นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย

(เปลี่ยนทางจาก Ardeola grayii)

นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย[2] (อังกฤษ: Indian pond heron, paddybird, ชื่อวิทยาศาสตร์: Ardeola grayii) เป็นนกพันธุ์หนึ่งในวงศ์นกยาง (Ardeidae) วิวัฒนาการขึ้นในโลกเก่า เขตสืบพันธุ์เริ่มตั้งแต่อิหร่านใต้ไปทางตะวันออกจนถึงปากีสถาน อินเดีย พม่า บังกลาเทศ และศรีลังกา อยู่ในเขตที่กว้างขวาง เป็นนกสามัญ มักจะมองไม่เห็นเมื่อกำลังย่องล่าเหยื่อตามบริเวณหนองน้ำ หรือแม้เมื่อพักใกล้ ๆ ที่อยู่มนุษย์ แต่จะมองเห็นได้ชัดเมื่อบินเพราะปีกขาวสด ไม่เหมือนกับสีเขียวเข้มปนเหลืองและสีน้ำตาลโดยเป็นลาย ๆ ของร่างกายที่มองเห็นได้ยาก สีพรางตัวเช่นนี้ได้ผลมากจนกระทั่งว่านกปล่อยให้เข้าไปใกล้ ๆ ก่อนจะบินหนี เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ได้ชื่อกับความเชื่อท้องถิ่นว่า นกสายตาสั้นหรือตาบอด[3][4] ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2]

นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย
(Indian pond heron)
ขนนกนอกฤดูสืบพันธุ์ (อินเดีย)
ขนนกช่วงฤดูสืบพันธุ์ (อินเดีย)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: นกกระทุง
วงศ์: วงศ์นกยาง
สกุล: Ardeola
(Sykes, 1832)
สปีชีส์: Ardeola grayii
ชื่อทวินาม
Ardeola grayii
(Sykes, 1832)
การกระจายตัวของ A. grayii เทียบกับนกที่ใกล้เคียงกับมันมากที่สุด
ชื่อพ้อง

Ardeola leucoptera

รายละเอียด แก้

 
ปกตินกจะหดคอ ทำให้เหมือนมีคอสั้น รูปนี้ไม่ได้หด

นกปรากฏว่าอ้วนเตี้ย คอสั้น ปากหนาสั้น มีหลังเหลืองปนน้ำตาล ในฤดูผสมพันธุ์ นกโตแล้วจะมีขนคอยาว หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง[5] นกเหมือนจะเปลี่ยนไปจากสีทื่อ ๆ เมื่อบิน เพราะสีขาวสดของปีกทำให้เห็นได้ชัด มันคล้ายกับนกสกุลเดียวกันอีกอย่างหนึ่ง คือ squacco heron (Ardeola ralloides) มาก แต่หลังมีสีเข้มกว่า ทางด้านตะวันออกจากแหล่งที่มันอยู่ จะพบนกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) แทน และทางทิศใต้ นกยางกรอกพันธุ์ชวา (Ardeola speciosa)

ในฤดูผสมพันธุ์ มีผู้พบนกรายตัวที่มีขาแดง แต่จำนวนนกที่มีไม่ได้แสดงว่า นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ปกติสำหรับนกในฤดูผสมพันธุ์ ทำให้เสนอว่า อาจเป็นรูปแปรทางพันธุกรรม[6][7][8][9]

สีแดง/น้ำตาลที่ไม่ปกติ (erythrism) ของขนก็พบด้วยเหมือนกัน[10] จนกระทั่งเสนอเป็นสปีชีส์ย่อย phillipsi สำหรับกลุ่มที่พบในหมู่เกาะมัลดีฟส์ แต่นี่ยังไม่ได้การยอมรับ[11] นกพันธุ์นี้บวกกับสปีชีส์ที่ใกล้เคียงกันคือนกยางกรอกพันธุ์จีน นกยางกรอกพันธุ์ชวา และนกยางกรอกพันธุ์มาดากัสการ์ (Ardeola idae) รวมเป็น superspecies

นกปกติจะเงียบแต่อาจร้องเสียงต่ำห้าวเมื่อบินหนีหรือใครเข้าไปใกล้ ๆ รังของมัน[11] นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ พันเอกวิลเลียม เฮ็นรี่ ไซกส์ ได้พรรณนาถึงนกนี้เมื่อปี 1832 แต่ได้ให้ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันเพื่อยกย่องนักสัตววิทยาชาวอังกฤษจอห์น เอ็ดวาร์ด เกรย์ (John Edward Gray)

