.
- Aghaie, Kamran Scot (Winter 2005). "The Origins of the Sunnite-Shiite Divide and the Emergence of the Ta'ziyeh Tradition". TDR: The Drama Review. 49 (4 (T188)): 42–47. doi:10.1162/105420405774763032. S2CID 57564760.
- Ahmed, Leila (1992). Women and Gender in Islam: Historical Roots of a Modern Debate. Yale University Press. ISBN 978-0300055832.
- al-Athir, Ali ibn (1231). The Complete History. Vol. 2.
- Al-Nasa'i (1997). Al-Sunan al-Sughra (ภาษาอาหรับ). Vol. 1. Translated by Muhammad Iqbal Siddiqi. Kazi Publications. ISBN 978-0933511446.
- al-Tabari. Tarikh al-Rusul wa al-Muluk [History of the Prophets and Kings].
- al-Tabari (1987). The Foundation of The Community (PDF) (ภาษาอาหรับ). Vol. 7. Translated by William Montgomery Watt and M. V. McDonald. State University of New York Press. ISBN 978-0887063442. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 May 2017. สืบค้นเมื่อ 10 March 2014.
- al-Tabari (1990). The Last Years of the Prophet (PDF) (ภาษาอาหรับ). Vol. 9. Translated by Ismail Poonawala. State University of New York Press. ISBN 978-0887066917.[ลิงก์เสีย]
- al-Tabari (1998). Biographies of the Prophet's Companions and Successors (ภาษาอาหรับ). Vol. 39. Translated by Ella Landau Tasseron. State University of New York Press. ISBN 0791428192.
- Ali, Muhammad (1997). Muhammad the Prophet. Ahamadiyya Anjuman Ishaat Islam. ISBN 978-0913321072.
- Amira, Sonbol (2003). "Rise of Islam: 6th to 9th century". ใน Joseph, Suad (บ.ก.). Encyclopedia of Women & Islamic Cultures. Vol. 1. Brill Publishers. ISBN 978-9004113800.
- Armstrong, Karen (1992). Muhammad: A Biography of the Prophet. HarperCollins. ISBN 978-0062500144.
- Aslan, Reza (2005). No god but God: The Origins, Evolution, and Future of Islam. New York: Random House. ISBN 978-0385739757.
- Barlas, Asma (2002). Believing Women in Islam: Unreading Patriarchal Interpretations of the Qur'an. University of Texas Press. ISBN 978-0292709041. Read online
- Black, Edwin (1994). Banking on Baghdad: Inside Iraq's 7,000-year History of War, Profit, and Conflict. John Wiley & Sons. ISBN 978-0914153122. สืบค้นเมื่อ 31 December 2013.
- Brockelmann, Carl (1947). Geschichte der Islamischen Volker und Staaten [History of the Islamic Peoples, with a Review of Events, 1939–1947] (ภาษาเยอรมัน). Translated by Joel Carmichael and Moshe Perlmann. G. P. Putnam's Sons.
- Elsadda, Hoda (Spring 2001). "Discourses on Women's Biographies and Cultural Identity: Twentieth-Century Representations of the Life of 'A'isha Bint Abi Bakr". Feminist Studies. 27 (1): 37–64. doi:10.2307/3178448. JSTOR 3178448.
- Esposito, John L. "A'ishah in the Islamic World: Past and Present". Oxford Islamic Studies Online. สืบค้นเมื่อ 12 November 2012.
- Geissinger, Aisha (January 2011). "'A'isha bint Abi Bakr and her Contributions to the Formation of the Islamic Tradition". Religion Compass. 5 (1): 37–49. doi:10.1111/j.1749-8171.2010.00260.x.
- Glubb, John Bagot (1963). The Great Arab Conquests. Hodder & Stoughton. ISBN 978-0340009383.
- Goodwin, Jan (1994). Price of Honor: Muslim Women Lift the Veil of Silence on the Islamic World. Little, Brown and Company. ISBN 978-0452283770.
- Haykal, Muhammad Husayn (1976). The Life of Muhammad (ภาษาอาหรับ). Translated by Isma'il Ragi Al-Faruqi. North American Trust Publications. ISBN 978-0892591374.
- Ibn Ishaq (1955). Sirat Rasul Allah [The Life of Muhammad] (ภาษาอาหรับ). Translated by Alfred Guillaume. Oxford University. ISBN 978-0196360348.
