Nepenthes fusca
หม้อกลางของ N. fusca จาก Crocker Range
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  fusca
ชื่อทวินาม
Nepenthes fusca
Danser (1928)
ชื่อพ้อง
  • Nepenthes fusca subsp. apoensis
    J.H.Adam & Wilcock ex Jebb & Cheek (1997) nom.nud. [=N. fallax]
  • Nepenthes fusca subsp. kostermansiana
    J.H.Adam & Wilcock ex Jebb & Cheek (1997) nom.nud.
  • Nepenthes fusca
    auct. non Danser: Sh.Kurata (1976)
    [=N. stenophylla]
  • Nepenthes veitchii
    auct. non Hook.f.: End. (1927)

Nepenthes fusca ( มาจากภาษาละติน: fuscus = น้ำตาลเข้ม, มืด ซึ่งมาจากสีของหม้อ[1]) , หมือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Dusky Pitcher-Plant[2] เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของบอร์เนียว พบขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล 1200-2500 เมตร และในธรรมชาติมักพบบนต้นไม้ใหญ่คล้ายกับกาฝาก แต่เดิมพบในป่าที่ปกคลุมไปด้วยมอสส์ มันเป็นญาติใกล้ชิดกับ N. faizaliana และนักพฤกษศาสตร์บางคนพิจารณาเป็นชนิดเดียวกันกับ N. zakriana

ประวัติทางพฤกษศาสตร์ แก้

N. fusca ถูกเก็บได้ครั้งแรกโดย เฟรดเดอร์ริก เอ็นเดอร์ต (Frederik Endert) ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1925 จากภูเขาแคมมูล (Kemul) ในกาลีมันตันตะวันออก ที่ความสูง 1500 ม. มันถูกค้นพบระหว่างการสำรวจใจกลางบอร์เนียวโดยสถาบันวิจัยป่าไม้แห่งโบกอร์ (Bogor) (หรือที่รู้จักกันในชื่อบิตเทนซอร์ก (Buitenzorg)) [3] ซึ่งในการสำรวจครั้งนั้นเอ็นเดอร์ตเก็บ N. mollis มาได้ด้วยเหมือนกัน[4][a] ตัวอย่างของ N. fusca ถูกตั้งชื่อว่า Endert 3955 เป็นเพศผู้และเก็บรักษาที่หอพรรณไม้แห่งโบกอร์ ซึ่งเป็นหอพรรณไม้ของสวนพฤกษศาสตร์โบกอร์[5][6] เอ็นเดอร์ตเขียนเกี่ยวกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ในบัญชีรายละเอียดปี ค.ศ. 1927 ของคณะสำรวจไว้[3] ถึงแม้เขาจะระบุบผิดว่าเป็น N. veitchii[5][6]

N. fusca ถูกแจกจงรูปแบบ[b]ในปี ค.ศ. 1928 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ที่ชื่อ บี.เอช. แดนเซอร์ (B. H. Danser) ในเอกสารสัมนา "The Nepenthaceae of the Netherlands Indies (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์) "[5] แดนเซอร์เขียนเกี่ยวกับ N. fusca ไว้ว่า:[5]

นี้เป็นชนิดใหม่ ร่วมกับ N. Veitchii และ N. stenophylla เป็นญาติใกล้ชิดกับ N. maxima แต่สามารถแบ่งแยกกันได้ชัดเจน ตามที่เอ็นเดอร์ตบันทึกไว้มันเติบโตในป่าบนสันเขาหินแคบๆที่ปกคลุมด้วยฮิวมัส หาได้ไม่ยาก

นักพฤกษศาสตร์ชื่อเจน สเชลาเลอร์ (Jan Schlauer) ได้บันทึกความแตกต่างระหว่างตัวอย่างต้นแบบของ N. fusca และต้นไม้จากซาบะฮ์ที่อ้างเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้[7] ดังต้นไม้ที่แสดงในรูปประกอบในหนังสือ Nepenthes of Mount Kinabalu (หม้อข้าวหม้อแกงลิงจากภูเขากีนาบาลู) ของคุระตะนั้นคือ N. stenophylla (ต่างจาก N. fallax อย่างชัดเจน) [6][c] ส่วนแมตทิว จิบบ์ (Matthew Jebb) ไม่พิจาณาลักษณะที่แตกต่างเพียงพอที่แยกข้อผิดถูกที่เด่นชัดที่ระดับชนิด เขาแนะว่าตัวอย่างต้นแบบประกอบด้วยหม้อกลางและหม้อบนซึ่งตรงข้ามกับรูปแบบที่แท้จริงทั้งสอง ทำให้มันผิดแบบไป[7]

การจัดลำดับชั้นทางอนุกรมวิธานรูปแบบลำต้นที่ไม่แน่นอนนี้โดยมากมาจากข้อเท็จจริงว่า N. fusca นั้นไม่รู้ที่ตั้งแบบฉบับและต้นไม้ที่คล้ายกันนั้นถูกเหมาเอาว่าอยู่ในชนิดนี้[4] แมตทิว จิบบ์และมาร์ติน ชีก (Martin Cheek) พยายามแก้ปัญหาความสับสนนี้ในเอกสารของพวกเขาในปี ค.ศ. 1997 โดยให้ N. fusca นั้นแพร่พันธุ์ไปทั่วและเป็นชนิดที่มีความหลากหลายสูง[8]

