กันตรวดี (Kantarawadi หรือ Gantarawadi[1]) เป็นรัฐหนึ่งในกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรัฐกะยา ประเทศพม่า บางครั้งเรียก กะเหรี่ยงแดงตะวันออก เพราะตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน[2]

กันตรวดี/กะเหรี่ยงแดงตะวันออก
ကန္ဒရဝတီ
รัฐเจ้าฟ้าของกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดง
พุทธศตวรรษที่ 22 – พ.ศ. 2502

แผนที่กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงใน พ.ศ. 2460
พื้นที่ 
• พ.ศ. 2474
6,475 ตารางกิโลเมตร (2,500 ตารางไมล์)
ประชากร 
• พ.ศ. 2474
30,677 คน
การปกครอง
 • ประเภทสมบูรณาญาสิทธิราช
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
พุทธศตวรรษที่ 22
• เจ้าฟ้าสละอำนาจ
พ.ศ. 2502
ก่อนหน้า
ถัดไป
กลุ่มรัฐไทใหญ่
รัฐกะยา
เจ้าฟ้ากะเหรี่ยงแดงที่เดลฮี ดูร์บาร์ เมื่อ พ.ศ. 2446 เจ้าฟ้าของบ่อลาแก กันตรวดี และเจโบจียืนอยู่แถวหลัง
เขตการปกครองในกลุ่มรัฐฉานและกลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงที่ถูกผนวกเข้ากับประเทศไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่า สหรัฐไทยเดิม

ประวัติศาสตร์ แก้

กลุ่มรัฐกะเหรี่ยงแดงหรือยางแดง เป็นดินแดนอิสระที่ปกครองด้วยเจ้าฟ้าและถูกควบคุมโดยเจ้าฟ้าไทใหญ่มาแต่เดิม ในราวพุทธศตวรรษที่ 24 มีรัฐที่เป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ 5 รัฐ ต่อมา ใน พ.ศ. 2407 เจ้าฟ้ากะเหรี่ยงแดงได้ร้องขอให้อังกฤษเข้ามาอารักขา แต่อังกฤษไม่ได้แสดงความสนใจ หลังจากเจ้าฟ้าพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2412 โอรสทั้งสององค์หวั่นเกรงการรุกรานของพม่าจึงร้องขอการคุ้มครองจากอังกฤษ แต่อังกฤษปฏิเสธ เมื่อพม่าต้องการรวมเขตของกะเหรี่ยงแดงเข้ามาในการปกครอง อังกฤษได้รับรองความเป็นเอกราชของรัฐทั้งสี่ ซึ่งต่อมา รัฐกะเหรี่ยงแดง 4 รัฐคือบ่อลาแก นามเมกอน นองปาเล และเจโบจี ถือเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2418 ส่วนกันตรวดีถือว่าเป็นเอกราชแต่ไม่อยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ กันตรวดีเริ่มส่งบรรณาการให้อังกฤษในสมัยเจ้าฟ้าลอปอเมื่อ พ.ศ. 2431 ต่อมาเจ้าฟ้าลาวีที่ครองเมืองต่อมาได้ยอมจ่ายบรรณาการ 5,000 รูปีให้แก่อังกฤษเพื่อประกันตำแหน่งเจ้าฟ้าของตน[1]

ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐเชียงตุงถูกรุกรานโดยกองทัพพายัพของไทย[3] ต่อมา สนธิสัญญาระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นกับจอมพล ป. พิบูลสงครามของไทยในเดือนธันวาคม ปีเดียวกันนั้น ได้ยกดินแดนรัฐกันตรวดีซึ่งอยู่ระหว่างชายแดนไทยกับแม่น้ำสาละวินให้เป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐไทยเดิม ซึ่งมีดินแดนเชียงตุงและเมืองพาน การผนวกเกิดขึ้นเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486[4] ไทยได้คืนดินแดนที่ผนวกนี้ใน พ.ศ. 2488 และยกเลิกการอ้างสิทธิเหนือดินแดนนี้ในพ.ศ. 2489 เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และถอนตัวจากการต้องเป็นผู้แพ้สงครามเพราะเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ[5]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Imperial Gazetteer of India, v. 15, p. 36.
  2. Khu Oo Reh (October 2006). "Highlights in Karenni History to 1948". สืบค้นเมื่อ 19 December 2010.
  3. "Thailand and the Second World War". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-27. สืบค้นเมื่อ 2014-12-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. Shan and Karenni States of Burma
  5. David Porter Chandler & David Joel Steinberg eds. In Search of Southeast Asia: A Modern History. p. 388