งานศึกษาทางแคริโอไทป์ได้แสดงว่า นกยางกรอกมีโครโมโซม 68 อัน (นับทั้งสองชุด คือ 2N) หรือมี 34 คู่ เทียบกับมนุษย์ที่มี 46 อันหรือ 23 คู่[12]

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา แก้

 
เมื่อบินหนี จึงเห็นปีกขาวที่ตัดกับสีตัว

นกสามัญมากในอินเดีย มันผสมพันธุ์อยู่เป็นฝูงแต่ไม่ใหญ่มาก (semi-colonial) ปกติหากินตัวเดียวตามพื้นที่ชุ่มน้ำ อาจหากินตามขยะด้วย แต่หลายตัวอาจจะหากินใกล้ ๆ กันในช่วงหน้าแล้งเมื่อที่ชุ่มน้ำเล็ก ๆ มีเหยื่อมาก[13] ในช่วงหน้าแล้ง มันบางทีหากินตามสนามหญ้าที่ชุ่มน้ำหรือแม้แต่ทุ่งหญ้าที่แห้ง ๆ เมื่อหากินอยู่ อาจเข้าไปใกล้มันมากได้ก่อนที่จะบินหนี บางครั้งอาจพักอยู่เป็นฝูง (communal roost) บ่อยครั้งที่ต้นไม้ตามถนนในเขตเมือง[14]

อาหารการกิน แก้

ที่หาอาหารของนกพันธุ์นี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ปกติจะหากินอยู่ที่ขอบ ๆ หนองน้ำ แต่ก็ชอบใช้พืชลอยน้ำเช่น ผักตบชวา เพื่อให้เข้าไปถึงที่ลึกได้ บางครั้งอาจว่ายเหนือน้ำ หรือบินจับปลาแล้วลงยืนในน้ำที่ลึกกว่า[15][16][17][18] ยังมีรายงานว่านกบินจับปลาที่กระโดดขึ้นจากน้ำ[19][20] บางครั้งมันบินต่ำ ๆ เหนือน้ำเพื่อไล่กบและปลาไปที่ฝั่งก่อนจะลงเกาะตามชายฝั่ง[21] มีรายงานว่ามันคาบเศษขนมปังแล้วทิ้งลงที่ผิวน้ำเพื่อล่อปลา[22]

อาหารหลักของนกนี้รวมกุ้งกั้งปู แมลงน้ำ ปลา ลูกอ๊อด และบางครั้ง ปลิง[23] นอกพื้นที่ชุ่มน้ำ นกเหล่านี้กินแมลง (รวมจิ้งหรีด แมลงปอ[24] และผึ้ง[25]) ปลา (เช่น ปลาดอกหมาก) และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก[26]

การผสมพันธุ์ แก้

 
คู่นกในรังที่เมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย
 
ไข่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองตูลูซ ประเทศฝรั่งเศส
 
นกที่มีขาแดงสดในฤดูผสมพันธุ์ แม้นี่จะไม่ทั่วไป

ฤดูผสมพันธุ์เริ่มที่ต้นฤดูมรสุม นกทำรังเป็นฝูงเล็ก ๆ บ่อยครั้งกับนกลุยน้ำอื่น ๆ ปกติในรังขนาดใหญ่ (platform nest) ทำด้วยก้านไม้อยู่ในต้นไม้หรือพุ่มไม้ รังโดยมากสร้างในที่สูง 9-10 เมตรในต้นไม้ใบใหญ่ ตัวผู้หาวัสดุ ตัวเมียสร้างรัง วางไข่ 3-5 ฟอง[27] ลูกนกออกจากไข่ไม่พร้อมกันโดยใช้เวลา 18-24 วัน ทั้งพ่อและแม่เลี้ยงลูกนก[28] ปลาเป็นอาหารเลี้ยงลูกหลัก[13] รังที่ไม่ถูกกวนอาจใช้อีกในปีต่อ ๆ ไป[29]

ปัจจัยการตาย แก้

นกมีสัตว์ล่าน้อยแต่นกล่าเหยื่ออาจจับนกที่บาดเจ็บกิน[30]

