ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Firesflys สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Firesflys! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (คุย) 10:22, 2 ธันวาคม 2561 (ICT)

กุมภาพันธ์ 2562 แก้

  ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทย คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่การแก้ไขของคุณในหน้า หลัวหยุนซี ได้ลบป้ายแสดงข้อความออก ซึ่งในกรณีที่คุณเอาป้ายออกนั้น คุณควรแก้ไขปัญหาตามที่ป้ายได้แสดง หรือให้สาเหตุที่เหมาะสมในคำอธิบายอย่างย่อ อย่างไรก็ตาม สำหรับครั้งนี้ คุณไม่ต้องกังวล ทางเราได้ย้อนการแก้ไขของคุณเรียบร้อยแล้ว กรุณาศึกษาหน้าเริ่มต้นเพื่อเรียนรู้การร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย และในกรณีที่คุณต้องการทดสอบ กรุณาใช้หน้าทดลองเขียน ขอขอบคุณสำหรับร่วมมือ และร่วมพัฒนาวิกิพีเดียไทย --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 22:22, 22 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)

  กรุณาหยุดลบป้ายแสดงข้อความออกจากบทความอย่างที่คุณได้ทำในหน้า หลัวหยุนซี ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจถือเป็นการก่อกวนได้ นี่เป็นการเตือนครั้งสุดท้าย และในกรณีที่ทางเราพบว่าคุณได้ก่อกวน หรือยังพยายามลบป้ายออก คุณอาจถูกบล็อกจากการแก้ไขชั่วคราวได้ทันที หากพบว่านี่เป็นความเข้าใจผิดและคุณได้มีเจตนาดี กรุณาแจ้งที่หน้านี้ ขอขอบคุณสำหรับร่วมมือ และร่วมพัฒนาวิกิพีเดียไทย --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 22:31, 22 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)

มีนาคม 2562 แก้

  ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทย คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่การแก้ไขของคุณในหน้า หลัวหยุนซี ได้ลบป้ายแสดงข้อความออก ซึ่งในกรณีที่คุณเอาป้ายออกนั้น คุณควรแก้ไขปัญหาตามที่ป้ายได้แสดง หรือให้สาเหตุที่เหมาะสมในคำอธิบายอย่างย่อ อย่างไรก็ตาม สำหรับครั้งนี้ คุณไม่ต้องกังวล ทางเราได้ย้อนการแก้ไขของคุณเรียบร้อยแล้ว กรุณาศึกษาหน้าเริ่มต้นเพื่อเรียนรู้การร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย และในกรณีที่คุณต้องการทดสอบ กรุณาใช้หน้าทดลองเขียน ขอขอบคุณสำหรับร่วมมือ และร่วมพัฒนาวิกิพีเดียไทย --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 21:23, 18 มีนาคม 2562 (ICT)

Luó Yúnxī แก้

ตามการทับศัพท์ภาษาจีน "Luó Yúnxī" อ่านและเขียนได้ว่า "หลัว ยฺหวินซี" ค่ะ

สระ u หลัง y เป็นเสียง อฺวิ/อฺวี [y] (เรียกว่า เสียง close front rounded vowel), ไม่ใช่เสียง อุ/อู [u] (เสียง close back rounded vowel), ดังนั้น Yún = ยฺหวิน, ไม่ใช่ หยุน --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Miwako Sato (พูดคุยหน้าที่เขียน) 23:39, 10 พฤษภาคม 2564 (ICT)

