นกล่าเหยื่อ (อังกฤษ: Bird of prey หรือ predatory birds) มีอีกชื่อว่า แรปเตอร์ (raptors) เป็นชนิดของนกประเภท hypercarnivorous ที่ล่าและกินสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวอื่น (ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และนกขนาดเล็กตัวอื่น) นอกจากความเร็วและความแข็งแกร่งแล้ว นักล่าเหล่านี้ยังมีสายตาแหลมคมไว้หาเหยื่อจากระยะไกลหรือระหว่างบิน ขาที่แข็งแกร่งกับกรงเล็บแหลมสำหรับจับหรือฆ่าเหยื่อ และจะงอยปากโค้งงอทรงพลังไว้ฉีกเนื้อ[1][2][3] แม้ว่านกล่าเหยื่อโดยหลักล่าเหยื่อที่มีชีวิต มีนกหลายชนิด (เช่น อินทรีทะเล, แร้ง และคอนดอร์) ก็กินของเน่าและกินซากศพ[1]

นกล่าเหยื่อ
ภาพต่อของแรปเตอร์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากบนซ้ายไปขวา: นกเค้าอินทรียูเรเชีย, king vulture, เหยี่ยวเพเรกริน, นกอินทรีทอง และแร้งเครา
ภาพต่อของแรปเตอร์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากบนซ้ายไปขวา: นกเค้าอินทรียูเรเชีย, king vulture, เหยี่ยวเพเรกริน, นกอินทรีทอง และแร้งเครา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์Edit this classification
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
เคลด: Passerea
เคลด: Telluraves
กลุ่มที่รวมอยู่ด้วย
หน่วยที่รวมโดยแคลดิสติกส์แต่ไม่รวมโดยดั้งเดิม

แม้ว่าศัพท์ "นกล่าเหยื่อ" ในทางทฤษฎีอาจรวมถึงนกทุกตัวที่ล่าและกินสัตว์อื่นเป็นประจำ[3] นักปักษีวิทยาใช้คำนิยามที่แคบกว่าเดิม[ต้องการอ้างอิง] โดยไม่นับนักล่าที่กินปลาเป็นอาหารทั้งสองชนิดอย่างวงศ์นกกระสา, วงศ์นกยาง, วงศ์นกนางนวล, วงศ์นกสคัว, เพนกวิน และวงศ์นกกระเต็นน้อย เช่นเดียวกันกับนกที่กินแมลงเป็นหลักอย่างนกเกาะคอน (เช่น นกอีเสือ) และนกอย่างnightjar และ frogmouth นกนักล่าที่สูญพันธุ์บางชนิดมีกรงเล็บคล้ายกับนกล่าเหยื่อสมัยใหม่ เช่น ญาติของmousebird (Sandcoleidae),[4] Messelasturidae และ Enantiornithes บางชนิด[5] แสดงว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีวิวัฒนาการเบนเข้า

การจำแนก แก้

คำว่า raptor มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า rapio หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง[6] ชื่อสามัญของนกหลายชนิดอิงจากโครงสร้างร่างกาย แต่ชื่อท้องถิ่นหลายชื่อไม่สะท้อนความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างกลุ่ม

 
ภาพวาดแสดงถึงความกว้างของปีกของนกล่าเหยื่อประเภทต่าง ๆ

การจำแนกในอดีต แก้

การจำแนกในสมัยใหม่ แก้

 
อินทรีหัวขาว

และอาจรวมถึงกลุ่มนกที่หากินในเวลากลางคืนด้วย ได้แก่ นกในอันดับ Strigiformes

วิวัฒนาการชาติพันธุ์ แก้

ข้างล่างนี้คือตารางวิวัฒนาการชาติพันธุ์แบบย่อของ Telluraves ซึ่งเป็นเคลดของนกล่าเหยื่อที่อยู่ร่วมกับนกเกาะคอนและสายเลือดที่ใกล้กับนกเกาะคอน[8][9][10] อันดับในอักษรตัวหนาเป็นอันดับของนกล่าเหยื่อ

Telluraves
Afroaves
Accipitrimorphae

Accipitriformes (เหยี่ยวและญาติ)  



Cathartiformes (แร้งโลกใหม่) 





Strigiformes (นกฮูก) 



Coraciimorphae (นกหัวขวาน นกตะขาบ นกเงือก ฯลฯ) 




Australaves

Cariamiformes (seriema) 


