เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน
เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน หรือ หม่อมลำเจียก เกษมสันต์ ณ อยุธยา (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2503) เป็นธิดาของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย และเป็นหม่อมในหม่อมเจ้าเกียรติประวัติ เกษมสันต์ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ มีชื่อเสียงในฐานะผู้บุกเบิกการทอผ้าไหมยกดอกลำพูน
เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน | |
---|---|
เกิด | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 คุ้มหลวงเก่า ถนนวังชวา นครลำพูน |
เสียชีวิต | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 (60 ปี) |
สามี | หม่อมเจ้าเกียรติประวัติ เกษมสันต์ (พ.ศ. 2472–2503) |
บุตร | หม่อมราชวงศ์ภาณีพิจิตร ชุณหะมาน |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร (เกิด) จักรี (สมรส) |
พระบิดา | เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ |
พระมารดา | เจ้าขานแก้ว ณ ลำพูน |
ศาสนา | พุทธนิกายเถรวาท |
ประวัติ
แก้เจ้าลำเจียกเกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 ที่คุ้มหลวงเก่า ถนนวังชวา นครลำพูน เป็นธิดาคนโตจากทั้งหมดแปดคนของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เกิดแต่เจ้าขานแก้ว ณ ลำพูน ชายาองค์แรก ครอบครัวฝั่งเจ้ายายสืบเชื้อสายจากเจ้าน้อยขัติยะ เจ้าผู้ครองนครตาก[1] นอกจากนี้เจ้าลำเจียกยังสืบเชื้อสายราชวงศ์จักรีจากเจ้ารถแก้วในสายราชสกุลอิศรเสนา[2][ก] และสืบเชื้อสายกะเหรี่ยงแดงจากเจ้าโก๊ะ ธิดาเจ้าฟ้ารัฐกันตรวดี เมื่อนับจากฝั่งบิดา[3] เจ้าลำเจียกสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวิทยานิคมในจังหวัดลำพูน[4] จนสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2458 เจ้าลำเจียกมีรุ่นน้องคนหนึ่งในโรงเรียน คือ เจ้ายอดเรือน ตุงคนาคร เรียนรุ่นเดียวกันกับเจ้าวรรณรา น้องสาว เจ้าลำเจียกมีความสนิทสนมชอบพอกันกับเจ้ายอดเรือนมาก จึงชวนให้มาอยู่ที่คุ้มหลวงด้วยกันเมื่อเจ้ายอดเรือนมีอายุได้ 13 ปี ในเวลาต่อมาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ได้ทำการสู่ขอเจ้ายอดเรือนเป็นชายาใน พ.ศ. 2463[5]
เจ้าลำเจียกสมรสกับหม่อมเจ้าเกียรติประวัติ เกษมสันต์ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ เมื่อ พ.ศ. 2472[4] จึงย้ายไปอาศัยร่วมกันกับสามีที่จังหวัดพระนคร[6] เจ้าลำเจียกมีธิดาเพียงคนเดียวกับสามี คือ หม่อมราชวงศ์ภาณีพิจิตร ชุณหะมาน[4][6] ในช่วงบั้นปลายเจ้าลำเจียกมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น จึงย้ายกลับไปอาศัยที่จังหวัดลำพูนซึ่งเป็นมาตุภูมิ และเปิดโรงทอผ้าไหมยกดอกขึ้นที่นั่น[4][6]
เจ้าลำเจียกป่วยด้วยความดันโลหิตสูงตั้งแต่ พ.ศ. 2495 กระทั่ง พ.ศ. 2501 เจ้าลำเจียกมีอาการเส้นเลือดในสมองแตกทำให้เป็นอัมพาต จึงอยู่ภายใต้การดูแลจากคณะแพทย์อย่างใกล้ชิด จนกระทั่งเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 สิริอายุ 60 ปี[4]
การทำงาน
แก้เจ้าลำเจียกมีบทบาทด้านการเรือนภายในคุ้มหลวงอยู่มากในฐานะที่เป็นธิดาคนโตของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ดังปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุของสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลพายัพ เมื่อ พ.ศ. 2463 ความว่า "...มีบุตรสาวของเจ้าผู้ครองนครจังหวัดชื่อลำเจียกคนหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่แม่บ้านคล้ายกับเจ้าศรีนวลบุตรสาวเจ้าลำปาง กับมีบุตรสาวคนเล็กอีกคนหนึ่งซึ่งยังสาว ชายาเป็นชายาคนใหม่ เป็นคนสาวเท่ากับบุตรสาวคนเล็ก ดูท่าทางแกออกจะเกณฑ์ให้เป็นเด็กฟังบังคับบัญชา บุตรสาวคนใหญ่คือเจ้าลำเจียกนั้นเสมอ..."[5]
