โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา
บทความเรื่อง โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น ถ้าคุณเป็นผู้เขียนเรื่องนี้หรือต้องการร่วมแก้ไข สามารถทำได้โดยกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน ดูรายละเอียดและวิธีการเขียนได้ที่ โครงการวิกิสถานศึกษา โดยเมื่อแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออกได้ |
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (กันยายน 2020) |
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา (อังกฤษ: Sarasas Witaed Suksa School) เป็นโรงเรียนอันดับที่ 12 ของกลุ่มโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ซึ่งก่อตั้งโดย นายพิบูลย์ และ นางเพ็ญศรี ยงค์กมล เริ่มแรกได้จัดสร้างขึ้นบนเนื้อที่ 5 ไร่ 48 ตารางวา โดยเริ่มก่อสร้างในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2539 และเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2540 เป็นอาคารเรียนความยาว 72 เมตร จำนวน 6 ชั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้ขยายพื้นที่เพิ่มอีก 8 ไร่ 378 ตารางวา สำหรับก่อสร้างสระว่ายน้ำ โรงอาหาร ที่จอดรถในร่ม และอาคารเรียนหลังที่ 2 ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 โรงเรียนได้ขยายพื้นที่ด้านหน้าอาคารเรียนที่ 1 เดิมเป็นบ่อน้ำ เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ 3 สนามฟุตบอล และ ที่จอดรถกลางแจ้ง เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนของนักเรียนและบุคคลากรที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อที่รวมทั้งหมด 13 ไร่ 1 งาน 26 ตารางวา [3]
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา Sarasas Witaed Suksa School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 13°35′57″N 100°30′25″E / 13.599179°N 100.506909°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | สวศ., SWS |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
คำขวัญ | AGE QUOD AGIS |
สถาปนา | พ.ศ. 2540 |
ผู้ก่อตั้ง | พิบูลย์ ยงค์กมล เพ็ญศรี ยงค์กมล [1] |
เขตการศึกษา | 1 [1] |
รหัส | 1111100097 |
ผู้อำนวยการ | วริศนันท์ เดชปานประสงค์ (พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน) [1] |
ระดับชั้น | เตรียมอนุบาล - ม.6 |
จำนวนนักเรียน | 3,190 คน (ปีการศึกษา 2557) [1] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย |
สี | แดง เหลือง |
คำขวัญ | "สถานที่ดี กีฬาเด่น เน้นกีฬา ภาษาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม" |
สังกัด | สมาคมโรงเรียนเอกชนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน (A.P.E.P.) [2] |
เว็บไซต์ | http://www.sws.ac.th |
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษาเป็นแห่งที่ 3 ของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ที่เปิดทำการสอนแบบ Bilingual Program [4] (แผนการเรียนการสอนแบบ 2 ภาษา) คือ ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต, ดนตรี, คอมพิวเตอร์ โดยใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ครูต่างชาติสอน ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ควบคู่คุณธรรม ความเป็นไทย ปัจจุบันได้ทำการเปิดสอนหลักสูตร International Educational Programme หรือ IEP ในระดับชั้นอนุบาล 3 และระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 เพื่อขยายขีดความสามารถของนักเรียน[5]
ประวัติโรงเรียน
แก้เดิม (ปี พ.ศ. 2539) โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา ได้ทำการทดลองเปิดทำการสอนแผนก 2 ภาษา [1] ในโรงเรียนสารสาสน์ประชาอุทิศพิทยาคาร ตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 3 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 3 ห้องเรียน โดยมีนักเรียนจำนวน 90 คน เมื่อโรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษาก่อสร้างเสร็จ และเปิดทำการสอนจึงย้ายนักเรียนมาเรียนต่อ พร้อมทั้งเปิดรับนักเรียนใหม่ในปีการศึกษา 2540 ระดับอนุบาล 3 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวนนักเรียน 469 คน (แผนกสองภาษา) และแผนกสามัญ อีก 360 คน รวม 2 แผนก 829 คน มีครูไทย 35 คน ครูต่างชาติ 12 คน ปัจจุบันปีการศึกษา 2545 ทางโรงเรียนได้เปิดรับสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้งสิ้น 1,827 คน ครูไทย 110 คน และครูต่างชาติ 32 คน [3]