Eufalconimorphae

Falconiformes (เหยี่ยว) 



Psittacopasserae (นกแก้วและ songbird) 






ในประเทศไทยและการอพยพย้ายถิ่น แก้

ในประเทศไทย มีนกล่าเหยื่อทั้งหมดจำนวน 55 ชนิด มากกว่า 32 ชนิดเป็นนกอพยพย้ายถิ่นในฤดูหนาว หรือ นกอพยพจากแถบประเทศทางซีกโลกเหนือ เช่น มองโกเลีย, จีน, ธิเบต, ไซบีเรีย, เกาหลี, ญี่ปุ่น ผ่านประเทศไทยไปประเทศอื่นในคาบสมุทรมลายู เพื่อหลบหนีความหนาวไปทางซีกโลกทางใต้ที่อากาศอบอุ่นกว่าและอาหารการกินอุดมสมบูรณ์กว่า โดยสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการบินของนกล่าเหยื่ออพยพ คือ มวลอากาศร้อนและกระแสลม มวลอากาศร้อนเป็นสิ่งสำคัญต่อการบินอพยพของนก เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในระหว่างการบินอพยพเมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงส่งความร้อนมายังพื้นผิวโลก มีการดูดซับพลังงานความร้อนไว้แล้วค่อย ๆ ลอยตัวสูงขึ้นรวมตัวกันจนมีความหนาแน่นมาก เรียกว่า มวลอากาศ ซึ่งอาจเกิดในที่โล่งหรือแนวเทือกเขาก็ได้ เมื่อมีกระแสลมพัดเอามวลอากาศร้อนที่อยู่ตามทุ่งไปปะทะกับภูเขาซึ่งเปรียบเสมือนกำแพงกั้น ทำให้มวลอากาศร้อนรวมกันเป็นก้อนใหญ่ลอยสูงขึ้นสู่ฟ้า นกล่าเหยื่อที่บินอพยพจะมองเห็นและใช้มวลอากาศร้อนพยุงตัวไปข้างหน้า ซึ่งในแต่ละวันเมื่อถึงเวลาเย็นนกล่าเหยื่อจะหาที่พักผ่อนในเวลากลางคืน เพื่อเตรียมอพยพในวันรุ่งขึ้น เป็นอย่างนี้ทุกวันจนกว่าจะถึงเป้าหมายที่จะอาศัยอยู่ตลอดช่วงฤดูหนาว บริเวณประเทศแถบใกล้เส้นศูนย์สูตรในประเทศไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นประเทศหลัก โดยเมื่อเวลาผ่านไปถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป นกล่าเหยื่อเหล่านี้จะบินอพยพกลับไปถิ่นฐานเดิมเพื่อรังวางไข่อีกครั้ง[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Perrins, Christopher, M; Middleton, Alex, L. A., บ.ก. (1984). The Encyclopaedia of Birds. Guild Publishing. p. 102.
  2. Fowler, Denver W.; Freedman, Elizabeth A.; Scannella, John B.; Pizzari, Tom (25 November 2009). "Predatory Functional Morphology in Raptors: Interdigital Variation in Talon Size Is Related to Prey Restraint and Immobilisation Technique". PLOS ONE. 4 (11): e7999. Bibcode:2009PLoSO...4.7999F. doi:10.1371/journal.pone.0007999. PMC 2776979. PMID 19946365.
  3. 3.0 3.1 Burton, Philip (1989). Birds of Prey. illustrated by Boyer, Trevor; Ellis, Malcolm; Thelwell, David. Gallery Books. p. 8. ISBN 978-0-8317-6381-7.
  4. Mayr, Gerald (19 April 2018). "New data on the anatomy and palaeobiology of sandcoleid mousebirds (Aves, Coliiformes) from the early Eocene of Messel". Palaeobiodiversity and Palaeoenvironments. 98 (4): 639–651. doi:10.1007/s12549-018-0328-1. S2CID 134450324.
  5. Xing, Lida; McKellar, Ryan C.; O'Connor, Jingmai K.; Niu, Kecheng; Mai, Huijuan (29 October 2019). "A mid-Cretaceous enantiornithine foot and tail feather preserved in Burmese amber". Scientific Reports. 9 (1): 15513. Bibcode:2019NatSR...915513X. doi:10.1038/s41598-019-51929-9. PMC 6820775. PMID 31664115.
  6. Brown, Leslie (1997). Birds of Prey. Chancellor Press. ISBN 978-1-85152-732-8.
  7. McClure, Christopher J. W.; Schulwitz, Sarah E.; Anderson, David L.; Robinson, Bryce W.; Mojica, Elizabeth K.; Therrien, Jean-Francois; Oleyar, M. David; Johnson, Jeff (2019). "Commentary: Defining Raptors and Birds of Prey". Journal of Raptor Research. BioOne COMPLETE. 53 (4): 419. doi:10.3356/0892-1016-53.4.419. S2CID 207933673.
  8. Yuri, Tamaki; Kimball, Rebecca; Harshman, John; Bowie, Rauri; Braun, Michael; Chojnowski, Jena; Han, Kin-Lan; Hackett, Shannon; Huddleston, Christopher; Moore, William; Reddy, Sushma; Sheldon, Frederick; Steadman, David; Witt, Christopher; Braun, Edward (13 March 2013). "Parsimony and Model-Based Analyses of Indels in Avian Nuclear Genes Reveal Congruent and Incongruent Phylogenetic Signals". Biology. 2 (1): 419–444. doi:10.3390/biology2010419. PMC 4009869. PMID 24832669.
  9. Ericson, Per G. P. (May 2012). "Evolution of terrestrial birds in three continents: biogeography and parallel radiations". Journal of Biogeography. 39 (5): 813–824. doi:10.1111/j.1365-2699.2011.02650.x. S2CID 85599747.
  10. Jarvis, Erich D.; Mirarab, Siavash; Aberer, Andre J.; Li, Bo; Houde, Peter; Li, Cai; Ho, Simon Y. W.; Faircloth, Brant C.; Nabholz, Benoit; Howard, Jason T.; Suh, Alexander; Weber, Claudia C.; da Fonseca, Rute R.; Li, Jianwen; Zhang, Fang; Li, Hui; Zhou, Long; Narula, Nitish; Liu, Liang; Ganapathy, Ganesh; Boussau, Bastien; Bayzid, Md. Shamsuzzoha; Zavidovych, Volodymyr; Subramanian, Sankar; Gabaldón, Toni; Capella-Gutiérrez, Salvador; Huerta-Cepas, Jaime; Rekepalli, Bhanu; Munch, Kasper; และคณะ (12 December 2014). "Whole-genome analyses resolve early branches in the tree of life of modern birds". Science. 346 (6215): 1320–1331. Bibcode:2014Sci...346.1320J. doi:10.1126/science.1253451. PMC 4405904. PMID 25504713.
  11. เรียนรู้วิถีนกล่าเหยื่ออพยพข้ามถิ่น ประเทศไทยคือเส้นทางหลัก!! จากเดลินิวส์

