โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ เดิมชื่อโรงเรียนศรีวิชัย ประกาศจัดตั้งเมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น เพื่อเตรียมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคใต้ เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะ ปัจจุบันโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ Triam Udom Suksa School of the South | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ต.อ. / TUS |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | ความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม นิมิตฺตํ สาธุ รูปานํ กตญฺญู กตเวทิตา (ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี) |
สถาปนา | 6 เมษายน พ.ศ. 2540 |
ผู้ก่อตั้ง | กระทรวงศึกษาธิการ |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1080210843 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | นางสาวโสภา ไสวศรี |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 |
จำนวนนักเรียน | 1,281 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2565) [1] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาเกาหลี |
สี | สีชมพู |
เพลง | ปิ่นหทัย |
เว็บไซต์ | http://www.triamudomsouth.ac.th/ |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - เผด็จการ อาณาจักรเกียมใต้ |
ประวัติ
แก้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ เดิมชื่อ โรงเรียนศรีวิชัย ประกาศจัดตั้งเมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น จัดตั้งขึ้นเพื่อเตรียมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคใต้ เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะ มีจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ซึ่งได้รับบริจาคที่ดินจาก บริษัท ซิตี้แลนด์ กรุ๊ป จำกัด จำนวน 46 ไร่ 1 งาน 28.5 ตารางวา ณ หมู่ที่ 6 ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จ. นครศรีธรรมราช
ระยะแรกโรงเรียนศรีวิชัย มีจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ อาคารเรียน5 ของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช โดยโรงเรียนศรีวิชัยเริ่มรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 4 ปีแรกจำนวน 2 ห้องเรียน เมื่ออาคารเรียน ณ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่ตั้งถาวรสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2540 คณะครูและนักเรียนได้ย้ายการเรียนการสอน มา ณ ที่ปัจจุบันและเริ่มรับนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 5 ห้องเรียน โดยแบ่งเป็นแผนการเรียนวิทย์-คณิต 3 ห้องเรียน และแผนการเรียนศิลป์-คำนวณ 2 ห้องเรียน
ต่อมาในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2540 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนศรีวิชัย เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ โดยนายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น เพื่อสนองนักเรียนใน 14 จังหวัดภาคใต้ ให้มีโอกาสเท่าเทียมกับนักเรียนในกรุงเทพมหานคร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ได้รับการสนับสนุนทางด้านวิชาการ และหลักสูตรจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อเตรียมนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะ
ใน พ.ศ. 2544 เริ่มรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 ห้องเรียน แบ่งเป็น แผนการเรียนวิทย์-คณิต 4 ห้องเรียน และแผนการเรียนศิลป์-คำนวณ 3 ห้องเรียน
ใน พ.ศ. 2547 เริ่มรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ห้องเรียน แบ่งเป็น แผนการเรียนวิทย์-คณิต 5 ห้องเรียน, แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ 3 ห้องเรียน, แผนการเรียนศิลป์-ภาษาจีน 1 ห้องเรียน และแผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น 1 ห้องเรียน[2]
การศึกษา
แก้ปัจจุบัน รับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีละประมาณ 450 คน โดยแบ่งการรับนักเรียนเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย
- นักเรียนประเภท T.U. Champion Test (ลำดับที่ 1-80)
- นักเรียนประเภทโควตา 14 จังหวัดภาคใต้
- นักเรียนความสามารถพิเศษ
- นักเรียนประเภทสอบคัดเลือกทั่วไป
- นักเรียนประเภทโครงการพิเศษส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ SME
ห้องเรียน
แก้ห้องเรียนมีจำนวน 11 ห้องเรียน แบ่งเป็น
- ห้อง 1 โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (คู่ขนาน) (30 คน)
- ห้อง 2 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ทั่วไป) (40 คน)
- ห้อง 3 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ทั่วไป) (40 คน)
- ห้อง 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ทั่วไป) (40 คน)
- ห้อง 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ทั่วไป) (40 คน)
- ห้อง 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (เตรียมวิศวะ) (40 คน)
- ห้อง 7 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (40 คน)
- ห้อง 8 แผนการเรียนภาษาไทย-สังคมศึกษา (40 คน)
