กองซุนเอี๋ยน (เสียชีวิต ป. กันยายน ค.ศ. 238[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า กงซุน เยฺวียน (จีนตัวย่อ: 公孙渊; จีนตัวเต็ม: 公孫淵; พินอิน: Gōngsūn Yuān; เวด-ไจลส์: Kungsun Yüan ;การออกเสียง) ชื่อรอง เหวินอี้ (จีน: 文懿; พินอิน: Wényì) เป็นขุนพล ขุนนาง และขุนศึกผู้มีชีวิตในรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน กองซุนเอี๋ยนก่อกบฏต่อวุยก๊กในปี ค.ศ. 237 และสถาปนาตนเป็น "เอียนอ๋อง" (燕王 เยียนหวาง) หรืออ๋องแห่งรัฐเอียน ในปี ค.ศ. 238 สุมาอี้ขุนพลวุยก๊กนำทัพไปยังเลียวตั๋งและพิชิตรัฐเอียนได้สำเร็จ จับตัวกองซุนเอี๋ยนประหารชีวิต

กองซุนเอี๋ยน (กงซุน เยฺวียน)
公孫淵
ภาพวาดกองซุนเอี๋ยนจากนวนิยายภาพสามก๊ก (ค.ศ. 1957)
เอียนอ๋อง (燕王 เยียนหวาง)
ครองราชย์ค.ศ. 237– ป. กันยายน ค.ศ. 238
เจ้าเมืองเลียวตั๋ง (遼東太守 เลียวตงไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 228 (228) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจยอย
ก่อนหน้ากองซุนก๋ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
มณฑลเหลียวหนิง
เสียชีวิตป. กันยายน ค.ศ. 238
มณฑลเหลียวหนิง
บุตรกองซุนสิว
บุพการี
ความสัมพันธ์
อาชีพขุนพล, นักการเมือง, ขุนศึก
ชื่อรองเหวินอี้ (文懿)

ประวัติ

แก้

กองซุนเอี๋ยนเป็นบุตรชายของกองซุนของ ขุนศึกผู้ปกครองเมืองเลียวตั๋ง (遼東郡 เหลียวตงจฺวิ้น), เสฺวียนถู (玄菟郡 เสฺวียนถูจฺวิ้น), เล่อล่าง (樂浪郡 เล่อล่างจฺวิ้น) และไต้ฟาง (帶方郡 ไต้ฟางจฺวิ้น) ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก กองซุนของกลายเป็นขุนนางผู้ปกครองรัฐประเทศราชของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก เมื่อกองซุนของเสียชีวิต กงซุน หฺว่าง (公孙晃) และกองซุนของที่เป็นบุตรชายของกองซุนของต่างก็ยังอายุน้อยเกินไปที่สืบทอดอำนาจจากกองซุนของ กองซุนก๋งน้องชายของกองซุนของจึงรับช่วงต่อแทน[4] ในปี ค.ศ. 228 กองซุนเอี๋ยนที่เติบโตขึ้นได้ยึดอำนาจจากกองซุนก๋งผู้อาและให้จับตัวกองซุนก๋งไปขังคุก

แม้ว่ากองซุนเอี๋ยนจะเป็นผู้ปกครองรัฐประเทศราชของรัฐวุยก๊ก แต่กองซุนเอี๋ยนก็คิดจะเปลี่ยนไปเข้าด้วยง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก ท้ายที่สุดกองซุนเอี๋ยนกลับมาเข้าด้วยวุยก๊กเพราะแรงกดดันจากโจยอยจักรพรรดิวุยก๊ก กองซุนเอี๋ยนสังหารคณะทูตของง่อก๊ก แต่ทูตบางคนได้หนีไปอาณาจักรโคกูรยอ ซุนกวนจักรพรรดิง่อก๊กพยายามสร้างความเป็นพันธมิตรกับโคกูรยอเพื่อเปิดการโจมตีกองซุนเอี๋ยน แต่ในที่สุดโคกูรยอก็เข้าสนับสนุนวุยก๊กในการรบกับกองซุนเอี๋ยน

ในปี ค.ศ. 237 โจยอยจักรพรรดิแห่งวุยก๊กทรงกังวลในเรื่องอิทธิพลของกองซุนเอี๋ยนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ จึงส่งขุนพลบู๊ขิวเขียมให้นำทัพชาวจีนฮั่น ชนเผ่าออหวนและเซียนเปย์ไปโจมตีกองซุนเอี๋ยน แต่เกิดน้ำท่วมทำให้การทัพถูกยกเลิกไป กองซุนเอี๋ยนสถาปนาตนเป็น "เอียนอ๋อง" (燕王 เยียนหวาง) และติดต่อเป็นพันธมิตรกับง่อก๊กใหม่ ในปีถัดมาสุมาอี้และบู๊ขิวเขียมขุนพลวุยก๊กนำทัพเข้ารบกับกองซุนเอี๋ยน กองซุนเอี๋ยนพ่ายแพ้และถูกสังหาร ขณะที่ตระกูลของกองซุนเอี๋ยนก็ถูกกวาดล้าง ด้วยเหตุนี้เลียวตั๋งและอาณาบริเวณที่เป็นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาหลีในปัจจุบันจึงกลายเป็นอาณาเขตของวุยก๊ก

พงศาวลี

แก้
 
 
 
 
เจี้ยนอี้โหว (建义侯)
กงซุน เหยียน (公孙延)
(แต่งตั้งย้อนหลัง)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หย่งหนิงเซียงโหว (永寧鄉侯)
กงซุน ตู้ (公孙度)
?-190-204
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เซียงผิงโหว (襄平侯)
กองซุนของ (公孙康 กงซุน คาง)
?-204-?
 
ผิงกัวโหว (平郭侯)
กองซุนก๋ง (公孙恭 กงซุน กง)
?-?-228-?
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กงซุน หฺว่าง (公孙晃)
 
เอียนอ๋อง (燕王 เยียนหวาง)
กองซุนเอี๋ยน (公孙渊 กงซุน เยฺวียน)
?-228-238
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองซุนสิว (公孙脩 กงซุน ซิว)
?-238

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. พระราชประวัติโจยอยในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าสุมาอี้นำทัพล้อมเซียงเป๋งในวันปิ่งอิ๋น (丙寅) ของเดือน 8 ศักราชจิ่งชูปีที่ 2[1] อย่างไรก็ตาม เดือนนั้นไม่มีวันปิ่งอิ๋น วันปิ่งอิ๋นถัดมาอยู่ในเดือน 9 ของปีเดียวกัน และเทียบได้กับวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 238[2] ในปฏิทินจูเลียน จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 74 ระบุว่าเซียงเป๋งถูกตีแตกในวันเหรินอู่ (任午) ของเดือน 8 ปีนั้น[3] อย่างไรก็ตาม เดือนนั้นไม่มีวันเหรินอู่ วันเหรินอู่ถัดมาก็อยู่ในเดือน 9 เช่นกัน และเทียบได้กับวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 238 ในปฏิทินจูเลียน

อ้างอิง

แก้
  1. (丙寅,司馬宣王圍公孫淵於襄平,大破之,傳淵首于京都,海東諸郡平。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
  2. "中央研究院 兩千年中西曆轉換". sinocal.sinica.edu.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-15. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  3. (任午,襄平潰,淵與子修將數百騎突圍東南走,大兵急擊之,斬淵父子於梁水之上。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 74.
  4. (康死,子晃、淵等皆小,眾立恭為遼東太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.

บรรณานุกรม

แก้