อ่านเพิ่ม แก้

  • Brown, Leslie (2013). British birds of prey : a study of Britain's 24 diurnal raptors. Hammersmith, London: HarperCollins Publishers. ISBN 9780007406487.
  • Dunne, Pete; Karlson, Kevin (2017). Birds of Prey Hawks, Eagles, Falcons, and Vultures of North America. Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 9780544018440. OCLC 953709935.
  • Macdonald Lockhart, James (2017). Raptor : a journey through birds. Chicago: The University of Chicago Press. ISBN 9780226470580. OCLC 959200538.
  • Mackenzie, John P. S. (1997). Birds of prey. Toronto, Ont: Key Porter Books. ISBN 9781550138030. OCLC 37041161.
  • Newman, Kenneth (1999). Kenneth Newman's birds of prey of southern Africa : rulers of the skies : an identification guide to 67 species of southern African raptors. Knysna, South Africa: Korck Pub. ISBN 978-0620245364. OCLC 54470834.
  • Olsen, Jerry 2014, Australian High Country raptors, CSIRO Publishing, Melbourne, ISBN 9780643109162.
  • Remsen, J. V. Jr., C. D. Cadena, A. Jaramillo, M. Nores, J. F. Pacheco, M. B. Robbins, T. S. Schulenberg, F. G. Stiles, D. F. Stotz, and K. J. Zimmer. [Version 2007-04-05.] A classification of the bird species of South America. American Ornithologists' Union. Accessed 2007-04-10.
  • Yamazaki, Tour (2012). Field guide to Raptors of Asia. London: Asian Raptor research and Conservation Network. ISBN 9786021963531. OCLC 857105968.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้