นครรัฐน่าน
นครรัฐน่าน[3][4][5] บ้างเรียก อาณาจักรน่าน[6] หรือ รัฐปัว[7] เป็นนครรัฐอิสระ[1]ขนาดเล็กในอดีตรัฐหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน[2] เดิมเรียกว่าเมืองกาว, แคว้นกาว, รัฐกาว, กาวเทศ[8] หรือ กาวน่าน[9]
นครรัฐน่าน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พุทธศตวรรษที่ 18–พ.ศ. 1992 | |||||||||
สถานะ | นครรัฐ[1][2][3] | ||||||||
เมืองหลวง |
| ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
เจ้าผู้ครอง | |||||||||
• พุทธศตวรรษที่ 18 – พ.ศ. 2004[3] | ราชวงศ์ภูคา | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• สถาปนา | พุทธศตวรรษที่ 18 | ||||||||
• ถูกผนวกเข้ากับล้านนา | พ.ศ. 1992 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ |
แต่ด้วยอุปสรรคด้านภูมิศาสตร์เนื่องด้วยตั้งอยู่ในหุบเขาขนาดเล็กจึงมีการพัฒนาที่ล้าหลังกว่ารัฐอื่น ๆ ที่ตั้งในแถบลุ่มน้ำปิงและวัง[10] ด้วยเหตุนี้น่านจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพะเยาช่วงต้นถึงปลายศตวรรษที่ 19, ล้านนาในปี พ.ศ. 1993 และพม่าในปี พ.ศ. 2103
ประวัติ
แก้แรกก่อตั้งและการยึดครองของพะเยา
แก้นครรัฐน่านถูกสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 โดยการนำของพญาภูคา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองย่าง (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน)[2] ขณะที่ ราชวงษปกรณ์ พงศาวดารน่าน ที่รวบรวมโดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชช่วงรัตนโกสินทร์เพียงฉบับเดียว ที่ระบุว่า ราชวงศ์กาวนี้สืบเชื้อสายมาจากพญาลาวกอ โอรสพญาลวจังกราช เมื่อปี พ.ศ. 1220[5] ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับตอนที่สองจนถึงยุคพระเจ้าสุริยวงษ์ผริตเดชโดยไม่กล่าวถึงราชวงศ์ลวจังกราชอีกเลย[11]
ใน พื้นเมืองน่าน ได้กล่าวถึงพญาภูคา มีพระโอรสสองพระองค์คือขุนนุ่นและขุนฟอง พญาภูคาจึงให้องค์พี่ไปสร้างเมืองหลวงพระบางปกครองชาวลาว[note 1] และองค์น้องไปสร้างเมืองปัว (หรือ วรนคร)[12] ปกครองชาวกาว[13]
ครั้นขุนฟองพิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงครองเมืองปัวสืบมา ส่วนพญาภูคาเองก็มีชนมายุมาก มีพระราชประสงค์ให้พระนัดดามากินเมืองต่อ จึงส่งเสนาอำมาตย์ไปอัญเชิญ ด้วยเจ้าเก้าเถื่อนเกรงพระทัยพระอัยกาจึงเสด็จครองเมืองย่างต่อ โดยให้นางพญาแม่ท้าวคำพินครองเมืองปัวแทน[2] ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองปัวกำลังอ่อนแอ พญางำเมืองเจ้าผู้ครองนครรัฐพะเยา จึงสบโอกาสยกทัพมาปล้นเมืองปัว หลังจากนั้นก็ให้นางอั้วสิม พระชายา และเจ้าอามป้อม ราชบุตร มากินเมืองปัว[14] ในช่วงเวลาเดียวกับที่พญางำเมืองตีเมืองปัวนั้น นางพญาแม่ท้าวคำพินผู้ทรงพระหน่อได้เสด็จลี้ภัยไปที่บ้านห้วยแร้งแล้วให้กำเนิดโอรสชื่อเจ้าขุนใส เมื่อเจ้าขุนใสเจริญพระชันษาก็ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมือง พญางำเมืองก็สถาปนาเป็น "เจ้าขุนใสยศ" ครองเมืองปราด เมื่อเจ้าขุนใสยศมีกำลังพลมากขึ้นก็ทรงยกทัพขึ้นต่อสู้จนสามารถยึดเมืองปัวคืนมาได้[2] พร้อมกับได้นางอั้วสิมในพญางำเมืองมาเป็นพระชายาด้วย[14] และสถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็น พญาผานอง (หรือ ผากองผู้ปู่) ปกครองเมืองปัวอย่างรัฐอิสระ[2]
