ธรรมชาติวิทยา
ธรรมชาติวิทยา หรือ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ หมายถึงคำรวมที่ใช้เรียกสรรพสิ่งทั้งหลายที่ปัจจุบันมองว่าเป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเฉพาะชัดเจน นิยามเกือบทั้งหมดรวมถึงการศึกษาสิ่งมีชีวิต (เช่น ชีววิทยา รวมทั้งพฤกษศาสตร์และสัตววิทยา) นิยามอื่นได้ขยายเนื้อหารวมไปถึง บรรพชีวินวิทยา นิเวศวิทยา ดาราศาสตร์ หรือชีวเคมี รวมทั้งธรณีวิทยาและฟิสิกส์ หรือแม้แต่อุตุนิยมวิทยา บุคคลผู้สนใจในธรรมชาติวิทยาเรียกว่า "นักธรรมชาติวิทยา"
ประวัติศาสตร์ของธรรมชาติวิทยา
แก้ต้นตอของธรรมชาติวิทยาย้อนยาวไปถึงสมัยของ อริสโตเติลและนักปราชญ์โบราณคนอื่น ๆ ที่ได้วิเคราะห์ค้นหาความหลากหลายของธรรมชาติในโลก นับตั้งแต่กรีกโบราณมาจนถึงยุคของคาโรลัส ลินเนียส และนักธรรมชาติวิทยาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 อีกหลายคน แนวคิดหลักที่ผูกกันไว้ก็คือ scala naturae หรือ"ห่วงโซ่อันยิ่งใหญ่แห่งการมีชีวิตอยู่" ที่จัดรวมเอาแร่ธาตุ พืช สัตว์และสิ่งมีชีวิตชั้นสูงมาเรียงเป็นเส้นยาวแห่งการเพิ่ม "ความสมบูรณ์" ธรรมชาติวิทยามาหยุดนิ่งอยู่นานในยุคกลาง โดยเฉพาะเมื่อมีความพยายามเอางานของ อริสโตเติลมาผสมกับปรัชญาคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะ โทมัส อควินัส ซึ่งได้กลายมาเป็นรูปพื้นฐานของวิชาเทววิทยาธรรมชาติ (natural theology) ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา นักวิชาการ (โดยเฉพาะแพทย์สมุนไพร) ได้หันกลับไปสู่ธรรมชาติวิทยาด้วยการสังเกตการณ์กับต้นพืชและสัตว์โดยตรงอีกครั้งหนึ่ง และหลายคนเริ่มต้นการสะสมต้นไม้แปลก ๆ และสัตว์ประหลาดมากขึ้น การเพิ่มจำนวนของชนิดของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มากขึ้นจนเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้เกิดความพยายามในการจัดหมวดหมู่อนุกรมวิธานที่ถึงจุดสูงสุดของระบบเป็นที่รู้จักกันดีว่า "ระบบลินเนียส"
ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 ย่างต่อเนื่องสู่ศตวรรษที่ 19 คำเรียกสาขา "ธรรมชาติวิทยา" หรือ "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ" ส่วนใหญ่ใช้หมายถึงบริบทที่เป็นการพรรณนาว่าด้วยการศึกษาธรรมชาติ ซึ่งตรงข้ามกับประวัติศาสตร์ด้านรัฐศาสตร์หรือด้านศาสนา ซึ่งเป็นน้ำหนักถ่วงดุลการศึกษาเชิงวิเคราะห์ด้านธรรมชาติ นั่นคือ "ปรัชญาธรรมชาติ" ซึ่งเนื้อหาวิชาจะรวมแนวคิดด้านฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ การใช้ในลักษณะกว้าง ๆ เช่นนี้ ก็ยังคงใช้กันอยู่ในบางสถาบัน เช่น พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ และสมาคม โดยเริ่มต้นในยุโรป วิชาชีพเฉพาะต่าง ๆ เช่น สรีรวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์ ธรณีวิทยา และต่อมาเกิดยังได้เกิดเป็นวิทยาเซลล์ (cytology) และคัพภวิทยา (embryology) ขึ้น
ธรรมชาติวิทยาเดิมเป็นวิชาหลักที่เปิดสอนเฉพาะในมหาวิทยาลัยโดยอาจารย์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่นาน ๆ เข้าจึงได้กระจายออกมาสู่กิจกรรมของนักสะสมสมัครเล่นมากกว่าการเป็นวิทยาศาสตร์แท้ ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและอเมริกาที่งานในด้านนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นงานอดิเรกเฉพาะชนิดมากขึ้น เช่นการศึกษาเรื่องนก ผีเสื้อและดอกไม้ป่า ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ก็ได้พยายามบ่งชี้สาขาวิชาชีววิทยาให้เด่นชัดและรวมกันให้เป็นตัวตนที่ชัดเจนขึ้น (แม้จะมีเพียงบางส่วนที่เป็นผลสำเร็จ แต่อย่างน้อย ๆ ก็ได้มาถึงขั้น "การสังเคราะห์วิวัฒนาการสมัยใหม่" (modern evolutionary synthesis) แต่ถึงกระนั้น ธรรมเนียมของธรรมชาติวิทยาก็ยังคงเล่นบทบาทของชีววิทยาเมื่อครั้งคริสต์ศตวรรษ 19 และ 20 อยู่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับด้านนิเวศวิทยา พฤติกรรมวิทยา (ethology) และ วิวัฒนาการชีววิทยา
นักสะสมสมัครเล่นหลายคนและนักประกอบการทางธรรมชาติวิทยาหลายคนมีบทบาทสำคัญในการสร้างสถาบันสะสมธรรมชาติวิทยาขนาดใหญ่ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา สถาบันสมิทโซเนียน