--Miwako Sato (คุย) 23:39, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

云 อ่านออกเสียงว่า หวินกับหยุนพร้อมกัน ซึ่งในภาษาไทยไม่สามารถเขียนออกมาได้ตามเสียงนั้นร้อยเปอร์เซนต์ ดังนั้นไม่ว่าจะสะกด หยุน ยวิ๋น อวิ๋น ยฺหวิน ก็คือ 云 เช่นเดียวกัน การสะกดคำจากภาษาต่างประเทศคือการเลียนเสียงคำของภาษานั้นๆ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ตายตัวที่ชัดเจน และไม่นับว่าเป็นหลักไวยากรณ์ซึ่งมาจากรากฐานของภาษาในประเทศเหล่านั้น แต่จะมีคนที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการสะกดขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการใช้งาน หากจะบอกว่าตัวสะกดไหนควรจะเป็นตัวที่ถูกต้องที่สุด ตามหลักการแล้วก็ควรจะต้องเป็น "ยฺหวิน" ซึ่งมีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนในหนังสือที่ออกโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาฉบับราชบัณฑิตยสถานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ แต่เนื่องจากเขียนได้ยากจึงไม่ค่อยนิยมใช้กันเท่าไรนัก ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงมักจะใช้หยุนหรืออวิ๋นที่เขียนง่ายกว่า การยึดติดกับหลักการที่ไม่มีคนใช้และออกเสียงยากสำหรับคนทั่วไปมันดูประหลาดและคร่ำครึนะคะ เสียงควรเรียกให้อ่านง่ายสำหรับคนทั่วไปไม่ใช่เห็นแล้วไม่ทราบว่าอ่านว่าอะไร แล้วการมาแก้บทความที่คนอื่นเขียนมันเสียมารยาทนะคะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุยหน้าที่เขียน) 00:57, 11 พฤษภาคม 2564 (ICT)

  1. คุณควรทราบว่า บทความในวิกิพีเดีย ใครก็แก้ได้ค่ะ การอ้างความเป็นเจ้าของบทความแล้วห้ามคนอื่นแก้ไขนั้นไม่สามารถทำได้
  2. วิกิพีเดียมีนโยบายใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ตามข้างต้น เพื่อความเป็นเอกภาพของสารานุกรม (โปรดดู วิกิพีเดีย:ชื่อบทความ#ชื่อบุคคลชาวจีน_ที่นามสกุลนำหน้า) ถ้าคุณต้องการให้เปลี่ยนแปลงนโยบาย คุณทำได้โดยเปิดอภิปรายที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ เพื่อให้ประชาคมลงมติกันค่ะ
  3. ตราบใดที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงนโยบาย ก็ไม่ควรมีบทความใดเขียนตามใจอยู่แห่งเดียว เพราะทำให้สารานุกรมลักลั่น ไม่เป็นมืออาชีพ
  4. ย เป็นอักษรต่ำ ใช้ไม้จัตวาไม่ได้, รูปจัตวา คือ หย, ดังนั้น เขียน ยวิ๋น ไม่ได้
    Miwako Sato (คุย) 01:36, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ถ้าอยากให้เปลี่ยนนโยบาย ก็ไปเปิดอภิปรายเถอะ ย้อนไปย้อนมาไม่เกิดประโยชน์อันใด เพราะสุดท้ายแล้วคุณก็จะพ่ายแพ้ด้วยการถูกบล็อก (ตาม วิกิพีเดีย:สงครามแก้ไข) ไม่มีทางเลยที่บังเกิดผลตามใจคุณได้ด้วยการย้อนไปย้อนมา --Miwako Sato (คุย) 01:41, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ถามหน่อยค่ะ แค่ชอบผู้ชายคนหนึ่งเลยตั้งใจทำประวัติเขาขึ้นมาจำเป็นต้องมีความเป็นมืออาชีพขนาดนั้นเลยหรือคะ คนที่เป็นมืออาชีพคิดจะมาเริ่มลงมือทำบ้างหรือเปล่าคะ เจ้าของชื่อเขาเรียกตัวเองว่าหยุนซี เราก็เลยเรียกตามเจ้าของชื่อเขาก็เท่านั้นเองค่ะ การเข้ามาแก้แต่ไวยากรณ์แล้วเคยคิดจะอัปเดตประวัติบ้างมั้ยคะ หรือสักแต่จะแก้ไวยากรณ์อย่างเดียว แล้วปล่อยส่วนที่เหลือจะเป็นอย่างไรก็ช่าง มันมีประโยชน์ต่อสังคมตรงไหนคะ ดารานักแสดงประวัติมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา ถ้าจะแก้ก็รบกวนอัปเดตเนื้อหาให้ด้วยนะคะ ไม่ใช่มาแก้แค่ชื่อ ปากว่าเป็นมืออาชีพแล้วก็ปล่อยที่เหลือไปตามยถากรรม มันมีประโยชน์อันใดคะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุยหน้าที่เขียน) 02:11, 11 พฤษภาคม 2564 (ICT)

