อัญชัน

ชนิดของพืช
อัญชัน
ดอกอัญชันสีขาว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Clitoria
สปีชีส์: C.  ternatea
ชื่อทวินาม
Clitoria ternatea
L.

อัญชัน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria ternatea L.) เป็นไม้เลื้อย ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่), เอื้องชัน, เองชัญ[1] เมื่อคั้นเอาน้ำออกมาแล้วจะได้เป็นสีม่วง น้ำเงิน สีของมันสามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ประกอบอาหาร ทำการมัดย้อมผ้า โดยใช้สีของอัญชันมาย้อม เป็นต้นและอย่างอื่นมากมาย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม

ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2] ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

การกระจายพันธุ์ แก้

อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน และพบใน ไทย ลาว คาบสมุทรมาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย รวมทั้งในเอเชียใต้ ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา

สรรพคุณ แก้

  • ดอก ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ เงางามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น[3]
  • ดอก นำมาคั้นนำใช้หุงข้าวได้ด้วย ช่วยให้ข้าวที่หุงมีสีสันที่สวยงาม
  • เมล็ด เป็นยาระบาย[4]
  • ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา[5]
  • นำไปวัดค่าความเป็นกรดเนื่องจากดอกอัญชันมีสารแอนโทไซยานิน

อัญชันในวรรณคดี แก้

ในสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ

อัญชันกับอาหาร แก้

อัญชันเป็นดอกไม้อีกหนึ่งประเภทที่นิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้มและคั้นน้ำของดอกเพื่อมาผสมกับแป้งต่าง ๆ ทำเป็น ขนมชั้น ทับทิมกรอบ บัวลอย ฯลฯ นอกจากนั้นดอกก็สามารถนำมาชุบแป้งทอด ใส่สลัดต่าง ๆ เพื่อตกแต่งจาน หรือทำไข่เจียวหรือชาอัญชันก็ได้ ในมาเลเซียนำไปหุงกับข้าวให้สีฟ้า ใช้ในอาหารที่ลักษณะคล้ายข้าวยำของไทย

อ้างอิง แก้

  1. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  2. อัญชัน เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม, ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. บทความสุขภาพ, สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ !!, กรีนเนอรัลด์
  4. รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ, อัญชัน เก็บถาวร 2010-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ศาลาสมุนไพร
  5. ดอกไม้ให้คุณ,นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 38 เมษายน 2531 หน้า 111

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • "Plant of the Week—Clitoria ternatea". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-31.
  • "Clitoria ternatea". Tropical Forages. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-17. สืบค้นเมื่อ 2007-07-31.