- Ibn Kathir. "book 4, chapter 7". Al-Bidaya wa'l-Nihaya [The Beginning and the End] (ภาษาอาหรับ).
- Ibn Sa'd (1995). Women of Madina (ภาษาอาหรับ). Vol. 8. Translated by Aisha Bewley. Ta-Ha Publishers. ISBN 978-1897940242.
- Joseph, Suad, บ.ก. (2007). Encyclopedia of Women and Islamic Cultures: Volume 5 – Practices, Interpretations and Representations. Brill. ISBN 978-9004132474.
- Lapidus, Ira M. (2002). A History of Islamic Societies (2nd ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0521779333.
- Lings, Martin (1983). Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources. Inner Traditions International. ISBN 978-1594771538.
- Madelung, Wilferd (1997). The Succession to Muhammad. Cambridge University Press. ISBN 978-0521646963.
- McAuliffe, Jane Dammen (2001). Encyclopaedia of the Qur'ān. Vol. 1. Brill Publishers. ISBN 978-9004147430.
- Mernissi, Fatema (1988). Le Harem Politique [The Veil and the Male Elite: A Feminist Interpretation Of Women's Rights In Islam] (ภาษาฝรั่งเศส). Translated by Mary Jo Lakeland. Perseus Books Publishing. ISBN 978-0201632217.
- Muir, William (1892). The Caliphate: Its Rise, Decline And Fall from Original Sources. The Religious Tract Society.
- Ramadan, Tariq (2007). In The Footsteps of The Prophet. Oxford University Press.
- Razwy, Ali Ashgar (2001). "The Battle of Basra (the battle of Camel)". A Restatement of the History of Islam and Muslims. World Federation of Khoja Shia Ithna-Asheri Muslim Communities. ISBN 978-0950987910.
- Roded, Ruth (1994). Women in Islamic Biographical Collections: From Ibn Sa'd to Who's Who. Lynne Rienner Publishers. ISBN 978-1555874421.
- Roded, Ruth (2008). Women in Islam and the Middle East: A Reader. I.B. Tauris. ISBN 978-1845113858.
- Shaikh, Sa‘diyya (2003). Encyclopedia of Islam & the Muslim World. Macmillan Reference. ISBN 978-0028656038.
- Spellberg, Denise (1994). Politics, Gender, and the Islamic Past: the Legacy of A'isha bint Abi Bakr. Columbia University Press. ISBN 978-0231079990.
- Tabatabaei, Muhammad Husayn (1979). Shi'ite Islam (ภาษาอาหรับ). Translated by Hossein Nasr. State University of New York Press. ISBN 978-0873952729.
- Vaglieri, Laura Veccia (1977). "4". ใน Holt, Peter M.; Lambton, Ann; Lewis, Bernard (บ.ก.). The Cambridge History of Islam. Vol. 1. Cambridge University Press. doi:10.1017/CHOL9780521219464. ISBN 978-1139055024.
- Watt, William Montgomery (1960). ʿĀʾis̲h̲a Bint Abī Bakr (2nd ed.). Encyclopaedia of Islam Online. ISBN 978-9004161214. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014.
- Watt, William Montgomery (1961). Muhammad: Prophet and Statesman. Oxford University Press. ISBN 978-0198810780.
อ่านเพิ่ม
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ อาอิชะฮ์ |
- Afshare, Haleh (2006). Democracy and Islam. Hansard Society.
- 'Askari, Murtada Sharif. Role of Ayesha in the History of Islam. Iran: Ansarian.
- Bowker, John (2000). The Concise Oxford Dictionary of World Religions. Oxford University Press. doi:10.1093/acref/9780192800947.001.0001. ISBN 978-0192800947.
- Chavel, Geneviève (2007). Aïcha : La bien-aimée du prophète (ภาษาฝรั่งเศส). Editions SW Télémaque. ISBN 978-2753300552.
- Rivzi, Sa'id Akhtar (1971). The Life of Muhammad The Prophet. Darul Tabligh North America.แม่แบบ:ISBN?
- Rodinson, Maxime (2002). Muhammad (ภาษาอังกฤษ). New Press. ISBN 978-1565847521. (translated from the French by Anne Carter)
- "Biography of Aisha". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2008. สืบค้นเมื่อ 22 November 2004.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)