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
แก้คำว่า "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ" เป็นตัวลวงทำเกิดความเข้าใจผิดในชื่อของสถาบัน เช่นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติลอนดอน พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติฮัมโบลด์เบอร์ลิน ฯลฯ รวมทั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกันในนครนิวยอร์ก ที่มักใช้ชื่อประกอบว่า "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ"
ประวัติศาสตร์
แก้พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติซึ่งมีวิวัฒนาการมากจาก "ห้องแห่งความอยากรู้อยากเห็น" (cabinets of curiosities) ของคนสมัยก่อนที่มีผลให้เกิดสาขาวิชาและการวิจัยเฉพาะทางชีววิทยาสมัยนั้นขึ้น โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์เริ่มใช้การสะสมทางประวัติศาสตร์ธรรมชาติมาเป็นชิ้นตัวอย่างในการเรียนการสอนนักศึกษาชั้นสูง รวมทั้งใช้ชิ้นสิ่งของสะสมที่หายากแต่มีสะสมไว้ครบมาเป็นวัสดุวิจัยด้านสัณฐานวิทยาของตัวเองด้วย พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติจึงเจริญก้าวหน้าขยายตัวเป็นที่แพร่หลายและยอมรับกันทั่วโลก
สมาคมธรรมชาติวิทยา
แก้คำว่า "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ" เพียงคำเดียวได้ถูกนำไปใช้เป็นชื่อของ สมาคมประวัติศาสตร์ธรรมชาติ เป็นจำนวนมากทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นที่มีเพียงการสะสมนก (ปักษีวิทยา) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมลง (กีฏวิทยา) บ้างและพฤกษศาสตร์บ้าง รวมทั้งยังอาจมีส่วนที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์มองและส่วนธรณีวิทยา
ตัวอย่างของสมาคมต่าง ๆ เหล่านี้ในสหราชอาณาจักร ได้แก่สมาคมกีฏวิทยาและประวัติศาสตร์ธรรมชาติอังกฤษ ที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2415 สมาคมประวัติศาสตร์ธรรมชาติเบอร์มิงแฮม สมาคมประวัติศาสตร์ธรรมชาติกลาสโกว์ สมาคมประวัติศาสตร์ธรรมชาติลอนดอน สมาคมจุลชีวะและประวัติศาสตร์ธรรมชาติแมนเชสเตอร์เป็นต้น ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2443 ตัวกระตุ้นรุนแรงที่ทำให้เกิดการขยายตัวของสมาคมประเภทนี้เป็นอย่างมากนี้เกิดจากการที่อังกฤษมีอาณานิคมมากมายในเขตร้อน มีการค้นพบชนิดของสรรพสิ่งธรรมชาติใหม่ ๆ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากมาย ข้าราชการในอาณานิคมจำนวนมากก็มีความสนใจในสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ จึงได้จัดเก็บตัวอย่างสิ่งธรรมชาติใหม่ ๆ จำนวนมหาศาลเหล่านั้นกลับไปมอบให้พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในประเทศของตน
อ้างอิง
แก้- Kohler, Robert E. Landscapes and Labscapes: Exploring the Lab-Field Border in Biology. University of Chicago Press: Chicago, 2002.
- Mayr, Ernst. The Growth of Biological Thought: Diversity, Evolution, and Inheritance. The Belknap Press of Harvard University Press: Cambridge, Massachusetts, 1982.
- Rainger, Ronald; Keith R. Benson; and Jane Maienschein, editors. The American Development of Biology. University of Pennsylvania Press: Philadelphia, 1988.
- Witzany, Guenther. "Natural history of life: history of communication logics and dynamics". S.E.E.D. Journal 5:27-55, 2005.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Natural History Museum, London
- London Natural History Society
- Birmingham Natural History Society เก็บถาวร 2009-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Bombay Natural History Society, India
- Glasgow Natural History Society
- Manchester Microscopical & Natural History Society
- Sorby Natural History Society, Sheffield
- American Museum of Natural History, New York
- Burke Museum of Natural History and Culture, Seattle
- Field Museum of Natural History, Chicago
- Rhode Island Natural History Survey เก็บถาวร 2006-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Natural History New Zealand Ltd