Nepenthes vogelii (ได้ชื่อตาม Art Vogel, นักพฤกษศาสตร์และผู้จัดการเรือนกระจกของ Hortus Botanicus Leiden) เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของรัฐซาราวัก, เกาะบอร์เนียว ปรากฏความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ N. fusca และ N. burbidgeae

Nepenthes vogelii
หม้อบนของ Nepenthes vogelii
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
อันดับ: คาร์เนชัน
วงศ์: หม้อข้าวหม้อแกงลิง
สกุล: หม้อข้าวหม้อแกงลิง
Schuit. & de Vogel (2002)
สปีชีส์: Nepenthes vogelii
ชื่อทวินาม
Nepenthes vogelii
Schuit. & de Vogel (2002)

ประวัติทางพฤกษศาสตร์ แก้

N. vogelii ถูกเก็บได้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 บนภูเขาApi ในอุทยานแห่งชาติกูนุงมูลูโดยนักพฤกษศาสตร์ป่าไม้ที่ชื่อ J. A. R. Anderson ซึ่งมันโดยแปะชื่อว่า N. fusca ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ของกรมป่าไม้รัฐซาราวัก[2] ปีค.ศ. 1969 Shigeo Kurata,นักพฤกษศาสตร์, ได้ตรวจตัวอย่างนี้และบันทึกไว้ว่ามันไม่น่าจะใช่การแปรผันตัวของ N. fusca[2]

หม้อล่าง (ซ้าย) และหม้อบน (ขวา) ของ N. vogelii

N. vogelii ถูแจกแจงรูปแบบในปี ค.ศ. 2002 โดย Andre Schuiteman และ Eduard Ferdinand de Vogel รายละเอียดได้รับกรตีพิมพ์ในวารสารทางพฤกษศาสตร์ที่ชื่อ Blumea[3] บนพื้นฐานของตัวอย่างที่ได้รับการเพาะเลี้ยงไว้ที่ชื่อ A.Vogel, A.Schuiteman & T.Roelfsema 981037 (SAR) [4] ซึ่งเพาะมาจากเมล็ดที่เก็บมาจากรัฐกลันตันเหนือ ของ รัฐซาราวัก ในปี ค.ศ. 1997 และได้รับการดูแลจนโตโดย Art Vogel นักพฤกษศาสตร์และผู้จัดการเรือนกระจกของ Hortus Botanicus Leiden N. vogelii จึงได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกรียติแก่เขา[3]

ก่อนที่มันจะถูกแจกแจงแยกชนิด N. vogelii ถูกนำมาเพาะค้าเชิงพานิชย์โดย Ch'ien Lee เจ้าของ Malesiana Tropicals plant nursery ภายใต้ชื่อ "Nepenthes spec. 4"[5]

เป็นเพราะมันเติบโตบนต้นไม้อื่นเป็นพืชอิงอาศัยในถิ่นที่อยู่ทำให้ยากที่จะเจอโดยไม่ใช้กล้องสองตา[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

หม้อล่างรูปทรงกระบอกมีปากหม้อแคบทางด้านแนวนอน[6] ไม่มีปีกหน้า ฝาหม้อเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้างไม่มีรยางค์[3] มีสีค่อนข้างเหลืองมีจุดสีเข้มปากเป็นขีด[2]

หม้อบนเป็นรูปแตร โดยเป็นทรงกรวยด้านล่างและค่อยๆบานขึ้นสู่ด้านบน ส่วนที่โป่งนี้ต่อกับกับบริเวณเป็นมันของผิวภายใน[2]

 
หม้อบนของ N. vogelii ในกลันตันเหนือ

นิเวศวิทยา แก้

แม้จะมีการบันทึกการพบจากบริเวณที่กระจัดกระจายแต่ N. vogelii ก็มีการแพร่กระจายกว้างมากในบอร์เนียวมากกว่าที่คิดกันในครั้งแรก แต่เดิมเชื่อว่าเป็นพืชถิ่นเดียวทางตอนเหนือของรัฐซาราวัก[6] ปัจจุบันมีการค้นพบที่รัฐซาบะฮ์ตอนใต้และ West Kalimantan[2]ที่ระดับความสูง 1000[6] ถึง 1500 เมตรจากระดับน้ำทะเล[2]

