โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) เป็นหนึ่งใน ๙ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 จัดตั้งโดยกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
(พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)
Kanchanapisek Wittayalai Nakhon Pathom School
ข้อมูล
ชื่ออื่นกภน.
ประเภทโรงเรียนรัฐ สหศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น - ตอนปลาย
คำขวัญรักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีน
เยอรมนี ภาษาเยอรมัน
สีสีเหลือง-ม่วง
เพลงมาร์ช กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
ต้นไม้ต้นราชพฤกษ์
เว็บไซต์http://www.kjn.ac.th/

ปัจจุบันโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) ได้มีการยกระดับให้ก้าวสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่นเดียวกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเพื่อสนองตอบต่อนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศในการพัฒนาเยาวชนให้สู่ความเป็นเลิศ ร่วมกับโรงเรียนกาญจนาภิเษกอีกทั้ง 8 แห่ง ซึ่งคณะทำงานในการยกระดับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้เสนอแผนโครงการ และ รมว.ศธ. ได้มอบให้ สพฐ. ได้ปรับใช้งบประมาณปี ๒๕๕๔ มาดำเนินการให้กับโรงเรียนในการปรับปรุงเบื้องต้น โรงเรียนละ ๕ ล้านบาท สำหรับแผนการพัฒนาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕-๒๕๖๑ ให้ สพฐ. ดำเนินการตามแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้จัดทำร่วมกัน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

แก้
  • ตราประจำโรงเรียน พระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน คือ ต้นราชพฤกษ์
  • สีประจำโรงเรียน ได้แก่ เหลือง-ม่วง โดยที่
  • คติพจน์พระราชทาน ปญฺ า ว ธเนน เสยฺโย ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์
  • คำขวัญประจำโรงเรียน รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ

แผนการเรียนที่เปิดสอน

แก้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

แก้
  • ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • ห้องเรียนปกติ
  • ห้องเรียน English Program

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

แก้
  • แผนการเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (เตรียมแพทย์)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (เตรียมวิศวกรรมศาสตร์)
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ -  ภาษาฝรั่งเศส
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ -  ภาษาเยอรมัน
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ -  ภาษาจีน
  • แผนการเรียน SMTE

ทำเนียบผู้อำนวยการ

แก้
  • นางสายพิณ มณีศรีช่วงเวลาบริหาร 25 กรกฎาคม 2539 ถึง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544

ประวัติ กรมสามัญศึกษา ในขณะนั้นได้มอบหมายให้นางสายพิณ มณีศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา ในขณะนั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการประสานงาน และบริหารโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม โดยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2539 และตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2540

  • นางลัดดา ผลวัฒนะช่วงเวลาบริหาร 1 พฤศจิกายน 2544 ถึง วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547

ประวัติ กรมสามัญศึกษา ในขณะนั้นได้มอบหมาย นางลัดดา ผลวัฒนะ ผู้อำนวยการโรงเรียนจากโรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม ในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) และลาออกจากราชการเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2547

  • นายประเสริฐ บุญฤทธิ์ช่วงเวลาบริหาร ถึงวันที่ 30 กันยายน 2549

ประวัติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้ นายประเสริฐ บุญฤทธิ์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) และเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549

  • ดร.สุรีย์พร สุนทรศารทูลช่วงเวลาบริหาร 22 ธันวาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2554

ประวัติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 ได้มอบหมาย นางสุรีย์พร สุนทรศารทูล ผู้อำนวยการโรงเรียนจากโรงเรียนสามพรานวิทยา จังหวัดนครปฐม ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

  • ดร.นพดล เด่นดวงช่วงเวลาบริหาร 14 ตุลาคม 2554 ถึง กันยายน 2561

ประวัติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 ได้มอบหมาย นายนพดล เด่นดวง ผู้อำนวยการโรงเรียนจากโรงเรียนสามพรานวิทยา จังหวัดนครปฐม ในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