งานศึกษาต่าง ๆ ได้แยกเจออาร์โบไวรัสที่เป็นเหตุโรค "Balagodu", พยาธิใบไม้[31] และปรสิตอื่น ๆ อีกหลายอย่างในนก[32][33][34][35][36] งานศึกษาได้ตรวจเจอสารภูมิต้านทานสำหรับโรคสมองอักเสบญี่ปุ่น (Japanese encephalitis) และสำหรับไวรัสเวสต์ไนล์ (เหตุของไข้เวสต์ไนล์) ในนกยางกรอกและนกยางควาย (Bubulcus ibis) จากอินเดียใต้[37] โลหะหนักที่ได้จากอาหารในน้ำเน่าเสียอาจมีอยู่ในขนหางอย่างเข้มข้น[38]

ในวัฒนธรรม แก้

 
นกจำนวนมากในหนองน้ำที่กำลังแห้ง

นิสัยแบบยืนนิ่ง ๆ จนบินหนีเมื่อเข้าไปใกล้ก่อความเชื่อพื้นบ้านที่มีอย่างกว้างขวางว่านกตาไม่ดี จึงได้ชื่อในภาษาต่าง ๆ ที่ระบุลักษณะนี้ เช่น ในศรีลังกา นกเรียกว่า kana koka ในภาษาสิงหลซึ่งแปลว่า นกยางครึ่งบอด[3] ส่วนวลีภาษาฮินดูสตานี ว่า "bagla bhagat" ได้ใช้เหมือนกับสำนวนฝรั่งที่มีกำเนิดจากคัมภีร์ไบเบิลว่า "หมาป่าในหนังแกะ"[39] และกับสำนวนไทยว่า "มือถือสากปากถือศีล" คือนกยางกรอกทำเป็นเหมือนนกฤๅษียืนเข้าสมาธิ ซึ่งก็มีในสุภาษิตมราฐีด้วย[A] นกยังปรากฏเป็นตัวละครในนิทาน Hitopadesha[B] ที่มันยอมเจ็บตัวเพื่อช่วยพระราชา[43]

นักเขียนธรรมชาติวิทยาทั้งชาวอังกฤษและอินเดียได้ตั้งข้อสังเกตว่านกเปลี่ยนสีได้อย่างน่าแปลกใจ เช่น ฟิลลิป สจวร์ต โรบินสันได้พรรณนาถึงนกว่า นั่งเป็นสีเทาซอมซ่อ แต่บินเป็นสีขาวสด[44] ในอดีต คนอินเดียเคยกินมันเป็นอาหาร[45] ในช่วงที่ค้าขายขนนกต่าง ๆ มาก ขนนกนี้ได้ส่งออกจากอินเดียไปยังประเทศอังกฤษ[46]

พุทธศาสนา แก้

คัมภีร์พุทธศาสนากล่าวถึงนกยางกรอกไว้ในเวสสันดรชาดก มหาวนวัณณนา คือ เมื่อสนทนากับชูชก อัจจุตฤๅษีได้พรรณนาถึงป่าที่พระเวสสันดรทรงอาศัยอยู่ว่ามีนกชนิดนี้[47]

เชิงอรรถ แก้

  1. นกยางกรอกเป็นนักบุญ/ฤๅษี/อรหันต์[40]
  2. Hitopadesha (สันสกฤต: हितोपदेशः, IAST: Hitopadeśa, "คำแนะนำที่มีประโยชน์" ) เป็นคัมภีร์อินเดียเขียนเป็นภาษาสันสกฤต ประกอบด้วยนิทานอุทาหรณ์มีมนุษย์และสัตว์เป็นตัวละคร ประกอบด้วยคติพจน์ ภูมิปัญญาทางโลก และศีลธรรมเกี่ยวกับการเมืองที่เขียนเป็นภาษาเรียบง่ายและสละสลวย[41] เป็นคัมภีร์ที่ได้รับความนิยม แปลเป็นภาษาอินเดียต่าง ๆ มากมาย ภาษาเอเชียอาคเนย์ ตะวันออกกลาง และยุโรป[41][42]

