สนธิสัญญาฮะซัน-มุอาวิยะฮ์

สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างฮะซันกับมุอาวิยะฮ์

สนธิสัญญาฮะซัน-มุอาวิยะฮ์ เป็นสนธิสัญญาสันติภาพทางการเมืองที่ลงนามระหว่างเคาะลีฟะฮ์ ฮะซัน อิบน์ อะลี กับมุอาวิยะฮ์ที่ 1 เพื่อหยุดเหตุการณ์ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 656–661) สนธิสัญญาระบุว่า ฮะซันยกตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้กับมุอาวิยะฮ์ด้วยเงื่อนไขบางประการ ซึ่งรวมเงื่อนไขอย่างการให้ความปลอดภัยแก่มุสลิมและห้ามฝ่ายมุอาวิยะฮ์แต่งตั้งผู้สืบทอดอำนาจ[1] ถึงกระนั้น มุอาวิยะฮ์ละเมิดเงื่อนไขสนธิสัญญา โดยเฉพาะการแต่งตั้งยะซีดเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากพระองค์ ก่อให้เกิดราชวงศ์ในรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์[2]

เนื้อหา แก้

ต่อไปนี้คือเนื้อหาจากสนธิสัญญาระหว่างฮะซันกับมุอาวิยะฮ์:

  1. มุอาวิยะฮ์ควรดำเนินตามคัมภีร์ของอัลลอฮ์, ซุนนะฮ์ของท่านศาสดา[3] และพฤติกรรมของเคาะลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรม[4][5]
  2. หลังจากมุอาวิยะฮ์แล้ว อำนาจควรเป็นของฮะซัน[6][7][8][9][10] และถ้ามีอุบัติเหตุใดเกิดขึ้น อำนาจนั้นจะตกเป็นของฮุซัยน์[11] มุอาวิยะฮ์ไม่มีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้แก่ใครทั้งสิ้น[5][12][13]
  3. มุอาวิยะฮ์ควรหยุดสาปแช่งอะลี ซึ่งรวมถึงการอ่านกุนูตตอนละหมาดเพื่อต่อต้านเขา[14] มุอาวิยะฮ์ไม่ควรกล่าวชื่ออะลีนอกจากว่าจะมีประสงค์ดี[15][16]
  4. มุอาวิยะฮ์ควรแยกสิ่งที่อยู่ในหอพระคลังแห่งกูฟะฮ์ นั่นคือห้าล้าน (ดิรฮัม) มุอาวิยะฮ์ควรส่งเงินให้ฮุซัยน์หนึ่งล้านดิรฮัมทุกปี...และควรแบ่งหนึ่งล้าน (ดิรฮัม) ให้กับลูกชายที่ถูกฆ่ากับอะมีรุลมุอ์มินีนในสงครามอูฐและยุทธการที่ศิฟฟีน และควรจ่ายมันด้วยภาษีใน Dar Abjard[17][18][19][20]
  5. ประชาชนควรได้รับความปลอดภัยทุกที่บนผืนดินของอัลลอฮ์ มุอาวิยะฮ์ควรให้ความปลอดภัยแก่ทุกชาติพันธุ์ กลุ่มสหายของอิหม่ามอะลีควรได้รับความปลอดภัย มุอาวิยะฮ์ไม่ควรสร้างความเสียหายทั้งในที่ลับหรือเปิดเผยต่อฮะซัน ฮุซัยน์ หรืออะฮ์ลุลบัยต์ของศาสดา[5][15][16][19][21][22][23]