  1. คุณต้องเข้าใจว่า ใครอยากจะแก้ตรงไหน แค่ไหน ฯลฯ ก็เป็นเรื่องของคนนั้น คุณไม่อาจวางเงื่อนไขว่า ต้องแก้ตรงนั้นด้วย ต้องอัปเดตตรงโน้นด้วย ถึงจะแก้ตรงนี้ได้
  2. แล้วที่น่าขำ คือ คุณเรียกร้องให้คนอื่นไปอัปเดต นี่ก็ไปอัปเดตแล้ว เอาอ้างอิงไปใส่ด้วยซ้ำ คุณก็ยังไปลบออก แล้วคุณจะเรียกร้องให้คนอื่นอัปเดตทำไม
  3. สารานุกรมเป็นเอกสารวิชาการ (ถึงแม้จะมีเรื่องบันเทิงอะไรต่าง ๆ) มันจำเป็นต้องยึดโยงกับหลักเกณฑ์อะไรสักอย่าง เช่น ในเรื่องบรรณานุกรม การทับศัพท์ ฯลฯ ก็เหมือนคุณอ่านงานวิชาการ
  4. วิกิพีเดียเปิดให้อภิปรายได้ดังที่แจ้งแล้ว ก็มีหลายกรณีที่อภิปรายกันว่า จะเขียนอย่างอื่นนอกจากตามหลักเกณฑ์ เช่น ใช้ "อนิเมะ" แทน "อะนิเมะ" ตามหลักเกณฑ์ (ดู วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การทับศัพท์ญี่ปุ่นกับการ์ตูนญี่ปุ่น#อะนิเมะ)
  5. ขอย้ำเตือนถึง วิกิพีเดีย:สงครามแก้ไข ดังข้างต้น ซึ่งจะไม่นำไปสู่อะไรนอกจากการที่คุณถูกบล็อก
--Miwako Sato (คุย) 02:42, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

พฤษภาคม 2564 แก้

 
ผู้ดูแลระบบได้พิจารณาคำขอของผู้ใช้ที่ถูกบล็อกนี้แล้ว และพิจารณาปฏิเสธคำขอดังกล่าว ผู้ดูแลระบบอื่นยังอาจทบทวนการบล็อกนี้ได้เช่นกัน แต่ไม่ควรกลับการตัดสินใจนี้โดยปราศจากเหตุผลอันดี (ดู นโยบายการบล็อก) อย่านำการทบทวนการปลดบล็อกนี้ออกขณะที่คุณกำลังถูกบล็อก

Firesflys (ปูมการบล็อกการบล็อกที่ยังมีผลเรื่องที่เขียนการแก้ไขที่ถูกลบปูมการละเมิดกฎปูมการสร้างบัญชีเปลี่ยนการตั้งค่าการบล็อกปลดบล็อก)


เหตุผลคำขอ:

บทความนี้เป็นประวัติข้าพเจ้าได้เรียบเรียบขึ้นมาอย่างถูกต้องมีที่มาอ้างอิง ส่วนเรื่องชื่อหัวข้อนั้นแม้จะไม่ได้สะกดตามหลักราชบัณฑิตฯ แต่นำมาจาการที่ใช้คนส่วนใหญ่ใช้กันในบทความ สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ แต่กลับถูกแก้เป็นคำที่ไม่มีการนำมาใช้ในโลกออนไลน์และที่ต่างๆ อย่างแท้จริง โดยอ้างว่าเขียนตามหลักที่บันทึกไว้เท่านั้น และไม่สามารถหาอ้างอิงจากการค้นหาใดๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ เป็นการก่อกวนรบกวนผู้อื่นอย่างแท้จริง จึงขออุทธรณ์ให้ปลดล็อกค่ะ --ผู้ใช้:Firesflys

เหตุผลที่ปฏิเสธ:

ผู้ใช้ได้รับการแนะนำ/ตักเตือนก่อนหน้าหลายครั้งแต่ไม่หยุดการกระทำซึ่งถือว่าเข้าข่ายสงครามแก้ไข รวมถึงไม่ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักการทับศัพท์ของวิกิพีเดีย ขอให้ใช้เวลาในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิกิพีเดียได้จากสารตอนรับด้านบนจนกว่าจะหมดเวลาบล็อกครับ Geonuch (คุย) 12:53, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

หากคุณต้องการขอปลดบล็อกเพิ่มเติม โปรดอ่านการอุทธรณ์การบล็อกก่อน ค่อยใช้แม่แบบ {{ปลดบล็อก}} อีกครั้ง หากคุณละเมิดกระบวนการนี้โดยยื่นคำขอปลดบล็อกที่ไม่โน้มน้าวหรือรบกวนมากเกินไป คุณอาจถูกกันมิให้แก้ไขหน้านี้นานตราบเท่าที่คุณถูกบล็อก

ปกติถ้าบุคคลภาษาจีนอ่านได้หลายอย่าง จะลองดูอย่างบุคคลในประวัติศาสตร์สามก๊กก็ได้ ใส่สองชื่อก็ไม่เห็นเป็นเรื่องใหญ่ เช่น เล่าปี่ (หลิว เป้ย์) แต่ไม่ใช่เขาใช้ภาษาจีนกลางก็ยังจะดึงดันแก้ให้ได้ หยุนซีนี่เป็นจีนสำเนียงไหนหวังว่าจะตอบได้นะ --Horus (พูดคุย) 04:05, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
  1. Yunxi จีนกลางมันก็ได้อย่างเดียวนี่แหละค่ะ แต่ในออนไลน์เขียนกันหลายอย่าง เพราะต่างคนก็ต่างเขียนตามใจ และเอาจริง ๆ ในทวิตฯ เขียนกันว่า "อวิ๋นซี" ยิ่งกว่า "หยุนซี" ด้วยซ้ำ
  2. ประเด็นที่คุณ Firesflys ควรเข้าใจ คือ
    1. วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม ต้องการความเป็นมาตรฐาน เป็นเอกภาพ ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรสักอย่างเป็นแกนกลาง ไม่ใช่ตามใจใครตามใจมัน
    2. แน่นอนว่า การทับศัพท์ ไม่ว่าหลักเกณฑ์ไหน ก็ไม่สามารถถ่ายภาษาต้นทางได้เต็มร้อย แต่คุณก็ยังไม่สามารถหาเหตุผลอะไรมาหักล้างหลักเกณฑ์นี้ได้ นอกจากความพึงพอใจส่วนตัวของคุณ (ซึ่งก็ไม่ได้ถูกตามหลักภาษาด้วย เพราะภาษาจีนมีทั้งสระ [y] และสระ [u] แต่คุณตีเป็นหมด [u] เพียงเพราะเห็นว่า สะดวกปาก สะดวกมือ)
    3. และเมื่อไม่เห็นด้วยกับหลักเกณฑ์ แทนที่คุณหาหนทางพูดคุยหรือแสวงหามติ (ซึ่งก็ได้แนะนำแล้ว) คุณก็เอาแต่ย้อนไปมาตามอำเภอใจ นี่เป็นสาเหตุที่คุณถูกบล็อก ฉะนั้น ขอแนะนำว่า เอาเวลาว่างไปไตร่ตรองดู หรือไม่ก็ไปหาหลักเกณฑ์ที่ดีกว่ามานำเสนอ เปิดอภิปราย อะไรก็ว่าไป ดีกว่าจะหาหนทางย้อนกลับไปมาตามใจตัว ซึ่งจะไม่ได้เกิดผลอะไรเลย เพราะวิกิพีเดียมีมาตรการรับมือกับกรณีเช่นนี้ตามลำดับความรุนแรงอยู่แล้ว ขอฝากไว้เท่านี้ค่ะ
---Miwako Sato (คุย) 05:25, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