ชนิดย่อย แก้

ชนิดย่อยสองชนิดของ N. fusca ที่ถูกพรรณาไว้: N. fusca ชนิดย่อย apoensis และ N. fusca ชนิดย่อย kostermansiana ทั้งสองถูกตั้งชื่อโดยเจ.เอช. อดัม (J. H. Adam) และ ซี.ซี. วิลคัก (C. C. Wilcock) และภายหลังตีพิมพ์ลงในเอกสารของจิบบ์และชีกปี ค.ศ. 1997[8] ชื่อทั้งสองถูกเผยแพร่ออกไปโดยปราศจากการแจกแจงที่ดีพอ ทำให้มันถูกพิจารณาเป็นชื่อตั้งไร้คำบรรยาย[6] ชนิดย่อย apoensis ถูกอธิบายรูปแบบบนพื้นฐาน Chai 35939 ตัวอย่างถูกเก็บจากภูเขาอโพ (Apo) [6] สเชลาเลอร์พิจารณาว่าเป็นชื่อพ้องกับ N. fallax[6] N. fusca ชนิดย่อย kostermansiana ถูกคิดว่าเป็นตัวกำหนดชนิดที่ถูกต้อง ตัวอย่างของชนิดย่อยนี้ (Kostermans 21495) ถูกเก็บได้ในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1963 จากแม่น้ำคีลไล (Kelai) , ภูเขาอินจาพา (Njapa) , บเรา (Berau) [6] มันเก็บอยู่ที่หอพรรณไม้แห่งชาติประเทศเนเธอร์แลนด์ในไลเดน (Leiden) [6]

Nepenthes maxima แก้

N. maxima หม้อข้าวหม้อแกงลิงพื้นเมืองของซูลาเวซี, นิวกินี, และหมู่เกาะโมลุกกะ เป็นหนึ่งในชนิดที่คิดว่ามีการกระจายตัวทั่วบอร์เนียว ผู้แต่งบางคนเขียนไว้ว่ามันแพร่ไปทั่วบนเกาะ[1] ความสับสนนี้เกิดมาจากความคล้ายคลึงกันของ N. fusca และ N. maxima และจากการติดป้ายผิดของเมล็ดที่เก็บโดยชาร์ลส์ เคอร์ทีส (Charles Curtis) เนื่องจากเคอร์ทีสไม่ละเอียดละออในการบันทึกสถานที่ตั้งของต้นไม้ ถึงแม้แต่เดิมเชื่อว่าเขาเก็บ N. curtisii (ปัจจุบันถูกพิจารณเป็นชื่อพ้องของ N. maxima) มา[9] ในบอร์เนียวนักพฤกษศาสตร์ที่ชื่อชาร์ลส์ คลาร์ก (Charles Clarke) ชี้ว่าเมื่อเขาไปซูลาเวซีในการเดินทางเดียวกัน และพบ N. maxima ที่นั่น[7]

 
หม้อบนของ N. maxima จากซูลาเวซี

แมตทิว จิบบ์และมาร์ติน ชีกแก้ไขความสับสนนี้ในบทความของพวกเขาในปี ค.ศ. 1997 โดยอ้างถึงหมายเลขของต้นไม้จากบอร์เนียวที่ระบุบว่าเป็น N. maxima ที่จริงนั้นเป็น N. fusca ด้วยวิธีนั้นสามารถแยกรูปแบบก่อนหน้านี้จากเกาะได้[8]

Nepenthes zakriana แก้

ปี ค.ศ. 1996, เจ.เอช. อดัม (J. H. Adam) และ ซี.ซี. วิลคัก (C. C. Wilcock) ได้พรรณาถึง Nepenthes curtisii ชนิดย่อย zakriana[10][d] สิบปีต่อมาอดัมและฮาฟิซา เอ. เฮมิด (Hafiza A. Hamid) ได้ยกมันขึ้นเป็นชนิดในชื่อ Nepenthes zakriana [11] เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของรัฐซาบะฮ์, เกาะบอร์เนียว ขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล 1200 - 1500 เมตร[11]

อดัมและฮาฟิซาเขียนไว้ว่า N. zakriana " แตกต่างจาก Nepenthes fusca โดย เส้นกลางใบนูนเด่นชัด, มีติ่งแหลมยาวบนผิวใต้ฝาหม้อของหม้อล่างและหม้อบน; และตรงกลางส่วนฐานของเส้นกลางใบมีต่อมรูปเล็บ (nail-shaped) ยื่นเป็นหงอน"[11] อย่างไรก็ตาม, บางคนมีข้อสงสัยต่อ N. zakriana ที่จะยกขึ้นเป็นชนิด[12] และใน Pitcher Plants of Borneo (พืชกินแมลงแห่งบอร์เนียว) แต่งโดย แอนเทีย ฟิลลิปซ์ (Anthea Phillipps) , แอนโทนี แลมบ์ (Anthony Lamb) , และชีอัน ลีล์ (Ch'ien Lee) N. zakriana ถูกพิจารณาให้เป็นเพียงความหลากหลายของ N. fusca ในธรรมชาติ[4]

