นครรัฐแพร่
นครรัฐแพร่ หรือ นครแพร่ เป็นนครรัฐอิสระขนาดเล็กในอดีตรัฐหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เดิมเรียกว่า “เมืองพล” นครพล, หรือพลนคร, “เวียงโกศัย” หรือโกศัยนคร, “เมืองแพล” มีชื่อเต็มว่า โกเสยุยธชุชพลวิชยแพร่แก้วเมืองมุร
นครรัฐแพร่ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 1371–2445 | |||||||
สถานะ | นครรัฐ | ||||||
เมืองหลวง | เมืองพลนคร หรือ เวียงแพร่ | ||||||
ศาสนา | ศาสนาพุทธ (เถรวาท) | ||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||
เจ้าผู้ครองนคร | |||||||
• พ.ศ. 1371 – 1719 | ราชวงศ์ขุนหลวงพล | ||||||
• พ.ศ. 1825 - 2101 | เวียงโกศัย | ||||||
• พ.ศ. 2309 - 2313 | พระยาศรีสุริยวงศ์ (มังไชย) | ||||||
• พ.ศ. 2361 – 2445 | ราชวงศ์เทพวงศ์ | ||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||
• สถาปนา | พ.ศ. 1371 | ||||||
• ถูกผนวกเข้ากับล้านนา | พ.ศ. 1986 | ||||||
• เป็นเมืองขึ้นของพม่า | พ.ศ. 2101 – 2310 | ||||||
• เป็นเมืองขึ้นของสยาม | พ.ศ. 2313 | ||||||
พ.ศ. 2437 | |||||||
• ยกเลิกระบบเจ้าผู้ครองนคร | 2445 | ||||||
| |||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ประเทศไทย |
จนกระทั่ง พ.ศ. 1655 - พ.ศ. 1773 พวกขอมมีอำนาจในแถบนี้เมืองแพร่จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม ซึ่งภายหลังพวกขอมได้ถูกกองทัพของพ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมืองขับไล่ออกไป แล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อิทธิพลของขอมจึงหมดไปจากดินแดนแถบนี้[1]
ประวัติ แก้ไข
การสถาปนา แก้ไข
นครรัฐแพร่ เริ่มตั้งแต่สร้างเมือง พ.ศ. 1307 - 1445 (หลักฐานจากหนังสือ ประวัติการสร้างวัดหลวง หรือวัดหลวงสมเด็จ) ปีพ.ศ. 1371 พญาพลราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า ได้อพยพคนไทยลื้อ ไทยเขิน ส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบฝั่งแม่น้ำยมขนานนามว่า "เมืองพลนคร" พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดแพร่เริ่มขึ้นหลังจากชุมชนเมืองแพร่มีขนาดใหญ่ขึ้นจนก่อตั้งเป็นเมือง มีการสร้างคูเมือง กำแพงเมืองอย่างแน่นหนา สามารถป้องกันศัตรูภายนอก และป้องกันน้ำจากแม่น้ำยมเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มในเมือง ความโดดเดี่ยวจากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีภูเขาสลับซับซ้อนรอบทุกทิศทำให้เมืองแพร่ระยะแรกเป็นนครรัฐอิสระที่ยากจะมีเมืองใดในยุคนั้นมารุกราน
นครรัฐแพร่ ชุมชนโบราณเมืองแพร่ได้เริ่มพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นนครรัฐอิสระเช่นเดียวกับเมืองที่กล่าวข้างต้น ผู้มีบทบาทสำคัญในฐานนะผู้นำของเมืองคือ เจ้าผู้ครองนคร เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง และเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมือง ผู้นำของเมืองสืบเชื้อสายปกครองเมืองต่อกันมา ตำนานวัดหลวง ตำบลในเวียง ระบุนามเจ้าเมืองแพร่ในยุคที่เป็นนครรัฐ ได้แก่ พ่อขุนหลวงพล ท้าวพหุสิงห์ ขุนพนมสิงห์ ขุนวังสุพล พญาพรหมวงศ์หรือพญาพรหมวังโส และหญาพีระไชยวงศ์ ระยะช่วงนี้ประมาณ 348 ปี จนกระทั่งพวกขอมมีอำนาจในแถบนี้เมืองแพร่จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม ซึ่งภายหลังพวกขอมได้ถูกกองทัพของพ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมืองขับไล่ออกไป แล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อิทธิพลของขอมจึงหมดไปจากดินแดนแถบนี้[2]
การล่มสลาย แก้ไข
