นกยางกรอกพันธุ์จีน

นกยางกรอกพันธุ์จีน[2] (อังกฤษ: Chinese pond heron, ชื่อวิทยาศาสตร์: Ardeola bacchus) เป็นนกน้ำจืดเอเชียตะวันออกพันธุ์หนึ่งในวงศ์นกยาง (Ardeidae) เป็นพันธุ์หนึ่งใน 6 สปีชีส์ที่อยู่ในสกุล Ardeola (อังกฤษ: pond heron) มันเป็นสปีชีส์ที่เกิดข้างบริเวณ (parapatric) หรือเกือบอย่างนั้นกับนกยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) ทางทิศตะวันตก และนกยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) ทางใต้ นกสามสปีชีส์นี้สมมุติว่าประกอบเป็นซูเปอร์สปีชีส์ นกกลุ่มนี้เป็นญาติกับ squacco heron (A. ralloides) และนกยางกรอกพันธุ์มาดากัสการ์ (A. idae) จนถึงกลางปี 2011 ก็ยังไม่ได้วิเคราะห์ยีนของนกสกุลนี้ว่าสัมพันธ์กับกันและกันเช่นไร[3] และก็ยังไม่ได้วิเคราะห์กระดูกเพื่อเปรียบเทียบนกต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นเช่นกัน[4] ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2]

นกยางกรอกพันธุ์จีน
(Chinese pond heron)
ขนนกในฤดูผสมพันธุ์
ขนนกนอกฤดูผสมพันธุ์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
Aves
อันดับ: นกกระทุง
Pelecaniformes
วงศ์: วงศ์นกยาง
Ardeidae
สกุล: Ardeola
Ardeola
(Bonaparte, 1855)
สปีชีส์: Ardeola bacchus
ชื่อทวินาม
Ardeola bacchus
(Bonaparte, 1855)
การกระจายตัวของ A. bacchus เทียบกับนกที่ใกล้เคียงกับมันมากที่สุด
  Ardeola bacchus การกระจายตัวในฤดูผสมพันธุ์
  Ardeola bacchus การกระจายตัวเพิ่มนอกฤดูผสมพันธุ์
  Ardeola grayii range
  Ardeola speciosa range
นกบินขึ้น ขนนอกฤดูผสมพันธุ์

ลักษณะและนิเวศวิทยา

แก้

นกปกติยาว 47 ซม. มีปีกขาว ปากเหลืองปลายดำ ตาและขาเหลือง ในฤดูผสมพันธุ์ สีทั่วไปเป็นสีแดง น้ำเงิน (หรือเทา-ดำ) และขาว[5]คือ หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทาอมดำ อกสีแดง[6] และนอกฤดูผสมพันธุ์ เป็นสีน้ำตาล-เทามีลายและจุดขาว ๆ[5]

นกอยู่ที่พื้นที่ชุ่มน้ำและสระน้ำตื้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเค็มน้ำจืดในประเทศจีนและในเอเชียตะวันออกเขตอบอุ่นและเขตกึ่งร้อนที่ใกล้ ๆ กัน เพราะเป็นนกที่ลุ่ม ที่อยู่จึงจำกัดโดยเขตกึ่งอาร์กติกทางเหนือ โดยทิวเขาทางตะวันตกและทางใต้[5]

นกเดี่ยว ๆ อาจจะจรจัดไปไกลในที่อื่นบ้าง มีรายงานปี 1995 ว่าเห็นนกมีขนช่วงผสมพันธุ์ตัวหนึ่งที่แม่น้ำ Bonzon ใกล้เมือง Gangaw ในเขตมะกเว (รัฐชีน) ของประเทศพม่า เกินจากแนวตะวันตกที่เป็นเขตของสปีชีส์นี้ มีรายงานปี 1997 ว่าเห็นนกมาหยุดพักที่เกาะเซนต์พอล รัฐอะแลสกา เป็นการบันทึกเห็นนกเป็นครั้งแรกในสหรัฐ[7][8] นกกินแมลง ปลา และกุ้งกั้งปู มักทำรังกับนกยางพันธุ์ต่าง ๆ วางไข่สีเขียวออกน้ำเงิน 3-6 ฟอง[5]

นกค่อนข้างสามัญและไม่จัดว่าเสี่ยงสูญพันธุ์ (threatened) โดยสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ[9] แต่ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2]

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. BirdLife International (2012). "Ardeola bacchus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 2013-11-26.
  2. 2.0 2.1 2.2 "สัตว์ป่าคุ้มครอง". โลกสีเขียว. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23. ๗๐๓ นกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus)
  3. Though a number of studies have used DNA of A. bacchus, there is almost no comparison data from other Ardeola: GenBank: Ardeola bacchus, Ardeola. Retrieved 2011-JUL-14.
  4. McCracken, Kevin G.; Sheldon, Frederick H. (1998). "Molecular and osteological heron phylogenies: sources of incongruence" (PDF). Auk. 115: 127–141. doi:10.2307/4089118.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Robson, Craig R. (2002). A guide to the birds of Southeast Asia: Thailand, Peninsular Malaysia, Singapore, Myanmar, Laos, Vietnam, Cambodia. New Holland, London.
  6. "กรอก", พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, ๒ น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทาอมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
  7. Robson, Craig R.; Buck, H.; Farrow, D.S.; Fisher, T.; King, B.F. (1998). "A birdwatching visit to the Chin Hills, West Burma (Myanmar), with notes from nearby areas" (PDF). Forktail. 13: 109–120. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-23.
  8. American Ornithologists' Union (2000). "Forty-second supplement to the American Ornithologists' Union Check-list of North American Birds" (PDF). The Auk. 117 (3): 847. doi:10.1642/0004-8038(2000)117[0847:FSSTTA]2.0.CO;2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 2019-09-12.
  9. BirdLife International (2012). Ardeola bacchus. In: IUCN 2012. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้