ก่อนหน้านี้เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงนครเชียงใหม่ที่เสด็จลงไปรับราชการฝ่ายในที่กรุงเทพมหานคร ทรงสนพระทัยการทอผ้า และคิดประดิษฐ์ลวดลายการทอผ้าใหม่ ๆ[7] โดยได้รับอิทธิพลมาจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่ทรงสันทัดด้านการเขียนลายผ้าทอยกดอกเป็นจำนวนมาก[6] เจ้าดารารัศมีคิดนำรูปแบบมาจากผ้ายกทองของราชสำนักกรุงเทพฯ มาประยุกต์เป็นซิ่นผ้าไหมแบบภาคเหนือ เดิมมีไว้ใช้ส่วนพระองค์เป็นสำคัญ แต่ต่อมาได้ถ่ายทอดกรรมวิธีแก่เจ้าส่วนบุญ ชายาองค์ที่สามของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ และเจ้าลำเจียก พระธิดาคนโตของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ก่อนนำไปเผยแพร่แก่คนในคุ้ม แล้วแพร่กระจายไปยังชุมชนชาวยอง เกิดเป็นลวดลายผ้าที่สวยงามและประณีตยิ่งขึ้นไป[7] เจ้าลำเจียกเป็นผู้บุกเบิกการทำผ้าไหมยกดอก ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในนครลำพูน การทอผ้าไหมเกิดขึ้นครั้งแรกที่คุ้มธิดาเจ้าหลวงของเจ้าลำเจียก[6] ส่วนตัวเจ้าลำเจียกเองมีความสามารถในการประดิษฐ์ลวดลายการทอผ้ายกได้อย่างวิจิตรงดงาม แปลกตากว่าผู้อื่น จนเป็นที่เลื่องลือเรื่อยมา[4] หลังเจ้าลำเจียกได้กลับมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดลำพูนเนื่องจากปัญหาสุขภาพ[6] ก็ได้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้า และประกอบอาชีพนี้เรื่อยมาจนกระทั่งสิ้นชีวิต[4] โดยมีหม่อมราชวงศ์ภาณีพิจิตรสืบทอดกิจการอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้ทำตลอด[6] เจ้าลำเจียกจึงได้ฝากฝังให้จิตต์จง ณ ลำพูน และเจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ซึ่งเจ้าพงศ์แก้วยินดีสืบทอดการทอผ้าไหมยกดอกต่อจากเจ้าลำเจียก[6]
นอกจากผ้าไหมยกดอกที่เลื่องชื่อแล้ว เจ้าลำเจียกทอผ้าพันคอที่ทำจากเส้นฝ้ายแจกจ่ายแก่ลูกหลานทุกฤดูหนาว[6]
ความสนใจ
แก้เจ้าลำเจียกมีความสนใจและฝักใฝ่ในศาสนาพุทธ ด้วยมีศรัทธาในการอุปสมบทพระภิกษุและสามเณรอยู่เนืองนิตย์[4]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของเจ้าลำเจียก ณ ลำพูน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- หมายเหตุ
ก ใน อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ หลวงพิสูจน์พาณิชยลักษณ์ (หม่อมหลวงเพิ่มยศ อิศรเสนา) ระบุว่าหม่อมเจ้าสัตบุศ อิศรเสนา มีโอรส 4 องค์ และธิดา 7 องค์ เกิดแต่หม่อมสองท่าน ซึ่งไม่มีนามของเจ้ารถแก้วอยู่แต่อย่างใด[9]
- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 นเรนทร์ ปัญญาภู. "เจ้าสุนา ณ ลำพูน". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 นเรนทร์ ปัญญาภู. "แม่เจ้ารถแก้ว ณ ลำพูน". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 เพ็ญสุภา สุขคตะ (18 สิงหาคม 2560). "ปริศนาเรื่องชาติพันธุ์ "ครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นยางแดงจริงหรือ"?". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 นเรนทร์ ปัญญาภู. "เจ้าหญิงแห่งนครลำพูน". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 เพ็ญสุภา สุขคตะ (13 กุมภาพันธ์ 2560). "ปริศนาโบราณคดี : "เจ้ายอดเรือน" ชายาองค์สุดท้าย ของเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 เพ็ญสุภา สุขคตะ (4 ธันวาคม 2566). "ฟื้นกลิ่นอายไหมยกดอก จากคุ้มหลวงสู่รวงร้าน (1)". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 ""ผ้าไหมยกดอกลำพูน" สู่ชุดไทยสุดปังของลิซ่า BLACKPINK". ผู้จัดการออนไลน์. 14 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 นเรนทร์ ปัญญาภู. "เจ้าหญิงคำป้อ ณ ลำพูน". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ หลวงพิสูจน์พาณิชยลักษณ์ (หม่อมหลวงเพิ่มยศ อิศรเสนา) ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2528. พระนคร : โรงพิมพ์อักษรไทย, 2528, หน้า 73