ราวพุทธศตวรรษที่ 21 นครรัฐแพร่ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นล้านนา ภายใต้การนำของพระเจ้าติโลกราช ผู้ทรงทำสงครามกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยานั้นต้องผ่านนครรัฐแพร่ จนกระทั่งพ.ศ. 2101 – 2310 อาณาจักรล้านนา รวมทั้งนครแพร่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าในฐานะประเทศราชบ้าง เป็นอิสระบ้าง ขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาบ้าง พ.ศ. 2311 – 2313 เป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2313 เป็นเมืองขึ้นของสยามประเทศ จนถึงรัชสมัยเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 22 ปีพ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ถอดจากยศตำแหน่ง ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน พระองค์จึงไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 แม้จนสุดท้ายแล้วพระพุทธเจ้าหลวงถึงจะทรงพิโรธการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไรพระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุขด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้ จึงถือเป็นการสิ้นสุดเจ้าผู้ครองนครแพร่
การปกครอง แก้ไข
การปกครองในสมัยนครแพร่ในรัชสมัยราชวงศ์เทพวงศ์ แม้นครแพร่และล้านนาจะเป็นประเทศราชของสยาม แต่สยามก็ไม่เคยเข้ามาปกครองล้านนาโดยตรง เมืองต่าง ๆ ของล้านนายังคงปกครองตนเองในลักษณะนครรัฐ รวมทั้งระยะทางที่ห่างไกลและยากลำบากจากกรุงเทพฯ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนาและสยามไม่ได้ใกล้ชิดนัก อีกทั้งในภาคเหนือ ยังมีเทือกเขา ทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ยอดเขาแต่ละแห่งสูงไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร ทำให้การเดินทางระหว่างเมืองต่าง ๆ ในล้านนา ไม่สะดวกนัก นครแพร่จึงมีอำนาจในการปกครองตนเอง เจ้านครประเทศราชออกกฎหมายภายในนครของตนเอง โดยมีลำดับขั้นในการบริหารในนครประเทศราชต่าง ๆ มีสามขั้น ได้แก่
- เจ้าห้าขัน หรือ เจ้าขันห้าใบ
- เค้าสนาม (สภาขุนนาง)
- นายบ้าน (หัวหน้าหมู่บ้าน)
เจ้าห้าขัน แก้ไข
การปกครองเจ้าห้าขัน หรือ เจ้าขันห้าใบ เป็นระบบการปกครองแบบคณาธิปไตย เป็นกลุ่มผู้ปกครองสูงสุด ประกอบด้วยเจ้าหลวงของนครประเทศราชนั้น ๆ เป็นประมุข และเจ้าอื่น ๆ อีก 4 ตำแหน่ง โดยเจ้าห้าขัน เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ที่มีอำนาจและอิทธิพลสูง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม การสืบตำแหน่งเจ้าห้าขันนั้น จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ในวงศ์ตระกูลของเจ้านาย จะต้องเป็นเชื้อสายเจ้านายสำคัญ มีอิทธิพล มั่งคั่ง มีข้าทาสบริวารจำนวนมาก เป็นที่เคารพนับถือของราษฎร และมีราชสำนักสยามเป็นผู้รับรองการแต่งตั้ง แต่ในนครแพร่เจ้าขันห้าใบจะมีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระยา และเจ้านายในตำแหน่งรองลงไปมีบรรดาศักดิ์เป็นพระ ต่อมามีการยกเจ้าผู้ครองนครแพร่ขึ้นเป็นเจ้า แต่ก็เป็นการยกขึ้นเฉพาะองค์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นเจ้าทั้งหมดแบบนครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน และนครน่าน
เจ้าขันห้า มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ได้แก่
- พระยานคร (เจ้าหลวง) ศักดินา 8,000 ไร่ ต่อมามีเลื่อนเฉพาะองค์ขึ้นเป็นเจ้านคร คือ เจ้าพิริยเทพวงษ์ ศักดินา 10,000 ไร่
- พระยาอุปราช (พระยาหอหน้า) ศักดินา 3,000 ไร่
- พระยาราชวงศ์ (พระยาราชวงศาธิราชลือไชย) ศักดินา 2,500 ไร่
- พระยาบุรีรัตน์ (พระยารัตนหัวเมืองแก้ว หรือ พระยาหอหลัง) ศักดินา 2,000 ไร่
- พระยาราชบุตร ศักดินา 2,000 ไร่
เจ้าระดับรองลงมามีบรรดาศักดิ์เป็นพระ ได้แก่
- พระสุริยะจางวาง ศักดินา 1,000 ไร่
- พระอุตรการโกศล ศักดินา 1,000 ไร่
- พระไชยสงคราม ศักดินา 1,000 ไร่
- พระเมืองราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระเมืองไชย ศักดินา 1,000 ไร่
- พระเมืองแก่น ศักดินา 1,000 ไร่
- พระอินทราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระจันทราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระภิไชยราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระวิไชยราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระไชยราชา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระวังขวา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระวังซ้าย ศักดินา 1,000 ไร่
- พระวังขวา ศักดินา 1,000 ไร่
- พระคำลือ ศักดินา 1,000 ไร่
- พระถาง ศักดินา 1,000 ไร่[3]
เค้าสนามหลวง แก้ไข
โครงสร้างทางการเมืองที่รองจากเจ้าห้าขัน คือ เค้าสนามหลวง หรือ ที่ประชุมเสนาอำมาตย์ เป็นหน่วยบริหารราชการ มักเป็นเจ้านายชั้นรองและขุนนางที่แต่งตั้งโดยเจ้าห้าขัน มีหน้าที่ตัดสินคดีความ จัดเก็บภาษี และต้อนรับแขกเมือง กลุ่มขุนนางที่เข้ารับราชการซึ่งมีตำแหน่งเป็น พญา ท้าว แสน ประกอบด้วยสมาชิก 12 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้
- กลุ่มเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลงานทั่วทั้งเมือง มี 4 ตำแหน่ง เรียกว่า พ่อเมืองทั้ง 4 ได้แก่
- พระยาแสนหลวง
- พระยาจ่าบ้าน
- พระยาสามล้าน
- พระยาเหล็กชาย (อาจเรียกว่า พญาเด็กชาย)
โดยผู้ที่ได้รับตำแหน่งพ่อเมืองมีชื่อแตกต่างกันตามนามที่เจ้าหลวงตั้งให้และอาจมีคำนำหน้าเป็นท้าว พญา หรือแสนอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ชื่อของพระยาแสนหลวงจะมีคำว่าหลวงอยู่ด้วยเสมอเช่น แสนหลวงธนันไชย, ท้าวหลวงเมืองแพร่ พระยาหลวงคำพิมเมือง สำหรับพ่อเมืองในตำแหน่งอื่น ๆ อีกสามตำแหน่งนั้นไม่มีคำว่าหลวงนำหน้าเช่น พระยาไชยประเสริฐ แสนรามไชย พระยาแขก พระยาขัตติยะ พระยาอินทประสงค์ เป็นต้น
- กลุ่มเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเฉพาะทั่วไป มี 8 ตำแหน่ง เรียกว่า เสนาทั้ง 8 ได้แก่
- แสนหนังสือ
- ท้าวหมื่นวัดใหญ่
- พระยาหัวเมืองแก้ว
ซึ่งสามารถค้นพบเพียง 3 ตำแหน่งเท่านั้นส่วนตำแหน่งอื่น ๆ พบแต่ชื่อไม่สามารถที่จะระบุตำแหน่งได้ ตัวอย่างของเสนาทั้ง 8 เช่น แสนอินทปัญญา แสนเทพสมศักดิ์ แสนจิตปัญญา แสนเสมอใจ ท้าวไชยยาวุธ ท้าวแสนพิง พระยาวังใน พระยาเมืองมูล พระยาสุพอาษา เป็นต้น [4]
หมู่บ้าน แก้ไข
โครงสร้างระดับล่าง คือ หมู่บ้าน ในเมืองต่าง ๆ ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวนหนึ่ง มากบ้าง น้อยบ้าง ตามขนาดของเมือง การปกครองระดับหมู่บ้านมีความสำคัญมาก เพราะหมู่บ้านเป็นหน่วยการผลิตที่แท้จริงที่เลี้ยงดูเมืองและชนชั้นปกครอง ในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้ปกครองเป็น ซึ่งผู้ปกครองหมู่บ้านมีตำแหน่งเป็น จ่า, หมื่น, แสน และ พญา[5] อาจขึ้นตรงต่อเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่งหรือเค้าสนาม นายบ้านทำหน้าที่ปกครองดูแลหมู่บ้านและเป็นตัวกลางระหว่างเจ้านายกับชาวบ้านในการเรียกเกณฑ์กำลังคน เมื่อมีคำสั่ง (อาดยา) จากเจ้านาย ซึ่งเป็นการเกณฑ์ไปเพื่อทำงาน หรือทำสงคราม ตลอดจนรวบรวมผลผลิตเพื่อส่งส่วยให้กับเจ้านาย ดูแลความสงบในพื้นที่ ตลอดจนตัดสินคดีความเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือระหว่างหมู่บ้าน ในพื้นที่ห่างไกล[6]
ศาสนา แก้ไข
ในนครแพร่ และนครประเทศราชล้านนา มีศาสนาหลักที่ประชาชนทั่วไปนับถือคือพุทธศาสนา นอกจากพุทธศาสนาแล้วประชาชนยังนับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อแต่โบราณของดินแดนแถบนี้ เป็นการแสดงความยำเกรงและเคารพ ต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