Nepenthes sp. A แก้

ในเอกสารของชาร์ลส์ คลาร์กในปี ค.ศ. 1997 ที่ชื่อ Nepenthes of Borneo (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งบอร์เนียว) บัญชีรายชื่อที่ไม่ระบุบอนุกรมวิธาน "Nepenthes sp. A" ที่ถูกบันทึกจากอุทยานแห่งชาติกูนุงมูลูในรัฐซาราวัก[7] มีลักษณะคล้ายกับ N. fusca และอาจจะเป็นชนิดเดียวกัน[7] ถึงแม้ว่าสีของมันจะไม่เหมือนทั่วๆไปของชนิดนี้[13] หม้อของพืชชนิดนี้คล้ายกับที่เจ.เอช. อดัมและซี.ซี. วิลคักพรรณาลักษณะ[14] ของ N. faizaliana[7] แต่ N. faizaliana มีฝาหม้อกลม (ตรงข้ามกับฝาสามเหลี่ยมแคบของ N. fusca และ "Nepenthes sp. A") แสดงว่าทั้งสองชนิดไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน[7] คลาร์กเสนอว่าชนิดนี้อาจเป็น N. fusca ภายใต้ลักษณะโดยรวมของ N. fusca โดยจิบบ์ และชีก แต่ยังคงจัดอยู่ในชนิดที่ไม่ระบุบเพราะเรายังรู้เกี่ยวกับมันยังไม่ดีนัก[7]

ภาพประกอบแรกของ "Nepenthes sp. A" อยู่ในบทความปี ค.ศ. 1988 โดยแอนเทีย ฟิลลิปซ์และแอนโทนี แลมบ์ในส่วนไม่ระบุบชนิด[15]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

N. fusca เป็นไม้เลื้อยไต่ ลำต้นอาจยาวได้ถึง 10 ม.[4] และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มม. ปล้องเป็นวงกลมเมื่อตัดขวางยาว 7 ซม.[7]

ใบมีก้านใบและมีผิวใบคล้ายหนัง แผ่นใบเป็นรูปไข่กลับถึงรูปรียาว 15 ซม.กว้าง 6 ซม. ปลายแหลมถึงมลและอาจเป็นแบบก้นปิดนิดหน่อย ฐานของแผ่นใบค่อยๆสอบเรียวไปยังก้านใบ ก้านใบ (ยาว ≤4 ซม.) [1]เป็นร่องยาวและมีปีกแคบๆหุ้มรอบลำต้น มีเส้นใบมากกว่า 3 เส้นใบตามยาวที่ปรากฏอยู่ทั้งสองข้างของเส้นกลางใบ[1] ถึงแม้ว่าจะเห็นไม่ชัดเจน มีเส้นใบแบบขนนกจำนวนมาก สายดิ่งยาวประมาณ 5 ซม.[7]

หม้อล่างรูปทรงกระบอกตลอดทั้งหม้อ ปกติสูง 20 ซม.กว้าง 4 ซม.ถึงแม้จะมีตัวอย่างที่สูง 28 ซม.ที่ได้รับการบันทึกไว้[4] ปีกครุยคู่ (กว้าง ≤5 มม.) ยาวตลอดผิวหน้าและชิ้นครุยยาว 10 มม.แต่ละชิ้นห่างกัน 6 มม.[1] มีต่อมอยู่บนผิวด้านในบริเวณส่วนล่างของหม้อ มีขนาดเล็ก มีความหนาแน่น 600 ถึง 650 ต่อตารางเซนติเมตร[5] ปากหม้อวางตัวตามขวางด้านหน้าและยาวขึ้นไปสู่คอที่ด้านหลังที่เพอริสโตมแผ่ราบ (กว้าง ≤12 มม.) มีฟันไม่ชัดเจน (ยาว ≤0.3 มม.) [1] ฝาหม้อรูปไข่แคบและมีสันบนผิวล่าง เดือยเดี่ยวยาว 10 มม.อยู่ใกล้ฐานของฝาปิด[7]

หม้อล่างของ N. fusca จากเทือกเขาคร็อกเกอร์ (CR) และบริเวณรอบยอดเขากีนาบาลู(MK) จากซ้ายไปขวา: CR, MK, MK, CR, และ CR

หม้อบนเป็นรูปกรวยแคบทางก้นที่ติดกับสายดิ่งถึงสองในสามของหม้อและกลายเป็นกรวยกว้างในส่วนที่เหลือ มันมีขนาดพอๆกับหม้อล่างทั่วไปวัดได้ 18 ซม. ขนาดใหญ่สุดที่พบ 26 ซม.[4] มีต่อมย่อยอาหารเล็กๆประมาณ 1500 ถึง 2000 ต่อมต่อตารางเซนติเมตร[5] ฝาหม้อเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบปลายโค้งลง[4] ปีกหม้อจะลดรูปเหลือแค่สัน[7]

หม้อบนของ N. fusca จากเทือกเขาคร็อกเกอร์ (CR) และบริเวณรอบยอดเขากีนาบาลู(MK) จากซ้ายไปขวา: MK, MK, CR, MK, และ CR

N. fusca มีช่อดอกขนาดกะทัดรัดแบบช่อกระจะ ก้านช่อดอกยาว 6 ซม.ในขณะที่แกนกลางยาวไม่เกิน 10 ซม. หนึ่งก้านช่อดอกมีดอก 1-2 ดอก ยาว 8 มม. ไม่มีใบประดับ กลีบเลี้ยงเป็นรูปรียาว 4 มม.[7]

มีสิ่งปกคลุมยาวในส่วนที่กำลังเจริญ ขนสีน้ำตาล อย่างไรก็ตามมันจะหายไปในระหว่างการเติบโต ส่วนที่เจริญเต็มที่แล้วมีเพียงขนสีน้ำตาลสั้นๆหร็อมแหร็มปกคลุม[7]

