วงศ์ชะมดและอีเห็น

(เปลี่ยนทางจาก Viverridae)
วงศ์ชะมดและอีเห็น
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 34–0Ma สมัยอีโอซีน-ปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Viverridae
Gray, 1821
สกุล

ชะมดและอีเห็น เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง

การจำแนก

แก้

จัดในวงศ์ Viverridae แบ่งออกได้ทั้งหมด 35 ชนิด

 Viverridae 

 Paradoxurinae 



 Paradoxurus 



Paradoxurus zeylonensis (อีเห็นสีทอง)



Paradoxurus montanus (อีเห็นสีน้ำตาลศรีลังกา)



Paradoxurus stenocephalus (อีเห็นสีทองเขตแล้ง)



Paradoxurus aureus (อีเห็นสีทองเขตชื้น)




Paradoxurus jerdoni (ชะมดสีน้ำตาล)




Paradoxurus hermaphroditus (อีเห็นข้างลาย)



 Macrogalidia 

Macrogalidia musschenbroekii (อีเห็นซูลาเวซี)



 Paguma 

Paguma larvata (อีเห็นเครือ)



 Arctictis 

Arctictis binturong (หมีขอ)



 Arctogalidia 

Arctogalidia trivirgata (อีเห็นหน้าขาว)



 Hemigalinae 
 Cynogale 

Cynogale bennettii (อีเห็นน้ำมลายู)



 Chrotogale 

Chrotogale owstoni (อีเห็นลายเสือโคร่งอินโดจีน)



 Diplogale 

Diplogale hosei (อีเห็นฮอร์ส)


 Hemigalus 

Hemigalus derbyanus (อีเห็นลายเสือโคร่ง)






 Viverrinae 
 Viverrinae 

 Viverra 



Viverra civettina (ชะมดแผงจุดใหญ่)



Viverra megaspila (ชะมดแผงสันหางดำ)




Viverra zibetha (ชะมดแผงหางปล้อง)




Viverra tangalunga (ชะมดมลายู)  



 Civettictis 

Civettictis civetta (ชะมดแอฟริกัน)  



 Viverricula 

Viverricula indica (ชะมดเช็ด)



 Genettinae 
 Poiana 

Poiana leightoni (ชะมดแปลงไลห์ตัน)



Poiana richardsonii (ชะมดแปลงแอฟริกัน)



 Genetta 


Genetta abyssinica (เก็นเน็ตอะบิสซิเนียน)



Genetta thierryi (เก็นเน็ตฮัวซา)





Genetta victoriae (เก็นเน็ตป่ายักษ์)




Genetta johnstoni (เก็นเน็ตจอห์นสตัน)






Genetta piscivora (เก็นเน็ตน้ำ)



Genetta servalina (เก็นเน็ตแอฟริกากลาง)




Genetta cristata (Crested servaline genet)





Genetta felina (เก็นเน็ตจุดเล็กแอฟริกาใต้)



Genetta genetta (เก็นเน็ตธรรมดา)




Genetta tigrina (เก็นเน็ตเคป)




Genetta letabae



Genetta schoutedeni (Schouteden’s genet)



Genetta maculata (Rusty-spotted genet)





Genetta angolensis (เก็นเน็ตแองโกลา)



Genetta pardina (Pardine genet)





Genetta bourloni (Bourlon's genet)



Genetta poensis (เก็นเน็ตราชา)















ลักษณะ

แก้

โดยมากเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างเพรียว หน้าแหลมยาวเหมือนสุนัข ขนสีเทาหรือน้ำตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง มีชุดฟันที่แหลมคม เขียนเป็นสูตรได้ว่า   อุ้งตีนสามารถเก็บซ่อนเล็บได้เหมือนแมว ที่สำคัญเป็นสัตว์ที่มีต่อมผลิตกลิ่นแรงใกล้อวัยวะเพศเกือบทุกชนิด ซึ่งกลิ่นนี้เองใช้เป็นเครื่องประกาศอาณาเขต ใช้ป้องกันตนเองและสื่อสารระหว่างกัน

เป็นสัตว์ที่มักไม่ปรากฏรอยเท้า เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีลำตัวเบา และหลายชนิดก็หากินบนต้นไม้เป็นหลัก ยกเว้นพวกที่มีขนาดใหญ่และหากินใกล้แหล่งน้ำ จะปรากฏชัดเจน โดยรอยเท้าหน้าจะมีลักษณะกลมและกว้าง ขณะที่รอยเท้าหลังจะยาวและแคบ แต่เมื่อวัดโดยรอบแล้วรอยเท้าหลังจะมีขนาดใหญ่กว่ารอยเท้าหน้า[1]

แหล่งอาศัยและอาหาร

แก้

เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้หลากหลายชนิดทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก อาศัยอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท ทั้งป่าดิบ ป่าเสื่อมโทรมและแม้แต่พื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ ปีนต้นไม้ได้เก่ง และในบางชนิดสามารถว่ายน้ำและดำน้ำเพื่อหาสัตว์น้ำกินเป็นอาหารได้อีกด้วย เป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยอยู่กันเป็นฝูงหรือเป็นคู่ ปกติจะหากินเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือเลี้ยงลูกอ่อน อาจอยู่เป็นคู่

ถื่นอาศัย

แก้

เป็นสัตว์ที่กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรปใต้ สำหรับในประเทศไทยพบ 11 ชนิด ได้แก่[2]

โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบคือ หมีขอ และเล็กที่สุดคือ ชะมดเช็ด มีความสำคัญต่อมนุษย์คือ ใช้เนื้อกินเป็นอาหารสำหรับคนที่อยู่แถบชายป่า และใช้กลิ่นที่ชะมดผลิตออกมานี้ทำเป็นยาจำพวกสมุนไพรและเครื่องหอม โดยเฉพาะชะมดเช็ด ถึงกับมีการเลี้ยงกันเพื่อเอากลิ่นที่จังหวัดเพชรบูรณ์

ในประเทศอินโดนีเซียนิยมให้ชะมดที่อยู่ในสกุล Paradoxurus กินเมล็ดกาแฟที่ชาวไร่ปลูก เพื่อรอเมล็ดที่ปะปนมากับมูลของมันไปแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูปที่มีรสชาติหอมหวานกว่าเดิม เนื่องจากในท้องของชะมดนั้นเมล็ดกาแฟจะผสมกับเอ็นไซม์และสารเคมีที่อยู่ในกระบวนการย่อยของมัน ทำให้กาแฟมีกลิ่นและลักษณะเฉพาะ เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" และในประเทศเวียดนามก็นิยมทำเช่นนี้เช่นเดียวกัน[3] [4] [5]

ชื่อสามัญในภาษาอีสานเรียกว่า "เห็นอ้ม" ในภาษาใต้เรียกว่า "มูสัง" และในภาษามลายูและชวาเรียกว่า "ลินเส็ง"[6]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. หน้า 204, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. 256 หน้า โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) ISBN 974-87081-5-2
  2. ชะมดและอีเห็น[ลิงก์เสีย]
  3. "กาแฟขี้ชะมด สุดยอดแห่งรสชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-24. สืบค้นเมื่อ 2009-01-20.
  4. "ชะมดเช็ด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-10. สืบค้นเมื่อ 2009-01-20.
  5. [https://web.archive.org/web/20130505044134/http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9520000003482 เก็บถาวร 2013-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "กาแฟขี้เพียงพอน" สินค้าราคาแพงจากเวียดนาม จากผู้จัดการออนไลน์]
  6. หน้า 124 และ 136-139, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้