ข้าวเกรียบปากหม้อ
ข้าวเกรียบปากหม้อ เรียกโดยย่อว่า ปากหม้อ บ้างเรียก ข้าวเกรียบน้ำจิ้ม เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน และแป้งเท้ายายม่อม ห่อด้วยไส้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไส้หมู ไส้หวาน หรือไส้ไก่ ก่อนคลุกกับกระเทียมเจียว แล้วราดด้วยน้ำจิ้มหรือกะทิ รับประทานเคียงกับผักกาดหอม ผักชี และพริกขี้หนูสด[1]
สาคูไส้หมู (ซ้าย) และข้าวเกรียบปากหม้อ (ขวา) | |
ชื่ออื่น | ปากหม้อ, ข้าวเกรียบน้ำจิ้ม |
---|---|
มื้อ | อาหารว่าง |
แหล่งกำเนิด | ไทย |
ส่วนผสมหลัก | แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งเท้ายายม่อม เนื้อสัตว์ |
รูปแบบอื่น | ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ, ข้าวเกรียบอ่อน, ข้าวเกรียบยาหน้า |
ส่วนที่เรียกว่าข้าวเกรียบปากหม้อ สันนิษฐานว่าเมื่อแป้งได้รับความร้อนจนพองและสุก จะมีหน้าตาเหมือนข้าวเกรียบว่าว จึงเรียกชื่อดังกล่าวมาจนถึงทุกวันนี้[1]
ในอาหารเวียดนามมีอาหารที่ลักษณะใกล้เคียงกันแต่ต่างกันตรงไส้และน้ำจิ้ม[2] คือ บั๊ญก๊วน (เวียดนาม: bánh cuốn) หรือข้าวเกรียบปากหม้อญวน ใส่ไส้หมูสับผัดกับต้นหอม รับประทานเคียงกับหมูยอ กับน้ำจิ้มเนื้อกเจิ๊ม (nước chấm) ที่มีรสเปรี้ยวหวานเผ็ดเค็ม[3] ส่วนอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีอาหารใกล้เคียงกัน เรียกว่า ข้าวพัน สอดไส้ด้วยผักต่าง ๆ และไข่ รับประทานเคียงกับกากหมู หรือน้ำจิ้มต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำจิ้มสุกี้[4]
ส่วนผสม
แก้ข้าวเกรียบปากหม้อมีส่วนประกอบสามอย่างคือ ตัวแป้ง ตัวไส้ และน้ำจิ้ม โดยตัวแป้งจะใช้แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน และแป้งเท้ายายม่อม บางแห่งอาจใช้แป้งข้าวเหนียวแทน โดยนำแป้งที่เตรียมไว้มาผสมน้ำให้ข้นเหลวพอเหมาะแล้วนวดให้เข้ากัน[1] อาจใส่สีจากธรรมชาติให้สีสันน่ารับประทานขึ้น เช่น สีเขียวจากใบเตย สีม่วงจากดอกอัญชัน เป็นต้น[5]
ตัวไส้ โดยมากจะทำเป็นไส้หมู โดยจะนำรากผักชี พริกไทย และกระเทียมที่โขลกไว้แล้วมาผัดกับหมูสับ หอมแดง และไชโป๊ ก่อนปรุงรส แล้วผัดจนไส้แห้งและเหนียว[1] บางแห่งอาจใช้ไก่ หน่อไม้ เนื้อปู กุ้ง[6] นอกจากนี้ยังมีไส้สำหรับผู้รับประทานมังสวิรัติ เช่น ไส้หวาน กุยช่าย ถั่วงอก เห็ดหอม เห็ดหูหนู มะพร้าว ข้าวโพดหวาน ไชโป๊หวาน เป็นต้น[7][8]
ส่วนเครื่องราดหรือเครื่องจิ้มข้าวเกรียบปากหม้อแต่ละท้องที่จะแตกต่างกัน บางแห่งราดน้ำกะทิเพิ่มความหวานมันเค็ม[9] บางแห่งรับประทานคู่กับน้ำจิ้ม ซึ่งได้จากการเคี่ยวน้ำส้มสายชู น้ำตาลทรายแดง เกลือป่น และพริกขี้หนูสับ[1] ส่วนจังหวัดตราดจะรับประทานข้าวเกรียบปากหม้อกับน้ำจิ้มไข่ปูหรือน้ำจิ้มกุ้งแห้ง โดยนำกระเทียม พริกขี้หนู ไข่ปูทะเล (หรือใช้กุ้งแห้งที่แช่น้ำร้อนมาแล้ว) โขลกให้ละเอียด ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำตาลทราย น้ำปลา และน้ำต้มสุก ให้ได้รสเปรี้ยว หวาน เค็ม และเผ็ด[6]
วิธีทำ
แก้กรองผ้าขาวบางมาขึงปากหม้อ รัดให้แน่นและตึง เจาะผ้าริมขอบปากหม้อเป็นรูขนาดเล็กเพื่อให้ไอน้ำพุ่งออกมา นำไปตั้งบนไฟน้ำน้ำในหม้อเดือด จากนั้นนำแป้งที่นวดมาแล้วประมาณหนึ่งทัพพีละเลงเป็นรูปวงกลม เมื่อแป้งสุกพองจึงใส่ไส้กลางแผ่นแป้ง ก่อนใช้ไม้พายที่แตะน้ำมันถั่วเหลืองแล้วไปปาดแป้ง ห่อแป้งเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใส่ภาชนะพร้อมรับประทาน[1][6]
ความหลากหลาย
แก้- ข้าวเกรียบอ่อน หรือ ข้าวเกรียบหวาน เป็นอาหารว่างที่คล้ายกับข้าวเกรียบปากหม้อของจังหวัดตราด มีการทำแบบเดียวกันกับข้าวเกรียบปากหม้อ ต่างกันที่ตัวแป้งและไส้ ตัวแป้งทำจากน้ำตาลอ้อยทำให้แป้งมีรสหวาน เมื่อแป้งสุกจึงนำแผ่นแป้งมาวางไว้ แล้วใส่ไส้ที่ทำจากถั่วเขียวต้มกับมะพร้าวขูด ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล คลุกด้วยงาคั่ว ซึ่งให้รสเค็มตัดกับตัวแป้ง[6]