นิเวศวิทยา แก้

 
N. fusca, N. reinwardtiana, และ N. fallax ขึ้นในพื้นที่เปิดโล่งตามถนนที่ใช้ในการตัดไม้ ภูเขา Murud ในรัฐซาราวัก

N. fusca เป็นพืชถิ่นเดียวของบอร์เนียวที่ๆมันมีการกระจายตัวเป็นวงกว้างจากกาลีมันตันกลางถึงตะวันตกเฉียงเหนือของซาบะฮ์[7] มันถูกพบในบรูไน, อินโดนีเซีย(กาลีมันตัน) , และ มาเลเซีย (ซาบะฮ์และรัฐซาราวัก) [16] หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้พบที่ระดับความสูง 1200 ถึง 2500 ม.จากระดับน้ำทะเล[7] อย่างไรก็ตาม บางครั้งมีรายงานว่าพบ N. fusca ที่ระดับความสูง 600 ม.[17] และในซาราวักถูกพบใกล้กับระดับความสูง 300 ม.ในป่าดิบเขา[4]

ส่วนมาก N. fusca เป็นพืชอิงอาศัยคล้ายกาฝากพบในที่ร่มในป่ามอสส์บนความสูงจากพื้น 10 ถึง 15 ม.[4] ด้วยเหตุนี้ทำให้พบมันได้ยากมาก เราจะพบก็แค่เพียงหม้อแห้งๆของมันที่ตกลงมาพบพื้นป่าเท่านั้น[18][17] ในประเด็นนี้ มันสามารถพิจารณาเป็น "ความเท่าเทียมกันทางนิเวศวิทยา" ของ N. bongso จากสุมาตราได้[19] และเป็นการยากมากที่ N. fusca จะขึ้นบนพื้นในที่เปิดโล่งใกล้กับป่าดิบเขา[7] หรือตามถนนตัดไม้[4] บ่อยครั้งมักพบอยู่บริเวณเดียวกันกับ N. fallax, N. reinwardtiana, และ N. tentaculata[20]

 
N. fusca จากภูเขาอาแลบ (Alab)

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ถูกพบได้ในหลายๆภูเขาทั่วบอร์เนียว สามารถพบในหลายๆแห่งบนภูเขากีนาบาลู[21][22], รวมถึงแคมบาร์รังก์กอฮ์ (Kambarangoh) , ที่ราบสูงมาเร เพเร (Marai Parai) , แนวเขาฝั่งตะวันออก, และแม่น้ำแบมแบนกอน (Bambangan) ราว 1500 ม.[1] เราสามารถพบมันเติบโตอยู่ข้างถนนไปสู่สำนักงานอุทยานและสถานีไฟฟ้าที่มีถนนตัดผ่านอุทยานเพื่อการซ่อมบำรุง[18] เหล่านี้เป็นที่หนึ่งที่ N. fusca สามารถพบเห็นได้ง่าย[18] ในปี ค.ศ. 1997 ถึง 1998 ปรากฏการณ์เอลนีโญมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ N. fusca ที่ขึ้นริมถนนเหล่านี้ เป็นผลมาจากอากาศร้อนที่รุนแรง ประชากรส่วนใหญ่จึงตายไปจนถึง "ต้นไม้ทั้งหมดถูกทำลายไป"[13] มีแต่ต้นไม้ที่อยู่บริเวณมีร่มเงาที่รอดมาและกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มขึ้นในปีถัดๆมา[13]

มีการพบ N. fusca ในบริเวณภูเขาแทมบูยูกอน (Tambuyukon) [1] เหมือนกัน บนภูเขาทรุสมาดี (Trus Madi) พบที่ความสูง 1800 ม.เติบโตคล้ายกาฝากบนต้น Eleocarpus [23] รูปแบบสีเหลืองพบในภูเขาลุมมาร์กู (Lumarku) ในซาบะฮ์[4] บนภูเขามูลู (Mulu) ในซาราวัก N. fusca พบที่ระดับความสูง 1200 ม. การกระจายพันธุ์ของมันไม่ซ้อนทับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นอีกสองชนิดที่ขึ้นคล้ายกาฝากเช่นกัน คือ: N. vogelii ที่ขึ้นในระดับความสูง 1200 ถึง 1500 ม., และ N. hurrelliana ที่พบในระดับที่สูงกว่า 1500 ม.[4] ที่อื่นๆที่พบเห็นได้ก็มี ภูเขาอาแลบ (Alab) (จุดสูงสุดของเทือกเขาคร็อกเกอร์) และถนนคีมมานิส์ (Kimanis) –คีนนินเกา (Keningau) ที่ตัดผ่านเทือกเขาคร็อกเกอร์[4]

N. fusca ถูกจัดเป็นระดับเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของ IUCN ปี ค.ศ. 2006 บนพื้นฐานการประเมินในปี ค.ศ. 2000[16] ข้อตกลงนี้ถูกประเมินอย่างไม่เป็นทางการโดยชาร์ลส์ คลาร์ก ผู้จัดระดับเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของชนิดบนพื้นฐานของเกณฑ์ IUCN ในปี ค.ศ. 1997 อย่างไรก็ตามคลาร์กบันทึกว่าเมื่อประชากรส่วนใหญ่ของ N. fusca วางตัวอยู่ในเส้นแบ่งเขตของอุทยานแห่งชาติ "มันไม่น่าจะถูกคุกคามในอนาคตตามที่คาดการณ์ไว้"[7] ซึ่งนำไปสู่การพิจารณาซึ่งเขาแนะให้พิจารณาแก้ไขการประเมินจากชนิดพันธุ์ที่มีแผนงานอนุรักษ์รองรับ (Conservation Dependent) เสียใหม่[7] อย่างไรก็ตามมันกลับแตกต่างจากการประเมินโดยศูนย์ติดตามผลการอนุรักษ์ (World Conservation Monitoring Centre) ที่จัดให้ N. fusca เป็น "ไม่ถูกคุกคาม" ซึ่งอยู่ระดับต่ำที่สุด[24]

