ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย แก้

สวัสดีครับคุณ SxxN ผมขอถือโอกาสยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย สารานุกรมเสรี พร้อมทั้งแนะนำหน้าดังนี้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการเริ่มต้นวิกิพีเดีย:

ในกรณีพูดคุยกับผู้อื่น อย่าลืมทำการลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ ซึ่งจะใส่ชื่อผู้ใช้ของคุณและวันเวลาให้โดยอัตโนมัติ ข้อควรระวังคือจะไม่มีการลงชื่อในหน้าบทความนะครับ นอกจากนี้สามารถบอกเรื่องราวเกี่ยวกับตัวคุณให้ชาววิกิพีเดียคนอื่นทราบ ได้ที่หน้าผู้ใช้ของคุณครับ และถ้าต้องการติดต่อผู้ดูแลระบบหรือแจ้งเกี่ยวกับบทความสามารถทำได้ที่ แจ้งผู้ดูแลระบบ สุดท้ายขอให้กล้าแก้ไขบทความครับ

ถ้าหากไม่แน่ใจว่าควรจะทำอะไรก่อนดี ลองแวะไปดูได้ที่คุณช่วยเราได้ หากมีคำถามอะไรสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน หรือเรื่องใดๆในวิกิพีเดีย ยินดีสอบถาม ปรึกษา เข้ามาพูดคุยกันได้นะครับ --Kaew 16:20, 11 พฤษภาคม 2552 (ICT)

พฤษภาคม 2552 แก้

  ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดีย เราเปิดให้ทุกคนนั้นช่วยพัฒนาวิกิพีเดียภาษาไทยในทางที่สร้างสรรค์ แต่การแก้ไขล่าสุดของคุณในหน้า การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (การแก้ไข) นั้นมีลักษณะที่ไม่เป็นสารานุกรม ไม่เหมาะสม หรืออาจถือว่าเป็นการก่อกวน ซึ่งการแก้ไขนั้นได้ถูกย้อนกลับหรือลบทิ้งไปแล้ว กรุณาใช้หน้าทดลองเขียน หากต้องการทดสอบการแก้ไขใดๆที่คุณต้องการ และสามารถอ่านหน้าเริ่มต้น เพื่อศึกษาการร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย

หากคุณมีคำถามหรือคำแนะนำเกี่ยวข้องกับบทความ คุณสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่หน้าพูดคุยของบทความ ซึ่งเนื้อหาพูดคุยจะเป็นการอภิปรายเพื่อพัฒนาบทความให้ดีขึ้น ไม่ใช่การสนทนา ขอคำปรึกษา หรือแสดงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งคุณเองสามารถแก้ไขบทความดังกล่าวได้ ไม่เพียงแต่เสนอแนะรอให้คนอื่นมาแก้ไข เว้นเสียแต่หน้านั้นถูกล็อกชั่วคราว

โปรดทราบว่านี่เป็นการเตือนเพียงครั้งเดียว และในกรณีที่ทางเราพบว่าคุณได้ก่อกวนครั้งหน้า คุณอาจถูกบล็อกจากการแก้ไขชั่วคราวได้ทันที หากพบว่านี่เป็นความเข้าใจผิดและคุณได้มีเจตนาดี กรุณาแจ้งที่หน้านี้และคุณควรใส่คำอธิบายอย่างย่อเวลาคุณแก้ไข โดยเฉพาะกรณีที่คุณลบเนื้อหาบางส่วนออกถึงสาเหตุดังกล่าว ขอขอบคุณสำหรับร่วมมือ และร่วมพัฒนาวิกิพีเดียภาษาไทย --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 16:22, 11 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เอาป้ายตรวจลิขสิทธิ์ออกให้แล้วครับ แต่ข้อความพอผมอ่านดูอีกทีมันไม่เป็นสารานุกรมนะครับ ต้องแก้ไขอย่างมากจึงขอนำออกไปก่อน ตอนนี้ใส่ภาพและลิงค์ข้ามภาษาให้เป็นโครงไว้ก่อน ส่วนเรื่อง Jbot อย่าเพิ่งตกใจไปนะครับ คือเราจำเป็นต้องมีบอตเพื่อป้องกันการก่อกวนในวิกิพีเดียซึ่งวันหนึ่งๆ มีเยอะมากๆ --Kaew 16:28, 11 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  เนื่องจากการแก้ไขล่าสุดในหน้า การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (การแก้ไข) อาจถือว่าเป็นการทดลองเขียน ก่อกวน หรือสแปม รวมถึงการก่อกวนก่อนหน้านี้ทำให้คุณได้ถูกบล็อกจากการแก้ไขชั่วคราว อย่างไรก็ตาม เรายังยินดีต้อนรับการช่วยพัฒนาวิกิพีเดียภาษาไทยในทางที่สร้างสรรค์เสมอ หลังจากที่การบล็อกหมดเวลาแล้ว --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 16:30, 11 พฤษภาคม 2552 (ICT)

