ชะมดเช็ด
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Viverridae
วงศ์ย่อย: Viverrinae
สกุล: Viverricula
Hodgson, 1838[2]
สปีชีส์: V.  indica
ชื่อทวินาม
Viverricula indica
(Desmarest, 1804)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของชะมดเช็ด
(สีเขียว: สถานที่กระจายพันธุ์
สีชมพู: สถานที่มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีประชากรอยู่)

ชะมดเช็ด หรือ ชะมดเชียง หรือ มูสัง[3] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Viverricula indica) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง จัดเป็นชะมดขนาดเล็ก ขาสั้น หูทั้งสองข้างอยู่ใกล้กัน เมื่อมองไกล ๆ อาจคล้ายแมว จนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง และมีจุดสีดำขนาดเล็กแทรกอยู่ทั่วไปตามลำตัว มีแถบสีดำและขาวบริเวณลำคอ หางมีวงสีดำ 6-9 ปล้องพาดขวางอยู่ ทำให้มีดูมีลักษณะเป็นปล้องสีดำ ไม่มีขนแผงสันหลัง ปลายหางมีสีขาว ขาหลังมีต่อมกลิ่นที่ใช้สื่อสารระหว่างพวกเดียวกัน และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Viverricula[2]

ลักษณะ

แก้

มีขนาดความยาวลำตัวและหัว 54-63 เซนติเมตร ความยาวหาง 30-43 เซนติเมตร น้ำหนัก 2-4 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่

แก้

มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางตั้งแต่ตะวันออกของปากีสถาน, อินเดีย, จีนตอนใต้, ไต้หวัน, เนปาล, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบาหลี

ชะมดเช็ดมักอาศัยในป่าที่ไม่รกชัฏ หากินบริเวณชายป่าที่ติดต่อกับพื้นที่ที่มนุษย์อยู่อาศัยและทำการเกษตรกรรม กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งพืชและสัตว์ และอาจล่าสัตว์เลี้ยงจำพวก เป็ด, ไก่ กินเป็นอาหารได้ด้วย ออกมากินในเวลากลางคืน นอนหลับพักผ่อนในเวลากลางวัน โดยปกติแล้วจะอาศัยอยู่ตามลำพัง แต่ในฤดูผสมพันธุ์จะอาศัยอยู่เป็นคู่ แม่ชะมดเช็ดจะออกลูกครั้งละ 3-5 ตัว โดยขุดโพรงดินตื้น ๆ หรือหาโพรงตามโขดหินสำหรับเป็นที่ออกลูกและเลี้ยงดูลูกอ่อน เมื่อผ่านช่วงผสมพันธุ์ไปแล้ว แม่ชะมดเช็ดจะเลี้ยงลูกตามลำพัง

ในประเทศไทย

แก้

ชะมดเช็ดในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกพื้นที่และทุกภาค ในจังหวัดเพชรบุรี มีการเลี้ยงชะมดเช็ดโดยเก็บเอาสารเคมีจากต่อมกลิ่นที่ขาหลังทำเป็นเครื่องหอม โดยเลี้ยงในกรงไม้กรงละตัว ให้อาหารสลับประเภทกันไป [4] แต่ว่ายังไม่สามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ เนื่องจากยังเลี้ยงด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะ โดยผู้เลี้ยงจะต้องหาชะมดเช็ดด้วยการจับจากในป่าเท่านั้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2014 สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ริเริ่มโครงการศึกษาและเพาะเลี้ยงชะมดเช็ดขึ้น จนสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้สำเร็จ โดยเป็นโครงการที่มาจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงอนุรักษ์สายพันธุ์ชะมดเช็ดและพัฒนาให้เป็นสัตว์เลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจ[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Duckworth, J. W., Timmins, R. J. and Muddapa, D. (2008). "Viverricula indica". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Blanford, W. T. (1888–91). Genus Viverricula Hodgson. Pages 100–101 in: The fauna of British India, including Ceylon and Burma. Mammalia. Taylor and Francis, London.
  3. "มูสัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-30. สืบค้นเมื่อ 2013-04-16.
  4. การเลี้ยงชะมดเช็ด
  5. "ตระเวนข่าว: ข่าววันใหม่". ช่อง 3. 29 November 2014. สืบค้นเมื่อ 29 November 2014.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Viverricula indica ที่วิกิสปีชีส์