ญาติใกล้ชิด แก้

หม้อบนของ N. hurrelliana (ซ้าย) และ N. vogelii (ขวา)

มีการคาดกันว่า N. fusca มีญาติใกล้ชิดคือ N. fallax, N. hurrelliana, N. platychila, N. stenophylla, และ N. vogelii[4] ส่วน N. mollis ที่ยังเป็นปริศนานั้น ซึ่งผู้แต่งบางคนจัดให้เป็นชนิดเดียวกันกับ N. hurrelliana[25] ก็อาจจะเป็นญาติใกล้ชิดด้วยเหมือนกัน

หม้อล่างของ N. hurrelliana อาจจะแตกต่างแต่หม้อบนของมันกับคล้ายกับ N. fusca หม้อข้าวหม้อแกงลิงของบอร์เนียวมีเพียงสองชนิดเท่านั้นที่มีฝาหม้อเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ หม้อบนของ N. hurrelliana แตกต่างตรงมีปากที่ราบและยกขึ้นสูงที่ด้านหลังและมีขนหยาบแข็งใต้ฝา[4]

N. hurrelliana คล้ายกับรูปแบบของ N. fusca จากทางใต้ของเทือกเขาคร็อกเกอร์ในรัฐซาบะฮ์เป็นพิเศษ โดยมันมีเพอริสโตมกว้าง, ส่วนคอดยาวกว่า, และฝาเป็นรูปสามเหลี่ยมมากกว่าตัวอย่างอื่นๆในชนิด[4] อย่างไรก็ตาม, เพอริสโตมก็ไม่กว้างเท่าใน N. hurrelliana และมันก็ไม่มีสิ่งปกคลุมเหมือนกับ N. hurrelliana ยิ่งกว่านั้น N. hurrelliana ยังแตกต่างในการกระจายตัวของต่อมน้ำต้อยบนผิวล่างของฝา[4]

N. vogelii ที่ถูกเก็บได้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 ถูกติดป้ายเป็น N. fusca[4] ในปี ค.ศ. 1969 นักพฤกษศาสตร์ที่ชื่อไซเกะโอะ คุระตะได้ตรวจสอบตัวอย่างนี้และหมายเหตุว่ามันไม่จัดเป็นความผันผวนของ N. fusca[4] แต่กระนั้นตัวอย่างนี้ยังคงไม่ถูกระบุบจนกระทั่งปี ค.ศ. 2002[26] N. vogelii แตกต่างตรงมีหม้อที่เล็กกว่ามากและไม่มีรยางค์ใต้ฝา[26] แถมฝาของ N. vogelii เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้างซึ่งตรงข้ามกับฝาสามเหลี่ยมแคบของ N. fusca[4][17] สีของหม้อเป็นสีครีมสว่างมีจุดสีเข้มที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว[17]

N. faizaliana ก็คล้ายกับ N. fusca มาก ในการพรรณารูปแบบของมัน เจ.เอช. อดัมและซี.ซี. วิลคักแบ่งแยกบนพื้นฐานของโครงสร้างช่อดอก, ขนาดของพื้นที่ต่อมในพื้นผิวภายในของหม้อบน และการเจริญและลักษณะของสิ่งปกคลุม[14][7] แถม N. fusca มีฝาที่แคบมากซึ่งตรงข้ามกับฝารูปกลมของ N. faizaliana[7]

N. platychila สามารถแบ่งแยกจาก N. fusca บนพื้นฐานของเพอริสโตมที่กว้างกว่าและฝาหม้อ โดย N. fusca ไม่มีรยางค์ที่ผิวด้านใต้[4] N. fusca ถูกคิดว่าเป็นญาติใกล้ชิดกับ N. eymae จากซูลาเวซี, และ N. maxima ที่แพร่ไปทั่วในซูลาเวซี, นิวกินี, และหมู่เกาะโมลุกกะ[27]

ลูกผสมทางธรรมชาติ แก้

เพราะมันมีการกระจายตัวกว้างตลอดทั้งบอร์เนียว N. fusca จึงมีลูกผสมกับชนิดอื่นเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามลูกผสมที่เหมือน N. fusca เองยากที่จะพบเห็นเพราะมันเจริญเติบโตแบบกาฝาก[4]

 
หม้อล่างของ N. burbidgeae × N. fusca จาก Mesilau

N. burbidgeae × N. fusca แก้

N. burbidgeae × N. fusca เป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1980 ขณะทำการสำรวจรัฐซาบะฮ์[20]

N. fallax × N. fusca แก้

 
หม้อล่างของ N. fallax × N. fusca

ลูกผสมนี้ถูกพบที่ส่วนลาดด้านตะวันออกของภูเขา Trus Madi ในป่าดิบเขาส่วนล่างที่พบ N. fallax และ N. fusca อยู่ในบริเวณเดียวกัน มันเหมือนกับ N. fallax มากแต่ต่างกันตรงฝาปิดที่เป็นรูปไข่[4] ลูกผสมนี้อาจถูกลงบัญชีเป็น N. fusca × N. stenophylla ถ้า N. fallax และ N. stenophylla ถูกพิจารณาเป็นชนิดเดียวกัน[4]

