ชะมดแผงหางปล้อง

ชะมดแผงหางปล้อง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Viverridae
วงศ์ย่อย: Viverrinae
สกุล: Viverra
สปีชีส์: V.  zibetha
ชื่อทวินาม
Viverra zibetha
Linnaeus, 1758
ชนิดย่อย[2]
  • V. z. zibetha (Linnaeus, 1758)
  • V. z. ashtoni (Swinhoe, 1864)
  • V. z. picta (Wroughton, 1915)
  • V. z. pruinosus (Wroughton, 1917)
  • V. z. hainana (Wang and Xu, 1983)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Viverra tainguensis Sokolov, Rozhnov & Pham Chong, 1997

ชะมดแผงหางปล้อง (อังกฤษ: Large indian civet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Viverra zibetha; อีสาน: เหง็นแผงหางก่าน) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง

มีลำตัวสีเทาค่อนข้างดำ มีลายสีดำข้างลำตัว ข้างลำคอมีเส้นสีดำสามแถบพาดผ่านในแนวขวาง มีจุดเด่น คือ ส่วนหางมีลายสีดำสลับกับขาวเป็นปล้อง ๆ 5-6 ปล้อง มีขนสีดำสนิทพาดตั้งแต่กึ่งกลางหลังจนถึงโคนหาง เท้ามีสีดำ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย

จัดเป็นชะมดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีความยาวลำตัวและหัว 75-85 เซนติเมตร ความยาวหาง 38-46 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 8-10 กิโลกรัม

พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, อินโดจีน, ประเทศจีน, ฮ่องกง, มาเลเซีย และสิงคโปร์ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท แม้กระทั่งใกล้ชุมชนของมนุษย์

หากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้หลากหลาย โดยจับเหยื่อจะใช้ฟันกัดและสะบัดอย่างแรงจนเหยื่อตายมากกว่าจะใช้เล็บตะปบ ตอนกลางวันจะนอนหลับตามโพรงไม้หรือโพรงหินหรือในถ้ำ

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[3]

อ้างอิง แก้

  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. Wozencraft, W. Christopher (16 November 2005). "Order Carnivora (pp. 532-628)". In Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494. http://www.bucknell.edu/msw3/browse.asp?id=14000423 เก็บถาวร 2012-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. ชะมดแผงหางปล้อง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Viverra zibetha ที่วิกิสปีชีส์