➤ ปกติชื่อบุคคลภาษาจีนอ่านได้หลายอย่าง แต่ที่อ้างอิงอย่างชัดเจนคือจากเสียงที่ได้ยินจากจีนกลางซึ่งเจ้าของชื่อเป็นคนเรียกนี่แหละค่ะ
อ้างอิงจาก
https://weibo.com/tv/show/1034:4635382307029018?from=old_pc_videoshow
https://weibo.com/tv/show/1034:4635370038689867?from=old_pc_videoshow
ซึ่งคุณก็จะกล่าวอ้างว่าสะกดตามราชบัณฑิตยสถาน ถ้าเช่นนั้นรบกวนลองดูเหตุผลด้านล่างต่อนะคะ

➤ ที่คุณ Miwako กล่าวอ้างมาว่าในโซเชียลเน็ตเวิร์คเขียน "อวิ๋นซี" ยิ่งกว่า "หยุนซี" มีหลักฐานในการกล่าวอ้างหรือไม่คะ
เคยลองค้นหาความจริงดูบ้างหรือไม่คะว่าที่ว่าคำว่ายิ่งกว่าของคุณมีที่มาจากที่ไหน

◆อ้างอิงจากการค้นหา hashtag บน Facebook
หลัวหยุนซี [1] > มี 1.4 พัน คนกำลังโพสต์เกี่ยวกับแฮชแท็กนี้
หลัวอวิ๋นซี [2]
หลัวยฺหวินซี [3]

◆อ้างอิงจากการค้นหา hashtag บน IG
หลัวหยุนซี [4] > 5,968 โพสต์
หลัวอวิ๋นซี [5] > 5,066 โพสต์
หลัวยฺหวินซี ไม่สามารถค้นหาได้เนื่องจากไม่มีเลยแม้แต่ hashtag เดียว

◆การค้นหา hashtag บน twitter ไม่สามารถนำตัวเลขมาแสดงได้เนื่องจากไม่ใช่แอคเคาท์เสียเงินและไม่สามารถติด ref ได้เนื่องจาก wiki ไม่อนุญาต แต่คุณสามารถนำ hashtag ด้านล่างไปค้นหาได้ด้วยตัวเอง
หลัวหยุนซี / หลัวอวิ๋นซี
และจะเห็นได้ชัดว่า หลัวยฺหวินซี > ไม่สามารถค้นหาได้เนื่องจากไม่มีเลยแม้แต่ hashtag เดียว

  • ผลการค้นหาในโซเชียลเน็ตเวิร์คข้างต้นเป็นผลการตรวจสอบ ณ วันที่ 11 พ.ค. 2564

เพียงเท่านี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่าการใช้คำว่า ยฺหวินซี แม้จะถูกบัญญัติวิธีการสะกดด้วยข้อกำหนดของราชบัณฑิตยสถาน แต่ไม่เป็นที่นิยมและไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคมไทยในปัจจุบัน
เนื่องจาก
1.การเขียนตัวสะกดที่ยากทำให้บุคคลทั่วไปไม่สามารถพิมพ์ได้หรือพิมพ์ได้ยากมากทั้งบนมือถือและในคอมพิวเตอร์
2.บุคคลทั่วไปที่ไม่เคยเรียน ไม่เคยฟังคำอธิบาย หรืออ่านข้อกำหนดของราชบัณฑิตยสถานไม่สามารถอ่านออกเสียงคำนี้ได้

➤วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม ต้องการความเป็นมาตรฐาน เป็นเอกภาพ ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรสักอย่างเป็นแกนกลาง แต่มีข้อยกเว้นถ้าคำ ๆ นั้นไม่ได้รับการยอมรับในสังคม และการยอมรับนี้ก็เคยเกิดขึ้นโดยราชบัณฑิตยสถาน ยกตัวอย่างเช่น
มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน เขียนชื่อตาม "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง (พ.ศ. 2544)"[6] [7]
云 ของ 云南 หรือ 罗云熙 มาจาก 云 ตัวเดียวกัน เหตุใดราชบัณฑิตยสถานจึงยอมรับคะ คุณสามารถบอกได้หรือไม่คะว่าทางราชบัณฑิตยสถานอ้างอิงมาจากสำเนียงจีนถิ่นใด
ที่ทางราชบัณฑิตยสถานยอมรับนั่นเนื่องมาจากว่า
1.คำว่ามณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน ถูกใช้มาอย่างต่อเนื่องยาวนานจนฝังรากลึกลงไปในความทรงจำของคนในสังคมไทยจนยากที่จะเปลี่ยนแปลงในภายหลัง และมันก็เป็นกรณีเดียวกับการเรียกหยุนซี หรือ อวิ๋นซี เช่นเดียวกัน
2.เป็นคำที่ง่ายต่อการใช้งาน (พิมพ์หรืออ่าน) มากกว่าการสะกดตามไวยากรณ์
3.การสะกดคำจากภาษาต่างประเทศไม่มีถูกผิดร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นคำเลียนเสียงจากภาษาอื่นให้ได้ใกล้เคียงที่สุด แต่มีผู้บัญญัติหลักการไว้เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นไม่ใช่ว่าจะต้องยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับเสมอไป

➤ถึงแม้คำว่า ยฺหวิน จะได้รับการประกาศใช้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ แต่ หยุน และ อวิ๋น ก็เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมปัจจุบันเช่นเดียวกัน
อ้างอิงจาก > การทับศัพท์ภาษาจีน [8]

  • ภาษาเป็นสิ่งที่ดิ้นได้แม้จะมีกฎเกณฑ์กำหนดขึ้นมาให้ใช้งานแต่ถ้าไม่ได้รับการยอมรับในสังคมมันก็จะเป็นคำที่ตายไปในที่สุด
  • กฏเกณฑ์ย่อมมีข้อยกเว้นตามยุคสมัยและการยอมรับในสังคม
  • ไม่ทราบว่าคำอธิบายนี้นับว่าเป็นความพึงพอใจส่วนตัวหรือความพึงพอใจของคนหมู่มากคะ
  • โลกยุคนี้เป็นยุค digital สามารถค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลจากบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วว่าสังคมยอมรับในสิ่งไหน
  • การนำคำที่คนทั่วไปไม่ยอมรับมาบังคับให้คนอื่นใช้งานมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่คะ
  • คุณสามารถนำวิกิพีเดียเป็นสารานุกรม ต้องการความเป็นมาตรฐาน เป็นเอกภาพ ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรสักอย่างเป็นแกนกลางที่คุณกล่าวอ้างมา

ไปใช้ค้นหาบุคคลคนหนึ่งที่ไม่มีตัวตนอยู่บนโลกออนไลน์เพราะไม่มีใครเคยพูดถึงคนที่ชื่อว่า "หลัว ยฺหวินซี" นอกจากใน Wiki ที่คุณแก้ได้หรือไม่คะ

  • ไม่มีใครต้องการเขียนว่า ยฺหวิน แม้แต่คนเดียว ย้ำค่ะว่าไม่มีแม้แต่ hashtag เดียว อ้างอิงจาก hashtag ของสามโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ด้านบนนะคะ
    --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:40, 11 พฤษภาคม 2564 (ICT)

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุยหน้าที่เขียน) 15:08, 11 พฤษภาคม 2564 (ICT) Firesflys (คุย) 15:25, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)}}ตอบกลับ

สิ่งที่คุณควรทำคือการเปิดภิปรายในหน้าพูดคุยของบทความครับไม่ใช่ย้อนไปย้อนมา แล้วค่อยหามติว่าในที่นี้ต้องการเป็นแบบไหน ซึ่งเรื่องนั้นทำได้ จะอย่างไรถ้าไม่มีการอภิปราย (แบบคำเรียก อนิเมะ) ยังไงก็ต้องยึดตามหลักราชบัณฑิตครับ --Timekeepertmk (คุย) 19:22, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

อ้างอิง แก้

ขอโทษนะคะคุณ Timekeepertmk ประการแรกสิ่งที่เขียนด้านบนคือการตอบคำถามคุณ Horus กับ คุณ Miwako ค่ะ ประการที่สองคุณ Horus บล็อกดิฉันอยู่ทำให้ถูกห้ามเขียนวิกิพีเดียไม่สามารถเปิดการอภิปรายในหน้าพูดคุยของบทความได้ ถึงต้องขอปลดบล็อกก่อนโดยตอบคำถามคุณ Horus หรือเปล่าคะ พูดกันด้วยเหตุผลนะคะกรุณาอย่าใช้คำว่าย้อนไปย้อนมา สิ่งที่ควรทำรับทราบว่าต้องทำค่ะ แต่สถานะตอนนี้คือทำไม่ได้เหมือนถูกมัดมือชกไปหน่อยนะคะ สรุปใจความสำคัญเลยว่าตอนนี้ไม่สามารถเปิดอภิปรายได้ค่ะ สอบถามว่าควรทำเช่นไรคะ รบกวนแนะนำผู้ที่ความรู้น้อยหน่อยนะคะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุยหน้าที่เขียน) 20:54, 11 พฤษภาคม 2564 (ICT)