อ้างอิง แก้

  1. BirdLife International (2012). "Indian Pond-heron, Ardeola grayii". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T22697128A93600400. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
  2. 2.0 2.1 "สัตว์ป่าคุ้มครอง". โลกสีเขียว. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23. ๗๐๕ นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย (Ardeola grayii)
  3. 3.0 3.1 Anonymous (1998). "Vernacular Names of the Birds of the Indian Subcontinent" (PDF). Buceros. 3 (1): 53–109.
  4. Yule, Henry; Burnell, A. C. (1903). Crooke, William (บ.ก.). Hobson-Jobson: A Glossary of Colloquial Anglo-Indian Words and Phrases, and of Kindred Terms, Etymological, Historical, Geographical and Discursive. London, UK: John Murray. p. 650.
  5. กรอก. พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (CD ROM). ๒ น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทาอมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
  6. Gopisundar, K. S. (2004). "Abundance and seasonality of Indian Pond Herons Ardeola grayii with red legs in Uttar Pradesh, India" (PDF). Forktail. 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-11.
  7. Abdulali, H.; Alexander, H. G. (1952). "Ardeidae with red legs". Ibis. 94 (2): 363. doi:10.1111/j.1474-919X.1952.tb01829.x.
  8. Wesley, H. D. (1993). "Genetics of the red tarsi and feet in the Pond Heron". Newsletter for Birdwatchers. 33 (4): 73.
  9. Sundar, Gopi KS. "Distribution and extent of Pond Herons Ardeola grayii with red legs in India" (PDF). Indian Birds. 1 (5): 108–115. ISSN 0973-1407.
  10. Parasharya, BM (1983). "An erythristic pond heron". Pavo. 21 (1&2): 107–108.
  11. 11.0 11.1 Rasmussen, PC; Anderton, JC (2005). Birds of South Asia:The Ripley Guide. Smithsonian Institution & Lynx Edicions.
  12. Mohanty MK, Bhunya SP (1990). "Karyological studies in four species of ardeid birds (Ardeldae, Ciconiiformes)". Genetica. 81 (3): 211–214. doi:10.1007/BF00360867.
  13. 13.0 13.1 Begum, S. (2003). "Colonial nesting behavior in Indian Pond Heron (Ardeola grayii grayii) of Bangladesh" (PDF). Zoos' Print Journal. 18 (6): 1113–1116. doi:10.11609/jott.zpj.18.6.1113-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-03. สืบค้นเมื่อ 2019-09-12.
  14. Gadgil, Madhav; Ali, Salim (1975). "Communal roosting habits of Indian birds". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 72 (3): 716–727.
  15. Chandra-Bose, DA (1969). "The Paddybird, Ardeola grayii (Sykes) floating on water". Pavo. 7 (1&2): 74–75.
  16. Neelakantan, KK (1986). "Pond heron afloat". Newsletter for Birdwatchers. 26 (5–6): 11–13.
  17. Krishna, MB (1978). "Pond Herons". Newsletter for Birdwatchers. 18 (10): 12.
  18. Muir, G.B.F. (1916). "Paddy-birds Ardeola grayii fishing". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 24 (2): 366–367. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16.
  19. Grimwood, I.M .; Brocklehurst, M.J.C. (1984). "Unusual feeding behaviour in the Paddy Bird or Indian Pond Heron Ardeola grayii". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 81 (3): 696–697. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-23.
  20. Sivasubramanian, C (1988). "Aerial feeding by Median Egret (Egretta intermedia), Little Egret (Egretta garzetta) and Pond Heron (Ardeola grayii)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 85 (3): 611–612. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-23.
  21. Kirkpatrick, K. M. (1953). "Feeding habit of the Indian Pond Heron (Ardeola grayii)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 51 (2): 507.
  22. Réglade, Michel Antoine; Dilawar, Mohammed E.; Anand, Ulhas (2015). "Active bait-fishing in Indian Pond Heron Ardeola grayii". Indian Birds. 10 (5): 124–125.
  23. Mathew, DN; Narendran, TC; Zacharias, VJ (1978). "A comparative study of the feeding habits of certain species of Indian birds affecting agriculture". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 75 (4): 1178–1197.
  24. Santharam, V. (2003). "Indian pond-herons Ardeola grayii feeding on dragonflies". Journal of the Bombay Natural History Society. 100 (1): 108.
  25. Prasad, JN; Hemanth, J (1992). "Pond Heron Ardeola grayii (Sykes) feeding on bees". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 89 (2): 246.