N. fusca × N. lowii แก้

ลูกผสมนี้ดังเดิมถูกระบุบว่าถูกผสมกับ N. chaniana (หรือที่รู้จักกันในชื่อ N. pilosa ในเวลานั้น) [28] โดยชาร์ลส์ คลาร์ก[7] อย่างไรก็ตามแอนเทีย ฟิลลิปซ์, แอนโทนี แลมบ์, และชีอัน ลีล์ กลับแสดงความเห็นที่ผิดกัน ไม่มีสิ่งที่แสดงว่าสืบทอดมาจาก N. fusca อย่างเช่น ฝารูปสามเหลี่ยมและคอยืด[4] เขาเขียนว่าเกิดจาก N. fusca และ N. lowii อยู่ร่วมกันในบริเวณเดียวกัน ที่ซึ่ง N. chaniana หาได้ยาก[4] ชนิดอื่นที่อาจเป็นพ่อแม่ของมันคือ N. stenophylla ก็ไม่พบในบริเวณนั้น[4]

N. fusca × N. lowii ถูกค้นพบโดยร็อบ แคนต์ลีย์ (Rob Cantley) และชาร์ลส์ คลาร์กบนบูกิต บาทู ลาวี (Bukit Batu Lawi) ในรัฐซาราวัก[7] คลาร์กพบลูกผสมนี้ที่มีขนาดใหญ่ในเทือกเขาคร็อกเกอร์ของรัฐซาบะฮ์ในภายหลัง โดยเฉพาะใกล้ยอดเขาอาแลบ[7] หม้อของ N. fusca × N. lowii มีเอวคอดมีสีเขียวถึงม่วงเข้มตลอดทั้งหม้อ[7]

ลูกผสมต่างจาก N. fusca ตรงขนแข็งใต้ฝา ตรงกันข้ามมันมีสิ่งปกคลุมหนาแน่นบนลำต้นและที่ขอบของแผ่นใบ ซึ่งเปรียบเทียบกับต้นและใบของ N. lowii ที่เกลี้ยง มันต่างจาก N. lowii ตรงเพอริสโตมที่เป็นวงกลมเมื่อตัดขวาง ขณะที่หม้อล่างของ N. lowii มีฟันนูนขึ้นมาชัดเจน แต่ของ N. fusca × N. lowii มีไม่ชัดนัก, ต่อมรยางค์ใต้ฝา,[7] ซึ่งสืบทอดลักษณะมาจาก N. fusca

N. fusca × N. lowii มีลักษณะบางส่วนคล้ายกับ N. chaniana × N. veitchii โดยสามารถแยกจากกันได้จากเพอริสโตมโดยตัวหลังมีลักษณะกว้าง, ผาย และมีรูปทรงกระบอกนิดหน่อย ลูกผสมชนิดนี้มีฝารูปไข่เล็กน้อย ไม่มีขนแข็งแบบที่มีใน N. lowii และสิ่งปกคลุมหนาแน่นบริเวณต้นและใบ[7]

N. fusca × N. reinwardtiana แก้

 
ลูกผสมที่คาดว่าเป็นลูกผสมระหว่าง N. fusca และ N. reinwardtiana

มีการคาดกันว่า N. naquiyuddinii เป็นลูกผสมระหว่าง N. fusca และ N. reinwardtiana ซึ่งขึ้นในบริเวณใกล้ๆกับมัน[4] แต่โดยทั่วไปแล้ว มันถูกคิดว่าเป็นชื่อพ้องเฮเทอโรไทปิกของ N. reinwardtiana[12]

N. fusca × N. tentaculata แก้

N. fusca × N. tentaculata ถูกค้นพบโดยลินูส กอกูส์ซิงก์ (Linus Gokusing) ใกล้ยอดเขาในภูเขาอาแลบ ในป่าดิบเขาที่ความสูง 1800 ถึง 2000 ม.[4] พบขึ้นกระจายตัวบริเวณเดียวกับพ่อแม่ของมันที่มีอยู่มากมายในบริเวณนั้น[4]

ลูกผสมชนิดอื่น แก้

มีลูกผสมของ Nepenthes fusca กับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นที่ถูกบันทึกไว้ดังนี้: N. platychila,[29] N. rajah,[7] และ N. veitchii[7]

หม้อของ N. hurrelliana มีลักษณะอยู่กึ่งกลางระหว่าง N. fusca และ N. veitchii เรื่องนี้นำไปสู่การคาดเดาเรื่องเชื้อสายของหม้อข้าวข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ ซึ่งมีหลายคนคาดเดาว่ามันอาจมีต้นกำเนิดจากลูกผสม[17] อย่างไรก็ตาม N. hurrelliana นั้นถูกแยกออกจากลูกผสมทางธรรมชาติของ N. fusca × N. veitchii และผู้เขียนส่วนมากยกให้มันเป็นชนิดอย่างสมบูรณ์[30][17][4]

การปลูกเลี้ยง แก้

มีข้อมูลความต้องการอันน้อยนิดที่เผยแพร่ออกมาของ N. fusca ปี ค.ศ. 2004 ผู้ชำนาญการเพาะเลี้ยง โรเบอร์ต แซกคิลอตโต (Robert Sacilotto) เขียนบทความสำหรับ Carnivorous Plant Newsletter (จดหมายข่าวพืชกินแมลง) ที่รวบรวมความต้องการโดยประมาณของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่สูงหลายชนิดจากประสบการณ์ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1996 ถึง 2001[31]