ขออนุญาตนะครับ
  1. โปรดเข้าใจว่าวิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการเขียนรวมถึงทับศัพท์ซึ่งก็นำหลักเกณฑ์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภามาใช้เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการของภาษาไทย อีกอย่างวิกิพีเดียไม่ได้มีหน้าที่ในการเผยแพร่ความคิดหรือการวิเคราะห์ใด ๆ ที่สร้างขึ้นเองรวมถึงการบัญญัติการทับศัพท์หรือสร้างคำศัพท์ใหม่ ๆ (วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ) ดังนั้น เรื่องไม่เห็นด้วยการทับศัพท์ควรดำเนินการกับผู้สร้างหลักเกณฑ์แทน ไม่ใช่วิกิพีเดียครับ
  2. ที่นี้เวลามีปัญหาหรือต้องการเสนอความเห็นก็ทำได้ แต่อย่าพึ่งละเมิดโดยพลการหรือทำในสิ่งที่นโยบายห้าม ยิ่งถ้ามีคนแจ้งเตือนก่อนแล้วยังทำอยู่เหมือนเดิม จะยิ่งไม่เป็นผลดีต่อตัวเองครับ
--Geonuch (คุย) 13:19, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

[ไม่มีหัวข้อ] แก้

เนื่องจากได้ตอบคำถามคุณ Horus รวมถึงอธิบายเหตุผลไปแล้วในข้างต้น จึงต้องการขอปลดบล็อกเพื่ออภิปราย ไม่ทราบว่าทางผู้ดูแลระบบมีความเห็นว่าอย่างไรคะ นอกจากนี้มีเรื่องต้องการสอบถามผู้ดูแลระบบเพิ่มเติม 3 ข้อค่ะ 1.ในการอภิปรายใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินคะ 2.ระยะเวลาในการอภิปรายมีการกำหนดอย่างไร 3.ผลของการอภิปรายถือเป็นที่สิ้นสุดหรือไม่คะ --Firesflys (คุย) 01:11, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)}} 1.ตอบกลับ

