ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง

สงครามกลางเมืองมุสลิมสมัยรอชิดูน (ค.ศ. 656–661)

ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามกลางเมืองครั้งแรกของประชาชาติมุสลิม นำไปสู่การล้มล้างรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนและการก่อตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ฟิตนะฮ์ครั้งนี้ประกอบด้วยการรบหลัก 3 ครั้งระหว่างอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนคนที่ 4 กับฝ่ายต่อต้าน

ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง
ส่วนหนึ่งของ ฟิตนะฮ์

  พื้นที่ที่เคาะลีฟะฮ์อะลีครอบครอง
  พื้นที่ที่มุอาวิยะฮ์ครอบครอง
วันที่ค.ศ. 656–661
สถานที่
ผล สนธิสัญญาฮะซัน-มุอาวิยะฮ์
คู่สงคราม
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน กองทัพของมุอาวิยะฮ์และอาอิชะฮ์ เคาะวาริจญ์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ X

ฮะซัน อิบน์ อะลี
อัมมาร์ อิบน์ ยาซิร 
มาลิก อัล-อัชตาร์
มุฮัมมัด อิบน์ อะบี บักร์ 
ฮิจญร์ อิบน์ อะดี โทษประหารชีวิต
อาอิชะฮ์
ฏ็อลฮะฮ์ 
สุบัยร อิบน์ อัล-เอาวาม 
มุอาวิยะฮ์ที่ 1
อัมร์ อิบน์ อัล-อัส (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
อับดุลลอฮ์ อิบน์ วะฮับ อัรรอซิบี 
ความสูญเสีย
ทั้งหมด: 25,407–25,513+ ทั้งหมด: 47,500+
  • สงครามอูฐ: 2,500+
  • ยุทธการที่ศิฟฟีน: 45,000[1][2]
2,400

ที่มาของฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่งเริ่มจากการลอบสังหารอุมัร เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนคนที่ 2 ในปี ค.ศ. 644 ก่อนเสียชีวิตอุมัรตั้งสภาที่ปรึกษาซึ่งเลือกอุษมานเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป ฝ่ายตรงข้ามวิจารณ์การปกครองช่วงท้ายของอุษมานว่ามีความเป็นคติเห็นแก่ญาติและสังหารอุษมานในปี ค.ศ. 656[3] ต่อมาอะลีได้รับเลือกเป็นเคาะลีฟะฮ์คนที่ 4 แต่ถูกอาอิชะฮ์ ฏ็อลฮะฮ์และสุบัยรต่อต้านและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งเคาะลีฟะฮ์ใหม่[4] ทั้งสองฝ่ายรบกันในสงครามอูฐในเดือนธันวาคม ค.ศ. 656 ซึ่งอะลีได้รับชัยชนะ หลังจากนั้นมุอาวิยะฮ์ ผู้ว่าการซีเรียประกาศสงครามกับอะลีด้วยต้องการล้างแค้นให้อุษมาน[5] กองทัพของอะลีกับมุอาวิยะฮ์รบกันในยุทธการที่ศิฟฟีนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 657 แต่เอาชนะกันไม่ได้และตัดสินด้วยอนุญาโตตุลาการ[6]

อนุญาโตตุลาการนี้ถูกปฏิเสธจากเคาะวาริจญ์ กลุ่มคนซึ่งเดิมสนับสนุนอะลี เคาะวาริจญ์ประกาศให้อะลี มุอาวิยะฮ์และผู้สนับสนุนเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา[7][8] และการหลั่งเลือดผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นเป็นสิ่งกระทำได้[9] หลังเคาะวาริจญ์ก่อความรุนแรงมากขึ้น กองทัพอะลีเอาชนะเคาะวาริจญ์ในยุทธการที่นะฮ์เราะวานในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 658 จากนั้นไม่นานมุอาวิยะฮ์ยึดครองอียิปต์ด้วยความช่วยเหลือจากอัมร์ อิบน์ อัล-อัส ผู้ว่าการอียิปต์

ในปี ค.ศ. 661 อะลีถูกลอบสังหารโดยอับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม เคาะวาริจญ์ผู้ต้องการล้างแค้นความพ่ายแพ้ที่นะฮ์เราะวาน[10] ฮะซัน อิบน์ อะลี บุตรคนโตของอะลีดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากมุอาวิยะฮ์ หลังจากนั้นสถานการณ์หลายอย่างบีบบังคับให้ฮะซันต้องยอมเจรจากับมุอาวิยะฮ์จนเกิดเป็นสนธิสัญญาฮะซัน-มุอาวิยะฮ์ เป็นอันสิ้นสุดฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง ในสนธิสัญญานี้ฮะซันยอมสละตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้มุอาวิยะฮ์ แลกกับการประกันความปลอดภัยแก่มุสลิมและคืนตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้ทายาทของฮะซันหลังมุอะวิยะฮ์เสียชีวิต[11] มุอะวิยะฮ์เข้าพิธีแต่งตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่เมืองเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 661[12] เป็นการสิ้นสุดของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน และจุดเริ่มต้นของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Lecker 2012.
  2. 2.0 2.1 Gibbon 1906, pp. 98–99.
  3. Syed Muhammad Khan (21 May 2020). "Uthman". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
  4. Madelung (1997, pp. 157, 158). Rogerson (2006, pp. 289, 291)
  5. Donald P. Little (1 January 2020). "Mu'awiya's I". Britannica. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
  6. Madelung (1997, pp. 238, 241). Donner (2010, p. 161)
  7. Wellhausen 1901, pp. 17–18.
  8. Gaiser 2016, p. 48.
  9. Donner (2010, p. 163). Wellhausen (1901, pp. 17–18). Hazleton (2009, p. 145)
  10. Della Vida 1978, pp. 1074–1075.
  11. Momen (1985, p. 27). Madelung (1997, p. 322)
  12. Avi-Yonah (2001)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้