อ้าวจุ๋น

(เปลี่ยนทางจาก โฮจุ้น)

อ้าวจุ๋น หรือ โฮจุ้น หริอ โฮจุ๋น (เสียชีวิต 12 สิงหาคม ค.ศ. 256[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หู จุน (จีน: 胡遵; พินอิน: Hú Zūn) เป็นขุนพลของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีนและเป็นคนสนิทของสุมาอี้ เข้าร่วมในการทัพต้านการบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง, การบุกเลียวตั๋งของสุมาอี้, ยุทธการที่ตังหิน, การปราบกบฏบู๊ขิวเขียม เป็นต้น

อ้าวจุ๋น (หู จุน)
胡遵
ขุนพลพิทักษ์ (衛將軍 เว่ย์เจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 255 (255) – ค.ศ. 256 (256)
กษัตริย์โจมอ
หัวหน้ารัฐบาลสุมาเจียว
มหาขุนพลบุกภาคตะวันออก
(征東大將軍 เจิงตงต้าเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 255 (255)
กษัตริย์โจมอ
หัวหน้ารัฐบาลสุมาสู
ขุนพลบุกภาคตะวันออก
(征東將軍 เจิงตงเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
หัวหน้ารัฐบาลสุมาสู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
อำเภอเจิ้น-ยฺเหวียน มณฑลกานซู่
เสียชีวิต12 สิงหาคม ค.ศ. 256[a]
บุตรหู กว่าง
หู เฟิ่น
หู เลี่ย
หู ฉี
บุตรชายอีก 2 คน
อาชีพขุนพล
สมัญญานามอินมี่โหว (陰密侯)

ประวัติ แก้

อ้าวจุ๋นเป็นชาวอำเภอหลินจิง (臨涇縣 หลินจิงเซี่ยน) เมืองฮันเต๋ง (安定郡 อานติ้งจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอเจิ้น-ยฺเหวียน มณฑลกานซู่

ในปี ค.ศ. 233 หูเป๋าจฺวีจือจื๋อ (胡薄居姿職) ประมุขชนเผ่าซฺยงหนูที่อยู่บริเวณแนวชายแดนเมืองฮันเต๋งได้ก่อกบฏ สุมาอี้ส่งอ้าวจุ๋นและคนอื่น ๆ ยกไปโจมตีและปราบปรามกบฏเป็นผลสำเร็จ[2]

ในปี ค.ศ. 234 สุมาอี้ส่งอ้าวจุ๋นไปร่วมสนับสนุนกุยห้วยในการต้านการบุกของจูกัดเหลียง[3]

ในปี ค.ศ. 238 กองซุนเอี๋ยนแห่งเลียวตั๋งก่อกบฏ อ้าวจุ๋นเป็นขุนพลใต้บังคับบัญชาของสุมาอี้ในการปราบกองซุนเอี๋ยน อ้าวจุ๋นโจมตีและเอาชนะปีเอี๋ยนและเอียวจอ ขุนพลของกองซุนเอี๋ยน[4]

ในปี ค.ศ. 251 สุมาสูขึ้นมามีอำนาจในราชสำนักวุยก๊ก อ้าวจุ๋น รวมถึงจูกัดเอี๋ยน บู๊ขิวเขียม อองซอง และต้านท่ายต่างรักษาเขตรับผิดชอบของตน[5]

ในปี ค.ศ. 252 ฤดูหนาวเดือน 11 อ้าวจุ๋นพร้อมด้วยอองซอง บู๊ขิวเขียม และคนอื่น ๆ รบชนะทัพง่อก๊ก[6] แต่ในเดือน 12 ปีเดียวกัน ทั้งหมดพ่ายแพ้ให้กับจูกัดเก๊กขุนพลง่อก๊ก[7]

ในปี ค.ศ. 255 อ้าวจุ๋นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นขุนพลพิทักษ์ (衛將軍 เว่ย์เจียงจฺวิน) จากความดีความชอบในการมีส่วนร่วมในการปราบกบฏบู๊ขิวเขียมและพวก[8][9]

อ้าวจุ๋นเสียชีวิตในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 256[a] หลังจากที่เสียชีวิต อ้าวจุ๋นได้รับการเลื่อนขั้นย้อนหลังให้เป็นขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน) และได้รับสมัญญานามว่า อินมี่โหว (陰密侯)[10]

ครอบครัว แก้

อ้าวจุ๋นมีบุตรชาย 6 คน ได้แก่ หู กว่าง (胡廣), หู เฟิ่น (胡奮), หู เลี่ย (胡烈), หู ฉี่ (胡岐) และบุตรชายอีก 2 คนที่ไม่ปรากฏชื่อ[11][12]

หู กว่างมีตำแหน่งเป็นขุนนางทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซ่านฉีฉางชื่อ) และเสนาบดีเจ้ากรมมหาดเล็ก (少府 เฉาฝู่)[13] บุตรชายของหู กว่างชื่อ หู สี่ (胡喜) มีตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑลเลียงจิ๋ว (涼州刺史 เหลียงโจวชื่อฉื่อ) และนายพันป้องกันชนเผ่าเกี๋ยง (護羌校尉 ฮู่เชียงเซี่ยวเว่ย์)[13]

