สันตะสำนัก

(เปลี่ยนทางจาก Holy See)

สันตะสำนัก[7] (ละติน: Sancta Sedes, ภาษาละตินศาสนา: [ˈsaŋkta ˈsedes]; อิตาลี: Santa Sede [ˈsanta ˈsɛːde]) หรือ อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์[8] (อังกฤษ: Holy See) คือสถาบันฝ่ายปกครองศาสนาในกำกับของมุขนายกแห่งกรุงโรม อันเป็นตำแหน่งประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดด้วย สันตะสำนักเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึง “สันตะสำนัก” จึงหมายถึงองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด[7] และเป็นอาณาจักรทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายนานาชาติว่าเป็นรัฐอิสระที่มีประมุขเป็นพระสันตะปาปาและสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอื่นได้[9]

สันตะสำนัก

ตราแผ่นดินของ
ตราแผ่นดิน
เมืองหลวงนครรัฐวาติกัน (โดยพฤตินัย)
(ที่มีทรัพย์สินและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตรอบ ๆ โรม ประเทศอิตาลี)
41°54.2′N 12°27.2′E / 41.9033°N 12.4533°E / 41.9033; 12.4533
เขตอำนาจศาสนจักรมุขมณฑลโรม
(ศีลมหาสนิทสากล)
คริสตจักรละติน
โรมันคาทอลิก
ภาษาทำการอิตาลี (การบริหารและการทูต)[1]
ฝรั่งเศส (เฉพาะทางการทูต)[2]
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
เดมะนิมPapal
Pontifical
ประเภทอิปิสโคปัลซี พระสันตะปาปาของบิชอปแห่งโรม, พระสันตะปาปา, ประมุขแห่งคริสต์จักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก
การปกครองรัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบคริสเตียน[3] (ภายใต้ศาสนจักร[4] และเทวาธิปไตย[5]แบบเลือกตั้ง[6])
ฟรานซิส
Pietro Parolin
ดินแดนอธิปไตยภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
คริสต์ศตวรรษที่ 1 โดยซีโมนเปโตร
("Prince of the Apostles")
ศาสนาคริสต์ยุคแรกสมัยโบราณ
(กฎหมายศาสนจักร; ประวัติศาสตร์กฎหมาย)
ค.ศ. 728 (ดินแดนในดัชชีแห่งโรมของพระเจ้าLiutprand)
ค.ศ. 756 (อำนาจอธิปไตยในดัชชีแห่งโรม ซึ่งยืนยันโดยพระเจ้าเปแป็ง)
ค.ศ. 756–1870
ค.ศ. 1075: Dictatus papae
ค.ศ. 1177: สนธิสัญญาเวนิส (ยืนยันอำนาจอธิปไตยอีกครั้งโดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์)
ค.ศ. 1870–1929
(ภายใต้ราชอาณาจักรอิตาลี)
ค.ศ. 1929–
(สนธิสัญญาลาเตรันกับอิตาลี)
เว็บไซต์
Vatican.va

สันตะสำนักแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ระดับ[7] ได้แก่

  1. สมณะกระทรวง (Congregation)
  2. สมณะทบวง (Pontifical Council)
  3. สำนักกรรมาธิการ (Pontifical Commission)
  4. สำนักงาน (Holy Office)

ทั้งนี้สันตะสำนักไม่ใช่นครรัฐวาติกันที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1929 สันตะสำนักถือว่ามีมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก ตำแหน่งทูตจะไม่ใช่ตำแหน่งทูตแห่งนครรัฐวาติกัน แต่จะเป็นทูตแห่งสันตะสำนัก และผู้แทนของพระสันตะปาปาในรัฐหรือประเทศอื่นก็ถือว่าเป็นผู้แทนของสันตะสำนัก มิใช่ผู้แทนของนครรัฐวาติกันเรียกว่าเอกอัครสมณทูต

ขณะที่มุขมณฑลอื่น ๆ ในคริสตจักรต่างก็เป็นมุขมณฑลที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่การเรียกอาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์โดยทั่วไปแล้วจะเป็นความหมายที่ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและในความหมายของประมวลกฎหมายพระศาสนจักร[10] ที่หมายถึงรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด

อ้างอิง

แก้
  1. "Background Notes, the Holy See". 1995.
  2. "About the Holy See".
  3. "Internet portal of Vatican City State". Vatican City State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2011. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  4. "CIA's factbook Vatican State". 16 February 2022.
  5. Nick Megoran (2009) "Theocracy", p. 226 in International Encyclopedia of Human Geography, vol. 11, Elsevier ISBN 978-0-08-044911-1
  6. Robbers, Gerhard (2006) Encyclopedia of World Constitutions. Infobase Publishing. ISBN 978-0-81606078-8. p. 1009.
  7. 7.0 7.1 7.2 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 251
  8. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 753
  9. The Holy See's sovereignty has been recognized explicitly in many international agreements and is particularly emphasized in article 2 of the Lateran Treaty of 11 February 1929, in which "Italy recognizes the sovereignty of the Holy See in the international field as an inherent attribute of its nature, in conformity with its tradition, and the requirements of its mission in the world."
  10. Code of Canon Law, canon 361, Code of Canons of the Eastern Churches, canon 48

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้