สถานีย่อย:แพทยศาสตร์ แก้

สวัสดีครับคุณ SxxN เห็นว่าคุณเป็นผู้ที่มีความสนใจในวิชาเกี่ยวกับแพทยศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ยา กายวิภาคศาสตร์ โรคและพยาธิวิทยา ฯลฯ ตอนนี้ผมได้เปิด สถานีย่อย:แพทยศาสตร์ และ โครงการวิกิแพทยศาสตร์ เพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้ รวมความช่วยเหลือ และรวมนโยบายในการพัฒนาบทความเกี่ยวกับการแพทย์ให้มีคุณภาพมากขึ้น คุณสามารถเข้ามาช่วยกันเขียนบทความที่ต้องการ บทความที่ควรมีเพิ่มเติม และพัฒนาบทความเกี่ยวกับการแพทย์ที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ขึ้น และช่วยกันเสนอบทความและภาพแนะนำเพื่อแสดงในหน้าแรกของสถานีย่อย

สถานีย่อยแห่งนี้ ต้องการความช่วยเหลือจากคุณ อย่าลังเล! ขอบคุณครับ ^^ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 20:55, 31 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • สวัสดีครับ เห็นคุณเข้ามาเขียนบทความเกี่ยวกับการแพทย์อยู่หลายชิ้นแล้ว และผมได้เก็บกวาดบทความที่คุณได้เขียนเอาไว้ ผมเลยมีคำแนะนำเล็กๆ น้อยในการเขียนให้เป็นรูปแบบมาตรฐานของวิกิพีเดียนะครับ
    • ในบทความขอให้ใช้เป็นภาษาไทยเป็นหลัก นอกจากไม่มีคำแปล หรือแปลแล้วอ่านไม่ได้ความ ศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีคำไทยบัญญัติแล้วสามารถค้นหาได้จากเว็บของราชบัณฑิตยสถาน [1]
    • รบกวนให้คุณเปลี่ยนจากรูปแบบ "กลุ่มของตัวเซลล์ประสาทเรียกว่า nucleus หรือนิวเคลียส" ให้เป็น "กลุ่มของตัวเซลล์ประสาทเรียกว่า นิวเคลียส (nucleus)"
    • จากตัวอย่างด้านบน ขอให้ใส่ลิงก์ [[ ]] คร่อมชื่อภาษาไทย ไม่คร่อมชื่อภาษาอังกฤษ เพราะบทความในวิกิพีเดียนั้นส่วนมากใช้ชื่อเป็นภาษาไทย
    • รายชื่อหมวดหมู่ด้านล่างของบทความ ขอให้จัดเข้าหมวดหมู่ที่มีอยู่และเป็นภาษาไทยครับ เช่น โรคชิคุนกุนยา แก้จาก หมวดหมู่:Biological weapons ให้เป็น หมวดหมู่:อาวุธชีวภาพ