- ข้าวเกรียบยาหน้า เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งพบในชุมชนมุสลิมเชื้อสายจามบ้านน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด จะทำแผ่นแป้งแบบเดียวกับข้าวเกรียบปากหม้อที่สุกแล้วไปผึ่งแดดให้แห้ง ก่อนนำไปปิ้งบนเตาถ่านจนแป้งกรอบ เมื่อจะรับประทานจะทาน้ำตาลอ้อยเคี่ยว และตักเครื่องโรยหน้า (ทำจากแคร์รอตปั่น มะพร้าว และกุ้งสับละเอียด ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทยเล็กน้อย) ลงบนแผ่นแป้ง ตามด้วยต้นหอมซอย พร้อมรับประทาน[10]
- ถั่วแปบแป้งสด เป็นถั่วแปบรูปแบบหนึ่ง แต่มีวิธีการทำอย่างเดียวกับข้าวเกรียบปากหม้อ คือนำแป้งที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวหยอดลงผ้าขาวบาง เมื่อแป้งสุกใส่ถั่วแปบเป็นไส้ เมื่อห่อแล้วมาตั้งไว้บนถาด คลุกเคล้าด้วยมะพร้าวขูด งาคั่ว น้ำตาลทราย และเกลืออีกเล็กน้อย[11]
- ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ เป็นก๋วยเตี๋ยวไม่ใส่เส้น แต่ใส่ตัวข้าวเกรียบปากหม้อไปแทน โดยตัวแป้งทำจากแป้งมันสำปะหลังกับแป้งข้าวเจ้า พบได้ที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา[12][13]
- อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีอาหารว่างที่คล้ายกับข้าวเกรียบปากหม้อ เรียกว่า ข้าวแคบ ตัวแป้งทำจากแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียว ทำให้สุกแบบเดียวกับข้าวเกรียบปากหม้อ นำไปผึ่งให้แห้งบนตับหญ้าคา เมื่อแห้งแล้วสามารถรับประทานได้เลย และมีอาหารอีกชนิดเรียกว่า ข้าวพัน มีวิธีการทำแบบเดียวกันกับข้าวเกรียบปากหม้อ แต่ตัวแป้งจะใส่ไส้ด้วยไข่และผักชนิดต่าง ๆ ปิดฝาครอบรอจนสุกทั่วกัน เมื่อสุกแล้วจะใช้ไม้ใผ่แบน ค่อย ๆ ม้วนแผ่นแป้ง แล้วจัดใส่จาน โรยหน้าด้วยกากหมู กระเทียมเจียว แล้วราดด้วยน้ำจิ้ม[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 พิชญาดา เจริญจิต (1 มิถุนายน 2562). "ข้าวเกรียบปากหม้อ อาหารว่างแบบไทยๆ". มติชนออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-10. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข้าวเกรียบปากหม้อ เมนูเวียดนามยังขายดี". คมชัดลึก. 4 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ นันทนา ปรมานุศิษฏ์ (13 กันยายน 2561). ""บั๊นก๊วน" ปากหม้อเวียดนาม ที่มุกดาหาร คนทำมือระวิงไม่ได้หยุด". เส้นทางเศรษฐี. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 เมธินีย์ ชอุ่มผล (23 มกราคม 2562). "ข้าวแคบ ข้าวพันผัก หมี่พัน". เมืองโบราณ. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข้าวเกรียบปากหม้อ". กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ตราด : อัญมณีอาคเนย์ ทะเลเกาะงดงาม วีรกรรมเกรียงไกร. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2562, หน้า 134
- ↑ องอาจ ตัณฑวณิช (15 กรกฎาคม 2561). "ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ อร่อยมาก ที่พนมสารคาม". เทคโนโลยีชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เชาวลี ชุมขำ (17 สิงหาคม2557). "ปากหม้อไส้ผัก หลากไส้เรียกลูกค้า". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "4 เมนูปากหม้อ สูตรแป้งบางนุ่มไส้แน่นอร่อยปากสนุกมือ". สนุกดอตคอม. 18 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ตราด : อัญมณีอาคเนย์ ทะเลเกาะงดงาม วีรกรรมเกรียงไกร. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2562, หน้า 135
- ↑ "'ถั่วแปบแป้งสด'สูตรเด็ดตลาดน้ำบางคล้า". คมชัดลึก. 20 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ ก๋วยเตี๋ยวในตำนานของเมืองพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคตะวันออก. 12 เมษายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เสาวลักษณ์ สวัสดิ์กว้าน (23 พฤษภาคม 2560). ""ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ" อาหารพื้นบ้านแปดริ้ว ขายยังไงได้วันละ 4 หมื่น". เส้นทางเศรษฐี. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)