ผลที่ตามมา แก้

หลังฮะซันสละราชสมบัติ มุอาวิยะฮ์เดินทางเข้ากูฟะฮ์พร้อมกับกองทัพอย่างภาคภูมิใจ โดยกองทัพกล่าวต่อสาธารณชนว่าพระองค์ไม่ยอมรับสัญญาที่ทำกับฮะซัน[24] ฮะซันเกษียณที่มะดีนะฮ์ โดยเขาถูกห้ามไม่ให้มีส่วนร่วมทางการเมืองหรือต่อต้านมุอาวิยะฮ์[25] ฮะซันเสียชีวิตใน ค.ศ. 669 ด้วยอายุ 46 ปี[26] เชื่อกันว่ามุอาวิยะฮ์ยุยงให้วางยาพิษใส่ฮะซัน เพื่อให้ยะซีด พระราชโอรสของพระองค์ ได้สืบทอดอำนาจต่อ[27] ในรัชสมัยนั้น มุอาวิยะฮ์ข่มเหงพรรคพวกของอะลีคนสำคัญ เช่น ฮุจร์ อิบน์ อะดี เศาะฮาบะฮ์ของมุฮัมมัด ถูกประหารชีวิตใน ค.ศ. 670[28] Madelung รายงานว่า มุอาวิยะฮ์ได้จัดตั้งพิธีการสาปแช่งอะลีในละหมาดรวมเพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการปกครองของพระองค์[29]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Donaldson (1933, pp. 66–78). Jafri (1979, pp. 91–120). Aal-Yasin
  2. Madelung (1997, pp. 323, 324)
  3. al-Hadid, Ibn Abu. Sharh Nahj al-Balagha, vol. 4. p. 6.
  4. Ibn Aqil. al-Nasaih al-Kafiya. p. 156.
  5. 5.0 5.1 5.2 Al-Majlisi. Bihar al-Anwar, vol. 10. p. 115.
  6. al-Suyūṭī, Jalāl al-Dīn al-Khuḍayrī (3 June 2014). History of the Caliphs:Tarikh Al-Khulafa. CreateSpace Independent Publishing Platform (June 3, 2014). p. 194. ISBN 978-1499770056.
  7. Ibn Kathir. al-Bidaya wa alNahaya, vol. 8. p. 41.
  8. al-Asqalani, Ahmad Shahab al-Din. al-Isaba fi Tamiiz al-Sahaba, vol. 2. pp. 12, 13.
  9. al-Dinawari, Ibn Qutayba. al-Imama wa al-Siyasa. p. 150.
  10. Wajdi, Farid. Dairat al-Marif al-Islamiya, vol. 3. p. 443.
  11. Ibn al-Muhanna. Umdat al-Talib. p. 52.
  12. Ibn Abu al-Hadid. Sharh Nahj al-Balagha, vol. 4. p. 8.
  13. Ibn al-Sabbagh. al-Fusw al Muhimma.
  14. al-Amili, Muhsin al-Amin. A'yan al-Shia, vol. 4. p. 43.
  15. 15.0 15.1 al-Isfahani, Abu al-Faraj. Maqatil al-Talibiyyin. p. 26.
  16. 16.0 16.1 al Hadid, Ibn Abu. Sharh Nahj al-Balagha, vol. 4. p. 15.
  17. al-Dinawari, Ibn Qutayba. al-Imama wa al-Siyasa. p. 200.
  18. al-Tabarī (January 1988). The History of al-Tabari Vol. 6. SUNY Press (August 1, 1987). p. 92. ISBN 978-0887067075.
  19. 19.0 19.1 Ibn Babawayh. Ilal al-Sharaiya. p. 81.
  20. Ibn Kathir. al-Bidaya wa al-Nihaya, vol. 8. p. 14.
  21. al-Tabarī (January 1988). The History of al-Tabari Vol. 6. SUNY Press (August 1, 1987). p. 97. ISBN 978-0887067075.
  22. Ibn al-Aft. al-Kamil fi al-Tarikh, vol. 3. p. 166.
  23. Ibn Aqil. al-Nasaih al-Kafiya. p. 115.
  24. Madelung (1997, pp. 323, 324, 350)
  25. Madelung (1997, p. 327). Jafri (1979, pp. 110, 112)
  26. Momen (1985, p. 28)
  27. Madelung (1997, p. 331). Momen (1985, p. 28). Burke et al. (2016). Jafri (1979, p. 112)
  28. Madelung (1997, pp. 334, 335, 337). Jafri (1979, p. 117)
  29. Madelung (1997, p. 334)

ข้อมูล แก้