ยังไงก็ลองดูการเปลี่ยนแปลงระหว่างบทความที่คุณเขียน กับบทความเวอร์ชันที่ผมปรับรูปแบบ ตามลิงก์นี้ครับ [2] และลองอ่านนโยบาย วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ และ แนวนโยบายบทความแพทยศาสตร์ในหน้า วิกิพีเดีย:โครงการวิกิแพทยศาสตร์ อย่างไรก็ตามก็ขอขอบคุณที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิกิพีเดียให้เป็นสารานุกรมที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และหวังว่าเราจะได้ร่วมงานกันอีกในอนาคต ขอบคุณอีกครั้งครับ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 22:26, 31 พฤษภาคม 2552 (ICT)

การใช้ชื่อภาษาไทย/อังกฤษในบทความการแพทย์ แก้

สวัสดีครับ ประเด็นนี้ก็เป็นหนึ่งในปัญหาหนักอกปวดใจของผมมากและเชื่อว่าของอีกหลายคนในการเขียนคำศัพท์แพทย์ (ที่เรามักนิยมทับศัพท์) เป็นภาษาอังกฤษและต้องแปลมาเป็นภาษาไทย ประเด็นนี้ในแง่ของนโยบายมีเพียงการร่างเอาไว้เป็นแนวทางคร่าวๆ เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งผมได้ใส่ไว้ในหน้าโครงการวิกิแพทยศาสตร์นี้ในหัวข้อตั้งชื่อบทความเป็นภาษาไทยและทำหน้าเปลี่ยนทางจากชื่อภาษาอังกฤษเป็นชื่อไทย โดยใช้หลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและใช้การออกเสียงที่เป็นที่นิยมของคนไทย (เช่น สไปโนซีรีเบลลาร์อะแท็กเซีย)

นอกจากนี้ ผมยังเคยนำประเด็นนี้ไปอภิปรายกับชาววิกิพีเดียในสภากาแฟ ในหัวข้อการใช้ภาษาสำหรับบทความทางการแพทย์ ซึ่งคำตอบในตอนนั้นที่ผมเองค่อนข้างยึดตามคือความเห็นของคุณ Nerveplexus กล่าวคือ

  • ศัพท์ที่พอจะเขียนแปลเป็นภาษาไทยได้ โดยที่ความหมายไม่เกิดความสับสนในทางกายวิภาค ก็จะใช้ชื่อนั้นไปก่อน เพื่อให้คนอ่านเข้าใจได้ง่าย เช่น Brachial artery = หลอดเลือดแดงต้นแขน (brachial = ต้นแขน) หรือ Temporal bone = กระดูกขมับ (temporal = ขมับ)
  • ศัพท์ที่ไม่สามารถเขียนเป็นคำแปลภาษาไทยได้ หรือถ้าเขียนแล้วจะทำให้สับสนไม่เข้าใจ ก็จะใช้การเขียนทับศัพท์ชื่อภาษาอังกฤษ เช่น กระดูกเรเดียส กระดูกอัลนา (แต่อาจจะมีหน้าเปลี่ยนทางมา ถ้าสามารถสะกดได้หลายแบบ เช่น ไฮโปธาลามัส ที่บางตำราเขียนว่า ฮัยโพธาลามัส)
  • จากข้อ 2. ถ้าเป็นศัพท์ที่เฉพาะเจาะจงมากๆ หรือไม่สามารถเขียนทับศัพท์ให้พอเข้าใจได้ ก็อาจจำเป็นต้องมีหน้าที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ แล้วค่อยเปลี่ยนทางมาหน้าที่เขียนด้วยภาษาไทยแทน

ซึ่งวิธีนี้กลุ่มผู้เขียนบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการแพทย์อาจต้องมาคุยและอภิปรายกันเพื่อหาข้อสรุปว่าบทความชื่ออังกฤษนี้ควรสะกดเป็นภาษาไทยอย่างไร ทั้งนี้คุณ SxxN อาจลองนำเสนอแนวความคิดพิเศษสำหรับบทความกลุ่มนี้อภิปรายกับชาววิกิพีเดียคนอื่นๆ ในวิกิพีเดีย:สภากาแฟดูก็ดีครับ

ปล. ขอบคุณที่มาช่วยเหลือผมในการสร้างสรรค์และเผยแพร่บทความทางการแพทย์ในวิกิพีเดียนะครับ ^^ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 21:50, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)