การขยายตัวและปัญหาระหว่างรัฐ
แก้ในรัชกาลพญาผานอง นครรัฐอิสระนี้เริ่มมีเสถียรภาพ หลังมีการขยายตัวของเมืองเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทรงร่วมมือกับพญาคำฟูกษัตริย์ล้านนาเข้าปล้นแคว้นพะเยาในรัชกาลพญาคำลือ และเริ่มมีปัญหาระหองระแหงกับล้านนาอันเนื่องมาจากการถูกเอารัดเอาเปรียบในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ปล้นมาจากพะเยา[14]
รัชสมัยพญาครานเมือง (หรือ การเมือง หรือ กรานเมือง) ได้ทำการย้ายเมืองหลวงลงมายังภูเพียงแช่แห้ง เมื่อปี พ.ศ. 1902 ด้วยมีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถติดต่อค้าขายกับเมืองทางใต้ได้สะดวกกว่าเมืองหลวงเก่า และได้ทรงสร้างพระธาตุแช่แห้ง เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างศูนย์รวมจิตใจแก่ทวยราษฎร์[1] หลังได้รับพระธาตุและพระพิมพ์มาจากอาณาจักรสุโขทัย[2] ที่เป็นรัฐเครือญาติ[15] แต่ความสัมพันธ์อันดีดังกล่าวสร้างความไม่ชอบใจแก่อาณาจักรอยุธยานัก ที่ช่วงเวลานั้นอยุธยาพยายามขยายอำนาจสู่สุโขทัย พญาครานเมืองจึงถูกกษัตริย์อยุธยาลอบวางยาพิษจนสิ้นพระชนม์ทันที และยิ่งทวีความร้าวฉานเมื่อพญาผาคอง (หรือ ผากองผู้หลาน) ส่งทัพไปช่วยพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย รบกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา[16] แต่ผลคือทัพน่านที่ยกไปช่วยนั้นแตก และถูกกรุงศรีอยุธยาจับเป็นเชลยอันมาก[17] และท้าวคำตัน รัชกาลถัดมา ก็ถูกกรุงศรีอยุธยาลอบปลงพระชนม์อีกครั้งโดยใส่ยาพิษในน้ำอาบองค์สรงเกศ[16]
อนึ่งในรัชกาลพญาผาคอง (หรือ ผากองผู้หลาน) นั้น ได้มีการย้ายเมืองหลวงจากภูเพียงแช่แห้งมายังเวียงใต้ หรือเมืองน่านในปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 1911[18] โดยให้เหตุผลว่าขาดแคลนน้ำ และเวียงนั้นไม่สามารถรองรับประชาชนจำนวนมากได้[19]
ความขัดแย้งภายในและการล่มสลาย
แก้นครรัฐน่านประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อท้าวเมืองแพร่ยกทัพมาปล้นและครองเมืองน่านครั้งหนึ่ง และอีกครั้งเมื่อช่วงปี พ.ศ. 1942-1943 ซึ่งเจ้าเมืองน่านจึงหนีไปพึ่งเจ้าสุโขทัย และได้รับการช่วยเหลือจนกระทั่งยึดอำนาจคืนสำเร็จทั้งสองครั้ง แต่กระนั้นการเมืองภายในราชวงศ์ภูคาก็ชิงอำนาจกันเสียเอง คืออินทแก่นท้าว ถูกเจ้าแพงและเจ้าหอพรหมผู้น้องยึดอำนาจได้[20] อินทแก่นท้าวจึงไปขอความช่วยเหลือจากสุโขทัยและยึดอำนาจคืน[16]
ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 บรรดาแว่นแคว้นและนครรัฐต่าง ๆ ค่อย ๆ ถูกรัฐที่ใหญ่กว่าผนวก อาณาจักรสุโขทัยล่มสลายและรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 1981 แต่นครรัฐน่านที่ห่างไกลยังคงเป็นนครรัฐอิสระขนาดเล็กอยู่อย่างโดดเดี่ยว ก่อนถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนาใน ปี พ.ศ. 1992 ใน พื้นเมืองน่าน กล่าวว่าพระเจ้าติโลกราชทรงยกทัพจากพะเยามาทางเมืองปง เมืองควร เข้าล้อมเมืองน่าน และ "ตั้งอม็อกสินาดยิงเข้าทางประตูอุทยาน โห่ร้องเข้าคุ้มเวียง"[16] อินทแก่นท้าวหนีไปพึ่งพระยาเชลียง พระเจ้าติโลกราชจึงแต่งตั้งท้าวผาแสงพระโอรสเจ้าแพงกินเมืองสืบมา ครั้นสิ้นท้าวผาแสงก็หาขุนนางมากินเมืองแทน ดังปรากฏ ความว่า "...แต่นั้นมาชื่อว่าพระญาบ่มีแลย่อมว่าเจ้าเมืองว่าอั้นมาแล..."[7]
การปกครอง
แก้น่านมีกษัตริย์จากราชวงศ์ภูคาเป็นประมุข ปกครองตนเองแบบนครรัฐอิสระที่ถูกตั้งขึ้นด้วยเงื่อนไขท้องถิ่นที่มิใช่อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย[10] และเนื่องด้วยที่ตั้งของน่านเป็นชายขอบของรัฐที่เข้มแข็ง[1] ประวัติศาสตร์ของน่านจึงมีความพยายามรักษาสถานะความเป็น "นครรัฐ" ให้อยู่รอด[1]
น่านเคยถูกพะเยายึดครองช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และปลายศตวรรษนั้นก็กลับเป็นนครรัฐอิสระดังเดิม แต่จากการขยายอำนาจของอาณาจักรล้านนาและอยุธยาทำให้น่านสถาปนาความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย[1] แม้จะได้รับการช่วยเหลือจากสุโขทัยก็ตามแต่เจ้านายในราชวงศ์กาวเองกลับแย่งชิงอำนาจกันเองทำให้รัฐขาดเสถียรภาพ จนเมื่อพันธมิตรอย่างอาณาจักรสุโขทัยสลายตัวและรวมเข้ากับอยุธยาในปี พ.ศ. 1981 ไม่นานหลังจากนั้นน่านเองก็สลายตัวและรวมเข้ากับล้านนาในปี พ.ศ. 1992[16]
ประชากร
แก้น่านมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมคือชาวกาวเป็นชนชาติหนึ่งโดยเอกเทศ[13] แต่ต้นกำเนิดของชนชาติกาวก่อนมายังเมืองปัวยังเป็นปริศนา สรัสวดี อ๋องสกุลได้ตั้งข้อสังเกตว่าพญาภูคาอาจมีความเกี่ยวข้องกับเมืองภูคาทางตอนเหนือของประเทศลาว และตั้งข้อสังเกตว่าไทกาว, ไทลาว และไทเลือง (บรรพบุรุษราชวงศ์สุโขทัย) มีความสัมพันธ์กัน แต่เธอก็กล่าวว่าเป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่ต้องสืบค้นต่อไป[21]
ใน พื้นเมืองน่าน ได้กล่าวถึงพญาภูคา มีพระโอรสสองพระองค์คือขุนนุ่นและขุนฟอง พญาภูคาจึงให้องค์พี่ไปสร้างเมืองหลวงพระบางปกครองชาวลาว โดยตำนานให้ภาพของเมืองปัวและหลวงพระบางเป็นพี่น้องกัน ลาวและกาวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันตั้งถิ่นฐานใกล้กัน[13]
หลักฐานที่กล่าวถึงชาวกาวที่เก่าแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ด้านที่ 4 ปรากฏความว่า "ทังมา กาว ลาว และไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฏ..ไทยชาวอูชาวของมาออก"[13] พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด เรียกเมืองปัวซึ่งเป็นเมืองของชาวกาวว่า "เมืองกาว" หรือ "เมืองกาวเทศ" และกล่าวว่าเป็นคนไทกลุ่มหนึ่งความว่า "เมื่อนั้นชาวกาวไทยทั้งหลาย" และ "เมื่อตติยสักกราช ๗๒๗ ตัว ปีกัดใค้ สนำกุญชรชาวกาวไทยเรียกร้องกันมาแปลงโรงหลวง"[13] ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกกษัตริย์น่านว่า "พระญากาวน่าน" และเรียกประชาชนชาวน่านว่า "กาวน่าน"[13] ซึ่งสอดคล้องกับศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 45 พ.