พระเจ้าโคจง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระเจ้าโคจงแห่งโชซ็อน (เกาหลี: 고종 광무제 , ฮันจา:高宗光武帝) (8 กันยายน พ.ศ. 2395–21 มกราคม พ.ศ. 2462) ต่อมาคือ จักรพรรดิควังมูแห่งเกาหลี เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโชซ็อน ลำดับที่ 26 และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเกาหลีพระองค์แรก
จักรพรรดิควังมู | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิแห่งเกาหลี | |||||||||||||
ครองราชย์ | 13 ตุลาคม ค.ศ. 1897 – 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 | ||||||||||||
รัชสมัย | 9 ปี 279 วัน | ||||||||||||
ก่อนหน้า | สถาปนาพระบรมราชอิสริยยศ | ||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิซุนจง | ||||||||||||
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน | |||||||||||||
ครองราชย์ | 13 ธันวาคม ค.ศ. 1864 – 13 ตุลาคม ค.ศ. 1897 | ||||||||||||
รัชสมัย | 33 ปี 304 วัน | ||||||||||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าช็อลจง | ||||||||||||
ถัดไป | ตัวพระองค์เองในฐานะจักรพรรดิแห่งเกาหลี | ||||||||||||
ผู้สำเร็จราชการ |
| ||||||||||||
พระราชสมภพ | 8 กันยายน ค.ศ. 1852 พระราชวังอันฮย็อนกุง กรุงฮันซอง อาณาจักรโชซ็อน | ||||||||||||
สวรรคต | 21 มกราคม ค.ศ. 1919 พระราชวังต๊อกซูกุง นครเคโจ จักรวรรดิญี่ปุ่น | (66 ปี)||||||||||||
จักรพรรดินี | สมเด็จพระจักรพรรดินีมย็องซ็อง | ||||||||||||
พระราชชายา | พระชายาซุนฮอนฮวังควีบี | ||||||||||||
พระราชบุตร | จักรพรรดิซุนจง เจ้าชายอึย มกุฎราชกุมารอึยมิน เจ้าหญิงท็อกฮเย | ||||||||||||
| |||||||||||||
ราชวงศ์ | โชซ็อน | ||||||||||||
ราชสกุล | ลี | ||||||||||||
พระราชบิดา | เจ้าชายแทวอนฮึงซอน | ||||||||||||
พระราชมารดา | เจ้าหญิงมิน ตระกูลมิน แห่ง ยอฮึง |
พระเจ้าโคจง | |
ฮันกึล | |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Gojong Gwangmuje (short Gojong) |
เอ็มอาร์ | Kojong Kwangmuje (short Kojong) |
ชื่อเกิด | |
ฮันกึล | 이명복 |
ฮันจา | 李命福 |
อาร์อาร์ | I Myeong-bok |
เอ็มอาร์ | Yi Myŏng-bok |
การขึ้นครองราชย์
แก้สมเด็จพระเจ้าโกจง เป็นพระโอรสพระองค์ที่สองในเจ้าชายแทวอนฮึงซอน กับเจ้าหญิงโยฮุง มีพระนามเดิมว่า อี มยองบก (李命福 이명복 Yi Myeong-bok)
ปี พ.ศ. 2407 เมื่อพระเจ้าชอลจง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 25 แห่งราชอาณาจักรโชซ็อนสรรคตโดยที่ยังมิได้แต่งตั้งรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรสสายพระโลหิตของพระองค์เอง ดังนั้น สิทธิในการสืบราชบัลลังก์จึงต้องตกเป็นของเชื้อพระวงศ์ลำดับถัดไป ซึ่งในช่วงเวลานั้นอำนาจในราชสำนักทั้งหมดตกอยู่ในสาย ตระกูลคิมแห่งเมืองอันดง เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตระกูลคิมนี้เป็นสายตระกูลเดิมของพระมเหสีโชริน (พระมเหสีของพระเจ้าชอลจง) เมื่อสิ้นรัชสมัย ขุนนางฝ่ายอื่น ๆ โดยเฉพาะตระกูลโจ (ตระกูลของพระเจ้ายองโจ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 20 แห่งราชอาณาจักรโชซ็อน) จึงได้พยายามลิดรอนอำนาจของฝ่ายตระกูลคิมลง โดยได้ร่วมมือกับเชื้อพระวงศ์ในราชตระกูลลีพระองค์หนึ่งคือ องค์ชาย ลี แฮอุง จนสามารถแย่งชิงตราพระมหากษัตริย์มาไว้ในครอบครองได้ จึงถือสิทธิในการสรรหาผู้สืบราชบัลลังก์กษัตริย์เอง โดยฝ่ายตระกูลโจและองค์ชาย ลี แฮอุง ได้เลือกโอรสขององค์ชายลี แฮอุงขึ้นครองราชย์ โดยองค์ชายนี้มีพระนามว่า ลี เมียงบอก ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 12 พรรษา โดยมีองค์ชาย ลีแฮอุง เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อองค์ชาย ลี เมียงบอค ชึ้นสืบราชบัลลังก์เองได้แล้วจึงได้ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าโกจง ส่วนองค์ชาย ลีแฮอุง ผู้เป็นพระบิดาเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็จึงดำรงพระยศเป็นองค์ชายแดวอน
