วงศ์พังพอน
วงศ์พังพอน ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนตอนต้น ถึง ปัจจุบัน, 21.8–0 Ma | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
อันดับย่อย: | Feliformia |
วงศ์: | Herpestidae Bonaparte, 1845 |
สกุล | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์สัตว์ในวงศ์พังพอน | |
ชื่อพ้อง | |
|
วงศ์พังพอน (อังกฤษ: mongoose; ไทยถิ่นเหนือ: จ่อน) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Herpestidae
เดิมเคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์ Viverridae หรือ วงศ์ชะมดและอีเห็น[1]
ลักษณะและพฤติกรรม
แก้พังพอนมีรูปร่างโดยรวม เป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลำตัวเพรียวยาว ช่วงขาสั้นแต่แข็งแรง มีเล็บที่แข็งแรงและแหลมคม หางยาว ใบหูเล็ก ส่วนใบหน้าแหลม ในปากมีฟันแหลมคมประมาณ 33-34 ซี่ ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับวงศ์ชะมดและอีเห็น มีลำตัวยาวตั้งแต่ 43 เซนติเมตร จนถึง 1 เมตร น้ำหนัก 320 กรัม จนถึง มากกว่า 5 กิโลกรัม
พังพอนส่วนใหญ่มีขนที่หยาบสีน้ำตาลหรือสีเทา ในบางชนิดจะเป็นขนสีอ่อนและมีลายปล้องสีคล้ำพาดเป็นลายขวางหรือลายตั้งเป็นทางยาว
พังพอนโดยมากจะมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง หรืออยู่ลำพังเพียงตัวเดียว หรืออยู่กันเป็นครอบครัว ในหลากหลายสภาพภูมิประเทศ ตั้งแต่ป่าดิบทึบ, ทุ่งหญ้า, ป่าละเมาะ, ทะเลทราย จนถึงนาข้าว หรือพื้นที่เกษตรกรรมในชุมชนของมนุษย์
พังพอนมักหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่ ผลไม้, ลูกไม้, แมลง, สัตว์ทั้งมีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กต่าง ๆ รวมถึง แมงมุม, แมงป่อง และงูหรือกิ้งก่าอีกด้วย อีกทั้งพังพอนเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไว สามารถพองขนให้ตัวมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เพื่อขู่ศัตรู และมีภูมิคุ้มกันพิษงูอยู่ในตัว จึงสามารถสู้กับงูพิษได้เป็นอย่างดี ด้วยการหลอกล่อให้งูเหนื่อย และฉวยโอกาสเข้ากัดที่ลำคอจนตาย แต่ถ้าหากถูกกัดเข้าอย่างจัง ก็ทำให้ถึงตายได้เช่นกัน
พังพอนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2 ปี ยกเว้นในบางชนิดที่สามารถตั้งท้องเมื่ออายุได้เพียง 9 เดือน มีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 45-105 วัน ออกลูกครั้งละ 10-24 ตัว มีอายุขัยประมาณ 10 ปี มีรายงานว่าพังพอนในสถานที่เลี้ยงบางตัวมีอายุยืนถึง 17 ปี
การอนุกรมวิธาน
แก้ปัจจุบัน พังพอนถูกอนุกรมวิธานไว้ทั้งสิ้น 33 ชนิด ใน 14 สกุล (ดูในเนื้อหา) กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงตะวันออกกลาง, เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ พังพอนเล็ก หรือพังพอนธรรมดา (Herpestes javanicus) กับพังพอนกินปู หรือพังพอนยักษ์ (H. urva)
สกุลและชนิด
- สกุล Atilax
- พังพอนบึง, A. paludinosus
- สกุล Bdeogale
- พังพอนหางพวง, B. crassicauda
- พังพอนแจ๊คสัน, B. jacksoni
- พังพอนตีนดำ, B. nigripes
- สกุล Crossarchus
- พังพอนอเล็กซานเดอร์, C. alexandri
- พังพอนแองโกลัน, C. ansorgei
- พังพอนจมูกยาว, C. obscurus
- พังพอนหัวแบน, C. platycephalus
- สกุล Cynictis
- พังพอนเหลือง, C. penicillata
- สกุล Dologale
- พังพอนโพซากิวส์, D. dybowskii
- สกุล Galerella
- พังพอนเพรียวแองโกลัน, G. flavescens
- พังพอนเพรียวโซมาลี, G. ochracea
- พังพอนเล็กสีเทา, G. pulverulenta
- พังพอนปลายดำ, G. sanguinea
- สกุล Helogale
- พังพอนแคระเอธิโอเปีย, H. hirtula
- พังพอนแคระธรรมดา, H. parvula
- สกุล Herpestes
- พังพอนหางสั้น, H. brachyurus
- พังพอนอินเดียสีเทา, H. edwardsii
- พังพอนอินเดียสีน้ำตาล, H. fuscus
- พังพอนอียิปต์, H. ichneumon
- พังพอนเล็ก, H. javanicus
- พังพอนจมูกยาว, H. naso
- พังพอนปลอกคอ, H. semitorquatus
- พังพอนแดง, H. smithii
- พังพอนกินปู, H. urva
- พังพอนคอลาย, H. vitticollis
- สกุล Ichneumia
- พังพอนหางขาว, I. albicauda
- สกุล Liberiictus
- พังพอนไลบีเรีย, L. kuhni
- สกุล Mungos
- พังพอนแกมเบีย, M. gambianus
- พังพอนแบน, M. mungo
- สกุล Paracynictis
- พังพอนโซลัส, P. selousi
- สกุล Rhynchogale
- พังพอนมิลเลอร์, R. melleri
- สกุลSuricata
ชนิดที่สูญพันธุ์
แก้Leptoplesictis Major, 1903[3]
- †L. atavus Beaumont, 1973
- †L. aurelianensis (Schlosser, 1888)
- †L. filholi Gaillard, 1899
- †L. mbitensis Schmidt-Kittler, 1987
- †L. namibiensis Morales et al., 2008
- †L. peignei, Grohé et al., 2020
- †L. rangwai Schmidt-Kittler, 1987
- †L. senutae Morales et al., 2008
Herpestidae |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
แก้ด้วยความที่พังพอนเป็นสัตว์ที่ปราดเปรียวว่องไว สามารถกำจัดสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ พังพอนในบางพื้นที่จึงนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อให้กำจัดหนู ขณะที่อินเดีย นิยมมีการละเล่นให้พังพอนสู้กับงูเห่าหรืองูจงอาง[5] [6]
อ้างอิง
แก้- ↑ พังพอน น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 591
- ↑ วงศ์ Herpestidae
- ↑ Morales, J., Pickford, M. and Salesa, M.J. (2008). "Creodonta and Carnivora from the Early Miocene of the Northern Sperrgebiet, Namibia". Memoir of the Geological Survey of Namibia. 20: 291–310.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อPatou2009
- ↑ [ลิงก์เสีย] พังพอน โดย จารุจินต์ นภีตะภัฏ
- ↑ Arch nemeses: King cobra and grey mongoose clash in classic battle, but who ends up as dinner? จากเดลิเมล์ (อังกฤษ)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Herpestidae ที่วิกิสปีชีส์
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วงศ์พังพอน