ศ. 1935 เรียกผีบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่า "ด้ำพงศ์กาว" ซึ่งยืนยันถึงบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่าเป็นชาวกาว[13] ในจารึกวัดบูรพาราม ด้านที่ 1 อ้างถึงปี พ.ศ. 1939 กษัตริย์สุโขทัยได้ขยายอาณาเขตไปยังเมืองกาว ดังความว่า "ท่านได้ปราบต์ ทั้งปกกาว" ปกหมายถึงรัฐคือรัฐกาวนั่นเอง ส่วนจารึกวัดบูรพารามด้าน 2 ซึ่งเป็นภาษาบาลี เรียกปกกาวว่า "กาวรฏฺ " และกล่าวต่อว่าตั้งอยู่ทางทิศอุดรของสุโขทัย[21]
หลังจากการสร้างเมืองน่านเป็นต้นมา ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มนิยมเรียกชื่อตามเมืองคือน่านแทนชื่อชนชาติ ผู้คนในเมืองน่านก็เรียกตัวเองว่าชาวน่านแทนชาวกาวดังปรากฏหลักฐานในพื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด[21] จนกล่าวได้ว่าตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คำว่า "กาว" ได้หายไปจากเมืองน่านแล้ว เหลือเพียงแต่ร่องรอยที่ปรากฏในเอกสารโบราณเท่านั้น[21] และทุกวันนี้ชาวจังหวัดน่านเองก็ไม่รู้จักคำว่าชาวกาวแล้ว[9]
ภูมิศาสตร์
แก้น่านเป็นนครรัฐในหุบเขาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านทางตอนบนขนาดเล็กเป็นตอน ๆ ในลักษณะแนวยาวทิศเหนือ-ใต้ขนาบโดยเทือกเขาผีปันน้ำทางตะวันตก และเทือกเขาหลวงพระบางทางตะวันออก[22] ที่ราบแบ่งได้เป็นสองตอน คือตอนเหนือเป็นที่ราบขนาดเล็กต้นแม่น้ำน่านเป็นที่ตั้งของเมืองปัว และที่ราบตอนล่างอันเป็นตั้งของเมืองน่านซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่า สามารถติดต่อค้าขายกับเมืองทางใต้ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้น่านยังมีที่ราบขนาดเล็กอีกหลายแห่งกระจายตัวในหุบเขาอีกด้วย[22] ถือว่าน่านมีที่ราบขนาดใหญ่และกว้างขวางกว่านครรัฐแพร่ซึ่งเป็นรัฐจารีตร่วมสมัย[23] แม้กระนั้นนครรัฐน่านก็ประสบปัญหามีพื้นที่ทำการเกษตรจำกัด และประชากรเบาบาง[3][5]
ด้วยเหตุที่น่านถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสามารถติดต่อเมืองอื่น ๆ ได้ยาก ทำให้น่านเป็นเมืองโดดเดี่ยว[22] มีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่ารัฐจารีตที่รายรอบ[10] และ พื้นเมืองน่าน ซึ่งเป็นตำนานพื้นเมืองของน่านช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ก็ไม่ได้กล่าวถึงอาณาจักรสุโขทัยหรือล้านนาช่วงนั้นเลย โลกของผู้เขียนตำนานขีดวงไว้เพียงแถบลุ่มแม่น้ำน่านเท่านั้น[21] อย่างไรก็ตามน่านตั้งอยู่บนและควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างล้านนาตะวันออกกับหลวงพระบางในแนวตะวันออกถึงตะวันตก[22] และเป็นปราการที่สำคัญของล้านนาด้วย ดังปรากฏในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช เวียดนามได้คุกคามหลวงพระบางและน่าน โดยน่านได้ต่อต้านอย่างเข้มแข็งจนเวียดนามพ่ายไปในที่สุด[24]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แก้นครรัฐน่านมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับรัฐหลวงพระบาง (หลัง พ.ศ. 1700) และรัฐสุโขทัยที่มีบรรพบุรุษจากเมืองน่านชื่อ "ปู่ฟ้าฟื้น" ดังปรากฏใน จารึกปู่สบถหลาน อันเป็นคำสัตย์ว่าสองรัฐจะไม่สู้รบกันเมื่อปี พ.ศ. 1935[15]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รายพระนามกษัตริย์แห่งนครรัฐน่าน