สถานการณ์ในราชสำนักตอนต้นรัชกาล
แก้ประวัติศาสตร์ของเกาหลีในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าโกจงนี้เอง เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของประเทศเกาหลี หลังจากที่ตระกูลโจขึ้นมามีอำนาจแทน ก็ได้ร่วมมือกับองค์ชายแดวอน ปฏิรูปกฎและระเบียบต่าง ๆ ภายในราชสำนักเสียใหม่และสิ่งที่แน่นอนก็คือการล้มล้างกลุ่มอำนาจเก่าของตระกูลคิมแห่งเมืองอันดงที่เคยมีอย่างมากล้นในสมัยพระเจ้าชอลจงออกไปทั้งหมดด้วย การคอรัปชั่นเบียดบังเงินหลวงที่ฝังรากลึกในราชสำนักมาอย่างยาวนาน จึงเป็นข้ออ้างสำคัญในการกำจัดกลุ่มอำนาจเก่าครั้งนี้ ซึ่งก็เป็นข้ออ้างที่ตรงใจประชาชนอย่างมาก ที่ประชาชนไม่พอใจต่อการกดขี่ข่มเหงของขุนนางซึ่งสะสมมายาวนาน และเป็นนิมิตหมายอันดีที่กลุ่มอำนาจใหม่จะซักฟอกระบบที่ไม่เป็นธรรมนี้เสีย
อย่างไรก็ตาม เมื่อกลุ่มอำนาจใหม่นี้ขึ้นมามีอำนาจโดยสมบูรณ์กลับไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย ในความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน กลุ่มอำนาจใหม่นี้กลับอาศัยช่องทางเบียดบังทรัพย์สินหนักขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่พระเจ้าโกจงยังทรงพระเยาว์ และสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือการตั้งงบประมาณจำนวนมหาศาลสำหรับการปฏิรูประบบกองทัพและความมั่นคงของประเทศ ทั้ง ๆ ที่ไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างเป็นรูปเป็นธรรม โดยข้ออ้างที่กลุ่มอำนาจใหม่ต้องการปฏิรูประบบกองทัพและยุทโธปกรณ์ให้เป็นไปตามยุคสมัยมากขึ้น จึงได้จัดการกับวิธีเก็บภาษีใหม่ และนำพระราชทรัพย์จากพระคลังมาใช้จ่าย แต่กลับเป็นการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยเพื่อให้เหล่าขุนนางและเชื้อพระวงศ์ได้อยู่อย่างหรูหราสุขสบายเท่านั้น ซึ่งจากจุดนี้เองที่เริ่มนำพาประเทศเกาหลีเข้าสู่กับดักของศัตรูที่กำลังคิดจู่โจม
สถานการณ์ในราชสำนักตอนกลางรัชกาล
แก้เมื่อพระเจ้าโกจงทรงเจริญพระชนมพรรษาจนสามารถบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองได้แล้ว องค์ชายแดวอน จึงต้องลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ในช่วงนี้พระมเหสีมิน จึงเข้ามาบริหารบ้านเมืองแทนซึ่งพระนางทรงงานได้ดี จนเหล่าขุนนางเริ่มไม่ไว้วางใจ พระนางทรงต่อต้านการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในราชสำนักเพื่อให้ราชนิกุลและราชวงศ์อยู่อย่างสุขสบายจนเป็นต้นเหตุแห่งการทุจริตให้ขุนนางยักยอกเงินหลวง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขุนนางได้ปฏิบัติมายาวนานทุกยุคทุกสมัยจนเป็นเชื้อร้าย ในขณะที่ราษฎรภายนอกอยู่อย่างอดอยาก ซึ่งพระราชวังเองก็กลายเป็นตัวอย่างให้กับคนภายนอกตามอย่างในการเบียดบังและฉ้อโกงเงินทองกันอย่างเป็นเอิกเกริก และทำให้เกิด ข้อพิพาทระหว่างมเหสีมินและองค์ชายแดวอน ขึ้นและเป็นสงครามการเมืองที่ยาวนานมากในประวัติศาสตร์เกาหลี
สถานการณ์ในราชสำนักตอนปลายรัชกาล
แก้ภายหลังจากพระมเหสีมินจายองสิ้นพระชนม์ด้วยการบุกลอบปลงพระชนม์โดยทหารจักรวรรดิญี่ปุ่นในพระตำหนักของพระนางภายในพระราชวังเคียงบก พระเจ้าโกจง ทรงเศร้าโศกโทมนัสอย่างยิ่ง พระองค์ทรงลี้ภัยเข้าไปอยู่ในสถานทูตรัสเซียประจำจักรวรรดิเกาหลี และทรงเก็บตัวอยู่แต่ในห้องโดยไม่พบปะใคร ซึ่งจากนั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็อยู่ความอารักขาของจักรวรรดิรัสเซีย ที่พยายามเข้ามามีบทบาทเพื่อคานอำนาจจักรวรรดิญี่ปุ่นที่นับวันจะยิ่งเข้มแข็งมากขึ้น
เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในสงครามกับจักรวรรดิชิง (ราชวงศ์ชิงของจีน) ซึ่งได้ยึดดินแดนส่วนคาบสมุทรเหลียวตงหรือทางตอนเหนือของราชอาณาจักรโชซ็อน ทำให้จักรวรรดิรัสเซียเริ่มหวาดระแวงในอำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยเกรงว่าจะมายึดโชซ็อนไปโดยง่ายและทำให้การขยายอิทธิพลของรัสเซียยากเย็นมากขึ้น รัสเซียจึงต้องการช่วยเหลือโชซ็อนโดยการรับรองความปลอดภัยของพระเจ้าโกจงและช่วยให้พระองค์กลับสู่โชซ็อนโดยปลอดภัยเมื่อปี ค.ศ. 1897 และยังช่วยวางแผนให้พระองค์ยกสถานะของราชอาณาจักรโชซ็อน เป็นจักรวรรดิเกาหลี โดยมีพระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์แรก ซึ่งพระองค์ทรงเรียกพระองค์เองว่า สมเด็จพระจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิเกาหลี รวมทั้งสถาปนาพระอิสริยยศให้พระมเหสีผู้ล่วงลับ (พระมเหสีมินจายอง) เป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซองแห่งจักรวรรดิเกาหลี อีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อการจัดระเบียบของประเทศใหม่และเป็นเกมการเมืองที่รัสเซียทำขึ้นเพื่อเป็นกำแพงต้านอำนาจญี่ปุ่น ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับญี่ปุ่นอย่างมาก
จนในที่สุดจักรวรรดิญี่ปุ่นก็แสดงความกระหายอำนาจที่จะยึดจักรวรรดิเกาหลีอย่างชัดเจนในปี ค.ศ. 1904 โดยการประกาศสงครามกับจักรวรรดิรัสเซีย หลังสงครามครั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะและได้ขับไล่รัสเซียไปจากจักรวรรดิเกาหลี และจักรวรรดิเกาหลีจึงต้องยอมมาเป็นประเทศในอารักขาจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1905 ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิควางมูจึงไม่สามารถทำอะไรได้เลย พระองค์ทรงถูกบีบคั้นในทุกด้าน จนในที่สุด องค์ชายแดวอน จึงสมรู้ร่วมคิดกับญี่ปุ่นขึ้นมามีอำนาจแทนเพื่อรวบอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ การบีบคั้นต่อพระองค์รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนพระองค์อาศัยเวทีประชุมสันติภาพโลกที่จัดขึ้นที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นการประจานถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำไว้กับจักรวรรดิเกาหลีให้ชาวโลกได้รู้ และเมื่อข่าวแพร่ออกไป จักรวรรดิญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องขายหน้ามาก จึงได้บีบบังคับให้สมเด็จพระจักรพรรดิควางมูสละราชบัลลังก์ แล้วให้โอรสของพระองค์ขึ้นครองราชย์แทนเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง แต่พระองค์ก็เป็นเพียงสมเด็จพระจักรพรรดิในนามเท่านั้น ไม่มีพระราชอำนาจใด ๆ เพราะอำนาจต่าง ๆ ตกอยู่ในมือของผู้สำเร็จราชการชาวญี่ปุ่นและองค์ชายแทวอนคนทรยศไปจนหมดสิ้น การที่จักรวรรดิญี่ปุ่นให้ขึ้นครองราชย์ก็เพื่อเป็นหุ่นเชิดรอเวลาที่จะกลืนเกาหลีได้โดยสมบูรณ์เท่านั้นซึ่งก็เป็นเช่นนั้น
ในอีก 2 ปีต่อมาในปี ค.ศ. 1910 สมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงแห่งจักรวรรดิเกาหลี (พระเจ้าซุนจง) ได้ต้องถูกถอดออกจากตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิโดยดำรงพระอิสริยยศเพียงกษัตริย์เท่านั้น และจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ได้ล้มล้างสถาบันจักรพรรดิของเกาหลีลงในปีเดียวกัน โดยผนวกเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของญี่ปุ่นและควบคุมเชื้อสายราชวงศ์ลีทั้งหมดไปไว้ที่ญี่ปุ่น เพื่อเป็นตัวประกันไม่ให้สามารถคืนสู่อำนาจได้อีก เกาหลีจึงปิดฉากยุคสมัยจักรวรรดิรวมทั้งยุคสมัยแห่งราชวงศ์อันยาวนานกว่า 2,000 ปี