พุทธศาสนาในล้านนาถือว่ามีความแข็มแข็งมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเจ้านายล้านนา ที่โปรดการสร้างสมบุญบารมีด้วยการทำนุบำรุงศาสนาอย่างมาหมาย การทำนุบำรุงศาสนาไม่เพียงแต่แสดงถึงศรัทธาในศาสนาของเจ้านายและไพร่พลในบ้านเมือง ยังแสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งทางการเมืองและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของบ้านเมือง
หัวเมืองนครล้านนานั้น มีสังฆมณฑลเป็นของตนเองแยกจากพระนครกรุงเทพฯ มี พระสังฆราชา เป็นประมุข รองมาคือ สวามีสังฆราชา, มหาราชครู และ ราชครู
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แก้ไข
นครรัฐแพร่มีความสัมพันธ์กับกษัตริย์สุโขทัย โดยเฉพาะพระมหาธรรมราชาที่ 1[7] และเมืองนครลำปาง จากตำนานเมืองเหนือฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคนมาติดต่อเจ้านครพลให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง
รายพระนามเจ้าผู้ครองนครรัฐแพร่ แก้ไข
ลำดับ | พระนาม | |
---|---|---|
1 | ท้าวพหุสิงห์ (โอรสพญาพล) | พ.ศ. 1387 |
2 | ขุนพนมสิงห์ | พ.ศ. 1435 |
3 | ขุนวังสุพล | พ.ศ. 1525 |
4 | พญาผาวังอินทร์ | พ.ศ. 1613 |
5 | พญาพรหมวงศ์ หรือ พญาพรหมวังโส | พ.ศ. 1654 |
6 | พญาพีระไชยวงศ์ | พ.ศ. 1719 |
- | เมืองแพร่ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของขอม | พ.ศ. 1654 –1773 |
7 | พญาบอน | พ.ศ. 1825 |
8 | พญาแสงฟ้าคำวงศ์ | พ.ศ. 1878 |
9 | พญาศรีเมืองมูล | พ.ศ. 1918 |
10 | พญาเถร | พ.ศ. 1944 รวมกับพญาอุ่นเรือนยกทัพตีนครรัฐน่าน |
11 | พญาศรีมิ่งเมือง | พ.ศ. 1982 |
12 | นางพญาท้าวแม่คุณ | พ.ศ. 1986 |
13 | พญาศรีบุญเรือง คำข่าย หรือหมื่นสามล้าน | พ.ศ. 2023 |
14 | พญาสร้อยสุริยะ หรือเจ้าเมืองแพร่สร้อย | พ.ศ. 2051 |
15 | เจ้าเมืองแพร่จันทรา | พ.ศ. 2053 |
16 | เจ้าเมืองแพร่คำยอดฟ้า | พ.ศ. 2057 |
17 | พญาสามล้าน (เชียงใหม่) | พ.ศ. 2093 |
- | เป็นเมืองขึ้นของพม่าบ้าง เป็นอิสระบ้างขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาบ้าง | พ.ศ. 2101 – 2310 |
18 | พระยาศรีสุริยวงศ์ (พระเมืองไชย) (พญาเมืองชัย) เป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี | พ.ศ. 2311- พ.ศ. 2313 |
- | เป็นเมืองขึ้นกรุงรัตนโกสินทร์ | พ.ศ. 2313 – 2352 |
19 | พระยาแสนซ้าย | พ.ศ. 2330 - ก่อน พ.ศ. 2348 |
20 | พระยาเทพวงศ์ (ลิ้นทอง) | พ.ศ. 2348 - พ.ศ. 2359 |
21 | พระยาอินทวิไชย (อินต๊ะวิชัย) | พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2390 |
22 | พระยาพิมพิสารราชา หรือพิมสาร (เจ้าหลวงขาเค) | พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2429 |
23 | เจ้าพิริยเทพวงษ์ | พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2445 |
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ แอ่วแป้แห่ระเบิด. ประวัติเมืองแพร่.แอ่วเมืองแป้ (แห่ระเบิด): ประวัติเมืองแพร่
- ↑ เจ้าเมืองแพร่ตอน1.หมู่บ้าน วังฟอน .เจ้าเมืองแพร่ตอนที่ ๑ - หมู่บ้าน วัง ฟ่อน
- ↑ ภูเดช แสนสา .ศักดิ์หัวเมืองในล้านนายุคราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน(ทิพจักราธิวงศ์) ช่วงเป็นประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ - ๒๔๔๒
- ↑ อำเภอเมืองแพร่ .ระเบียบการปกครองภายในเมืองแพร่
- ↑ รัตนาพร เศรษฐกุล และคณะ. การสำรวจทางชาติพันธุ์ของชนเผ่าไทในลุ่มแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่. หน้า 50.
- ↑ U.K., Journal Kept by Captain Lowndes, Superintendent of Police. British Burmah. Whilst on Mission to the Zimme Court. F.O. 69/55. 27 March 1871.
- ↑ มูลนิธิเล็ก ประไพ วิริยะพันธุ์. นครแพร่ จากอดีตสู่ปัจจุบัน.ลิงค์[ลิงก์เสีย]