แก้เชิงอรรถ
แก้- ↑ ในตำนานกล่าวถึงฤๅษีสร้างเมืองจันทบุรีให้ขุนนุ่น ซึ่งเมืองจันทบุรีคือเมืองเวียงจันทน์ แต่สรัสวดี อ๋องสกุลพิจารณาถึงตำแหน่งที่ตั้งเมืองตามบริบทของตำนานว่าควรเป็นเมืองหลวงพระบาง (อ้างอิง: สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 107)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 111
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "ประวัติศาสตร์น่าน". จังหวัดน่าน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-07. สืบค้นเมื่อ 2015-05-29.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
- ↑ สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 256
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "นครรัฐน่านก่อนสมัยพญาภูคา". นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ชีวิต วิถีชาวน่าน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-04.
- ↑ "จังหวัดน่านและอาณาจักรน่าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-28. สืบค้นเมื่อ 2013-05-10.
- ↑ 7.0 7.1 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 113
- ↑ "ชนชาติกาว บรรพบุรุษผู้สูญหายของคนเมืองน่าน". Thailand Art. สืบค้นเมื่อ 2013-05-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 "เมืองกาว เมืองน่าน". คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 10.0 10.1 10.2 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 41
- ↑ สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 105
- ↑ คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 107
- ↑ 14.0 14.1 14.2 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 109
- ↑ 15.0 15.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ (5 ธันวาคม 2557). "พระขรรค์ชัยศรี กับดาบฟ้าฟื้น". Sujitwongthes.com. สืบค้นเมื่อ 2014-12-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 112
- ↑ ประเสริฐ ณ นคร. ผากอง, พระยา ใน ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549, หน้า 254 - 255
- ↑ คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
- ↑ คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
- ↑ คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 108
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 106
- ↑ สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 102
- ↑ ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี และวินัย ศรีพงศ์เพียร. "บทบาทของล้านนาในวิกฤตการณ์การเมืองระหว่างรัฐในราชอาณาจักรลาว พ.ศ. 2002-2024", ใน รวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับที่ 16, พ.ศ. 2537, หน้า 98-110