พระบรมวงศานุวงศ์
แก้- พระราชบิดา: แทว็อนกุนฮึงซ็อน (흥선대원군)
(โอรสขององค์ชายนัมยองซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมขององค์ชายอึนชินซึ่งเป็นโอรสของเจ้าชายรัชทายาทซาโดซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าย็องโจ)
- พระราชมารดา: องค์หญิงยอฮึง ตระกูลมิน แห่งยอฮึง (여흥부대부인 민씨)
- พระมเหสี
- จักรพรรดินีมย็องซ็อง ตระกูลมิน แห่งยอฮึง (명성황후 민씨,19 October 1851 – 8 October 1895)
- พระชายา
- พระชายาซุนฮอนฮวังควีบี ตระกูลอ็อม (순헌황귀비 엄씨, 5 January 1854 – 20 July 1911)
- พระสนม
- พระสนมควีอิน ตระกูลลี แห่งยองโพ (영보당귀인 이씨, 1847–1928)
- พระสนมควีอิน ตระกูลจาง (귀인 장씨)
- พระสนมควีอิน ตระกูลลี แห่งควางฮวาง (광화당귀인 이씨, 1887–1970) พระนามเดิมว่า ลี วานฮึง (이완흥)
- พระสนมควีอิน ตระกูลจอง แห่งโพฮย็อน (보현당귀인 정씨)
- พระสนมควีอิน ตระกูลยาง แห่ง,บกนยอง (복녕당귀인 양씨, 1882–1929)
- พระสนมควีอิน ตระกูลลี แห่งแนอัน (내안당귀인 이씨)
- ซึงอีนซังกุง ตระกูลคิม แห่งซัมชุก (삼축당상궁 김씨, 1890–1972) นามเดิมว่า คิม อ๊กกี (김옥기)
- ซึงอึนซังกุง ตระกูลคิม แห่งจองฮวา (정화당상궁 김씨, 1871-?)
- ซึงอึนซังกุง ตระกูลยอม (상궁 염씨)
- ซึงอึนซังกุง ตระกูลซอ (상궁 서씨)
- ซึงอึนซังกุง ตระกูลคิม (상궁 김씨) นามเดิมว่า คิม ชองยอน (김충연)
- พระโอรส
- เจ้าชาย (ไม่ทราบนาม) เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก จักรพรรดินีมย็องซ็อง ตระกูลมิน
- เจ้าชายลีช็อก เป็นพระโอรสองค์ที่สองที่ประสูติจาก จักรพรรดินีมย็องซ็อง ตระกูลมิน
- เจ้าชาย (ไม่ทราบนาม) เป็นพระโอรสองค์ที่สามที่ประสูติจาก จักรพรรดินีมย็องซ็อง ตระกูลมิน
- เจ้าชาย (ไม่ทราบนาม) เป็นพระโอรสองค์ที่สี่ที่ประสูติจาก จักรพรรดินีมย็องซ็อง ตระกูลมิน
- เจ้าชายอุยมิน เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก พระชายาซุนฮอนฮวังควีบี ตระกูลออม
- เจ้าชายวานฮวา เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก พระสนมควีอิน 1 ตระกูลลี
- เจ้าชายอึยฮวา เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก พระสนมควีอิน ตระกูลยาง
- เจ้าชายลียอก เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก พระสนมควีอิน 2 ตระกูลลี
- เจ้าชายลีวู เป็นพระโอรสองค์แรกที่ประสูติจาก พระสนมควีอิน ตระกูลจอง
- พระธิดา
- เจ้าหญิง (ไม่ทราบนาม) เป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจาก จักรพรรดินีมย็องซ็อง ตระกูลมิน
- เจ้าหญิง (ไม่ทราบนาม) เป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจาก พระสนมควีอิน 1 ตระกูลลี
- เจ้าหญิงท็อกฮเย เป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจาก พระสนมควีอิน ตระกูลยาง
- เจ้าหญิง (ไม่ทราบนาม) เป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจาก พระสนมควีอิน 3 ตระกูลลี
- เจ้าหญิงลีมุนยอง เป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจาก ยอมซังกุง ตระกูลยอม
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าโคจง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ก่อนหน้า | พระเจ้าโคจง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าชอลจง | กษัตริย์แห่งโชซ็อน (พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2440) |
พระเจ้าซุนจง | ||
สถาปนาพระยศใหม่ | จักรพรรดิแห่งเกาหลี (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2450) |
จักรพรรดิยุงฮี (พระเจ้าซุนจง) |