 
ในป่า,โดยทั่วไปพบ N. fusca ในที่ร่ม (ภาพหม้อบนที่ขึ้นริมถนนไปภูเขามูรุด) และเหตุนี้ได้สื่อให้เห็นในต้นไม้ที่ปลูกเลี้ยงที่ดีที่สุด โตในที่แสงน้อยมากกว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่น[31]

แซกคิลอตโตพบว่า N. fusca มีความอดทนในสภาวะที่กว้าง ยกเว้นต้นไม้ที่ไม่ได้รับสารฆ่ารา ไม่มีกลุ่มทดสอบไหนมีอัตราการรอดชีวิตน้อยกว่า 75% N. fusca ทนต่ออุณหภูมิในช่วง 10 ถึง 38°C (50 ถึง 100°F) เวลากลางคืนให้ลดอุณหภูมิต่ำกว่า 21°C (70°F) ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเติบโต ต้นไม้ในที่ร่มจะโตช้าและให้หม้อน้อย การทดลองแสดงให้เห็นว่า N. fusca เติบโตได้ดีเมื่อความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในช่วง 65 ถึง 90%[31]

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ดูเหมือนจะเติบโตได้ดีในเครื่องปลูกที่มีส่วนผสมดังนี้:ก้อนพีทมอสส์ 10%, เพอร์ไลต์ 30%, และอีก 60% ประกอบไปด้วย สแฟกนัม มอสส์ และเปลือกสน เครื่องปลูกควรเป็นกรดเล็กน้อย pH อยู่ระหว่าง 4.5 ถึง 5.0 คุณสมบัติในการนำกระแสไฟฟ้าระหว่าง 10 และ 45 ไมโครซีเมนส์[31]

ความส่องสว่าง 6400–8600 lx (600–800 fc) ดีที่สุดเมื่อต้นไม้โตภายใต้แสงแดด, โคมไอโซเดียม (Sodium vapor) , และโคมเมตทอล ฮาไลด์ (metal halide) อย่างไรก็ตามพื้นที่ตัวอย่างอยู่ภายใต้การผสมของหลอดโกร-ลักซ์ (Gro-Lux) และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ 5400–7500 lx (500–700 fc) (แม้ว่าการเติบโตจะอยู่ในระดับเดียวกัน) ต้นไม้จะเปลี่ยนรูปแบบเมื่อนำมาใช้แสดงตามที่จัดเหมือนถูกย้อมสี จากใบสีเขียวจะกลายเป็นแดง กระบนหม้อจะเข้มขึ้น[31]

N. fusca ตอบสนองได้ดีในการให้ปุ๋ยเพียงหนึ่งในสี่จากปกติโดยดูได้จากหม้อ มดเป็นแหล่งอาหารที่ได้ผล[31]

ดูเพิ่ม แก้

  • a.^ ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคมปี ค.ศ. 1925, เอ็นเดอร์ตได้สำรวจเนินรอบภูเขาแคมมูล, ขึ้นยอดเขา (1,847 ม.) หลายครั้ง, และหมู่บ้านใกล้เคียงของลองก์ มีเฮียงก์ (Long Mehiang) , ลองก์ เคียว (Long Kiau) , และลองก์ เพตทัก (Long Petak) [32] เขาเก็บ N. fusca ได้ในวันที่ 12 ตุลาคม และ N. mollis ในวันที่ 17 ตุลาคม[5]
  • b.^ ภาษาละตินที่พรรณาถึง N. fusca จากเอกสารของแดนเซอร์มีดังนี้:[5]

Folia mediocria breviter petiolata, lamina lanceolata, nervis longitudinalibus utrinque c. 2, vagina caulis 1/2 amplectente ; ascidia rosularum ignota ; ascidia inferiora magnitudine mediocria, parte inferiore anguste ovata, os versus subcylindrica, parte superiore alis 2 fimbriatis ; peristomio in collum elongato, applanato, 4-10 mm lato, costis c. 1/3-2/3 mm distantibus, dentibus c. tam longis quam latis ; operculo anguste ovato, subcordato, facie inferiore appendice lateraliter applanata ; ascidia superiora magnitudine mediocria, infundibuliformia, costis 2 prominentibus ; peristomio in collum elongato, applanato, 3-8 mm lato, costis 1/3-1/4 mm distantibus, dentibus brevissimis ; operculo anguste ovato, subcordato, facie inferiore prope basin appendice lateraliter applanata ; inflorescentia racemis parvus, pedicillis inferioribus c. 8 mm longis, omnibus 1-floris v. partim 2-floris ; indumentum iuventute densissimum, denique passim densum, breve, e pilis patentibus crassis simplicibus v. basi ramosis compositum.