  • ดร.สุริยา ชิณณะพงศ์

กาญจนาเกมส์

แก้

ความเป็นมา การจัดการแข่งขันกีฬากลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กลุ่มโรงเรียนได้กำหนดโครงการจัดการแข่งขันกีฬากลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษก วิทยาลัย "กาญจนาเกมส์" ขึ้นโดยมีเป้าหมายการพัฒนาการศึกษา ตามจุดเน้นของกลุ่มโรงเรียน นำไปสู่การพัฒนาด้านกีฬา ดนตรี และศิลปะ ให้กับนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน ให้สามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นนักกีฬา นักดนตรี และศิลปะที่ดี มีศักยภาพสูงจนถึงระดับเป็นตัวแทนของประเทศเข้าร่วมการแข่งขันในระดับที่สูง ขึ้นต่อไป และเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ครู นักเรียนบุคลากรของแต่ละโรงเรียน ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโรงเรียนตามเป้าหมาย และที่สำคัญการกีฬานับว่าเป็นกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการอยู่ ร่วมกันในสังคม รู้จักเคารพกฎกติกา การมีน้ำใจนักกีฬา "รู้แพ้ รู้ชนะ และ รู้อภัย" เพื่อนักเรียนนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นผู้มีพระปรีชาสามารถด้านกีฬาและมีพระคุณอันประเสริฐต่อการศึกษาไทย นับอเนกประการและกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬากาญจนาเกมส์มาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2543 โดยในครั้งนั้นโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เป็นเจ้าภาพ

  • กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ทั้ง 9 โรงเรียน จะมีการแข่งขันกีฬาประจำทุกๆปีในช่วงเดือนธันวาคม เป็นกีฬาสัมพันธ์ที่ทั้ง 9 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยต่างร่วมกันแข่งขันกีฬาและสลับกันเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน

ลำดับเจ้าภาพการแข่งขันกาญจนาเกมส์

แก้
  • ครั้งที่ 1 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เมื่อปี 2544
  • ครั้งที่ 2 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ เมื่อปี 2545
  • ครั้งที่ 3 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่ เมื่อปี 2546
  • ครั้งที่ 4 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ เมื่อปี 2547
  • ครั้งที่ 5 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา เมื่อปี 2548
  • ครั้งที่ 6 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี เมื่อปี 2549
  • ครั้งที่ 7 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ เมื่อปี 2550
  • ครั้งที่ 8 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี เมื่อ ม.ค.ปี 2551
  • ครั้งที่ 9 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เมื่อ ธ.ค.ปี 2551
  • ครั้งที่ 10 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เมื่อ ธ.ค.ปี 2552
  • ครั้งที่ 11 ได้จัดการแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ เมื่อ ธ.ค. ในปี 2553
  • ครั้งที่ 12 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่ เมื่อ ม.ค. ในปี 2555
  • ครั้งที่ 13 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ เมื่อ ก.พ. ในปี 2556
  • ครั้งที่ 14 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา เมื่อ ม.ค. ในปี 2557
  • ครั้งที่ 15 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี เมื่อ ธ.ค. ในปี 2558
  • ครั้งที่ 16 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ เมื่อ ธ.ค. ในปี 2559
  • ครั้งที่ 17 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี เมื่อ ม.ค. ในปี 2560
  • ครั้งที่ 18 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เมื่อ ม.ค. ในปี 2561
  • ครั้งที่ 19 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เมื่อ ธ.ค. ในปี 2561

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) กับ การแข่งขันกีฬากาญจนาเกมส์

แก้
  • ในปี พ.ศ. 2551 เป็นการแข่งขันครั้งที่ 9 ที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพต่อจาก การแข่งขันกีฬากาญจนเกมส์ ครั้งที่ 8 ที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ซึ่งการแข่งขันครั้งที่ 9 จัดขึ้นระหว่าง 24 - 28 ธันวาคม 2551

กาญจนาเกมส์ ครั้งที่ 9

แก้
 
สัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกาญจนาเกมส์ ครั้งที่ 9

สัญลักษณ์ของสัตว์นำโชคประจำการแข่งขัน

แก้

สุกร เป็นสัตว์เลี้ยงที่ชาวบ้านเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ และยังมีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และเครื่องแต่งกายของมาสคอร์ดสุกรนั้น สวมเสื้อสีเหลือและกางเกงสีม่วง ที่เป็นสีประจำโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม ) ส่วนเลข ๙ ที่ติดอยู่บนผ้าโพกหัวของสุกรนั้น หมายความว่า การแข่งขันครั้งนี้เป็นการแข่งขันกีฬากาญจนาเกมส์ครั้งที่ ๙ คบเพลิงที่สุกรถือไว้มือขวา หมายถึง ความโชติช่วงชัชวาลความเจริญก้าวหน้าของการกีฬานั่นเอง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้