N. vogelii ขึ้นตามต้นไม้คล้ายกาฝาก ตัวอย่างต้นแบบถูกพบบนพื้นดินท่ามกลางหมู่มอสส์ในป่าชื้น อยู่ที่เดียวกันกับ N. stenophylla[a] และ N. veitchii[2] แต่ก็ไม่พบลูกผสมตามธรรมชาติของ N. vogelii ที่ถูกบันทึกไว้[2]

บนภูเขา Mulu N. vogelii พบในระยะความสูงแคบๆ (1200 ถึง 1500 ม.) ซึ่งการกระจายพันธุ์ของมันนั้นไม่ซ้อนทับกับ N. fusca และ N. hurrelliana ซึ่งขึ้นต่ำกว่า 1200 เมตรและสูงกว่า 1500 เมตรตามลำดับ[2]

ญาติใกล้ชิด แก้

 
N. vogelii มีหม้อที่ขนาดเล็กกว่าและมีสีสันมากกว่าญาติของมัน N. fusca

N. vogelii ถูกคาดว่าน่าจะเป็นญาติใกล้ชิดกับ N. fusca โดยต่างกันแค่เพียงมันมีหม้อที่เล็กกว่ามากและไม่มีรยางค์ที่ใต้ฝาหม้อ[3] และที่เพิ่มขึ้นมาคือฝาของ N. vogelii เป็นสามเหลี่ยมกว้างซึ่งตรงกันข้ามกับฝาสามเหลี่ยมแคบของ N. fusca[2][6] สีครีมส่วางและจุดสีเข้มของหม้อเป็นลักษณะเฉพาะ[6]ซึ่งแบ่งแยกมันจาก N. burbidgeae และ N. stenophylla.[a][2]

N. vogelii แสดงถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ N. platychila[2] แต่หม้อล่างของทั้งสองนั้นกลับต่างกันโดย N. platychila มีปีกและเพอริสโตมกว้าง[7][2]

อ้างอิง แก้

  1. Clarke, C.M.(2018)"Nepenthes vogelii".In: IUCN 2018. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2018.1.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 Phillips, A., A. Lamb & C.C. Lee 2008. Pitcher Plants of Borneo. Second Edition. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Schuiteman, A. & E.F. de Vogel 2002. Nepenthes vogelii (Nepenthaceae) : a new species from Sarawak. Blumea 47 (3) : 537–540.
  4. Schlauer, J. 2006. Nepenthes เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
  5. Fleischmann, A. 2003. Drosera peruensis spec. nov. from Peru เก็บถาวร 2011-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Mailing List, January 12, 2003.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Clarke, C.M. & Lee, C.C. 2004. Pitcher Plants of Sarawak. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  7. Lee, C.C. 2002. Nepenthes platychila (Nepenthaceae) , a New Species of Pitcher Plant from Sarawak, Borneo. Gardens Bulletin Singapore 54: 257-261.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Bonhomme, V., H. Pelloux-Prayer, E. Jousselin, Y. Forterre, J.-J. Labat & L. Gaume 2011. Slippery or sticky? Functional diversity in the trapping strategy of Nepenthes carnivorous plants. New Phytologist 191(2): 545–554. doi:10.1111/j.1469-8137.2011.03696.x
  • Bourke, G. 2007. Trekking to Gunung Mulu. Victorian Carnivorous Plant Society Journal 83: 9–11.
  • Bourke, G. 2010. "The climbing pitcher plants of the Kelabit highlands" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-10-21. เก็บถาวร 2013-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Captive Exotics Newsletter 1(1): 4–7.
  • Bourke, G. 2011. The Nepenthes of Mulu National Park. Carniflora Australis 8(1): 20–31.
  • Lee, C.C. 2000. Recent Nepenthes Discoveries. [video] The 3rd Conference of the International Carnivorous Plant Society, San Francisco, USA.
  • McPherson, S.R. & A. Robinson 2012. Field Guide to the Pitcher Plants of Borneo. Redfern Natural History Productions, Poole.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้