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นมาโรงเรียนในเครือสารสาน์เขต 3 ได้แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เขต 3ก ดูแลแผนกสามัญ เขต 3ข ดูแลแผนกสองภาษา และสามัญบางส่วน ผู้อำนวยการสุวนิตย์ ยงค์กมล จึงได้แต่งตั้งอาจารย์ใหญ่ขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนท่าน ส่วนท่านไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสารสาสน์เขต 3ข [6]
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
แก้อันดับ | รายนาม | วาระดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) |
---|---|---|
1 | นายพิบูลย์ ยงค์กมล | 2540 |
2 | นายจรูญ ขัตติยะสาร | 2540 - 2542 |
3 | นางสุวนิตย์ ยงค์กมล | 2542 - 2551 ( ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสารสาสน์เขต 3ข ) |
4 | นางศศิธร หงสชูเวช | 2551 ( ปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ใหญ่ ) |
5 | นางศรีคุราภรณ์ ทรัพย์เอนกยศ | 2552 ( ปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ใหญ่ ) |
6 | นางวริศนันท์ เดชปานประสงค์ [1] | 2553 - ปัจจุบัน ( ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการ ) |
ข้อมูลปีการศึกษา พ.ศ. 2557 [7]
บุคลากร
แก้ประเภท | จำนวน (คน) |
---|---|
ครูไทย | 179 |
ครูต่างชาติ | 53 |
นักเรียน | 3,190 |
ข้อมูลปีการศึกษา พ.ศ. 2557 [1] และ หนังสือ SWS Year Book Vol.13 (ประจำปี พ.ศ. 2557)[7]
สิ่งปลูกสร้างในโรงเรียน
แก้อาคาร 1 ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 เป็นอาคารคอนกรีต 6 ชั้น ปัจจุบันใช้สำหรับการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-5 มีห้องเรียนทั้งหมด 35 ห้อง พร้อมห้องประเภทอื่นๆ ได้แก่ ห้องธุรการ ห้องสารสนเทศ ห้องรับรอง ห้องพักครู ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนคีย์บอร์ด ห้องเรียนกลองชุด ห้องเรียนดนตรีไทย ห้องเรียนกีต้าร์ ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องผู้อำนวยการและผู้บริหาร ห้องพยาบาล และ โรงอาหาร ส่วนในชั้น 6 จะเป็นโถงประชุม [8]
อาคาร 2 สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2543 เป็นอาคารคอนกรีต 5 ชั้น ปัจจุบันใช้สำหรับการเรียนการสอนในระดับอนุบาลปีที่ 1-3 มีห้องเรียนทั้งหมด 18 ห้องเรียน พร้อมห้องประกอบการอื่นๆ ได้แก่ ห้องกิจกรรม ห้องศูนย์การเรียนรู้ ห้องพยาบาง โถงห้องอาหาร ห้องพักครู ห้องปฏิบัติการ และ ห้องประกอบอาหาร ส่วนในชั้นที่ 5 จัดเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ มีความยาวตลอดอาคารเรียน ใช้เก็บของและจัดกิจกรรมต่างๆๆ
อาคาร 3 สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2549 เป็นอาคารคอนกรีต 9 ชั้น ปัจจุบันใช้สำหรับการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีห้องเรียนทั้งหมดจำนวน 35 ห้อง แบ่งเป็น มัธยมศึกษาตอนต้น 16 ห้อง และ มัธยมศึกษาตอนปลาย 19 ห้อง พร้อมห้องประกอบการอื่นๆ ได้แก่ ห้องธุรการ ห้องรับรอง ห้องสมุด ห้องเรียนเปียโน ห้องเรียนไวโอลิน ห้องวงโยธวาทิต ห้องพักครู ห้องพยาบาล ห้องประชุม ห้องเรียนกีตาร์ ห้องเรียนดนตรีไทย ห้องศูนย์การเรียนรู้ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอินเทอร์เน็ต ห้องปฏิบัติการ โถงเก็บของ และห้องพยาบาล [8]
อาคารหอประชุม สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2555 เป็นอาการคอนกรีต 3 ชั้น เริ่มเปิดใช้งานในปีการศึกษา 2555 ใช้สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมไหว้ครู กิจกรรมแนะแนวศึกษาต่อ กิจกรรมแข่งขันวิชาการ งานแสดงวันคริสต์มาส จัดประชุมสัมนา และ อื่นๆ โดยในชั้นที่ 1 จะเป็นห้องเรียนสำหรับระดับชั้นเตรียมอนุบาล และ จัดกิจกรรมต่างๆ [8]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "สารสนเทศการศึกษาเอกชน ประจำปีการศึกษา 2557" (PDF). สมาคมโรงเรียนเอกชนเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "รายชื่อโรงเรียนเอกชนที่ใช้ภาษาอังกฤษ" (PDF). สมาคมโรงเรียนเอกชนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 3.0 3.1 "เกี่ยวกับโรงเรียน". เว็บไซต์โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Bilingual Programme" (PDF). เว็บไซต์โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "International Educational Programme" (PDF). เว็บไซต์โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ โรงเรียนในเครือสารสาสน์เขต 3,นิตยสาร วันนี้ที่สารสาสน์, ฉบับปี 2556, หน้า 8, สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2559
- ↑ 7.0 7.1 SW Management Staff,Sarasas Witaed Suksa Yearbook Vol.13, ฉบับปี 2557, หน้า 3, สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2559
- ↑ 8.0 8.1 8.2 School History,Sarasas Witaed Suksa Yearbook Vol.13, ฉบับปี 2557, หน้า 31, สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2559