  • c.^ บางคนถือเอา N. fallax อยู่ในชุดชื่อพ้องของ N. stenophylla[8][7] ขณะที่บางคนถือว่าเป็นสองชนิดที่ต่างกัน ซึ่งพืชที่อ้างว่าเป็น N. stenophylla ที่จริงอาจจะเป็น N. fallax[33] แทน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Kurata, S. 1976. Nepenthes of Mount Kinabalu. Sabah National Parks Publications No. 2, Sabah National Parks Trustees, Kota Kinabalu.
  2. Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  3. 3.0 3.1 Endert, F.H. 1927. Botanisch en floristisch verslag. In: D.W. Buijs, H. Witkkamp, F.H. Endert, H.C. Siebers & D.F.K. Bosch. Midden-Oost-Borneo Expeditie 1925. G. Kolff & Co., Weltevreden. (ดัตช์)
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 4.17 4.18 4.19 4.20 4.21 4.22 4.23 4.24 4.25 4.26 4.27 4.28 4.29 4.30 Phillips, A., A. Lamb & C.C. Lee 2008. Pitcher Plants of Borneo. Second Edition. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Danser, B.H. 1928. 13. Nepenthes fusca DANS., nova spec.. In: The Nepenthaceae of the Netherlands Indies. Bulletin de Jardin de Botanique, Buitenzorg, Série III, 9 (3–4) : 249–438.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 Schlauer, J. 2006. Nepenthes fusca เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
  7. 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 7.12 7.13 7.14 7.15 7.16 7.17 7.18 7.19 7.20 7.21 7.22 7.23 7.24 7.25 7.26 7.27 7.28 7.29 Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Jebb, M.H.P. & M.R. Cheek 1997. A Skeletal Revision of Nepenthes (Nepenthaceae). Blumea 42 (1) : 1–106.
  9. 9.0 9.1 Schlauer, J. 2006. Nepenthes curtisii เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
  10. Adam, J.H. & C.C. Wilcock 1996. Pitcher plants of Mt. Kinabalu in Sabah. The Sarawak Museum Journal 50 (7) : 145–165.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Adam, J.H. & Hafiza A. Hamid 2006. Pitcher Plants (Nepenthes) Recorded from Keningau-Kimanis Road in Sabah, Malaysia.PDF (2.40 MiB) International Journal of Botany 2 (4) : 431-436. ISSN 1811-9700
  12. 12.0 12.1 Rice, B.A. 2006. Do you want to tell me about a species I missed? The Carnivorous Plant FAQ.
  13. 13.0 13.1 13.2 Steiner, H. 2002. Borneo: Its Mountains and Lowlands with their Pitcher Plants. Toihaan Publishing Company, Kota Kinabalu.
  14. 14.0 14.1 Adam, J.H. & C.C. Wilcock 1991. A new species of Nepenthes (Nepenthaceae) from Sarawak. Blumea 36 (1) : 123–125.
  15. Phillipps, A. & A. Lamb 1988. Pitcher-plants of East Malaysia and Brunei. Nature Malaysiana 13 (4) : 8–27.
  16. 16.0 16.1 Schnell, D., P. Catling, G. Folkerts, C. Frost, R. Gardner, et al. 2000. Nepenthes fusca. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Listed as Vulnerable (VU C2 v2.3).
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 Clarke, C.M. & C.C. Lee 2004. Pitcher Plants of Sarawak. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  18. 18.0 18.1 18.2 Clarke, C.M. 2001. A Guide to the Pitcher Plants of Sabah. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  19. Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  20. 20.0 20.1 Lowrie, A. 1983. Sabah Nepenthes Expeditions 1982 & 1983.PDF Carnivorous Plant Newsletter 12 (4) : 88–95.
  21. Triplitt, R. 1985. Nepenthes—Color Them Unique.PDF Carnivorous Plant Newsletter 14 (2) : 40–42, 48–49.
  22. Malouf, P. 1995. A visit to Kinabalu Park.PDF Carnivorous Plant Newsletter 24 (3) : 64–69.
  23. Marabini, J. 1984. A Field Trip to Gunong Trusmadi.PDF (442 KiB) Carnivorous Plant Newsletter 13 (2) : 38–40.
  24. Simpson, R.B. 1995. Nepenthes and Conservation. Curtis's Botanical Magazine 12: 111–118.
  25. Salmon, B.[R.] 1999. Nepenthes mollis (Nepenthaceae) —Rediscovered?PDF (561 KiB) Carnivorous Plant Newsletter 28 (1) : 24–26.
  26. 26.0 26.1 Schuiteman, A. & E.F. de Vogel 2002. Nepenthes vogelii (Nepenthaceae) : a new species from Sarawak. Blumea 47 (3) : 537–540.
  27. D'Amato, P. 1993. Nepenthes eymai.PDF Carnivorous Plant Newsletter 22 (1–2) : 21.
  28. Clarke, C.M., C.C. Lee & S. McPherson 2006. Nepenthes chaniana (Nepenthaceae) , a new species from north-western Borneo. Sabah Parks Journal 7: 53–66.
  29. Lee, C.C. 2002. Nepenthes platychila (Nepenthaceae) , a New Species of Pitcher Plant from Sarawak, Borneo. Gardens Bulletin Singapore 54: 257–261.
  30. Cheek, M., M. Jebb, C.C. Lee, A. Lamb & A. Phillipps. 2003. Nepenthes hurrelliana (Nepenthaceae) , a New Species of Pitcher Plant from Borneo. Sabah Parks Nature Journal 6: 117–124.
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 31.5 Sacilotto, R. 2004. Experiments with highland Nepenthes seedlings: A Summary of Measured Tolerances. Carnivorous Plant Newsletter 33 (1) : 26–31.
  32. van Steenis-Kruseman, M.J., et al. 2006. Cyclopaedia of Malesian Collectors: Frederik Hendrik Endert. Nationaal Herbarium Nederland.
  33. Schlauer, J. 2006. Nepenthes fallax เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
  34. "UNU/IAS: A. H. Zakri". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-10. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.