หู เฟิ่นมีตำแหน่งเป็นขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน) ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก บุตรสาวของหู เฟิ่นชื่อหู ฟาง (胡芳) เป็นสนมของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยน (จิ้นอู่ตี้)

หู เลี่ยมีตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑลฉินโจว (秦州刺史 ฉินโจวชื่อฉื่อ) บุตรชายของหู เลี่ยชื่อ หู เยฺวียน (胡淵)

หู ฉี่มีตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑลเป๊งจิ๋ว (并州刺史 ปิงโจวชื่อฉื่อ)

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 พระราชประวัติโจมอในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าอ้าวจุ๋นเสียชีวิตในวันจี๋เหม่าในเดือน 7 ของศักราชกำลอปีที่ 1 ในรัชสมัยจักรพรรดิโจมอ[1] เทียบได้กับวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 256 ในปฏิทินกริโกเรียน

อ้างอิง แก้

  1. ([甘露元年] 秋七月己卯,衞將軍胡遵薨。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  2. ((青龍元年)秋九月,安定保塞匈奴大人胡薄居姿職等叛,司馬宣王遣將軍胡遵等追討,破降之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
  3. (帝(司馬懿)曰:「亮欲爭原而不向陽遂,此意可知也。」遣將軍胡遵、雍州剌史郭淮共備陽遂,與亮會于積石。臨原而戰,亮不得進,還於五丈原。) จิ้นชู เล่มที่ 1.
  4. ((景初二年六月)淵遣將軍卑衍、楊祚等步騎數萬屯遼隧,圍塹二十餘里。宣王軍至,令衍逆戰。宣王遣將軍胡遵等擊破之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.
  5. (諸葛誕、毌丘儉、王昶、陳泰、胡遵都督四方) จิ้นชู เล่มที่ 2.
  6. (十一月,詔王昶等三道擊吳。十二月,王昶攻南郡,毌丘儉向武昌,胡遵、諸葛誕率衆七萬攻東興。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
  7. (甲寅,吳太傅恪將兵四萬,晨夜兼行,救東興。胡遵等敕諸軍作浮橋以度,陳於坻上,分兵攻兩城。城在高峻,不可卒拔。諸葛恪使冠軍將軍丁奉呂據留贊唐咨為前部,從山西上。奉謂諸將曰:「今諸軍行緩,若賊據便地,則難以爭鋒,我請趨之。」乃辟諸軍使下道,奉自率麾下三千人徑進。時北風,奉舉帆二日,即至東關,遂據徐塘。時天雪,寒,胡遵等方置酒高會。奉見其前部兵少,謂其下曰:「取封侯爵賞,正在今日!」乃使兵皆解鎧,去矛戟,但兜鍪刀楯,裸身緣堨。魏人望見,大笑之,不即嚴兵。吳兵得上,便鼓噪,斫破魏前屯,呂據等繼至。魏軍驚擾散走,爭渡浮橋,橋壞絕,自投於水,更相蹈藉。前部督韓綜、樂安太守桓嘉等皆沒,死者數萬。綜故吳叛將,數為吳害,吳大帝常切齒恨之,諸葛恪命送其首以白大帝廟。獲車乘、牛馬、騾驢各以千數,資器山積,振旅而歸。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
  8. (吳丞相峻率驃騎將軍呂據、左將軍會稽留贊襲壽春,司馬師命諸軍皆深壁高壘,以待東軍之集。諸將請進軍攻項,師曰:「諸軍得其一,未知其二。淮南將士本無反志,儉、欽說誘與之舉事,謂遠近必應;而事起之日,淮北不從,史招、李繼前後瓦解,內乖外叛,自知必敗。困獸思鬥,速戰更合其志。雖雲必克,傷人亦多。且儉等欺誑將士,詭變萬端,小與持久,詐情自露,此不戰而克之術也。」乃遣諸葛誕督豫州諸軍,自安風向壽春;征東將軍胡遵督青、徐諸軍出譙、宋之間,絕其歸路;師屯汝陽。毌丘儉、文欽進不得鬥,退恐壽春見襲,計窮不知所為。淮南將士家皆在北,眾心沮散,降者相屬,惟淮南新附農民為之用。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 76.
  9. (秋七月,以征东大将军胡遵为卫将军) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  10. (胡奮,字玄威,安定臨涇人也,魏車騎將軍陰密侯遵之子也。) จิ้นชู เล่มที่ 57.
  11. (胡烈兒名渊,字世元,遵之孙也。遵,安定人,以才兼文武,累居籓镇,至车骑将军。子奋,字玄威,亦历方任。女为晋武帝贵人,有宠。太康中,以奋为尚书仆射,加镇军大将军、开府。弟广,字宣祖,少府。次烈,字玄武,秦州刺史。次岐,宇玄嶷,并州刺史。) จิ้นจูกงจ้าน
  12. (奮兄弟六人,兄廣,弟烈,並知名。) จิ้นชู เล่มที่ 57.
  13. 13.0 13.1 (廣字宣祖,位至散騎常侍、少府。廣子喜,字林甫,亦以開濟為稱,仕至涼州刺史、建武將軍、假節、護羌校尉。)จิ้นชู เล่มที่ 57.

บรรณานุกรม แก้