- ห้อง 9.1 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจ (20 คน)
- ห้อง 9.2 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลี (20 คน)
- ห้อง 10 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีนเพื่อธุรกิจ (40 คน)
- ห้อง 11 โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (พิเศษ) (30 คน)
- ห้อง 12 แผนการเรียนอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (นักบริหารรุ่นเยาว์) (40 คน)
หลักสูตร
แก้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ โดยแบ่งตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นดังนี้
- โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (The Development and Promotion of Science Mathematics and English Gifted Program ; SME Gifted) (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2557)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2544)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (เตรียมวิศวะ) (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2564)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2544)
- แผนการเรียนภาษาไทย-สังคมศึกษา (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2547)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2547)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจ (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2564)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2547)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีนเพื่อธุรกิจ (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2564)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลี (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2562)
- แผนการเรียนอังกฤษ-คณิตศาสตร์ นักบริหารรุ่นเยาว (เปิดใช้หลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2567)
อาคารสถานที่
แก้- อาคาร 1 (อาคารศรีวิชัย หรืออาคาร 318 ล/27 พิเศษ)
- อาคาร 2 (อาคาร 7 ชั้น พิเศษ)
- อาคารเอนกประสงค์
- ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์
- อาคารประชาสัมพันธ์
- ศาลาพัก
- สนามฟุตบอล
- สนามบาสเกตบอล
- เรือนเพาะชำ
- สระน้ำ
- อาคารจอดรถ
- บ้านพักครู
- ฟาร์มสุนัข
ทำเนียบผู้อำนวยการ
แก้ลำดับที่ | รายนาม | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | นายสุจินต์ พิมเสน | รักษาการผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2542 |
2 | นายสุจินต์ พิมเสน | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2547 |
3 | นายปิยะ ชนะศักดิ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2555 |
4 | นายอำพล ยะสะนพ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2560 |
5 | นายพีระพงษ์ สองวิหค | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2561 | พ.ศ. 2566 |
6 | นางสาวโสภา ไสวศรี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2566 | - |
การแข่งขันกีฬา
แก้- กีฬาสี
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬา ดังนี้
- กีฬาสี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ ได้เริ่มจัดการแข่งขันกีฬาสีครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2542 โดยแบ่งเป็น 4 พรรค คือ
โดยในปีแรก ๆ นั้นการแข่งขันจัดขึ้นภายในสนามกีฬาของโรงเรียน แต่เมื่อโรงเรียนมีการขยายตัวและรับนักเรียนมากขึ้น สถานที่จัดการแข่งขันจึงเปลี่ยนเป็น สนามกีฬากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชทำให้เกิดการแตกความสามัคคี แต่ละพรรคด่ากันเพียงเพราะจ้างในงานเปิดตัว เพราะต้องการถ้วยรียูส
กิจกรรมที่น่าสนใจในการแข่งขันกีฬาสี
- การแสดงของวงโยธวาทิตแห่งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้
- ขบวนพาเหรดของนักเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ โดยเริ่มต้นจากสนามหน้าเมือง จากนั้นจะเดินขบวนไปตามถนนราชดำเนินไปจนถึงสนามกีฬากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
- การอัญเชิญพระเกี้ยว โดยตัวแทนนักเรียนแห่งเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ ในเครื่องแบบนักเรียนประจำเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้
- การแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ
- การแสดงของกองเชียร์ และผู้นำเชียร์ของแต่ละพรรค
- กีฬา Division
เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างห้องเรียน รุ่นพี่รุ่นน้อง ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ในภาคเรียนที่ 2 โดยใช้สนามกีฬาภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้
- การแข่งขันกีฬาประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ สนามกีฬากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
อ้างอิง
แก้- ↑ https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student_select.php?School_ID=1080210843&Edu_year=2565&Area_CODE2=800001 จำนวนนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้
- ↑ http://www.triamudomsouth.ac.th/tusouth/index.php/about เก็บถาวร 2018-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้