เนื่องจากว่าระบบชุมชนไม่ได้มีศูนย์กลางอยู่ที่ผู้ดูแลระบบนะครับ ผมซึ่งไม่ใช่ผู้ดูแลระบบจึงมาขอตอบคำถามข้อที่ 3 ส่วนข้ออื่นรอการแนะนำจากผู้ใช้อื่นครับ (ทั้งนี้หากมีการปลดบล็อก/ปลดบล็อคบางส่วน (ในบางกรณี) สามารถถามได้ที่ WP:แผนกช่วยเหลือ ครับ)
  • เมื่อเสร็จการอภิปรายก็มักจะมีผลทันที (แล้วแต่ชุมชนกำหนด) แต่หากมีอภิปรายใหม่จนเสร็จการอภิปรายที่มีประเด็นเก่าที่ถูกปรับเปลี่ยน ก็จะมีผลเปลี่ยนใหม่ครับ (แต่ขอเสริมว่าอภิปรายในโครงการไม่สามารถเปลี่ยนนโยบายและแนวปฏิบัติจากส่วนกลางได้ ต้องไปเปิดอภิปรายที่ส่วนกลาง และหากสิ่งที่อภิปรายในโครงการขัดกับส่วนกลาง/มูลนิธิฯ ก็จะไม่สามารถเสนอเปลี่ยนในโครงการได้ครับ(คงจะนะ?))
  • หากยังไม่ได้อ่านครับ อันนี้น่าจะเป็นนโยบายส่วนกลาง(ไม่แน่ใจว่ามีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยให้เข้ากับโครงการหรือไม่?) กฏการย้อนสามครั้ง สงครามการแก้ไข ซึ่งนโยบายแนวปฏิบัตินี้ระบุชัดเจนว่าการย้อนไปมาสื่อถึงความขัดแย้งในระหว่างผู้แก้ไขซึ่งหากปล่อยไว้จะไม่เกิดประโยชน์ต่อบทความ เพราะทางที่ดีควรมีการอภิปรายในความขัดแย้งดังกล่าวก่อน โดยควร/ต้องคงไว้ซึ่งเนื้อหาก่อนการแก้ไขของผู้ใช้ทั้งสองฝ่าย(อาจจะประมาณนี้?) และเป็นเหตุผลว่าทำไมหากมีการย้อนหลังการแก้ไขของใครใด ๆ ควรควบคุมไม่ให้เกิดการย้อนจากตนเองหลายครั้ง (ยกเว้นการก่อกวน ซึ่งระบุไว้ในหน้านโยบายแนวปฏิบัติแล้ว) ซึ่งผมไม่สามารถอธิบายได้อย่างถูกต้องจึงแนะนำให้อ่านนโยบายแนวปฏิบัติประกอบด้วยครับ
ตอบข้อ 1 ถึง 3
  1. ดูรายละเอียดที่ วิกิพีเดีย:ความเห็นพ้อง
  2. ไม่ได้กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ที่ผ่านมาก็อภิปรายอย่างน้อย 14 วันครับ
  3. ไม่เสมอไปครับ ถ้าใช้แล้วมีปัญหาก็เปิดใหม่ได้ (แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตั้งอภิปรายบ่อย ๆ ทุกเดือนนะครับ)
--Geonuch (คุย) 13:02, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ขอบคุณคุณ NP-chaonay กับคุณ Geonuch มากค่ะ ที่อธิบายได้ชัดเจนและง่ายต่อการเข้าใจ รับทราบไว้เป็นแนวทางปฏิบัติค่ะ แต่มีข้อสงสัยจากที่คุณ NP-chaonay บอกว่า "อภิปรายในโครงการไม่สามารถเปลี่ยนนโยบายและแนวปฏิบัติจากส่วนกลางได้ ต้องไปเปิดอภิปรายที่ส่วนกลาง และหากสิ่งที่อภิปรายในโครงการขัดกับส่วนกลาง/มูลนิธิฯ ก็จะไม่สามารถเสนอเปลี่ยนในโครงการได้" อันนี้แค่สมมตินะคะว่าในกรณีชนะการอภิปราย แต่ในเมื่อนโยบายและแนวทางปฏิบัติยืนยันว่าต้องทำตามราชบัณฑิต แล้วไม่ทราบว่าผลการอภิปรายที่ขัดต่อนโยบายและแนวปฏิบัตินั้นจะสามารถนำมาใช้งานได้หรือไม่คะ Firesflys (คุย) 13:51, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

(อธิบายแบบไม่ลงลึกมาก) จะมีนโยบายบางอย่างที่เราเปลี่ยนไม่ได้ ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดียถูกกำหนดวัตถุประสงค์มาว่าเป็นสารานุกรม ถ้าจะเสนอให้วิกิพีเดียเป็นตำราเรียนก็ไม่สามารถทำได้ครับ ส่วนในการอภิปรายนั้นถ้ามีข้อสรุปออกมาว่าจะใช้เกณฑ์ใหม่ก็จะถูกใช้แทนเกณฑ์เก่าเลย แต่ขอให้คำนึงว่าในบางครั้ง การอภิปรายก็จะมีข้อเสนอของผู้อื่นมาด้วยซึ่งอาจมาเสริมหรือขัดเกลาบางส่วนจนอาจเป็นไปได้ว่าที่เราเสนอทั้งหมดอาจไม่ได้เป็นไปตามที่เราเขียนไว้ทั้งหมด สุดท้ายไม่อยากให้มาคิดเรื่องแพ้ชนะ ขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้อ่านแทนครับ --Geonuch (คุย) 21:02, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณคุณ Geonuch อีกครั้งค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Firesflys (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:16, 14 พฤษภาคม 2564 (ICT)