  26. Sodhi, N.S. (1986). "Feeding ecology of Indian pond heron and its comparison with that of little egret". Pavo. 24 (1&2): 97–112.
  27. Pandey, Deep Narayan (1991). "Nesting of the Pond Heron Ardeola grayii (Sykes) on Eucalyptus trees". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 88 (2): 281.
  28. Yesmin, R.; Rahman, K.; Haque, N. (2001). "The breeding biology of the Pond Heron (Ardeola grayii Sykes) in captivity". Tigerpaper. 28 (1): 15–18.
  29. Ali, S.; S. D. Ripley (1978). Handbook of the birds of India and Pakistan. Vol. 1 (2nd ed.). New Delhi: Oxford University Press. pp. 63–64.
  30. Navarro, A (1962). "Pale Harrier taking a Pond Heron". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 59 (2): 653.
  31. Umadevi K, Madhavi R (2000). "Observations on the morphology and life-cycle of Procerovum varium (Onji & Nishio, 1916) (Trematoda: Heterophyidae)". Systematic Parasitology. 46 (3): 215–225. doi:10.1023/A:1006398205390. PMID 10845654.
  32. Pavri K, Sheikh BH, Singh KR, Rajagopalan PK, Casals J (1969). "Balagodu virus, a new arbovirus isolated from Ardeola grayii (Sykes) in Mysore State, South India". Indian J Med Res. 57 (4): 758–64. PMID 4979767.
  33. Pavri KM, Rajagopalan PK, Arnstein P (1968). "Isolation of Ornithosis bedsoniae from paddy birds, Ardeola grayii (Sykes), in Mysore State India". Indian J. Med. Res. 56 (11): 1592–4. PMID 5715959.
  34. Sahay S, Sahay U, Verma DK (1990). "On a new trematode of the genus Psilorchis (Psilostomidae Looss, 1900) from pond heron Ardeola grayii". Indian Journal of Parasitology. 14 (2): 203–205.
  35. Madhavi, R; Narasimha Rao, N; Rukmini, C (1989). "The life history of Echinochasmus bagulai Verma 1935 (Trematoda, Echinostomatidae)". Acta Parasitologica Polonica. 34 (3): 259–265.
  36. Deshmukh, PG (1971). "On the male of Avioserpens multipapillosa Singh, 1949 from Ardeola grayii". Rivista di Parassitologia. 32 (2): 101–3. PMID 5166875.
  37. Paramasivan, R.; A.C. Mishra; D.T. Mourya (2003). "West Nile virus: the Indian scenario" (PDF). Indian J Med Res. 118: 101–108. PMID 14700342. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2019-09-12.
  38. Muralidharan, S.; Jayakumar, R.; Vishnu, G (2004). "Heavy metals in feathers of six species of birds in the district Nilgiris, India". Bulletin of Environmental Contamination and Toxicology. 73 (2): 285–291. doi:10.1007/s00128-004-0425-x. PMID 15386041.
  39. Pahwa, Munshi Thakardass (1919). The modern Hindustani scholar of the Pucca munshi. Baptist Mission Press, Calcutta. p. 578.
  40. Manwaring, A. (1899). Marathi proverbs. Oxford: Clarendon Press. p. 40.
  41. 41.0 41.1 Hitopadesa. แปลโดย Narayana, S; Haksar, AND. Penguin Books. 2005. pp. ix–xiv. ISBN 978-93-5118-096-8.
  42. Snyder, CR; Lopez, Shane J (2001). Handbook of Positive Psychology. Oxford University Press. pp. 508, 1406. ISBN 978-0-19-028561-6. Hitopadesa (Hindu text)
  43. Arnold, Edwin (1893). The Book of Good Counsels from the Sanskrit of the Hitopadesa. London: W.H.Allen and Co. p. 108.
  44. Dewar, Douglas (1896). Bombay Ducks. London: John Lane Company. pp. 111, 235–239.
  45. Susainathan, P. (1921). Bird friends and foes of the farmer. Bulletin NO. 81. Madras: Department of Agriculture. p. 48.
  46. Watt, George (1908). The Commercial Products of India. London: John Murray. p. 139.
  47. "พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 28 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 2 ข้อ 2067", E-Tipitaka 3.0.7, 2018, นกกะปูด ไก่ป่า นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องคูขันหากันและกัน นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกกระเรียน

บรรณานุกรม แก้

  • Lamba, B.S. (1963) Nidification of some Indian birds. No.6. The Indian Pond Heron or Paddy bird Ardeola grayii (Sykes). Pavo 1 (1): 35–43.
  • de Boer LEM, van Brink JM (1982) Cytotaxonomy of the Ciconiiformes (Aves), with karyotypes of eight species new to cytology. Cytogenet Cell Genet 34: 19–34. doi:10.1159/000131791.
  • Parasharya, BM; Bhat, HR (1987) Unusual feeding strategies of the Little Egret and Pond Heron. Pavo 25 (1&2): 13–16.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้